|
เก็บตกจากบ้านอนุสาวรีย์ เก็บข้อธรรมจากบ้านอนุสาวรีย์มาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#21
|
||||
|
||||
มีร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่ง พยายามตะโกนเรียกลูกค้าเข้าร้าน นานเข้าเสียงเริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความเครียด
พระอาจารย์จึงกล่าวว่า "สำคัญตรงความรู้ตัว ในเมื่อเขาไม่รู้ตัวเขาก็ยังทำไปเรื่อย ก่อนหน้านี้อาตมาก็พอ ๆ กับเขา เสียงดังใส่คน พอรู้ตัวก็รีบหยุดทันที คนเราจะแก้ไขตัวเองได้ต้องมีความรู้ตัว ถ้าไม่รู้ว่าจุดบกพร่องอยู่ตรงไหนก็แก้ไขไม่ได้ จุดบกพร่องที่แก้ไขยากที่สุดคือ ส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองดีแล้ว การคิดว่าตัวเองดีแล้วมีโทษก็คือ อันดับแรก ไม่แสวงหาความก้าวหน้า อันดับที่สอง ปิดกั้นจากความดีในระดับสูงกว่าที่ควรจะได้ ควรจะเป็น อันดับสุดท้าย ก็คือ เข้าไม่ถึงความดีอย่างแท้จริง"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-10-2010 เมื่อ 02:15 |
สมาชิก 187 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
||||
|
||||
พระอาจารย์กล่าวถึงการจัดงานรักษาศีลแปดที่วัดให้ฟังว่า "ความจริงแล้วการรักษาศีลปฏิบัติธรรม เราทำอยู่ที่ไหนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ที่เขาจัดกันขึ้นมา มีประโยชน์อยู่อย่างหนึ่งคือ หมู่คณะลากกันไปได้ ประเภทพวกมากลากไป
อยู่บ้านเราอาจจะอดใจไม่ไหวไปกินข้าวเย็น แต่อยู่ที่วัดเขาพร้อมใจกันอด พอเห็นคนอื่นเขาอดได้ เราก็มีกำลังใจอดได้บ้าง สำหรับงานนี้ใครสมัครแล้วต้องไป หมาจะคลอดหรือเมียจะคลอดก็ต้องไป ถ้าไม่ไปเราคิดค่าประกาศนียบัตร ๙๙ บาท เพราะถ้ารอไปพิมพ์ประกาศนียบัตรวันงานแล้วจะทำไม่ทัน ในเมื่อพิมพ์ไปแล้วตามรายชื่อที่สมัคร ถ้าไม่ไปก็เสียเงินเสียของไปเปล่า ๆ หลายต่อหลายคนมีอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ทำความดี มีอยู่สองคนอยู่ข้างวัดแค่นั้น พอถึงวันงานกลับป่วย มาไม่ได้ เราจะได้รู้ว่า มารเขารักเรามาก มีความเมตตา อยากสงเคราะห์ให้เราอยู่กับเขานาน ๆ พยายามดึงถ่วงเราเอาไว้ไม่หลุดพ้น ควรจะตอบแทนความรักความหวังดีของเขาไหม..?!"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-10-2010 เมื่อ 02:18 |
สมาชิก 184 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
||||
|
||||
ถาม : ที่ว่าเอาใจไปรับพวกรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วทำให้กำลังรั่วไปหมด ที่รั่วออกไปคือทำใจไหลตามคิดตามหรือคะ ?
ตอบ : ใช่..เป็นการนึกคิดปรุงแต่ง ไม่ใช่การสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น แล้วหยุดเอาไว้ได้ แต่เราไปยินดียินร้าย พอใจและไม่พอใจ จึงเป็นการใช้พลังงานอย่างหนึ่ง ถ้าเราสามารถหยุดเอาไว้ได้ ไม่ไปยินดียินร้าย สักแต่ว่ารับรู้ ก็ไม่ต้องไปสูญเสียกำลังกับเรื่องเหล่านี้ ถาม : ไม่ใช่ว่าเราปิดหูปิดตา ? ตอบ : ไม่ใช่...เราสนใจได้ แต่ให้สนใจในลักษณะสักแต่ว่ารู้เฉย ๆ ถ้าไปยินดี..พลังงานก็หายไปแล้ว ไปยินร้าย..พลังงานก็หายไปแล้ว เพราะเราไปใส่อารมณ์ ยินดีก็เป็นโลภะมีส่วนของราคะ ยินร้ายก็เป็นโทสะมีส่วนของโมหะอยู่ด้วย เป็นกิเลสใหญ่มากเลย ถาม : อย่างอ่านนิยาย แล้วเราไปคิดตามที่เขาเขียน ? ตอบ : ไม่ต้องเสียเวลาหรอก เราไหลตั้งแต่ตอนซื้อมาแล้ว พอเห็นชื่อ แดน บราวน์ เราก็รั่วแล้ว จะต้องปรุงไปแล้ว ว่าเรื่องก่อนสนุกแค่ไหน แล้วเรื่องนี้จะสนุกแค่ไหน แหม..ดาวินชีโค้ดสุดยอดเลย แล้วเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรหนอ ต้องอ่านให้ได้" กิเลสเขาปรุงให้กินไปหลายถ้วยหลายจานแล้วยังไม่รู้ตัวอีก..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-10-2010 เมื่อ 12:03 |
สมาชิก 173 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
ถาม : หนูเคยคิดอย่างหนึ่งว่า เวลาที่เราเกิดความยินร้าย แล้วตัดไม่ได้สักทีหนึ่ง เพราะยังมีการระลึกนึกถึงอยู่ ก็เลยมาคิดว่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะมีความยินดีในความยินร้ายนั้น ?
ตอบ : มี..ที่ยังตัดไม่ได้ อันดับแรกคือกำลังไม่พอ อันดับที่สองคือยังไปห่วงหาอาวรณ์ สายใยเลยยังรัดพันอยู่ ถาม : จริง ๆ แล้ว เราก็สามารถสรุปได้ว่ามีแค่ตัวเดียวก็คือ มีความพอใจ ตอบ : จะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้ พระท่านสรุปว่าเป็นฉันทะ ความพอใจ จึงเกิดราคะ ความยินดี อยากมี อยากได้ สองศัพท์รวมกันเขาเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ไม่รู้ เลยโง่เสียท่าอยู่เรื่อย..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-10-2010 เมื่อ 12:04 |
สมาชิก 167 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
||||
|
||||
ถาม : (ไม่ได้ยิน)
ตอบ : เมื่อกำลังใจถึงอุปจารสมาธิ ภาพต่าง ๆ จะปรากฏขึ้น ในเมื่อภาพต่าง ๆ ปรากฏขึ้น ถ้าสงสัยใคร่รู้ให้กำหนดถามเดี๋ยวนั้นเลยว่า ท่านมาด้วยเหตุใด มีความประสงค์อะไร หรือถ้าไม่สามารถที่จะรับรู้ได้ชัดเจน ก็ให้ตั้งใจบอกว่า ให้มาเข้าฝันด้วย จะได้สื่อให้รู้ ๆ กันไปเลย ถาม : เดี๋ยวนี้จะเป็นเวลาเข้าห้องน้ำ ตอบ : นั่นเป็นเวลาที่ใจเราสบาย เพราะกำลังอุปจารสมาธิ คือ กำลังใจที่เบา ๆ สบาย ๆ ตรงช่วงนั้นจะเริ่มรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ แบบหลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านไปสวรรค์ครั้งแรกก็อาศัยนั่งพิงตุ่มในห้องน้ำ ยังดีจ้ะที่ของเราท่านมาแบบดี ๆ ถ้ามาแบบไม่ดีเดี๋ยวได้วิ่งกันแน่..! ถาม : เป็นท่านจริง ๆ มาหรือเปล่าคะ ? ตอบ : ถามท่านสิจ๊ะ ท่านมาแล้วเราไม่รู้จักถาม ถามแล้วอย่าไปย้ำ เพราะโลกอื่นเขาไม่โกหกหรอก ถ้าเราไปย้ำ บางท่านนิสัยเหมือนคน เห็นเราไปถามย้ำเหมือนไม่เชื่อถือกัน เดี๋ยวมีการเฉ่งคืน..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-10-2010 เมื่อ 13:32 |
สมาชิก 167 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
||||
|
||||
พระอาจารย์อ่าน ธรรมลีลา ของ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ให้ฟังว่า "ในมหาปรินิพพานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสชมพระอานนท์ว่าเป็นสุดยอดของพุทธอุปัฏฐาก ในบรรดาอุปัฏฐากทั้งหมดที่ผ่านมาไม่มีใครเกินท่าน
แต่ทำไมหลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในการสังคายนาพระไตรปิฎกหลังจากนั้น ๓ เดือน พระมหากัสสปะสั่งปรับอาบัติพระอานนท์ถึง ๕ ข้อ ? อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าเพิ่งตรัสชมพระอานนท์ไปเมื่อสามเดือนก่อน (และ) การจัดการเหล่านั้น (ของพระอานนท์) น่าจะถูกต้อง แต่กลับโดนคณะสงฆ์ปรับอาบัติ เรื่องนี้ผู้เขียนได้ศึกษาแล้วและเห็นว่าไม่ลงตัวกับหลักฐานพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ความแตกต่างเช่นนี้ได้จุดประกายให้นักวิชาการสายพุทธควรจะไปศึกษาเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้สมบูรณ์ต่อ จริง ๆ แล้วมีคำอธิบาย เพียงแต่ว่า ดร. ท่านคงไม่ได้คิดถึง เรื่องทั้งหลายเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่คณะสงฆ์ชิงปรับอาบัติพระอานนท์ก่อน ก็เพื่อไม่ให้คนกล่าวโทษพระอานนท์ทีหลัง แล้วกลายเป็นโทษแก่ตัวเอง เพราะตอนนั้นพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว โทษที่ปรับอาบัติพระอานนท์ ก็คือ ๑) ทูลขอให้ภิกษุณีบวช ข้อนี้ ดร.ฉัตรสุมาลย์ ท่านรับไม่ได้เด็ดขาด ถือว่าเป็นการกีดกันสิทธิสตรี ท่านต่อสู้เรื่องนี้มานาน ๒) ปรับอาบัติข้อที่พระอานนท์ให้บรรดาพระญาติพระวงศ์ของมัลลกษัตริย์ ที่เป็นสตรีไปถวายบังคมพระบรมศพก่อน ทำให้ทั้งหมดร้องไห้จนน้ำตาตกต้องพระพุทธสรีระ ๓) ปรับอาบัติเพราะพระอานนท์เหยียบสังฆาฏิของพระพุทธเจ้าเพื่อดึงให้ตึงตอนเย็บ ๔) ปรับอาบัติเพราะพระอานนท์ไม่สอบถามว่า สิกขาบทใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ๕) ปรับอาบัติพระอานนท์ที่ไม่ทูลขอให้พระพุทธเจ้าอยู่ตลอดกัป เพื่อสงเคราะห์มนุษย์และเทวดา"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-02-2019 เมื่อ 02:08 |
สมาชิก 170 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
||||
|
||||
"พระอานนท์ท่านแก้ได้ทุกข้อกล่าวหา ชี้แจงแก่คณะสงฆ์ได้ชัดเจน แต่ด้วยความที่เห็นแก่พระธรรมวินัย และเข้าใจว่าคณะสงฆ์ปรับอาบัติท่านด้วยเหตุใด ท่านจึงยอมรับว่าผิดและแสดงคืนอาบัติ ก็คือ ยอมสารภาพว่าเป็นความผิดเฉพาะของตน
แต่ที่จริงแล้ว คณะสงฆ์ปรับอาบัติพระอานนท์ก็เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ชิงทำเสียก่อน ไม่อย่างนั้นคนรุ่นหลังจะทะเลาะกันเพราะเรื่องของท่าน แล้วจะเกิดโทษแก่ตัวเองหนักไปเรื่อย จนอาจจะเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะคนที่กำลังใจไม่ถึง คิดไม่ถึงว่าพระอานนท์ทำอย่างนั้นไปเพราะอะไร ถ้าพระอานนท์นิพพานไปแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะมาว่ากล่าว มาบอกกันให้ชัดเจน ก็จะทำให้คนที่มาทีหลังไม่เข้าใจ ไปตำหนิพระอรหันต์ได้ โทษก็จะหนัก ฉะนั้น..การที่ท่านชิงปรับอาบัติเสียก่อน ก็เพื่อที่เป็นการอนุเคราะห์แก่โลก บาลีเรียกว่า โลกานุกัมปายะ อนุเคราะห์แก่ชนรุ่นหลัง ปิดประตูนรกไม่ให้คนลง แต่นี่กำลังมีคนไปตะกายแง้ม ๆ มาหน่อยแล้ว ท่านรับไม่ได้ตรงที่ว่า ทำไมถึงไปปรับอาบัติพระอานนท์เรื่องให้บวชภิกษุณี คิดว่าเป็นการกีดขวางไม่ให้สตรีบวช คนเราดีแสนดีถ้าเขาจะหาเรื่องมาติก็หามาจนได้แหละ"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-10-2010 เมื่อ 13:38 |
สมาชิก 170 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
||||
|
||||
ถาม : เวลาที่จะประคองภาพพระให้ได้นาน ๆ ทั้งวันทำอย่างไรครับ ?
ตอบ : ควบกับลมหายใจเข้าออก ตราบใดที่ยังรักษาลมหายใจเข้าออกอยู่ ตราบนั้นก็ยังรักษาภาพพระได้ ถาม : จับภาพขนาดไหนก็ได้ใช่ไหมครับ ? ตอบ : เอาขนาดที่เราถนัด กำหนดได้กำลังสบาย จะใหญ่จะเล็กอยู่ที่เรา ถาม : ผมพยายามประคองภาพพระให้ได้สององค์ ดีหรือไม่ หรือองค์เดียวก็พอ ? ตอบ : ถ้ายิ่งหลายองค์ก็ต้องยิ่งใช้สมาธิสูง เพราะถ้าพลาดแล้วก็จะหายไป ฉะนั้น..อยู่ที่เรา ถ้าคล่องตัวหลาย ๆ องค์ก็ได้ ถาม : ส่วนคำภาวนานี่ไม่จำเป็นใช่ไหมครับ ? ให้อยู่กับลมหายใจตลอด ตอบ : ถ้าจับลมหายใจได้ ไม่ต้องใช้คำภาวนาก็ได้จ้ะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-02-2019 เมื่อ 02:06 |
สมาชิก 169 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
||||
|
||||
ในขณะที่กำลังสนทนาถึงข่าวของแอนนี่ บรู๊ค พระอาจารย์กล่าวว่า "ในทุกเรื่อง ถ้ามีความสงสัยใครสักคน แล้วได้มีการจับเข่าคุยกันและถามตรง ๆ ทุกอย่างจะดีขึ้น เพราะเราจะทราบความจริงจากเจ้าตัวโดยตรง
แต่ส่วนใหญ่เราไม่ทำอย่างนั้น เราไปวิพากษ์วิจารณ์กันรอบนอก พอวิจารณ์กันในรอบนอก ไม่มีการสอบถามข้อเท็จจริงกับเจ้าตัวโดยตรง เรื่องที่ไม่ควรจะเป็นความผิด ก็กลายเป็นความผิดไป"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 12-10-2010 เมื่อ 01:53 |
สมาชิก 168 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
||||
|
||||
พระอาจารย์กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่งให้ฟังว่า "สมัยก่อนมีหนังอยู่เรื่องหนึ่ง ชื่อ ท้าฟัน เป็นการนัดต่อสู้กันระหว่างวิทยายุทธของสามเกาะบูรพาคือญี่ปุ่น (นินจา) กับแผ่นดินใหญ่คือจีน (วัดเส้าหลิน) นัดต่อสู้กันทุก ๆ สามปี
เหมือนกับว่าวิทยายุทธของเส้าหลินถึงจุดอิ่มตัวแล้ว พัฒนาต่อไม่ได้แล้ว แต่ทางด้านของญี่ปุ่นกลับพัฒนาไปได้เรื่อย เพราะว่าบุคคลที่ออกจากสำนักเพื่อเป็นตัวแทนในการต่อสู้นั้น จะต้องฆ่าอาจารย์ตัวเองให้ได้ เขาบอกว่าถ้าไม่มีกฎข้อนี้บังคับเอาไว้ ก็จะไม่มีความก้าวหน้า แต่ปรากฏว่าในการต่อสู้ทุกครั้ง จีนแผ่นดินใหญ่ชนะทุกที พอมาถึงรุ่นปัจจุบัน ระหว่างพระเอกสองคน คือ ญี่ปุ่นกับจีน แผ่นดินใหญ่ยังคงชนะเหมือนเดิม ในการต่อสู้ช่วงท้าย ๆ พระเอกญี่ปุ่นบาดเจ็บจะตกเขา แต่ด้วยความเหี้ยม เขาเอาดาบซามูไรแทงเท้าตัวเอง ปักเอาไว้ไม่ยอมให้ตก แล้วเขาก็ถามปัญหาที่คาใจ ว่าทำไมเขาจึงสู้ไม่ได้สักที ทั้ง ๆ ที่เขาพัฒนาก้าวหน้าไปเรื่อย พระเอกที่เป็นคนจีน เป็นศิษย์ของเส้าหลินบอกว่า "วิทยายุทธของสามเกาะบูรพาเต็มไปด้วยความโหดเหี้ยม นอกจากจิตใจจะคับแคบไม่เปิดกว้างพอแล้ว ส่วนสำคัญที่สุดก็คือพื้นดินที่เป็นเกาะ ทำให้รากฐานไม่มั่นคง ไม่เหมือนกับแผ่นดินใหญ่ที่กว้างใหญ่ไพศาล คนจีนตั้งแต่เกิดมา ก็พบแต่ผืนแผ่นดินอันกว้างขวาง จะย่างก้าวไปไหนก็มีแต่ความมั่นใจ จึงเพาะเป็นรากฐานที่ฝังลึกอยู่ในใจถึงความมั่นคงในพื้นฐานของตน แต่ทางด้านสามเกาะบูรพาจะไม่มีตรงจุดนี้" เพราะฉะนั้น...สู้กันไปถึงขนาดไหน ท้ายที่สุด ตรงจุดที่รากฐานไม่มั่นคงก็จะทำให้เขาแพ้"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-02-2019 เมื่อ 02:09 |
สมาชิก 167 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
||||
|
||||
"ถ้าเราเอาความรู้ตรงนี้มาใช้ในหลักการปฏิบัติของเรา ก็คือ ถ้ารากฐานของเราไม่มั่นคง โอกาสที่จะชนะกิเลสของเราก็ไม่มี
จุดที่ควรจะให้มั่นคงมาก ๆ คือ ศีลและสมาธิ ถ้าศีลและสมาธิไม่ทรงตัว โอกาสที่จะใช้ปัญญาไปปราบกิเลสก็ยาก เราอย่าลืมว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ บรรดาพราหมณ์ต่าง ๆ เขาทรงสมาบัติ ๘ กันเป็นปกติ แม้กระทั่งพระพุทธเจ้าก็ยังต้องไปศึกษาจากสำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบส จนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ แล้วจึงพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ และไปแสวงหาทางพ้นทุกข์เองนานถึง ๖ ปี กว่าจะบรรลุมรรคผล ดังนั้น...ถ้าพื้นฐานไม่มั่นคง โอกาสที่เราจะจะต่อยอดพัฒนา จนกระทั่งกลายเป็นปัญญาในการตัดกิเลสก็ยาก ขณะเดียวกัน..เราจะคิดว่าพื้นฐานศีลและสมาธิมั่นคงแล้ว จะสามารถช่วยในการตัดกิเลสได้ ก็ยังไม่ใช่..เพราะถ้าขาดตัวปัญญา จะเป็นเหมือนอาจารย์ต่าง ๆ ในสมัยโบราณ ไปไม่รอด ติดอยู่แค่พรหม ดังนั้น..ให้ทุกคนเร่งสร้างพื้นฐานของตัวเองให้มั่นคงไว้ก่อน"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 12-10-2010 เมื่อ 01:58 |
สมาชิก 166 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
||||
|
||||
ถาม : ตอนนี้ลูกปฏิบัติสติปัฏฐานสี่แบบยุบหนอพองหนอ ลูกมีโอกาสอ่านหนังสือ เจอที่ท่านบอกว่าให้เอาจิตจับที่พระนิพพานเป็นหลัก อันไหนควรจะให้ความสำคัญสูงสุดกว่ากันคะ ?
ตอบ : ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เราทำ ถ้าเราทำมาทางยุบหนอพองหนอ เราก็ต้องกำหนดรู้ปัจจุบันไปด้วย แต่ให้อธิษฐานตั้งใจว่า ถ้าตายเราขอไปพระนิพพานเพิ่มเข้าไปหน่อย ของเก่าก็ใช้ได้อยู่แล้ว แต่ว่าเพิ่มต่อไปนิด ถาม : หนูอ่านในเว็บเจอ ที่ท่านเมตตาสอนว่า ให้กำหนดจิตส่วนหนึ่งแบ่งเกาะอยู่ที่พระนิพพาน ตอบ : ก็บอกแล้วว่าเป็นคนละวิธีกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราถนัดวิธีไหน ถ้าอย่างพวกนี้ (ชี้ไปที่คนในบ้านอนุสาวรีย์) เขามาทางด้านนี้นานแล้ว เขาจะสามารถปฏิบัติตามนั้นได้เลย แต่เราต้องไปกำหนดพองยุบ กำหนดรู้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน นั่นเป็นคนละส่วนกัน แต่จะเรียกว่าส่วนเดียวกันก็ได้ แต่เราเปลี่ยนจากการรู้ปัจจุบันไปรู้นิพพานแทน แต่ถ้าไม่เคยชินเดี๋ยวเราก็จะไปกำหนดรู้หนอ ๆ แล้วนิพพานก็จะหล่นหายไปอีก ถาม : แล้วถ้าหนูจะมาฝึกแนวนี้ ตอบ : เคยถนัดแบบไหนให้ทำแบบเดิมจ้ะ เพียงแต่เราตั้งใจว่า การปฏิบัติของเราทั้งหมดนี้ อานิสงส์ที่ต้องการทั้งหมดคือพระนิพพาน ถ้าหากเราตายไปเมื่อไร เราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว ให้ปิดท้ายอย่างนี้ไว้ ไม่อย่างนั้นสิ่งที่เราทำมาชำนาญแล้ว เมื่อเราไปเปลี่ยนเอาของใหม่ จิตใจเรายังไม่ยอมรับ เราเคยพองหนอยุบหนอ เราก็พองยุบไป เพียงแต่ว่าตบท้ายเกาะพระนิพพานเอาไว้ด้วย ถาม : ที่ท่านบอกว่าให้รู้พระนิพพาน ให้รู้อย่างไรคะ ? ตอบ : พวกนี้ส่วนใหญ่เขาเคยฝึกมโนมยิทธิมา เขาจะสามารถรู้เห็นพระนิพพานได้จ้ะ ในเมื่อรู้เห็นได้ก็กำหนดใจเกาะพระนิพพานได้ เรื่องของการฝึกจริง ๆ แล้ว ไม่ได้ขัดกันหรอกจ้ะ เพียงแต่ว่าเราถนัดอย่างไหน ถ้าหากว่าไปเปลี่ยนใหม่ เท่ากับเริ่มต้นใหม่ ความเคยชินเดิม ๆ อาจจะทำให้ใจของเราไม่ยอมรับแล้วก็ไปได้ช้า ก็เหลืออยู่อย่างเดียวว่า เอาของเดิมของเราแล้วไปต่อท้ายด้วยพระนิพพาน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 12-10-2010 เมื่อ 02:01 |
สมาชิก 156 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
||||
|
||||
ถาม : ถ้าหนูจะเริ่มมาฝึกแนวนี้ ไม่เข้าใจว่าจะต้องแบ่งความรู้สึกอย่างไร ?
ตอบ : เหมือนกับว่าตอนนี้เรานั่งคุยอยู่ที่นี่ แล้วแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งนึกถึงบ้านของเราไปพร้อม ๆ กัน ขณะที่คุยก็ให้รู้เรื่องด้วยและความรู้สึกที่เกาะบ้านก็ให้ชัดเจนด้วย จะเป็นในลักษณะอย่างนั้น ทำสองอย่างไปพร้อมกัน เพียงแต่เราเปลี่ยนจากบ้านที่เรารู้จักมาเป็นภาพพระหรือเป็นพระนิพพาน ดังนั้น..ไม่ว่าเราจะ ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่มกิน คิด พูด ทำ อะไรก็ตาม ให้อีกใจหนึ่งของเราแบ่งเกาะพระนิพพาน หรือเกาะภาพพระไว้เสมอ ไม่ต้องชัดเจนหรอกจ้ะ แค่นึกถึงได้ก็ใช้ได้ พอทำไปนาน ๆ เดี๋ยวก็จะค่อย ๆ ชัดขึ้นมาเอง ถาม : ถ้าอย่างนั้นหนูกลับไปพองยุบ แต่ก็แบ่งใจ ตอบ : ถ้ายังไม่ชำนาญเดี๋ยวได้ตีกันตาย พอเราไปส่งอารมณ์อาจารย์ก็จะบอกว่าไม่ใช่ ๆ ให้ทิ้งซะ..! ถาม : ถ้าอย่างนั้น อารมณ์ที่เราไม่ได้จับพองยุบ ก็ไปจับตรงนั้นส่วนหนึ่งใช่ไหมคะ ? ตอบ : ถนัดอันไหนทำอย่างนั้นจ้ะ เพียงแต่เพิ่มขึ้นมาหน่อย ปัจจุบันขณะของเราก็คือปัจจุบันที่เกาะพระนิพพานด้วย
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 12-10-2010 เมื่อ 02:03 |
สมาชิก 151 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
||||
|
||||
ถาม : บางทีเราไปจับเวทนาที่ปวดมาก ๆ ก็ไม่ไหวค่ะ
ตอบ : จริง ๆ แล้วอยากจะบอกว่า สายพองหนอยุบหนอนั้น หลักการนั้นใช้ได้ แต่ตอนปฏิบัติไปกลับข้างกัน อาตมาได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่ง ชื่อว่า "เมื่อข้าพเจ้าปฏิบัติสติปัฏฐานแบบพองหนอยุบหนอ" ซึ่งตอนนี้ยังออกไม่ได้ เพราะยังเป็นลูกศิษย์ที่ มจร. อยู่ ทางมหาวิทยาลัยเขาให้ปฏิบัติตามสายนี้ ถ้าหนังสือเล่มนี้ออกมา เท่ากับว่าไปโยนระเบิดใส่เขา..! ในสายยุบหนอพองหนอ ท่านพูดถึงเรื่องการปรับอินทรีย์ ๕ ให้เสมอกัน อินทรีย์ ๕ นั้น ก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งตัวสมาธิเขาจะให้ใช้แค่อุปจารสมาธิหรือไม่ก็เป็นขณิกสมาธิเท่านั้น โดยที่บอกว่าต้องปรับให้เสมอกับวิริยะ ค่อยเป็นค่อยไปทีละส่วน ทีละเล็กทีละน้อย เขาบอกว่าถ้าหากสมาธิมากเกินไปจะทำให้ขี้เกียจ ก็คือจะนิ่งไปเฉย ๆ แต่ตรงจุดนี้เขาไม่เข้าใจว่า สมาธิเป็นตัวระงับกายสังขารและรัก โลภ โกรธ หลง ได้ดีที่สุด อาตมาเองนั่งทำสมาธิ แล้วไปส่งอารมณ์สอบกับท่านอาจารย์ประเสริฐ สุมงฺคโล วัดเพลงวิปัสสนา ท่านอาจารย์ถามว่ามีเวทนาไหม ? อาตมาบอกว่าไม่มี แต่ท่านอาจารย์ไม่เชื่อ สั่งให้อาตมานั่งให้ดูเดี๋ยวนั้นเลย พออาตมานั่งไป ๔๕ นาที ท่านอาจารย์ก็เรียก พอท่านอาจารย์เรียกอาตมาลืมตาขึ้นมา ท่านก็สั่งให้ลุกเดินให้ดู อาตมาก็เดินแล้วบอกกับท่านอาจารย์ไปว่า "ผมไม่เห็นมีเวทนาอะไรเลย" ท่านอาจารย์ถึงกับนั่งรำพึงว่า "เรื่องของสมาธิกำจัดเวทนาได้จริง ๆ" ท่านอาจารย์เข้าใจว่าอาตมานั่งนิ่งไปเฉย ๆ ไม่รับรู้อะไรข้างนอก แต่ท่านไม่รู้ว่าทุกอย่างที่คนอื่นทำตอนนั้น อาตมากำหนดรู้ได้ทั้งหมด
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-10-2010 เมื่อ 11:43 |
สมาชิก 160 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
||||
|
||||
ก็เลยกลายเป็นจุดบอดตรงที่ว่า ในส่วนของกำลังใจ แทนที่จะต้องมากลัดกลุ้มในการต่อสู้กับเวทนา หรือไม่ก็อารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามา ทำไมเราไม่ใช้สมาธิระงับเสีย
ในเมื่อคุณต้องการให้อินทรีย์ ๕ เสมอกันตามที่พระพุทธเจ้าสอนมา คุณก็ตั้งสมาธิสักร้อยหนึ่งแล้วก็ดึงตัวอื่นให้เป็นร้อยตามกันขึ้นไปสิ ไม่ใช่คุณกดสมาธิเหลือแค่ ๓ หรือ ๕ และกดตัวอื่นลงตามไปด้วย แล้วอีกกี่ชาติจึงจะรู้เรื่อง ทำแบบนี้มีหวังถูกกิเลสตีตายก่อน..! ท่านใช้คำอธิบายว่า การปฏิบัติโดยขณิกสมาธิเหมือนกับเราค่อยสะสมงาทีละเมล็ด ๆ นานไปก็จะมีงาจำนวนมากพอที่จะคั้นเอาน้ำมันมาใช้การได้ อาตมาก็ได้แต่สงสัยว่าในเมื่อเรามีงาเป็นเกวียนแล้ว ทำไมต้องไปเก็บทีละเมล็ดด้วย ? ตรงจุดนี้บอกให้ฟังไว้เป็นข้อมูลเฉย ๆ นะจ๊ะ ว่าหลักการถูก แต่ตอนปฏิบัติน่าจะผิด เพราะไปทำกลับข้างกัน เรื่องของวิปัสสนาและเรื่องของสมถะต้องไปพร้อมกัน ถ้าเอาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง โอกาสที่จะเอาดีได้นั้นยากมาก ถ้าเราเอาวิปัสสนาอย่างเดียว ก็เหมือนกับคนที่มีอาวุธคมกล้ามาก แต่แรงไม่พอที่จะยกอาวุธไปตัดไปฟันอะไรได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเอาสมถะอย่างเดียว เราก็เท่ากับเราเพาะกายจนร่างกายแข็งแรงชนิดแบกควายทั้งตัวได้ แต่เราดันไม่มีอาวุธที่จะเอาไปตัดไปฟันกิเลสอีก เพราะฉะนั้น..ทั้งวิปัสสนาและสมถะ สองอย่างต้องทำไปด้วยกัน แต่ปัจจุบันสายพองหนอยุบหนอเขาเอาเฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว ในเมื่อเขาเอาวิปัสสนาอย่างเดียว กำลังจึงไม่พอที่จะตัดกิเลสเสียที ตัวอย่างที่ท่านยกมาว่า หลวงปู่รูปหนึ่งปฏิบัติตั้งแต่เริ่มบวช ระยะเวลาผ่านไป ๖๐ ปี ท่านกำหนดพองหนอยุบหนอต่อเนื่องไป จนท่านอายุ ๘๐ ก็บรรลุมรรคผล อาตมาคิดว่า ถ้าเราไม่มีเวลาถึง ๖๐ ปี ตายเสียก่อนแล้วเราจะได้บรรลุไหม ? เพราะฉะนั้น..ถึงแม้หนังสือเล่มนี้อาตมาจะเขียนในลักษณะเป็นกลาง คือ ตั้งเป็นข้อสังเกตเฉย ๆ ไม่ได้ระบุการถูกผิด แต่ก็แรงสำหรับการปฏิบัติสายนี้ ออกไปเมื่อไรยุทธจักรถล่มทลายแน่นอน จึงต้องเก็บเอาไว้ก่อน ทั้ง ๆ ที่เขียนเสร็จตั้งแต่ปี ๒๕๔๘
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-10-2010 เมื่อ 11:47 |
สมาชิก 151 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
||||
|
||||
ถาม : ยังนั่งสมาธิไม่ค่อยดีครับ
ตอบ : ไม่ค่อยดีก็เพิ่มความพยายามเข้า สำคัญตรงที่ต้องเอาจริงเอาจัง ส่วนใหญ่แล้วพวกเราไม่ค่อยเอาจริงกัน พอลำบากก็ถอย โอกาสที่จะเอาดีจึงยาก การปฏิบัติต้องทุ่มเท ต้องแบ่งเวลาวันละอย่างน้อยเช้าชั่วโมง เย็นชั่วโมงหนึ่ง ถาม : แล้วควรจะไปทางสายไหนดี ? ตอบ : ขึ้นอยู่กับว่าคุณชอบทางไหน แต่พื้นฐานคืออานาปานสติ ลมหายใจเข้าออกจะทิ้งไม่ได้เลย หลังจากนั้นถ้าทรงตัวแล้วเราจะเลือกอะไรก็ได้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-10-2010 เมื่อ 12:52 |
สมาชิก 151 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
||||
|
||||
ในขณะที่สนทนาเรื่องหวย พระอาจารย์กล่าวให้ฟังว่า "อบายมุข แปลว่า ปากทางแห่งความเสื่อม ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ย่อมทำให้ทรัพย์สินฉิบหาย ไม่มีผู้ใดให้ความเชื่อถือ"
ถาม : แต่เราไม่ได้ซื้อจนฉิบหาย เราซื้อแค่พอได้ ตอบ : โลภเจตนานำหน้ามาเลย..! ถาม : หลวงพ่อวัดท่าซุงไม่ให้เล่นหวย แต่หลวงพ่อเองชอบให้หวย ? ตอบ : หลวงพ่อท่านเคยเล่นหวยครั้งเดียวในชีวิตและถูกรางวัลที่หนึ่งด้วย แล้วท่านก็ให้คนอื่นไปเลย ท่านต้องการแค่รู้ว่า สิ่งที่หลวงปู่ปานว่ามาเป็นความจริงหรือเปล่า ? หลวงพ่อท่านฝันว่าตกส้วมหลุมจมมิดหัว ท่านจึงเล่าถวายให้หลวงปู่ปานฟังว่าดีร้ายประการใด หลวงปู่ปานบอกว่า จะถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง ท่านบอกว่า คนที่ฝันว่าตกส้วมหลุมจมมิดหัว หรือฝันว่าโดนเขาฟันคอขาด แปลว่า จะถูกรางวัลที่หนึ่ง หลวงพ่อท่านถวายการรับใช้หลวงปู่ปานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ขออนุญาตลามากรุงเทพฯ นั่งเรือมาขึ้นที่ท่าเตียน มาซื้อหวย สมัยนั้นหวยใบละบาท ถ้าขายไม่หมดแต่เราซื้อแล้วถูก เขาก็จะคิดให้ตามเปอร์เซ็นต์ ไม่เหมือนกับสมัยนี้ที่เขากำหนดตายตัวว่ารางวัลเท่านี้ได้เงินเท่านี้ อีกอย่างสมัยก่อนคนซื้อต้องเซ็นชื่อลงต้นขั้วด้วย แล้วเขาจะมีชื่อที่เป็นรหัสที่ตัวเองรู้อยู่คนเดียว อาจจะเป็นชื่อ หนุ่มอยุธยา หรือ สาวผักไห่ เป็นต้น หลวงพ่อท่านบอกว่า สมัยนั้นท่านมีเงินติดย่ามอยู่สองร้อยบาท อาตมาลองคำนวณดูแล้วเท่ากับเงินแปดแสนสมัยนี้ ปรากฏว่า ท่านถูกรางวัลที่ ๑ จริง ๆ ได้มาแปดพันบาท ท่านก็เลยยกให้คนอื่นไป หลวงปู่ปานถามว่า "ทำไมไม่เอาวะ..!" หลวงพ่อบอกว่า "ไอ้เงินระยำจากการพนัน ผมไม่ต้องการ"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-10-2010 เมื่อ 12:54 |
สมาชิก 159 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
||||
|
||||
สำหรับคนอื่นเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่อาตมาแล้ว..ถ้าฝันว่าจับปลาได้ มักจะได้เงินทุกครั้ง จับปลาได้มากก็ได้เงินมาก จับปลาได้น้อยก็ได้เงินน้อย แต่ต้องได้ทุกครั้ง
มีเรื่องที่ขำ ๆ อยู่ก็คือ ตอนอยู่พม่าฝันว่าเพื่อนตกปลา แล้วปลาหลุดจากเบ็ดตกน้ำไป อาตมาก็ตามไปตะครุบเอาไว้ ปรากฏว่าได้เงินมาจริง ๆ เหมือนกัน เรื่องพวกนี้ต้องช่างสังเกต แบบเดียวกับหลวงปู่เทสก์ หลวงปู่ท่านฝันว่าฟันหลุดเมื่อไรญาติตายทุกที ท่านเล่าให้ฟังเองเลยนะ ก็เลยกลายเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เราต้องสังเกตเอาเองว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะว่าความฝันมีทั้ง ธาตุวิปริต กรรมนิมิต จิตนิวรณ์ เทพสังหรณ์ ๑) ธาตุวิปริต กินมาก ไฟธาตุกำเริบ จึงฝันเลอะเทอะ ๒) กรรมนิมิต ความดีความชั่วของเราแสดงเหตุให้รู้ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ๓) จิตนิวรณ์ เก็บความฟุ้งซ่านตอนกลางวันไปฝันตอนกลางคืน ๔) เทพสังหรณ์ เทวดาท่านสงเคราะห์ให้รู้ ส่วนใหญ่ตำราท่านบอกว่าความฝันที่แม่นยำ คือ เทพสังหรณ์ ให้สังเกตดู..ถ้าเป็นความฝันประมาณตีสองไปแล้ว จิตใจของคนที่วุ่นวายมาตลอดทั้งวัน พอถึงเวลาเริ่มสงบลง ตอนนั้นมีความสะอาดพอที่จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ ถ้ามีอะไรที่ควรแก่การสงเคราะห์ เทวดาท่านก็จะสอดแทรกเข้ามาให้เสมอ จึงได้เรียกว่าเทพสังหรณ์ กำลังใจของเราจริง ๆ ก็เป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว กลางคืนก็ฟุ้งซ่านคิดไปเรื่อย จะทำนั่นทำนี่ กลางวันก็ลุยกับภาระเต็มที่ กว่าจิตที่นอนมาทั้งคืนจะสงบได้ก็ใกล้สว่าง ถ้าว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์ ความฝันเป็นกลไกธรรมชาติที่ให้เราได้รับการผ่อนคลาย ไม่อย่างนั้นถ้าไม่มีการผ่อนคลายเลย เดี๋ยวเครียดตาย..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-10-2010 เมื่อ 05:27 |
สมาชิก 146 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
||||
|
||||
พระอาจารย์กล่าวถึงครูบาทางภาคเหนือให้ฟังว่า "ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็น หนังสือศิลปะวัฒนธรรม เขาขึ้นปกว่า ครูบาบ่มแก๊ส
สมัยก่อน คำว่า "ครูบา" หมายถึงพระเถระอาวุโสที่ทรงคุณความดีอย่างสูง เป็นที่เคารพของคนทั้งบ้านทั้งเมือง พอรุ่นหลัง ๆ ตั้งแต่ครูบาเทือง ครูบาบุญชุ่มขึ้นมา เป็นที่เคารพนับถือตั้งแต่อายุน้อย ๆ กลายเป็นรูปแบบครูบารุ่นใหม่ขึ้นมา เขาก็เลยใช้คำว่า "ครูบาบ่มแก๊ส" คือ สุกไม่ทันก็เลยต้องบ่มด้วยแก๊ส แต่ถ้าจะเอาคำว่า "ครูบา" ตามความหมายแบบโบราณ ก็จะขาดช่วงไปเลย คำว่าขาดช่วงไป คือ หาบุคคลที่มีคุณความดีความงาม ระดับเดียวกับหลวงปู่หลวงพ่อครูบาในอดีตนั้นยังไม่ได้ ตั้งแต่รุ่นครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง มรณภาพไปแล้ว รุ่นหลัง ๆ ไม่ได้อย่างนั้น จึงต้องเป็น "ครูบาบ่มแก๊ส" ไปก่อน แต่ดีใจว่า "ครูบาบ่มแก๊ส" ตามที่เขาวิพากษ์วิจารณ์นั้นมีเยอะ รุ่นนี้ถ้าสามารถรักษาตัวรอดได้ เป็นพระเถระสัก ๒๐ พรรษาขึ้นไป วงการสงฆ์ของภาคเหนือจะมั่นคงเป็นหลักเป็นฐาน เพราะท่านเริ่มเป็นที่เคารพนับถือของคนอื่นตั้งแต่พรรษายังน้อย โดยเฉพาะทางเหนือกับพม่า ในเรื่องของศาสนามาแนวเดียวกัน ก็คือ เคารพศรัทธาบุคคลตั้งแต่บวชเป็นเณร บรรดาครูบาอายุน้อย ๆ มักบวชตั้งแต่ยังเป็นเณร พอไปเจอหนังสือระดับนั้นกระทุ้งเข้า ก็แปลกนะ...เหมือนกับยิ่งตียิ่งดัง..!"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-10-2010 เมื่อ 13:30 |
สมาชิก 142 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
||||
|
||||
"ตอนนี้รุ่นของครูบาเทือง ครูบาบุญชุ่ม ก็ถือว่าเริ่มอาวุโสแล้ว เพราะอายุกาลเข้าระดับ ๔๐ เศษ ๆ แล้ว รอบรรดาท่านรุ่นหลังทั้งหลายเข้าสู่ ๔๐ กว่าพร้อม ๆ กัน วงการสงฆ์ทางเหนือก็จะมั่นคง
ปัจจุบันนี้ในสายตาของพระเณรด้วยกัน วงการสงฆ์ภาคเหนือตกต่ำมาก ตกต่ำตรงที่มีบรรดาพระตุ๊ดเณรแต๋วเยอะเป็นพิเศษ ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร อาจจะเป็นเพราะว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้มีมากเป็นปกติอยู่แล้ว พอพวกเขาเข้าไปบวช ในความรู้สึกของฆราวาสไม่ค่อยรู้สึกเท่าไร แต่ในวงการสงฆ์สัมผัสใกล้ชิดกว่า จึงรู้สึกว่าวงการสงฆ์ของภาคเหนือในปัจจุบัน ถ้าไม่ได้บรรดาครูบาบ่มแก๊สที่เขาเสียดสีกัน คอยค้ำจุนเอาไว้บ้าง จะเละกว่านี้อีกเยอะ พูดถึงครูบาบ่มแก๊ส ทำให้นึกถึงท่านโกณฑัญญะพราหมณ์ บรรดาพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ ที่ได้รับเชิญเข้าไปเพื่อทำนายมหาปุริสลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ท่านโกณฑัญญะพราหมณ์อายุน้อยที่สุด สมัยก่อนเขามักใช้คำว่า จบไตรเพทตอนอายุ ๑๖ ตีเสียว่าตอนนั้นท่านโกณฑัญญะพราหมณ์อายุ ๑๖ แต่ความสามารถของท่านเกินอายุ เราจะเห็นว่าสังคมของฮินดูหรืออินเดียโบราณ เขาเชื่อความสามารถของคน ไม่ได้เชื่อความอาวุโสอย่างเดียว"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-10-2010 เมื่อ 05:27 |
สมาชิก 142 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|