|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#561
|
|||
|
|||
หลวงพ่อบัว สิริปุณโณ วัดหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
หลวงพ่อบัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง มีอายุพรรษาน้อยกว่าองค์หลวงตา สถานที่ของการสนทนาธรรมในครั้งนี้ คือวัดป่าแก้วชุมพล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ในปีนั้นหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้พักจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ด้วย การสนทนาในครั้งนี้ทำให้ปัญหาธรรมของหลวงพ่อบัว.. ผ่านพ้นไปได้ด้วยอุบายคำแนะนำขององค์หลวงตา เหตุที่ท่านทั้งสองจะได้พบกันนั้น มีเหตุมาจากฆราวาสท่านหนึ่งชื่อโยมกล่อม ซึ่งเป็นโยมพ่อของท่านพระอาจารย์ปรีดา ฉันทกโร (หลวงพ่อทุย)* ครั้งนั้นโยมกล่อมตั้งใจมานิมนต์องค์หลวงตาไปทำบุญอายุหลวงปู่ขาว อนาลโย องค์หลวงตาถามโยมกล่อมทันทีว่า “ไปนิมนต์หลวงพ่อบัวหรือเปล่าล่ะ ?” แกตอบว่า “นิมนต์ครับกระผม” องค์หลวงตาท่านว่า “ถ้าหลวงพ่อบัวไป เราจะไป เรายังไม่มีอะไร ๆ ยิบ ๆ ยิบ ๆ อยู่กับหลวงพ่อบัว พูดอะไรมันมีอะไรอยู่.. ข้อง ๆ ใจ เอานิมนต์ให้ได้นะ บอกด้วยว่าเราก็จะไปนะ” จากนั้นโยมกล่อมก็ไปนิมนต์หลวงพ่อบัวถึงที่วัดของท่านเหมือนกัน ปรากฏว่าหลวงพ่อบัวก็ถามโยมกล่อมด้วยคำถามเดียวกันว่า “ได้นิมนต์อาจารย์มหาบัวหรือเปล่า ? ถ้าไม่นิมนต์อาจารย์มหาบัว อาตมาก็ไม่ไป ถ้าอาจารย์มหาบัวไม่ไป อาตมาก็ไม่ไป อาตมาจะไปเพราะอาจารย์องค์เดียวนี้เท่านั้น” แกตอบว่า “ผมนิมนต์ท่านมานี้แล้ว ท่านก็ถามถึงเหมือนกันว่า หลวงพ่อบัวจะไปหรือเปล่า ?” หลวงพ่อบัวกล่าวขึ้นทันทีว่า “โอ๋ย.. ถ้าท่านอาจารย์มหาไป เราไป ไป ไป ไป” ว่าดังนั้นแล้ว ท่านก็ไปในงานนี้ทันที ในครั้งนั้นหลวงพ่อบัวท่านเป็นคนสั่งจัดกุฏิเองเลยทีเดียว โดยท่านพักอยู่หลังหนึ่ง และให้องค์หลวงตาพักอีกหลังหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับรั้วและอยู่ใกล้ ๆ กัน เพราะศาลาอยู่ลึก ๆ ตรงกลางวัด กุฏิในวัดที่ติดเขตรั้วก็มีเพียงกุฏิ ๒ หลังนี้เท่านั้น ============================= * วัดป่าดานวิเวก (ดงสีชมพู) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-08-2020 เมื่อ 20:29 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#562
|
|||
|
|||
เมื่อครูบาอาจารย์ทั้งสองท่านเสร็จธุระส่วนตัวแล้ว องค์หลวงตาจึงเริ่มซักไซ้ไล่เลียง หาเหตุหาผล เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดข้องภายในของหลวงพ่อบัว ดังนี้
องค์หลวงตาเริ่มพูดก่อนว่า “ผมมามุ่งหลวงพ่อนะนี่ ผมไม่ได้มางานใด ๆ นะ” หลวงพ่อบัวตอบว่า “ผมก็มามุ่งครูอาจารย์เหมือนกันแล้ว” องค์หลวงตาว่า “เอ้า เล่ามา..เป็นยังไง ? เอ้า.. เล่ามาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติทีแรก ภาวนาตั้งแต่เป็นตาปะขาวมาบวชทีแรก เล่าจนกระทั่งปัจจุบันเป็นยังไง อย่าปิดบัง เล่ามาโดยลำดับ เอ้า.. ผมจะฟังให้ตลอดวันนี้ ผมไม่ได้สนิทใจนักกับหลวงพ่อนะ ผมพูดตรง ๆ นะ” จากนั้นหลวงพ่อบัวท่านก็เล่ามาโดยลำดับ ๆ ๆ จนถึงจุดปัจจุบัน พอถึงจุดนี้ องค์หลวงตาบอกทันทีว่า “เอ้า.. เล่าไปซี” ตอบว่า “พอ” องค์หลวงตาบอกอีก “เล่าไปซิ” ตอบว่า “หมดเท่านี้” องค์หลวงตาเลยถามว่า “แล้วความเข้าใจว่ายังไง ?” ตอบ “หมดเท่านี้” ท่านถามอีกว่า “แล้วความเข้าใจว่ายังไงละ ? เอ้า.. ว่าซิ” “เข้าใจว่าสิ้นแล้ว” ท่านถามต่อว่า “แล้วเป็นอย่างนี้มานานเท่าไรแล้ว ?” “เป็นมาได้ ๑๐ กว่าปีแล้ว” เมื่อทราบความตามนั้นแล้ว องค์หลวงตาท่านก็ยังไม่ได้ตอบไปในเวลานั้น ว่าหลวงพ่อบัวสิ้นหรือยังไม่สิ้น แต่ท่านแนะนำทางเดินโดยเริ่มอธิบายในจุดที่ละเอียดให้ฟัง “เอ้า.. ทีนี้ให้พิจารณาอย่างนั้น ๆ นั้นนะ..เอาเลย ต่อจากนั้นให้เลย จับให้ดีนะ.. อธิบายให้ฟังเต็มที่ แล้ววันนี้ไม่ต้องไปสวดมนต์ ไม่ต้องไปในงานนู้น ให้ภาวนา เอาให้มันได้วันนี้ รู้วันนี้ละ มันเข้าวงแคบแล้วนี่น่า” พอพูดกันจบเรียบร้อยแล้ว ท่านกล่าวต่อว่า “ไป..ลงไป เริ่มภาวนาตั้งแต่บัดนี้ไปนะ ทำยังงั้นล่ะ” การอธิบายกันในคราวนั้น ท่านว่าใช้เวลานานพอสมควร เมื่อจบการอธิบายแล้ว จากนั้นหลวงพ่อบัวท่านก็กลับไปภาวนาที่กุฏิ ส่วนองค์หลวงตาไปสวดมนต์ที่ศาลา ครั้นถึงตอนเช้า ขณะที่องค์หลวงตากำลังนั่งภาวนาอยู่ ยังไม่ทันออกจากที่ภาวนาเลย ก็มีเสียงกุ๊บกั๊บ ๆ ดังขึ้นในเวลาใกล้สว่างของวันใหม่ องค์หลวงตาจึงถามขึ้นว่า “ใครนี่ ?” หลวงพ่อบัวตอบ “ผมครับ” “หลวงพ่อบัวเหรอ ?” ตอบ “ใช่ครับ” องค์หลวงตาบอก “เออ.. ขึ้นมา ๆ” จากนั้นหลวงพ่อบัวท่านก็เล่าถึงการภาวนาในคืนนั้นให้องค์หลวงตาฟัง ดังนี้ “.. จับอุบายท่านอาจารย์ เข้าปุ๊บเลย.. เพราะแต่ก่อนมันไม่รู้นี่ ได้แต่เฝ้ากันอยู่นั้นเสีย แสดงว่าสำเร็จเสร็จสิ้นก็อยู่งั้นเสีย พอมาถึงที่นั้นแล้วก็เอาอุบายท่านอาจารย์เข้าใส่ปุ๊บ ๆ โห.. ไม่นานเลย ปรากฏเหมือนกับ.. คานกุฏิขาดยุบลงทันที เหมือนกับว่าก้นกระแทกดิน แต่ไม่เจ็บ เหมือนกับคานกุฏิขาดลง ตูมลงพื้นเลย ฮึบ ทีเดียวเลย แต่จิตมันก็ไม่กังวลนะ เพราะมันไม่รู้สึกเจ็บปวดอะไรนี่ ในขณะนั้นพอพึบลงไปนั่น ทีเดียวเท่านั้น นิ่ง... พอมันหายจากขณะนั้นแล้ว จิตก็รู้ตัว ออกมาข้างนอก มาก็มารู้ว่า ‘ฮื้อ.. ว่าคานกุฏิถ้าขาดแล้วมันก็ลงกันทั้งพื้นนี้ ลงไปถึงดินนั่น ทำไมมันถึงดี ๆ อยู่นี่’ มันก็รู้กันทันทีนะว่า ‘โห..นี่มันคานอวิชาขาด’ โอ้โห.. เวลานั้นมัน มันพูดไม่ถูกเลย.. พอขณะนั้น ทำงานกันไปเสร็จสิ้นไปแล้ว ทีนี้มันเหมือนกับว่า เป็นคนละโลกเลยเชียว ผมเลยไม่นอนทั้งคืน เมื่อคืนนี้...” หลวงพ่อบัวกล่าวกับองค์หลวงตาอย่างซาบซึ้งจับจิตจับใจว่า “... ผมกราบท่านอาจารย์ทั้งคืนเลย มันไม่ทราบเป็นยังไง มันกราบพระพุทธเจ้า กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ กราบท่านอาจารย์ตลอดคืนเลย ผมไม่นอนจนกระทั่งเดี๋ยวนี้เลย โฮ้.. มันอะไรเหมือนกับ ถ้าพูดภาษาพระพุทธเจ้าว่า เสวยวิมุตติสุข มันอะไรพูดไม่ถูก อัศจรรย์ครูบาอาจารย์ พระธรรม เห็นคุณของท่านอาจารย์ ฮู้ย.. เห็นจริง ๆ เด่นจริง ๆ ถ้าไม่ใช่ท่านเราจบไปแล้ว ไม่ไปถึงไหนแล้ว เดชะจริง ๆ กราบ ... กราบอยู่อย่างนั้น...” องค์หลวงตาท่านปรารภถึงเรื่องนี้ว่า นับแต่นั้นมาก็ไม่ได้พูดคุยอะไรกับหลวงพ่อบัว วัดหนองแซงอีกเลย จนกระทั่งหลวงพ่อบัวท่านมรณภาพไป องค์หลวงตาบอกว่า ถึงจุดนี้แล้วไม่จำเป็นต้องมีอะไรเพิ่มเติมให้เป็นประโยชน์อีกแล้ว เพราะมันพออยู่ในตัวแล้ว หมดปัญหาแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอาอะไรมาพูดอีกแล้ว แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-08-2020 เมื่อ 20:32 |
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#563
|
|||
|
|||
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
พระอาจารย์สิงห์ทอง เป็นพระกรรมฐานอีกรูปหนึ่งที่อยู่ทันสมัยหลวงปู่มั่น และได้ติดตามองค์หลวงตาไปตลอดตั้งแต่อยู่บ้านห้วยทราย จันทบุรี กระทั่งก่อตั้งวัดป่าบ้านตาด จึงมีความคุ้นเคยสนิทสนมกับองค์หลวงตามาก ครั้งหนึ่งท่านได้สนทนาธรรมในขั้นละเอียดสุด ดังนี้ “... ท่านสิงห์ทองมาถามเราเลยในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ เพราะเป็นลูกศิษย์เรามาดั้งเดิม พูดตรงไปตรงมา ท่านบอกว่า ‘เรื่องจิตของท่านเวลานี้ ในจิตมันไม่มีอะไรสงสัยแล้ว หายหมดไม่มีอะไร แต่ไม่บอกขณะ.. ไม่บอกขณะที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรเหลือในจิต ไม่มีเลย จิตไม่มีปรากฏกิเลสเลย หมด ๆ ๆ ไปเลย หายเงียบไป ในจิตนี้หายสงสัย แต่เรื่องขณะใดที่จะให้ทราบว่าสิ้นสุดขณะนั้นขณะนี้ไม่มี พิจารณาไป ๆ หมดไป ๆ หมดเอาเลย เลยไม่ทราบขณะว่าอย่างนั้น นี่มันขัดข้องตรงนี้ แต่ไม่ได้ขัดข้องว่าเจ้าของมีกิเลสนะ มันขัดข้องครูบาอาจารย์และสาวกทั้งหลาย ท่านบรรลุธรรมอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน อันนี้ท่านเหล่านั้นรู้หมด.. แต่ผมไม่รู้ แต่มันหายสงสัยแล้ว.. เรื่องกิเลสนี้ไม่มี หายเงียบไปเลย’ จากนั้นเราแย็บให้ฟังว่า ‘เออ.. ที่ท่านเล่าให้ฟังนั้นน่ะ ผมไม่มีที่ค้าน จะมีก็มีแต่เงาเฉย ๆ เงาเช่นว่าเป็นขณะนั้นขณะนี้ องค์ไหนท่านเป็นท่านก็เล่าออกมา องค์ไหนไม่เป็น จำเป็นอะไรจะต้องเล่า กิเลสหมดก็หมดเท่านั้นเอง นี่อรหันต์มี ๔ ประเภท ให้ท่านเทียบก็แล้วกันนะ สุกขวิปัสสโก ผู้รู้อย่างเรียบไปเลยก็มี อย่างท่านไม่รู้เลย แต่ว่ากิเลสมีในใจ ไม่มี.. หมด แต่ไม่ได้บอกขณะใด เรียกว่าเรียบไปเลย ท่านอาจจะอยู่ในสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต พระอรหันต์มีหลายประเภท องค์หนึ่งแสดงฤทธิ์อย่างนั้น องค์หนึ่งแสดงฤทธิ์อย่างนี้ องค์หนึ่งเงียบไปเลย อย่างท่านสิงห์ทองท่านว่าเงียบไปเลย ความสงสัยว่าเจ้าของมีกิเลสก็ไม่สงสัย หายสงสัย แต่อันนี้ไม่บอกขณะ ส่วนเตวิชโช ฉฬภิญโญ จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต มีขณะบอก ๆ ๆ ที่พูดมาแล้วไม่สงสัยในความรู้ของท่านที่เป็นแล้ว ผลของความรู้นั้นออกมาไม่มีที่ค้าน อย่างไรมันก็รู้อยู่กับจิตซึ่งเป็นนักรู้นั่นละ มันสิ้นหรือไม่สิ้นก็รู้’...” องค์ท่านกล่าวสรุปให้ฟังว่า เรื่องขณะมันเป็นเงาต่างหาก ความจริงมันอยู่กับจิตที่เป็นนักรู้ด้วยกัน มันต้องรู้ของจริงด้วยกันและแจ้งออกมาจากนั้นเลย ภายหลังเมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ทองมรณภาพลงไปแล้ว อัฐิของท่านก็แปรสภาพเป็นพระธาตุในเวลาต่อมา แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-08-2020 เมื่อ 02:53 |
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#564
|
|||
|
|||
ภาคปฏิบัติสอนสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ จิตสอนจิตตรงแน่ว “... ธรรมลี (หลวงปู่ลี กุสสธโร วัดภูผาแดง) ก็ตั้งแต่วันบวชแล้ว บวชวันถวายเพลิงหลวงปู่มั่น บวชวันนั้นที่วัดป่าสุทธาวาส ตั้งแต่บวชแล้วติดสอยห้อยตามเราตลอดเหมือนเด็กนะ ธรรมลีนี้เหมือนเด็ก ไม่มีธรรมวินัยอะไรเลย เอาพ่อแม่กับลูกเข้าเลย.. เป็นใหญ่กว่า เราจะไปไหนติดตาม คือไม่ต้องขออนุญาตนะ เห็นไหม.. ไปกรุงเทพฯ ด้วยต้องตาม ถ้าไปขออนุญาตท่านจะไม่ให้ไป ต้องขโมยไปแบบนี้แหละ เห็นไหมล่ะ เป็นอย่างนั้น ไปทีไร.. อยากไป ไปเลยนะ ปั๊บ.. ขโมยไปเลย เป็นอย่างนั้น นี่เป็นนิสัยอันหนึ่งเราก็ทราบ นี่ก็ตั้งแต่ต้นมาเราสอนตั้งแต่ ก.ไก่ ก.กา เรื่อยมา ... ที่มูลนิธิหลวงปู่มั่นที่ฝั่งธนฯ พอดีเราไปนวดเส้นก็ไปเจอท่านวันชัยที่นั่น ถามเหตุถามผล จะไปไหนมาไหนหลักเกณฑ์ไม่ค่อยมี ถามอาการเคลื่อนไหวของท่าน ลักษณะเป็นเร่ ๆ ร่อน ๆ ไม่มีหลัก เหมือนว่าหลักลอย ว่างั้นเถอะนะ จะไปไหนมาไหน พูดยาก ๆ ตอบยาก ๆ ลำบากการตอบ นี่แสดงให้เห็นว่าหลักลอย เราก็บอกว่า ‘ถ้าอย่างนั้นให้ไปอยู่วัดป่าบ้านตาดกับผมที่วัด’ เราก็ไม่เคยบอกใครให้เป็นอย่างนั้นนะ นี่ได้บอกเลย พอได้ความ พอเรากลับมาท่านก็ตามมา เราสอนตั้งหลักใหม่ก็ได้หลักจริง ๆ มาอยู่ที่นี่แล้วเข้า ๆ ออก ๆ จากนี้ก็ไปตั้งที่วัดนั้น เราก็ให้ไปอยู่ที่วัดภูสังโฆเรื่อยมา สักเท่าไรปีแล้ว มาอยู่กับเราตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ มันก็ ๒๓ ปีแล้วตั้งแต่เกี่ยวข้องกันมา .. คือความตั้งใจมีแต่หาที่เกาะที่ยึดไม่ถูก มันก็ไม่มีประโยชน์นะ เพราะเราเห็นโทษของเรา เราจึงบอกเลย.. ท่านก็เลยมาที่นี่ มาได้หลักที่นี่นะ เดี๋ยวนี้ท่านได้หลักแล้ว ได้หลักมั่นคง คือท่านพูดเอง เราไม่ได้แนะไปก่อน ท่านพูดเอง แล้วตรงกับความจริง ๆ ตามขั้นของธรรม เราบอก เออ..ใช้ได้ ๆ เรื่อย ๆ ไป นี่ก็เป็นเพราะสำคัญละ เดี๋ยวนี้ท่านวันชัยดี ได้หลักเกณฑ์ดี .. ท่านวันชัยก็มาพูดต่อปากต่อคำ เรื่องการภาวนาเป็นยังไง ๆ ขัดข้องตรงไหนเราเป็นผู้แก้ไขให้ทั้งนั้น ๆ จนกระทั่งทะลุ นี่อันหนึ่ง.. ภาคปฏิบัติเป็นของเล่นเมื่อไหร่ สอนกันสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้นะ จิตสอนจิตนี้ตรงแน่ว ๆ ขั้นธรรมนี่ ... เช่น เสกตัวเป็นครูเป็นอาจารย์เขา เขาน้อยกว่าแต่ความรู้เขาสูงกว่าเราสอนไม่ได้นะ อาจารย์น่ะสอนลูกศิษย์ไม่ได้ ... ธรรมดาเราจะไม่บอกใครง่าย ๆ ให้มาอยู่วัดบ้านตาด .. นี่เราก็สอนมาตั้งแต่ต้นเหมือนกันกับท่านลี ธรรมลีนี้เป็นเศรษฐีธรรมมานานแล้วนะ เรียกว่าเศรษฐีธรรม ถ้าธรรมเต็มเม็ดเต็มหน่วยเรียกว่าเศรษฐีได้แล้ว เศรษฐีธรรม.. ธรรมภายในหัวอก ใจกับธรรมเป็นอันเดียวกันแล้วไม่จม .. การภาวนานี้ขึ้นอยู่กับผู้แนะนำ ถ้าผู้แนะมีหลักใจ มีขั้นสูงกว่า ๆ ทางนั้นพูดขึ้นมาปั๊บทางนี้เข้าใจแล้ว ที่บกพร่องตรงไหนที่ควรแก้อย่างไร เข้าใจแล้วแก้ปุ๊บ ๆ มันก็เร็ว ทำสุ่มสี่สุ่มห้าด้วยความตั้งใจจริงอยู่ แต่มันไม่ค่อยได้ผลมากเท่าที่ควร ถ้ามีผู้แนะ ให้มีภูมิธรรมสูง แนะนี่ปั๊บ ๆ ถูกต้อง ๆ เกาะติด ๆ เลย..เร็ว ...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-08-2020 เมื่อ 02:23 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#565
|
|||
|
|||
วัดโพธิสมภรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนเพาะนิยม เลขที่ ๒๒ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของหนองประจักษ์ มีเนื้อที่ ๔๐ ไร่ ความเป็นมา วัดโพธิสมภรณ์เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งถากถางป่าจนพอควรแก่การปลูกกุฏิ ศาลาโรงธรรม สำหรับใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญ และเป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปีของหน่วยราชการ ใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ ๑ ปี ในระยะแรกชาวบ้านเรียกว่า วัดใหม่ เพราะแต่เดิมมีเพียงวัดมัชฌิมาวาส ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดเก่า จากนั้นจึงได้กราบอาราธนา พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาส มาเป็นเจ้าอาวาส และได้นำความขึ้นกราบทูลขอชื่อต่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ได้ประทานนามว่า วัดโพธิสมภรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) ผู้สร้างวัดนี้ ประมาณ ๓ ปีต่อมา พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรกับท่านเจ้าอาวาสได้เริ่มสร้างโบสถ์ด้วยอิฐถือปูน โดยใช้ผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นแรงงาน พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร เป็นช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างเอง แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ มหาเสวกโท พระยาราชนุกูลวิบูลยภักดี (อวบ เปาโรหิตย์) ขึ้นดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลภาคอีสาน และเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานีด้วย ได้มาเสริมสร้างวัดโพธิสมภรณ์ต่อ โดยขยายอาณาเขตให้กว้างออกไป และก่อสร้างเสนาสนะเพิ่มเติมอีกหลายหลัง พร้อมกับสร้างพระอุโบสถต่อจนแล้วเสร็จ และเห็นว่าภายในเขตเทศบาลจังหวัดอุดรธานี ยังไม่มีวัดธรรมยุตเลย สมควรจะตั้งวัดนี้ให้เป็นวัดของคณะธรรมยุตโดยแท้ จึงได้ปรึกษาหารือกับพระเทพเมธี (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี โดยมีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจัดพระเปรียญมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เพื่อจะได้บริหารกิจการพระศาสนา ฝ่ายปริยัติธรรมและฝ่ายวิปัสสนาธุระให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงนำความคิดเห็นกราบเรียนต่อพระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ จากนั้นจึงนำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ ขอพระเปรียญ ๑ รูป จากวัดเทพศิรินทราวาส ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์สืบไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ จึงทรงมีรับสั่งให้เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เลือกเฟ้นพระเปรียญ ก็ได้พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พันธุโล) ป.ธ. ๓ น.ธ.โท ฐานานุกรมของท่าน ซึ่งได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักวัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลานานถึง ๑๕ ปี ว่าเป็นผู้เหมาะสม ทั้งยังเป็นที่ชอบใจของเจ้าพระยามุขมนตรีฯ อีกด้วย เพราะท่านได้เคยเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงอยู่ก่อนแล้ว พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พันธุโล) ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมเจดีย์ จึงได้ย้ายจากวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ วัดโพธิสมภรณ์จึงเป็นวัดของคณะธรรมยุตตั้งแต่บัดนั้นมา ปัจจุบันวัดโพธิสมภรณ์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดโพธิสมภรณ์ ในระยะนั้นยังมีสภาพเป็นป่าละเมาะอยู่ มีเสนาสนะชั่วคราวพอคุ้มฝน บริเวณโดยรอบก็ยังเป็นป่า ไม่ค่อยมีบ้านเรือน เงียบสงบ อาหารบิณฑบาตตามมีตามได้ น้ำใช้ก็ได้จากบ่อบาดาลในวัด ซึ่งพระเณรช่วยกันตักหาบมาใส่ตุ่มใส่โอ่ง พระเณรระยะแรกยังมีน้อย ทั้งอัตคัตกันดารในปัจจัยสี่ แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะบริหารกิจการพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พันธุโล) ได้ทุ่มเทพัฒนาวัดในทุก ๆ ด้าน ส่วนที่เป็นศาสนวัตถุนั้น ท่านได้บูรณะซ่อมแซมและสร้างเสริมเพิ่มเติมให้มั่นคงถาวร ลำดับเจ้าอาวาสที่ครองวัดนี้ตั้งแต่เริ่มตั้งวัดจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้ รูปที่ ๑ พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๖๕ รูปที่ ๒ พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๕๐๕ รูปที่ ๓ พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) พ.ศ. ๒๕๐๕ – ปัจจุบัน วัดโพธิสมภรณ์นี้ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมีปูชนียวัตถุสำคัญ ดังนี้ ๑. พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ มีอายุประมาณ ๖๐๐ ปี ปางมารวิชัย มีนามว่า “พระพุทธรัศมี” เป็นพระประธานในพระอุโบสถ ๒. พระพุทธรูปศิลาแลง ปางประทานพร สมัยลพบุรี มีอายุ ๑,๓๐๐ ปี ประดิษฐานไว้ที่ซุ้มฝาผนังพระอุโบสถด้านหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ๓. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้หน่อมาจากรัฐบาลประเทศศรีลังกา ให้แก่รัฐบาลไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ นำมาปลูกไว้ด้านทิศเหนือพระอุโบสถ ๔. รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างด้วยศิลาแลง มีอายุ ๒๐๐ ปีเศษ ประดิษฐานไว้ในมณฑป ด้านทิศเหนือพระอุโบสถ ๕. พระบาทธาตุธรรมเจดีย์ เป็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ๓ ชั้น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และรูปเหมือนพระบูรพาจารย์ ๑๐ องค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-08-2020 เมื่อ 16:54 |
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
สุธรรม (07-08-2020)
|
#566
|
|||
|
|||
หลวงปู่แหวนกับธนบัตร ๕๐๐ บาท “... พูดถึงเรื่องเงินก็ระลึกถึงหลวงปู่แหวน อย่างนั้นละ..บทเวลาท่านจะทำ ท่านก็รู้ก็ปฏิบัติตามสมมุติอยู่ตลอดมา ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไร ท่านเคารพนับถือฝ่ายสมมุติ ท่านก็เคารพว่าเงินว่าทองไม่ให้จับ ท่านก็ไม่จับเหมือนพระทั้งหลาย บทเวลาท่านจะพลิกล็อกนะ อยู่ ๆ ก็ฟาด..ไปเอาธนบัตรใบละห้าร้อยมามวนบุหรี่ มวนใหญ่ ๆ เข้าใจไหมล่ะ ท่านสูบบุหรี่มวนใหญ่ หลวงปู่แหวนนั่นละ บทเวลาท่านจะพลิกล็อก มาเอาธนบัตรใบละห้าร้อยมวนบุหรี่สูบ.. ปุ๊บ ๆ ๆ พวกพระเณรก็ตกตะลึงกัน ‘อุ๊ย หลวงปู่ นี่มันธนบัตรใบละห้าร้อย เอามามวนบุหรี่สูบอะไร’ ‘หือ’ ท่านว่างั้นนะ ท่านทำ ท่าอย่างนั้นละ คือจิตของท่านผ่านไปหมด เรื่องสังฆาปาราชิกนี้ไม่มีในหัวใจ พูดตรง ๆ แต่กิริยาก็มีเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ท่านถึงเคารพกิริยา ต้องอาบัตินั้น อาบัตินี้ท่านเคารพ เวลาท่านพลิกปั๊บ อย่างที่หลวงปู่แหวนเอาธนบัตรใบละ ๕๐๐ มามวนบุหรี่ ท่านมวนบุหรี่ตัวใหญ่ ๆ นะ มวนบุหรี่ใส่ปุ๊บ ๆ ๆ ‘โอ๊ย หลวงปู่ทำไมเอาธนบัตรใบละ ๕๐๐ มามวนบุหรี่สูบอย่างนี้ล่ะ’ ท่านก็ว่า ‘หือ’ ทำท่าเหมือนไม่รู้นะ บทเวลาตอบ ‘ประสากระดาษ’ เท่านั้นละ ‘ประสากระดาษ’ ท่านก็สูบเฉยจากนั้นก็ทิ้ง จากนั้นไม่เคยทำอีกนะ ทำทีเดียวพอให้โลกได้รู้บ้าง คือจิตท่านบริสุทธิ์แล้วหมดนะ นี่เราใช้ตามกิริยาของสมมุติ พระเหล่านี้เป็นสมมุติ โลกมีสมมุติ พระเราก็เป็นสมมุติ รักษาสิกขาบทวินัยตามสภาพของสมมุติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงรักษาธรรมวินัยเช่นเดียวกันหมด แต่จิตใจท่านผ่านไปหมดแล้ว คำว่าสังฆาปาราชิกอะไรนี้.. ไม่มีในจิต แต่มีในกิริยาที่จะต้องปฏิบัติให้เหมาะสมต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน นั่น..ท่านก็แยกอย่างนั้น แต่พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่นไม่เคยเห็นนะ เวลาท่านพูดท่านพูดเฉย ๆ ท่านไม่ทำ ท่านพูดไปเหมือนกัน พูดแถวนี้แหละ แต่ท่านจะไม่ทำ หากพูด พูดใกล้เคียงกันกับที่ว่าเอาธนบัตรใบละ ๕๐๐ มามวนสูบ มวนบุหรี่สูบเหมือนอย่างหลวงปู่แหวน เป็นแต่เพียงว่าท่านไม่ทำอย่างนั้น กิริยาท่านพูดน่ะมี มีอย่างนั้น ‘คือจิตที่พ้นไปหมดแล้ว มันหมดแล้วเรื่องสมมุติ ไม่มีอะไรเข้าถึงจิตดวงนั้น เพราะทั้งหลายไม่ว่าอาบัติอาจีอะไรนี้.. มันเป็นสมมุติทั้งหมด ส่วนจิตนั้นผ่านหมดแล้ว.. เข้าไม่ถึง แต่ทีนี้เมื่อมีสมมุติอยู่ โลกทั้งหลายเขามีสมมุติ ปฏิบัติต่อกันให้เป็นความเหมาะสม ท่านจึงปฏิบัติตามสมมุติอย่างนั้น’ อย่างพ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่น ท่านไม่เคยข้ามเกินพระธรรมวินัยข้อใด ทั้ง ๆ ที่เวลาพูด.. ท่านก็พูด ท่านพูดเกี่ยวกับใจเสีย ท่านแยกออกมา สมมุติท่านก็บอกเราต้องปฏิบัติอย่างโลกเขาปฏิบัติกัน เพราะสมมุติกับสมมุติขัดกันไม่เหมาะ แน่ะ.. ว่างั้นนะ สมมุติกับสมมุติก็เคารพกัน นั่นท่านว่างั้น อย่างหลวงปู่แหวนที่ท่านว่า ท่านพลิกล็อกนะนั่น .. พลิกล็อกเป็นจิตล้วน ๆ แล้วไม่มีอะไรเข้าถึง ท่านแสดงออกมาทางกิริยาแย็บเดียว จากนั้นท่านก็ไม่เคยทำอีก ท่านทำให้เป็นข้อคิดเฉย ๆ ไม่ใช่ท่านดื้อด้าน ท่านทำเป็นข้อคิด...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-08-2020 เมื่อ 01:17 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#567
|
|||
|
|||
พระสาวก ... ครั้งพุทธกาล พระจิตคุปต์ “... อย่างพระจิตคุปต์นั้นน่ะ ไปเล่าถวายถามธรรมะท่าน เทวดาทั้งหลายมีความรักท่านมากที่สุด ท่านจะไปที่ไหนไม่ยอมให้ไปง่าย ๆ พวกเทวดาอยู่ในถ้ำนั้นน่ะ เขารักษาท่านอย่างเข้มงวดกวดขัน เวลาท่านอยู่นาน ๆ ใครนิมนต์ไปไหน ๆ ท่านก็ไม่ยอมไป แม้ที่สุดพระมหากษัตริย์นิมนต์ท่านให้ไปพระราชวัง ท่านก็ไม่ยอมไป ถึงขนาดพระมหากษัตริย์ทรงออกอุบายทีเดียว ต้องขออภัย.. ต้องเอาผ้าไปพันนมแม่ลูกอ่อน... ไม่ให้กินนมแล้ว พระราชารับสั่งให้นำผ้าไปพันนม แล้วให้รีบไปนิมนต์พระจิตคุปต์มาพระราชวัง ไปนิมนต์ก็กราบเรียนท่านตามความจริง เวลานี้พระราชาท่านเอาผ้าพันนมแม่ลูกอ่อน .. ไม่ให้ลูกอ่อนกินนม จนกว่าท่านอาจารย์นี่จะลงไปเยี่ยมพระราชาเมื่อไหร่ ท่านจึงประกาศเปิดผ้ากินนมแม่ลูกอ่อนให้.. ลูกถึงจะได้กินนม พอทำอย่างนั้น พระจิตคุปต์ว่า ‘ตาย ! ถ้าอย่างนี้เด็กก็ตายหมดล่ะซิ’ คึกคักลงเดี๋ยวนั้นเลย ทีนี้เขาร่ำลือว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ลูกศิษย์ท่านเป็นพระอรหันต์ไป.. ก็ไปเรียนถามท่าน ไหนเวลานี้ประชาชนทั่วเขตแดนว่า ‘ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว เวลานี้ท่านอาจารย์เป็นรึยัง’ ‘โอ้ย ! ยังนะ’ ‘ยัง เป็นยังไงเล่าให้ฟังซิ’ อาจารย์นี่ถึงจะสูงกว่าลูกศิษย์ก็สูงกว่าในฐานะเป็นอาจารย์ ลูกศิษย์ก็เป็นพระอรหันต์ พอว่างั้น ‘ท่านอาจารย์ติดข้องตรงไหน ว่ามา’ พอถวายธรรมะปึ๋งเข้าไปเท่านั้น ‘เอาล่ะ ที่นี้รู้ช่องทางแล้ว เออ ! เข้าใจแล้ว เอาล่ะ.. ที่นี้รู้ช่องทางแล้ว’ ท่านกำลังป่วยนะ เวลานั้นลูกศิษย์ไปเยี่ยม ทีนี้เวลาถามถึงภูมิธรรมท่าน... ตามที่คนเขาร่ำลือว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว เวลาลูกศิษย์ที่เป็นพระอรหันต์ไปถาม ท่านบอกว่าท่านยัง ถ้ายังท่านขัดข้องว่ามา ท่านก็อธิบายออกมาให้ฟัง... ลูกศิษย์ก็ถวายธรรมปึ๋งเข้าไปให้พิจารณาอย่างงั้น ๆ ‘เออ ! เข้าใจแล้ว.. ทางเดินเข้าใจแล้ว ออกไปได้’ คือให้ลูกศิษย์ออกไปจากที่ท่านนอนเป็นไข้ พอลูกศิษย์ออกไปยังไม่ถึงไหน ยังไม่พ้น พอออกไป ‘เออ ! เข้าใจแล้ว’...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2020 เมื่อ 20:22 |
#568
|
|||
|
|||
พระสาวก ... ครั้งพุทธกาล พระอานนท์ บรรลุธรรม “... พระอานนท์ จะเป็นพระอรหันต์ในวันทำสังคายนาตามพระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้ จึงเว้นช่องไว้สำหรับพระอานนท์ช่องเดียว ๔๙๙ ที่ ๕๐๐ เอาไว้สำหรับพระอานนท์ พระอานนท์ไม่นอนทั้งคืน ภาวนามีแต่เร่งที่จะให้ตรัสรู้ ทีนี้ไม่อยู่ในปัจจุบันธรรมที่ควรจะตรัสรู้ละซี ก็เอาแต่เรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งไว้แล้ว อีก ๓ เดือนเธอจะได้บรรลุธรรม ก็เลย ๓ เดือน ๆ อยู่ข้างนอกไม่ได้เข้ามา... จนกระทั่งจวนจะสว่างแล้ว เห็นท่าไม่ได้การ.. มุ่งจะบรรลุเท่าไร ก็มีแต่มุ่งตามวันตามคืน ตามกาลเวลาที่พระองค์ทรงทำนายไว้เท่านั้น ไม่ได้มุ่งเข้ามาจุดในปัจจุบันที่จะตรัสรู้ธรรมก็ไม่ตรัสรู้ ก็เลยทอดอาลัยเสีย เราจะไม่ไหวแล้วนะนี่ วันพรุ่งนี้จะทำสังคายนา เราจะพักสักหน่อย พอว่าพักสักหน่อย ความยึดของจิตในอดีตวันทำสังคายนานี้ก็สงบไป จิตหดเข้ามาเป็นปัจจุบัน นั่น พอเอนกายลงไปอย่างนี้ พระอานนท์จึงสำเร็จในอิริยาบถ ๔ จะว่านั่งก็ไม่ใช่ จะว่านอนก็ไม่ใช่ จะว่ายืนว่าเดินก็ไม่ใช่ .. ท่านเอนลงกำลังจะนอน เอนลงท่านี้ หัวยังไม่ถึงหมอนนะ.. ตรัสรู้ปึ๋งขึ้นมาเวลานั้นเลย นี่..จิตเป็นปัจจุบัน หดเข้ามาเป็นปัจจุบัน.. ไม่แส่ส่ายไปตามอดีต อนาคต ก็เลยตรัสรู้ผึงขึ้นมาก็ทราบเอง...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 14-08-2020 เมื่อ 13:53 |
#569
|
|||
|
|||
องค์หลวงตากราบเยี่ยมหลวงปู่ชอบ องค์หลวงตาได้ไปกราบเยี่ยมหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดโคกมน จังหวัดเลย ในโอกาสเดียวกันกับที่ได้เข้าสนทนาแก้ปัญหาธรรมกับหลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย ดังนี้ “... พอเที่ยงเราก็ออกจาก (วัดป่าบ้านตาด) นี้ .. ออกจากนี้ไปแล้วก็ไปพักที่วัด ตื่นเช้าวันหลัง ฉันเสร็จแล้วก็จะไปหาท่านอาจารย์คำดี .. ทีนี้ไปบิณฑบาต .. เดินไปด้วยกันสององค์ พระไปก่อนแล้ว เรากับท่านเดินตาม ๆ ไปคุยกันไปเพราะมีโอกาส เราไปค้างที่วัดโคกมนคืนหนึ่ง แต่ก่อนเป็นศาลาหลังเก่า ไปคราวนี้ไม่ได้ไปดู ยังอยู่หรือเปล่าไม่รู้..ศาลากรรมฐาน แต่ก่อนตอนไปบิณฑบาตท่านถือไม้เท้าไป ไม้เท้าก็พวกไม้เปาะ (ไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง) นี่แหละ แป๊ก ๆ ไป เดินไปคุยกันไปแล้วหันหน้าปั๊บ ‘ฮ่วย ท่านมหาขอเงินสัก ๓ พันหน่อยน่ะ’ ‘จะไปทำอันนั้น ๆ’ ‘เอ้อ ให้’ ว่างั้นเลย พอกลับมาเราก็จัดไปให้ท่านเลย นั่นเวลาจะพูดเป็นอย่างนั้น หลวงปู่ชอบกับเราสนิทกันมากนะ สนิทกันมาเป็นเวลานานแต่สมัยหลวงปู่มั่น อยู่หนองผือท่านก็ไป หลวงปู่ขาวก็ไปพักที่นั่นด้วยกัน หลวงปู่ชอบก็ไป แต่นั้นมาสนิทกันมาเรื่อย โคกมนเราก็เคยไปเสมอ แต่ก่อนตอนสังขารร่างกายท่านปรกติ.. เราเคยไปพักกับท่านก็เคยไป โคกมน.. นิสัยท่านกับสัตว์ป่ามีเสือเป็นต้น รู้สึกว่าท่านสนิทกับเสือมาก เสือมาหาท่านบ่อย ๆ เราพูดอย่างนี้ใครเชื่อได้ เขาไม่เชื่อใช่ไหม ก็เขาไม่เป็นท่าน ครูอาจารย์แต่ละองค์ ๆ จะเด่นไปคนละทิศละทาง หลวงปู่ขาวนี่เกี่ยวกับช้าง ช้างป่า ช้างบ้าน คุ้นทั้งนั้น หลวงปู่ชอบนี่พวกเทวดาด้วย เสือนี่สำคัญ..มาหาบ่อย แปลกอยู่นะ พูดขึ้นว่าเสือเรายังไม่เจอก็ยังน่าหวาดเสียว ท่านไปพักประเทศพม่า ท่านอยู่บนเขาบนถ้ำ ไปพักอยู่ในถ้ำ มีแคร่เล็ก ๆ อยู่ ๆ ๕ โมงเย็นกว่า ๆ แล้ว เสือก็ขึ้นไปนั้น ทางจงกรมท่านอยู่นี้สุดนี้ แคร่ท่านอยู่นั่น อยู่ ๆ เสือโคร่งก็โผล่ขึ้นมา ท่านมองไปเห็น ‘มาอะไร’ แน่ะ..ฟังซิ มันมองมาดูคน มองดูที่มันจะโดดขึ้น หัวจงกรม มันโดดขึ้นไปนอนอยู่นี้ มันเป็นหินเป็นลาน ๆ อยู่หน่อยหนึ่ง มันโผล่ขึ้นมาแล้วก็มองดูคน แล้วมองดูนี้สักเดี๋ยวก็็โดดปุ๊บขึ้นเลย นอนเลียแข้งเลียขาอยู่นั้นเฉย แน่ะ..เห็นไหมล่ะ ท่านก็อยู่ .. มันน่าเชื่อไหมล่ะ พวกตาบอดหูหนวกพวกเรามันไม่เชื่อง่าย ๆ แหละ ความจริงขนาดไหนมันก็ไม่ยอมเชื่อ ‘มึงขึ้นมาอะไร’ ท่านว่าอย่างนั้นนะ แต่ท่านไม่ได้พูดอะไรกับมันแหละ ขึ้นมาก็มานอนเหมือนหมานอน เลียแข้ง เลียขา เลียเล็บมัน ดูคนนิดเดียว ๆ จนกระทั่งค่ำ ๆ เข้า ๆ ก็ยังอยู่ที่นั้น ทีนี้ท่านจะเดินจงกรมไปนั้นมันก็นอนอยู่ข้างบน ท่านเดินจงกรมนี้.. มันรู้สึกเสียว ๆ ท่านว่า ‘มีขยาด ๆ นิด ๆ จะกลัวก็ไม่เห็นกลัว’ ท่านจะเดินจงกรมเข้าไปนั้นรู้สึกเสียว ๆ นิด ๆ เพราะมันนอนอยู่นี้ วันนั้นต้องสละ กลางคืนเลยไม่กล้าเดินจงกรม นั่งสวดมนต์ภาวนาแล้วก็นอนเลย ตื่นขึ้น จุดไฟขึ้นมามันยังนอนอยู่นั้น นอนเงียบนะ ท่านก็ไม่กล้าเดิน ท่านว่าอย่างนั้น จนกระทั่งเช้าขึ้นมา ทีนี้นอนไม่กระดุกกระดิกเลย เหมือนหมานอน ถึงเวลาจะลงไปบิณฑบาตมันยังอยู่จะทำยังไง ทางบิณฑบาตก็ไปทางหัวจงกรมนี้.. ตรงไปนี้ เสือก็นอนอยู่นี้ ทีนี้เลยไปที่นั่นละ ท่านเรียบร้อยแล้ว.. ครองผ้าแล้วไป แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2020 เมื่อ 20:27 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#570
|
|||
|
|||
พอท่านเดินไปนั้นก็ว่า ‘นี่..เราจะไปบิณฑบาต พระหิวข้าวนะ’ พูดหยอกเล่นกันกับมัน มันเฉยแต่มองดูเราอยู่ ‘นี่..พระหิวข้าว’ พูดกับมัน ‘จะบิณฑบาตมาฉัน อยากไปที่ไหนก็ไป อยากอยู่ที่นี่ก็แล้วแต่ หรืออยากไปที่ไหนก็ไป’ เท่านั้น ท่านก็เดิน เขาก็นอนเฉย ๆ ท่านก็ลงไป แต่ท่านไม่กล้าพูดให้ใครฟัง กลัวเขาจะมาทำลายมัน ไม่พูดเลย..ท่านว่า กลัวเขาจะมาทำลายมัน
บิณฑบาตฉันในบ้านนะ มีแคร่ออกมาข้างนอกมาฉัน เพราะมันไกล ท่านว่าพวกญาติโยมเขาเคยปฏิบัติอยู่แล้วอย่างนั้น พอบิณฑบาตออกมาก็มีที่พัก..ฉันที่นั่น ฉันเสร็จแล้วล้างบาตรล้างอะไรเสร็จ ท่านก็สะพายบาตรขึ้นเขา มาสายเลยหายเงียบเลย เขาลงไปเมื่อไหร่ไม่รู้ ตั้งแต่บัดนั้นก็ไม่เห็นขึ้นมาอีก แต่เสียงมันร้องอยู่ตามข้าง ๆ โอ๋ย.. มันร้องของมันประจำท่านว่า แต่ไม่เคยขึ้นมาอีก.. อย่างนั้นละ..บ่อยนะ ท่านว่ากับเสือ เสือมาหานี่บ่อย ไม่เห็นมีทำอะไร บางทีท่านไล่มันไป มันยังนั่งดูเราอยู่เฉย ท่านเลยเอาผ้าโบก.. ไปนะ โดดโก้ก..มันตื่น ลงไปนั้นก็ไปเฉย พอมันลงไปแล้วไปบิณฑบาต หรือมันจะเล่นไม่ซื่อกับเราน้า ท่านนึกในใจ ไปนี้ก็ต้องชำเลืองดู หรือมันจะไปหมอบอยู่ข้างทาง มันลงไปแล้ว..เสือโคร่ง ท่านก็ลงไปบิณฑบาต ตามข้างทางไม่มีเลย ไปไหนไม่รู้ บ่อยละ..กับเสือ ครูบาอาจารย์ชอบ.. เรื่องเสือนี้เด่นกว่าเพื่อน ได้คุยกันสนุกสนาน เรื่องอรรถเรื่องธรรมก็สับปนกันไปนั้น ท่านไปอยู่ประเทศพม่าตั้ง ๕ ปี ท่านพูดภาษาพม่าได้คล่อง คงจะไปอยู่กับพวกพม่าเลยหรือยังไงก็ไม่รู้ หรือพวกไทยใหญ่ เพราะประเทศพม่าก็มีหลายแห่ง เราก็ไม่ได้ถามท่าน มีแต่ว่าพม่าเท่านั้น เลยเข้าใจว่าประเทศพม่าเลย แต่ท่านพูดภาษาพม่าได้คล่องนะ แสดงว่าไปอยู่กับพวกพม่าจริง ๆ มันเป็นเรื่องแปลก..เรื่องอัศจรรย์อย่างนั้นละ เวลาแสดงขึ้นมาใครจะไปคาดได้ยังไง คาดไม่ได้ ตอนนั้นสงครามอังกฤษมาป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น พวกอังกฤษ ท่านไปอยู่ที่นั่น เขาเลยมาเห็นท่านว่าเป็นพระไทย ยิ่งถือเป็นข้าศึกใหญ่โต บอกเขาชี้แจงให้ทราบ ‘ท่านมานี้ ท่านมานานแล้ว.. ก่อนสงคราม ท่านมาอยู่ที่นี่’ เขาฟังแต่เขานิ่ง ๆ นะ ท่านไม่มีอะไรกับใคร กับโลกกับบ้านเมืองอะไร.. ไม่มี ท่านมาภาวนาของท่านอยู่อย่างนี้ พูดแล้วเขาก็ไป แล้ววันหลังมาอีก มาก็มาไล่เบี้ยอีกแหละ ก็ชี้แจงให้ฟัง จนกระทั่งเขายืนยันรับรอง ‘ถ้าจะทำลายท่าน ให้ทำลายคนทั้งบ้านนี้เสีย’ เขาก็ว่าอย่างนั้น เขาเชื่อ.. เขารับรองเลยว่าไม่มีอะไร ดูลักษณะเขายังไม่ไว้ใจอยู่นะ เห็นท่าไม่ได้การ นั่นละ..เหตุที่จะได้กลับเมืองไทย เขาก็เลยมาพูดกับท่าน.. อย่างนี้ไม่ไว้ใจละ ดูท่ามันมาอยู่เรื่อย เขาก็เลยพาท่านไปส่งทาง ทางมันทางป่า พวกคนป่าเขาเที่ยวหากัน ส่วนมากก็พวกยาฝิ่นยาอะไร แล้วเขาก็บอกทาง ให้จับทางนี้ไว้ให้ดี.. ไปข้างหน้าจะมีทางพวกโขลงช้าง พวกอะไรผ่านไปผ่านมา ให้จับทางนี้ไว้ให้ดี อย่าปล่อยทางนี้ ทางนี้จะถึงเมืองไทยเลยเขาบอก ไม่มีบ้านผู้บ้านคน มาในป่าไม่ได้ฉันจังหัน มากลางคืนด้วย พักที่ไหนก็พัก โอ๊ย.. สัตว์เสือเต็มป่าเต็มดง แต่ไม่มีอะไรละ ท่านก็มาของท่าน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2020 เมื่อ 20:30 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#571
|
|||
|
|||
ทีนี้เป็นวันที่สองหรือที่สามไม่ทราบนะ เพราะท่านเดินทางอยู่เรื่อย ๆ ท่านเพลีย..เพลียเอามาก จะเดินต่อไปไม่ได้แล้ว ‘เอ๊..ทำไงนี่ ยิ่งอ่อนยิ่งเพลียลงทุกวัน หิวข้าวก็หิว’ เพลียกับความหิวก็อันเดียวกันนั่นแหละ ท่านเลยนึกวิตกขึ้น อย่างนั้นนะ
‘ตั้งแต่เรายังดี ๆ อยู่ อยู่ที่ไหนเทวดาก็มาหาเราอยู่เสมอ เวลาเราจนตรอกจนมุมนี้เทวดาไปไหนหมด ไม่เห็นมีสักตนสองตน หรือจะปล่อยให้พระตาย มาหวังเอาผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้นหรือ ไม่ได้คิดถึงอรรถถึงธรรมที่กว้างขวางครอบโลกเหรอ’ ท่านนึกเฉย ๆ นะ ท่านนั่งรำพึงเพราะเหนื่อยมาก จากนั้นท่านก็เดินทางต่อไป ไม่นานนะ ห่างจากนี้ไปก็ประมาณสัก ๓๐ นาทีท่านว่า พอไปมีผู้ชายคนหนึ่งเดินมาแล้วมานั่งจบอาหาร กำลังนั่งจบอยู่ อ้าว.. ดงนี้ก็เป็นดงป่าแท้ ๆ ไม่มีผู้มีคน ผู้ชายคนนี้มาจากไหนน้า ผิดสังเกตเอาเหลือเกิน ท่านก็เดินไปตามด่านนั้นแหละ เขานั่งจบอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ว่า ‘นิมนต์พระคุณเจ้าพักฉันจังหันที่นี่เสียก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป เขาก็บอกเลยว่าจะถึงเมืองไทยในวันนี้แหละ’ เขาพูดบอกเลยนะ นี่โยมมาจากไหน มาจากโน้น ชี้ขึ้นฟ้านู่น ไม่บอกว่ามาจากบ้านใดเมืองใด มาจากนู้น ท่านก็สังเกตดูลักษณะท่าที ก็เหมือนคนเรานี่แหละไม่ได้ผิดกันเลย อะไรก็เหมือนกันหมด การแต่งเนื้อแต่งตัวก็เหมือนกันหมด ทีนี้เวลาเขาเอาของมาใส่บาตร ท่านก็ปลดบาตร ปลดอะไร ของอยู่ในบาตรท่านก็ปลดออก แล้วก็รับบาตรเขา พอรับบาตรเสร็จแล้วท่านก็ให้พรเขา คนเดียวเท่านั้นละ.. ผู้ชาย พอให้พรเสร็จแล้ว ถ้าคนอื่นพูดก็เป็นอย่างหนึ่ง นี่ท่านพูดเอง เป็นเรื่องแปลกประหลาด เรื่องอัศจรรย์ ท่านว่า พอให้พรเขาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็บอกว่า ‘จะลาละครับ’ เขาก็เดินไป มันมีต้นไม้ต้นหนึ่งอยู่ข้างนั้น เขาก็เดินไปข้าง ๆ พอไปยังต้นไม้นั้นแล้วหายเงียบไปเลย ท่านคอยมองดูจะเดินไปที่ไหนอีกก็ไม่เห็น ก็ต้นไม้ใหญ่ ๆ มันโล่งข้างล่าง มองไปมันก็เห็นหมด ท่านว่าไปลับต้นไม้ต้นเดียวแล้วหายเงียบเลย เอ๊.. ไปยังไงน้า มองที่ไหนก็ไม่เห็น ท่านเลยเดินตามไปดู ไปก็เห็นแต่ต้นไม้เปล่า ๆ คนนั้นก็หายเงียบเลย ท่านเลยกลับมาฉันจังหัน แต่อาหารนี่มันแปลก ท่านว่ากลิ่นมันไม่ได้กลิ่นเหมือนอาหารธรรมดาเรา พูดไม่ถูก ท่านว่างั้น ฉันก็พอดีเลย พอดีเราอิ่ม อันนั้นก็พอดีหมด ทำไมมันจึงช่างเหมาะกันเหลือเกิน ท่านฉันแล้วก็มีกำลัง พักสักหน่อยท่านก็เดินทางต่อไป ได้รำพึงถึงเทวดานั้นยิ่งกว่าที่เขามาหาเราตอนกลางค่ำกลางคืน เพราะท่านเคยติดต่อเทศนาว่าการสอนเขาเป็นประจำ เพราะฉะนั้นถึงว่าซิ เวลาพระจะเป็นจะตายเทวดาไม่เห็นมามอง มามากต่อมาก นี่มาก็มาคนเดียว แล้วท่านก็มาถึงเมืองไทยวันนั้นแหละ แปลกอย่างนั้นละ..ฟังซิ บ้านคนไม่มี แต่อาหารมันแปลก กลิ่นไม่เหมือนอาหารเรา ทีนี้อาหารก็เป็นอาหารคนเราธรรมดานะ ไม่ใช่เช่นอย่างอาหารเจแจอะไร..ไม่มี ก็อาหารพวกเนื้อพวกปลาธรรมดา มันก็แปลกอยู่ ท่านว่า จึงได้คิด เอ๊อ.. ความคิดความคาดนี่มันคิดไม่ได้นะ คาดไม่ได้นะ อย่างนี้จะเป็นอะไร จะให้เป็นคนธรรมดาเป็นไปไม่ได้ ท่านว่างั้น เพราะไม่ใช่บ้านผู้บ้านคน อาหารก็เหมือนกัน.. กลิ่นอาหาร โอชารสรู้สึกว่าซึ้งทุกอย่าง ฉันลงไปก็พอดีหมด พอดีอิ่ม นี่อันหนึ่ง ท่านเล่าให้ฟัง มาหลัง ๆ นี้คนยุ่งท่านตลอด พระเณรก็โกโรโกโส ทำให้เสียไปหมดนั่นแหละ พระแบบเปรต แบบผี แทรกอรรถแทรกธรรมนั่นซิ..มันมีอยู่ อยู่ด้วยกันคุยสนุกแหละกับท่านอาจารย์ชอบ เพราะคุ้นกันมาก...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2020 เมื่อ 01:26 |
#572
|
|||
|
|||
พระอรหันต์ ๔ ประเภท “... พระอรหันต์ ๔ ประเภทตามที่ท่านแสดงไว้ในตำรา .. สุกขวิปัสสโก ผู้รู้แจ้งเห็นจริงอย่างเรียบราบ สงบไปเลย..เงียบ ๆ สงบร่มเย็นไปเลย ไม่ผาดไม่โผน ไม่โจนทะยานในกิริยาที่กิเลสขาดจากใจ ท่านเรียบหมดไปเลย เตวิชโช ได้วิชชา ๓ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติย้อนหลังได้ จุตูปปาตญาณ เล็งดูสัตว์โลกที่เกิดที่ตายเกลื่อนอยู่ในโลกธาตุนี้ได้ อาสวักขยญาณ ก็จ้าอยู่ในหัวใจแล้ว ฉฬภิญโญ นี่ประเภทที่สาม ได้อภิญญา ๖ เหาะเหิน เดินฟ้า ดำดิน บินบน หูทิพย์ ตาทิพย์ เนรมิตได้หลายอย่างหลายประการ คนเดียวตั้งเป็นพันเป็นหมื่นคนก็ได้ ประเภทที่สี่ จตุปฏิสัมภิทา ๔ แตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ คือ อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทานี้ พูดมาเพียงย่อแต่ตีความหมายออกได้กระจ่างแจ้งไปหมด อัตถะ คือครอบเอาไว้ บวกไว้ ถ้าเป็นมัดก็มัดไว้ เขาเรียกกระทู้ แก้กระทู้คือว่าแก้มัด เช่นมัดเป็นกองอย่างนี้ พอแก้นี้ออกกระจายออกไป ธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมะแต่ละแขนง ๆ แตกออกอีก ๆ ที่แตกกระจายออกไปจากอรรถนี้เป็นธรรม ธรรมแตกกระจายออกไป นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในคำพูด วาจาการโต้การตอบ เทศนาว่าการ ไม่มีอัดมีอั้น ล้ำยุคล้ำสมัยไปตลอดเลย กระจายไปหมด แตกฉาน ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ยังแตกฉานครอบ ๓ อัตถะ ธัมมะ นิรุตติ ครอบไปอีก พระอรหันต์ประเภทที่สี่นี้ ครอบหมดในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นประเภทที่เด่นมาก เยี่ยมในวาสนาของท่าน กิ่งก้าน สาขา ดอก ใบ นี้เป็นเครื่องประดับท่านสวยงามไปหมด ชุ่มเย็นไปหมด กระจายออกให้โลกได้รับความชุ่มเย็นไปกว้างขวางมากมาย ... ส่วนความบริสุทธิ์นั้นเสมอกันหมด ไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่าใคร ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมา จนกระทั่งถึงสาวกองค์สุดท้าย เสมอภาคกันหมดเป็นอันเดียวกัน ... นี่คือพื้นฐานแห่งธรรมธาตุ ... ที่ต่างกันตามอำนาจวาสนาของผู้บำเพ็ญบารมีมา กว้าง แคบ ลึก ตื้น หนา บาง ต่างกันในวาสนาอันนี้ ตามนิสัยวาสนาที่สร้างมา ทำความปรารถนาต่างกัน ปรารถนาเป็นอรหันต์แล้ว เมื่อถึงขั้นเป็นอรหันต์แล้ว.. ขอให้มีอำนาจวาสนาหนักในทางนั้น ๆ เด่นในทางนั้น ๆ เวลาสำเร็จมาแล้วก็เป็นอย่างนั้น ...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2020 เมื่อ 18:48 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#573
|
|||
|
|||
๑๐. เทศนาธรรมสงเคราะห์โลก นับแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นต้นมา ภายหลังหมดสิ้นความสงสัยในธรรมทั้งปวงแล้ว องค์หลวงตาได้เมตตาสงเคราะห์โลก ด้วยการแสดงพระธรรมเทศนาแก่หมู่เพื่อนพระเณร นักปฏิบัติด้านจิตภาวนา ตลอดถึงฆราวาสญาติโยมที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ตลอดจนสงเคราะห์ด้านวัตถุสิ่งของแก่โลก อย่างไม่อาจประมาณค่าเป็นตัวเลขได้ @@@@@@@@@@@@@@@@ องค์ท่านสอนคณะศิษย์อยู่เนือง ๆ ให้ทราบหลักการฟังธรรมที่ถูกต้องและอานิสงส์แห่งการฟังธรรม ดังนี้ “... การฟังเทศน์อบรมจิตใจ ให้ตั้งไว้ที่จิตของเรานี้ เรียกว่า สติเฝ้าบ้าน จิตนั่นแหละเป็นบ้าน เวลาท่านเทศน์ไปจะเห็นผลประจักษ์ ดังท่านแสดงไว้ในธรรมว่า การฟังเทศน์มีอานิสงส์ถึง ๕ อย่าง ข้อ ๑. ผู้ฟังจะได้ยินได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ข้อ ๒. สิ่งใดที่เคยได้ยินได้ฟังแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจชัด จะเข้าใจแจ่มแจ้งชัดขึ้น ข้อ ๓. จะบรรเทาความสงสัยเสียได้ ข้อ ๔. จะทำความเห็นให้ถูกต้องได้ ข้อ ๕. เป็นข้อสำคัญ จิตผู้ฟังย่อมสงบผ่องใส นี่เกิดขึ้นจากขณะฟังเทศน์ จิตเมื่อไม่ส่งออกข้างนอกย่อมสงบ เมื่อสงบย่อมผ่องใส นี่เป็นคุณสมบัติประจำผู้ที่ฟังเทศน์ด้วยความตั้งใจจริง ๆ ผลจะปรากฏอย่างนั้น จิตสงบผ่องใสนี่สำคัญ ถ้าสงบแล้วก็ผ่องใส...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2020 เมื่อ 18:49 |
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
สุธรรม (14-08-2020)
|
#574
|
|||
|
|||
เทศนาอบรมพระ การเทศนาสอนโลกขององค์หลวงตา ท่านจะแสดงธรรมอบรมพระแยกจากฆราวาส เพราะพระและฆราวาสมีชีวิตความเป็นอยู่และความมุ่งมั่นต่างกัน เนื้อธรรมที่แสดงจึงต่างกันออกไป หากแสดงธรรมรวม ๆ กันแล้วผลย่อมไม่เต็มที่ องค์ท่านเคยเปรียบเหมือนกับการปรุงแกงหม้อใหญ่ให้คนจำนวนมากได้รับประทาน จะให้ถูกปากทุก ๆ คนย่อมเป็นไปไม่ได้ จากนั้นถ้ามีเวลาเหลือพอ องค์ท่านจึงจะแสดงธรรมเพื่อชนกลุ่มน้อยด้วย เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงกัน ***************** “ธัมโม หเว รักขติ ธัมมาจาริง พระธรรมย่อมรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว” *****************
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-08-2020 เมื่อ 14:05 |
#575
|
|||
|
|||
สอนตนจริง สอนผู้อื่นก็จริง ในอดีตช่วงเรียนหนังสือและออกปฏิบัติ การเทศนาว่าการของท่าน มีแต่การเทศน์สอนตนเองตลอดมา หากมีเทศน์บ้างก็เพราะเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ดังนี้ “... พอออกปฏิบัติแล้ว ทีนี้มันก็เป็นมหาแล้วล่ะ การเทศนาว่าการก็ไม่ได้เป็นอารมณ์ ... ไม่เคยสนใจกับการเทศน์ให้ใครฟัง นอกจากเทศน์สอนเจ้าของอย่างเดียว แต่ก็หากมีที่จำเป็นจนได้นั่นแหละ บางทีไปก็ไปพักอยู่บ้านใดบ้านหนึ่ง เขามีงานในบ้านของเขา เขาต้องมานิมนต์เราไปเทศน์ เราบอกว่า ‘เทศน์ไม่เป็น’ เขาไม่ยอมเชื่อเลย เขาว่า ‘เป็นมหาแล้ว โอ๊ย.. อย่าว่าเลยว่าเทศน์ไม่เป็น’ เขาว่านะเนี่ย มหาก็ฆ่าตัวเองได้เหมือนกันนะ เขาไม่ยอมเชื่อเลย ‘ลงเป็นมหาแล้ว เทศน์ไม่เป็นไม่มี’ เขาว่าเลย.. อันนั้นก็ไปเทศน์ เวลาจำเป็นจริง ๆ หากมีเป็นบางแห่ง ๆ เพราะเราเที่ยวไปหลายแห่ง ไปบางทีก็มีงานในหมู่บ้านของเขา เขาก็นิมนต์เรามาเทศน์ มันก็จำเป็นต้องได้มา นาน ๆ ที นอกนั้นไม่เอาไหนละ.. ไม่เทศน์นะ เทศน์สอนใครไม่เทศน์เลยละ จากเรียนมาเข้าด้านปฏิบัติแล้วยิ่งไม่สนใจเลย นอกจากจำเป็นอย่างที่ว่านี้ เราก็เทศน์ให้ฟังเสียบ้างเท่านั้น นอกนั้นไม่เอาเลย ๆ จากนั้นมามันก็เกี่ยวข้องกับเพื่อนกับฝูง กับประชาชน ญาติโยม ก็ต้องได้เทศน์ไปเรื่อยละ... เรื่อยมาจนกระทั่งป่านนี้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-08-2020 เมื่อ 14:06 |
#576
|
|||
|
|||
เทศน์สอนเรานี่มันยากนะ เทศน์สอนเรานี่มันเอาจริงเอาจังทุกอย่าง มัดกันทุกแง่ทุกมุมจึงเรียกว่าสอนละซิ เทศน์สอนประชาชนเขาจะเก็บได้หนักเบามากน้อย มันก็เป็นกำลังของเขา แต่เทศน์สอนตัวเองนี้มันเอาจริงเอาจังทุกอย่าง ว่ายังไงต้องอย่างงั้นนะ บังคับเลยนะ เรียกว่าสอนตัวเอง บีบกันตลอดเลย นี่ละมันยากกว่าสอนประชาชนนะ...”
ครั้นเมื่อองค์ท่านสอนตนเอง บังคับตนเองจนเห็นผลเป็นที่พอใจแล้ว ต่อมามีพระเณรเข้ามาเกี่ยวข้องขออยู่ศึกษาด้วย ท่านก็ให้ความใส่ใจที่จะแนะนำสั่งสอนอย่างจริงจัง ดังนี้ “... ผมสอนจริง ๆ สอนหมู่สอนเพื่อน ขอให้เห็นใจ รับไว้แต่ละองค์ ๆ นี้ผมรับไว้จริง ๆ ด้วยเหตุด้วยผล สอนเต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มภูมิความสามารถที่จะสั่งสอนได้ การดูหมู่เพื่อนภายในวัดนี้ซึ่งเป็นเสมือนอวัยวะของผม ผมดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน.. ทุกอย่างเต็มสติกำลังความสามารถของผม ที่อื่น ๆ ผมไม่ได้สนใจ ผมเคยพูดเสมอ พอออกนอกวัดไปแล้ว ใส่แว่นตาดำไปเลย ไม่สนใจเพราะไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบแล้ว เราไม่ใช่ผู้ที่จะให้โอวาทสั่งสอนใคร ๆ นี่ เป็นเรื่องของเขา สมบัติของใครของเรา.. แต่นี้หมู่เพื่อนน้อมกาย วาจา ใจ เข้ามาเพื่อให้เราเป็นภาระ อาจริโย เม ภันเต โหหิ, อายัสมโต นิสสาย วัจฉามิ นี่ก็รับด้วย โอปายิกัง, ปฏิรูปัง, ปาสาทิเกน สัมปาเทหิ... ท่านถึงได้ว่า พึ่งตัวเองยังไม่ได้ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งไปก่อน ๕ พรรษานั้น ท่านพูดไว้พอประมาณ ถ้า ๕ พรรษาล่วงแล้วยังเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องอยู่เพื่อศึกษาอบรมกับท่านผู้ดีกว่าตนต่อไป คิดดูซิ.. พระ ๖๐ พรรษาที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ ก็ยังต้องมาของนิสัยจากผู้ ๑๐ พรรษา.. แต่มีหลักจิตหลักธรรมวินัย ท่านบอกไว้แล้วในพระวินัย เพราะมันไม่สำคัญอยู่กับพรรษา แต่สำคัญที่ความทรงตัวได้หรือไม่ได้ สำคัญตรงนี้ต่างหาก ...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-08-2020 เมื่อ 14:08 |
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
สุธรรม (15-08-2020)
|
#577
|
|||
|
|||
ด้วยความรับผิดชอบและปรารถนาดีต่อพระเณรที่มาศึกษา จึงกลายเป็นความเข้มงวดกวดขันในข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อย่างจริงจัง ดังนี้
“เราเป็นอย่างนั้นจริง ๆ กับพระ กับเณรนี้เด็ดจริง ๆ เพราะฉะนั้น ท่านถึงได้นำมาพูดคือจริงจังทุกอย่าง หลักธรรมหลักวินัยเคลื่อนไม่ได้ แต่ก่อนเป็นอย่างนั้น นี่..ที่เขาร่ำลือว่าอาจารย์มหาบัวดุ ๆ คือเขาเห็นแต่เผิน ๆ คือเข้มงวดกวดขันข้อปฏิบัติ แต่ก่อนไม่ค่อยมีประชาชนญาติโยมเข้าไปเกี่ยวข้อง มีแต่พระเณรล้วน ๆ มันก็เข้มงวดกวดขันกันได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย..ใช่ไหมล่ะ ? พวกญาติโยมมา ควรว่าบ้างก็ว่าบ้างเล็กน้อย ดุบ้างอะไรบ้างอย่างนี้ละ ใครก็ร่ำลือว่าอาจารย์มหาบัวดุ ๆ เดี๋ยวนี้เขาลบลายหมดแล้ว ไม่มีเหลือละคำว่าดุ ๆ แล้วดุเท่าไรยิ่งคลานเข้ามา พวกบ้าไม่รู้จักดุ” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-08-2020 เมื่อ 14:09 |
#578
|
|||
|
|||
หยุดเทศน์ยาวด้วยโรคหัวใจ องค์ท่านกล่าวถึงวันที่เริ่มต้นเป็นโรคหัวใจ จนต้องยุติการแสดงธรรมนานหลายปี ดังนี้ “... ระยะ ๒๕๐๔ – ๒๕๐๕ เทศน์กรรมฐานล้วน ๆ พวกพระจะได้ฟังเทศน์เรา กัณฑ์มีตั้งแต่นั้นละ ฟังไม่มีใครมายุ่ง มีแต่เทศน์สอนพระร้อยเปอร์เซ็นต์พุ่ง ๆ เทศน์แต่สมาธิ – ปัญญา อย่างเดียวมันคล่องตัว.. พุ่ง จากนั้นมาปี ๒๕๐๖ ทรุดใหญ่ โรคหัวใจกำเริบ จากนั้นมาเรื่องก็ไม่เป็นท่า ตะเกียกตะกายเทศน์ หยุดมา ๓ หรือ ๔ ปี.. ไม่เทศน์เลย แม้แต่แขกก็รับไม่ได้นะ อย่าว่าแต่ไม่เทศน์เลย รับแขกก็รับไม่ได้ เริ่มเป็นวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๐๖ เป็นตอนกำลังเทศน์ในงานเผาศพท่านอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เจ้าอาวาสวัดดอยธรรมเจดีย์ วันนั้นคนเป็นหมื่น ๆ พระเป็นพัน ๆ คือตามธรรมดา ๆ เทศน์ธรรมดา ๆ มันก็ไม่เร็วน่ะ เป็นธรรมดาไป ถ้าเทศน์ทั่ว ๆ ไปนี้มันก็เป็นธรรมดาทั่ว ๆ ไป ไม่ค่อยเร่งไม่ค่อยเร็วล่ะ... เราก็เทศน์มุ่งไปทางพระเรามาก เพราะฉะนั้น มันถึงเผ็ดร้อน ธรรมะมันก็ผึง ๆ ๆ เลย... พอเทศน์ถึงขั้นสมาธิ .. เรื่องสมาธิเรื่องปัญญานี้เร็ว เริ่มต้นสมาธิก็เริ่มเร็วขึ้น แล้ว.. ขั้นของสมาธิกี่ขั้นกี่ภูมิไปตามความละเอียดของสมาธิ ก็เร็วไปเรื่อย ๆ และยิ่งเข้าขั้นปัญญาและปัญญาอัตโนมัติด้วยแล้วยิ่งไปใหญ่เลย.. หมุนติ้ว ๆ เวลามันเป็นอย่างนั้นมันหมุนสิ นี่เราไม่เคยเป็น.. มันอะไรพูดไม่ถูกนะ เหมือนกับเราจะสลบบนธรรมมาสน์ กึ๊กเดียวเลย กึ๊กเดียวเท่านั้น โห.. เราก็ไม่เคยเป็น หยุดกึ๊กเลยเชียว ‘ทำไมเป็นอย่างนี้’ แต่สติรู้ตลอดเวลาจนกระทั่งรู้สึก รู้สึกชัดเจนว่า ‘อ๋อ ! นี่แหละ ที่เขาเรียกว่าเป็นโรคหัวใจ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้เอง’ คือมันตัวสั่นหมด.. มันจะสลบในเวลานั้น เลยหยุด ถ้าธรรมดาแล้ว..ดีไม่ดี..ตาย แต่นี้มันก็ไม่เป็นไร จิตใจไม่มีอะไร มันเป็นอะไรก็ดูตามธาตุขันธ์ พอมันค่อยคลี่คลายออกมา ๆ นี้ .. พอค่อยเบาเรื่องภายในนี่แล้วออกมาทางส่วนร่างกายนี้ ตัวมันสั่นหมด เอวังก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี พอลงจากธรรมมาสน์ได้ก็ลงจากธรรมมาสน์เลย กราบมับ ๆ หนีเลย คนก็มืดแปดทิศแปดด้านเลย ไม่ทราบว่าเราลงธรรมมาสน์เมื่อใด เราไม่ได้เกี่ยกับใครนี่ ลงธรรมมาสน์แล้วไปเลย คนจะตาย จะอยู่ได้ยังไง ตั้งแต่บัดนั้นมาก็รู้ว่า ‘อ๋อ ! โรคหัวใจมันเป็นอย่างนี้ ๆ รู้มาโดยลำดับ ๆ’ ... นั่นละ..เทศน์กำลังเร่งเต็มเหนี่ยว ๆ หยุดกึ๊กเลย โรคหัวใจมันกระตุกเอาอย่างแรง ขั้นจะสลบไสล ตั้งแต่นั้นมาไม่ได้เทศน์เลย หยุดเลยต้อนรับแขกคน พูดอะไรกับใครไม่ได้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๑๒ มา เล่นกับแขกคนอะไรไม่ได้เลย... จากนั้นปี ๒๕๑๔ – ๒๕๑๕ เริ่มพูดได้บ้างเล็กน้อย ทั้งพูดทั้งระวัง แล้วปี ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙ เริ่มเทศน์สอนคุณเพาพงา (ป่วยเป็นมะเร็ง ขอมาปฏิบัติธรรมเตรียมตัวตาย ที่วัดป่าบ้านตาด) ... เทศน์ไม่ได้มากก็เริ่มเทศน์ เทศน์ได้พอธรรมดา ๆ เร่งไม่ได้ มันกระเทือน ต่อมามันก็กำเริบอีกในปี ๒๕๒๘ – ๒๕๒๙ ก็รุนแรงเหมือนกัน หมอเขาห้ามรับแขก จึงหลบหนีไปอยู่ทางพัทยา ... ในสวนลึก ๆ อันนั้นก็บังคับเลย เรียกว่าไม่รับแขกทั้งนั้น คนมาจังหันมากเรื่องมาก ทางกรุงเทพฯ ก็ไป ทางที่ไหนสามย่าน ตอนเช้าเต็มไปทุกวัน ๆ นั่นแหละ แต่เรามีข้อบังคับเอาไว้ เราจะรับได้เฉพาะตอนเช้านี้ เพราะไม่ใช่เป็นเวลาพูดเทศนาว่าการ พอขบฉันเสร็จแล้วให้เลิกไปเลย ทำอย่างนั้นนานนะ ทีละอาทิตย์กว่า ๆ เกือบสองอาทิตย์ก็มี ไปพักสองหนสามหน .. จากนั้นค่อยเบามาเรื่อย ๆ แล้วค่อยเทศน์ มาทุกวันนี้เบาโรคหัวใจแทบไม่มี..ถ้าธรรมดานะ แต่ธาตุขันธ์นี้มันก็บวกกันเข้า มันก็อ่อนด้วยธาตุด้วยขันธ์ ‘เทศน์ทุกวันนี้ก็เทศน์ไปอย่างนั้น ถ้าเทศน์รุนแรงก็ไม่ได้ มันไปกระเทือนตรงนั้น ให้หายมันไม่หาย เป็นแต่เพียงมันสงบเท่านั้นเอง’ ...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-08-2020 เมื่อ 14:12 |
#579
|
|||
|
|||
ธาตุขันธ์... เครื่องมือธรรม ความสะดวกในธาตุขันธ์เป็นสิ่งสำคัญต่อการเทศน์ ดังที่องค์ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “... เทศน์ของเราเวลาหนุ่มนี้ .. ไหลเลย.. เวลาอัดเทปนี้... กำลังเร่ง ๆ พอดีลมหายใจหมด เนื้อธรรมยังไม่หมด เลยต้องรีบสูดลมหายใจดังฟิ้ว ฟิ้ว เลยนะ เสียงมันติดอยู่ในเทปนะ ถึงขนาดนั้นนะ เดี๋ยวนี้ โอ๊ย.. ตายเลย.. นี่ละมันต่างกันนะ ธาตุขันธ์มันเป็นยังงั้นจริง ๆ นี่..เทศน์แต่ก่อน มันไหลออกมา ยิ่งเทศน์ธรรมะขั้นสูงเท่าไรยิ่งฟังจนแทบไม่ทัน มันเป็นจริง ๆ นะ มันพุ่ง..พุ่งเลย เพราะธรรมะออกจากนี้ล้วน ๆ..ล้วน ๆ ไม่ได้ไปคว้าคัมภีร์นั้นคัมภีร์นี้ ออกจากนี้.. ธรรมะสูงเท่าไรมันยิ่งเด็ด ๆ ๆ ยิ่งเร็วมันยิ่งพุ่ง เทศน์นี้เร่งจนกระทั่งถึงว่าเป็นปืนกลไปเลย... นี่ละเวลายังหนุ่มน้อย แต่มันก็เป็นกรรมอันหนึ่งเหมือนกัน พอจากนั้นมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ตั้งแต่ ๒๕๐๖ มาเลย นั่นละ..ล้มไปเลย เทศน์นี้หยุดหมด จนกระทั่ง ๒๕๑๒ – ๑๓ พอพูดได้บ้างเล็กน้อย จาก ๒๕๐๖ ไปถึง ๒๕๑๑ – ๑๒ นี้ไม่ได้พูดเลย แม้แต่ต้อนรับแขกก็ไม่เอา หลบหลีกปลีกตัวไปหาอยู่ในป่าในรกไป ซุ่ม ๆ ซ่อน ๆ รับแขกไม่ได้ พอ ๒๕๑๓ –๑๔ ไปแล้ว ก็มีเทศน์บ้างเล็กน้อย จนกระทั่งถึง ๒๕๒๐ ... ที่ลงหนังสือเล่มธรรมชุดเตรียมพร้อมและหนังสือศาสนาอยู่ที่ไหน.. ที่ออกมาเนี่ย เทศน์สอน ... ตั้งเกือบร้อยกัณฑ์ เทศน์สอนทุกวัน .. นั่นละเริ่มเทศนาละ ถึงไม่เข้มข้นก็ตาม ก็เรียกว่าเริ่มเทศน์ละ จากนั้นมาก็ค่อยไปเรื่อย ๆ หากอยู่ในเกณฑ์ระวังโรคหัวใจนี้อยู่ตลอด มันจึงไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ที่จะเทศน์เด็ด ๆ เผ็ด ๆ ร้อน ๆ เหมือนแต่ก่อน โอ๋.. ไม่ได้ ว่างั้นเลย จึงต้องลดลง นี่ก็เรียกว่าเป็นกรรมอันหนึ่งเหมือนกัน หากว่าร่างกายนี้มันพร้อมมาตลอดแล้ว การเทศน์นี้รู้สึกว่าจะกว้างขวางมาก เพราะเทศน์ไม่มีหยุดนี่นะ ที่หยุดก็หยุดเพราะโรคต่างหาก โรคบีบบังคับ หยุดไปสักพักหนึ่ง ถึงมาเริ่มออก ... เทศน์แต่ก่อน จริง ๆ พูดได้จริง ๆ เพราะเราเทศน์อย่างนั้นจริง ๆ มันเป็นในนิสัยจิตใจของเราเองนี่ เทศน์ออกมานี้ ไม่ได้บีบไม่ได้บังคับ มันหากเป็นของมันเอง ยิ่งเทศน์ภาคปฏิบัติด้วยแล้ว มันยิ่งไหลเลยนะ คล่องที่สุดเลย พุ่ง..พุ่ง..พุ่งเลย...” นอกจากโรคหัวใจจะเป็นเหตุให้ท่านหยุดเทศน์แล้ว ในช่วงที่เกิดสงครามเวียดนามก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งด้วย ที่ไม่อาจเทศน์อบรมพระได้ เนื่องจากมีเสียงรบกวนจากเครื่องบินไอพ่น ที่บินขึ้นลงสนามบินทหารในจังหวัดอุดรธานีอยู่ตลอด หากกล่าวถึงระดับความรุนแรงโรคภัยไข้เจ็บประจำองค์ท่าน ในช่วงอดีตที่ผ่านมา ความหนักหน่วงมิได้มีผลต่อการเทศนาว่าการเท่านั้น ยังกระทบอย่างรุนแรงต่อธาตุขันธ์ร่างกายขององค์ท่าน .. ชนิดคณะแพทย์ศิริราชต้องตื่นตระหนกอีกด้วย แต่เพราะ “ใจ” และ “ธรรมโอสถ” ของท่านสามารถผ่อนหนักเป็นเบาลงได้ ดังนี้ “... เรื่องใจสำคัญนะ เรายกตัวอย่างพวกหมอศิริราช เขาตั้งหน้าตั้งตามานิมนต์เราไปค้างที่ศิริราชสักคืนหนึ่ง ให้ไปค้างที่นั่นเลย แล้วเขาเอาเครื่องอะไรพะรุงพะรังมาให้เราแบก เอาเครื่องมาวัดไว้เพื่อจะได้ดูชัดเจน พอปลดออกมาเขาดู ทีนี้ตอนหลังมาเขาปลดอันนั้นออกมา เขาว่านี่ ‘โอ้โห’ หมอคนไหนก็ ‘โอ้โห ๆ’ ทั้งนั้น ‘แล้วเป็นยังไง ?’ เขาว่า ‘ถึงแค่นี้ตายไปแล้ว นี้มันเลยไปอีกนู้น.. ท่านยังเฉยอยู่ ลงขนาดนี้แล้วมันตายไปห้าทวีปแล้ว นี่ท่านอยู่ได้ยังไง เห็นท่านเฉยธรรมดา ท่านอยู่ได้ยังไง’ นี่ก็คงกำลังใจ..ใช่ไหมล่ะ กำลังธรรมกำลังใจ เราไม่มีอะไรกับใคร พวกหมอ โอ๊ย.. ตกใจ..ตกใจกันทั้งนั้น พอออกมาดูแล้ว ก็อย่านั้นละ..กำลังใจ ก็เราไม่มีอะไร เราพูดจริง ๆ เรื่องกำลังใจ กำลังธรรม เป็นอันเดียวกันแล้ว มันจึงไม่มีสะทกสะท้านหวั่นไหวกับอะไรในสามโลกธาตุ เราพูดจริง ๆ ให้สมชื่อสมนามว่า เราสอนลูกศิษย์นี้สอนจริง ๆ หรือสอนหลอกลวงท่านทั้งหลาย เราเป็นอยู่นี่..คิดดูซิ.. หมอเขาเอามาตรวจกลางคืน ให้เราไปค้างคืนที่ศิริราช โถ.. เนี่ย ๆ เขาว่างั้นนะ พวกหมอเขานั้นแหละ เขาว่าเนี่ย..มันตายตั้งแต่ขั้นนี้แล้ว นี่ท่านยังไปอยู่โน้น เดี๋ยวนี้น่ะไปอยู่โน้น ท่านอยู่ได้ยังไงว่างั้น พวกบ้า..เราอยากว่างี้ ‘ก็อยู่ได้ด้วยธรรมละซิ พวกไม่มีธรรม มันเป็นบ้า มันตื่นกัน อย่างนั้นละ’ จบแล้ว...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-08-2020 เมื่อ 14:16 |
#580
|
|||
|
|||
สัญญา ... ไม่เที่ยง นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา องค์ท่านได้งดเทศน์อบรมพระเณรในวัด ส่วนการนิมนต์ไปเทศน์ข้างนอกนั้นท่านงดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ท่านเคยกล่าวไว้ ดังนี้ “... ไปเทศน์ที่นู่นก็เทศน์ลำบากมาก ไปก็ไม่ได้พักทั้งวัน .. เหนื่อย แล้วความจำ.. เทศน์ไปก็หลง อ้าว ไปถึงไหนแล้วล่ะ ว่าอย่างนี้แล้ว อยู่บนธรรมมาสน์นั่น ลืมแล้ว ไม่ทราบเทศน์เรื่องอะไรมา เอ้า.. ตั้งใหม่ ๆ อย่างงั้นนะ..เดี๋ยวนี้ความจำไม่เป็นท่า มันไม่เอาไหนแล้วความจำ ขันธ์ ๕ เป็นทั้งเครื่องมือของกิเลสด้วย เป็นทั้งเครื่องมือของธรรมด้วย เวลากิเลสเป็นเจ้าของมันก็เอาเป็นเครื่องมือ สนุกฟัดเหวี่ยงกัน ทีนี้มาเป็นเครื่องมือของธรรม ธรรมก็นำมาใช้ซิ ก็ใช้ขันธ์อันเดียวกันนี้ เป็นแต่เพียงว่าธรรมท่านไม่ยึดเท่านั้นเอง กิเลสมันยึดเป็นของมัน ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็นของกิเลสทั้งหมด กิเลสยึดแต่ธรรมท่านไม่ยึด.. ใช้เป็นเครื่องมือเฉย ๆ ต่างกันเท่านั้นเอง แต่ต้องเอาขันธ์ ๕ เทศน์ มันชำรุดตรงไหนก็ไม่สะดวกตรงนั้นแหละ อย่างเช่นความจำนี้ เทศน์ไป ๆ มันหลงลืมไป.. แล้วจะเอาอะไรมาเทศน์ต่อกันไป เมื่อเงื่อนต้นหลงลืมไปแล้วจะต่อไปหาเงื่อนปลายยังไงได้ จำไม่ได้ก็ตั้งใหม่ มันก็เป็นแบบใหม่ไปอีก .. เทศน์ที่ไหน ๆ เขานิมนต์ไปที่ไหนไม่เอาแล้ว เทศน์ลำบาก.. ..เหนื่อย ทั้งความจดจำก็ยิ่งเลวลงทุกวัน ๆ ...” อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ แม้จะชราภาพเพียงใด องค์ท่านก็ต้องยอมฝืนสังขารอีกครั้ง เดินทางไปเทศน์นอกสถานที่เกือบทั่วประเทศ เพราะความรักชาติบ้านเมือง และความเมตตาสงสารพี่น้องชาวไทยนั่นเอง หลังจากนั้นไม่นาน เทศนาของท่านก็เผยแพร่กระจายออกไปทั่วโลกส่งผ่านด้วยระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มจากถอดคำเทศน์เป็นตัวหนังสือ ต่อมาเป็นเสียงเทศน์และวีดีโอเทศน์ ลำดับสุดท้ายเป็นการถ่ายทอดสดทั้งในวัดป่าบ้านตาด และทุกสถานที่ที่องค์หลวงตาแสดงธรรม ดังนี้ “ไปเทศน์ที่ไหนออกทั่วโลก ๆ ตลอดเลย มันก็มีขบขันที่พูดให้ลูกศิษย์ลูกหาฟัง เรานี่เทศน์สอนโลกตั้งแต่โน้นแหละ มาตั้งแต่หลังวัดดอยธรรมเจดีย์มาแล้วนั้น ... เทศน์มาโดยตลอด เบื้องต้นก็เทศน์สอนพระอยู่ในป่าในเขา จากนั้นพระก็มากขึ้น ๆ ประชาชนก็เกี่ยวข้องมากขึ้น” ช่วงปลายชีวิตขององค์หลวงตา ราวต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๒ องค์ท่านเมตตากล่าวว่า “เทศน์ก็ลดลง ๆ จนกระทั่งทุกวันนี้ เดี๋ยวนี้ยังเหลือแต่สูหนี่ อย่างอื่นไม่มี เหลือแต่สูหนี่” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-08-2020 เมื่อ 05:39 |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 22 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 22 คน ) | |
|
|