กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > เคล็ดวิชาต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #21  
เก่า 23-03-2009, 00:29
เด็กเมื่อวานซืน เด็กเมื่อวานซืน is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 92
ได้ให้อนุโมทนา: 7,974
ได้รับอนุโมทนา 32,441 ครั้ง ใน 1,052 โพสต์
เด็กเมื่อวานซืน is on a distinguished road
Default

แนะนำเพิ่มเติมว่า คุณเถรี ลองหาหนังสือชื่อ ปริทรรศน์มวยไทย ที่แต่งโดย ครูเขตร์ ศรียาภัย ฉบับพิมพ์ใหม่ ลองหามาอ่านเพิ่มเติมนะครับ จะได้ความรู้เพิ่มเติมมากครับ

สักอาทิตย์หน้า ช่วงวันที่ ๒๖ มีนาคม ถึง ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จะมีงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ คุณเถรี ลองไปหาซื้อหนังสือเล่มนี้ได้นะครับ อยู่ในบริเวณร้านของเครือมติชน ครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 07-04-2009 เมื่อ 09:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #22  
เก่า 23-03-2009, 00:41
เด็กเมื่อวานซืน เด็กเมื่อวานซืน is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 92
ได้ให้อนุโมทนา: 7,974
ได้รับอนุโมทนา 32,441 ครั้ง ใน 1,052 โพสต์
เด็กเมื่อวานซืน is on a distinguished road
Default

ภาพนี้ยกตัวอย่างให้ชมกันครับ


จะเป็นภาพของ การจดมวยในรูปแบบของมวยโคราช คู่ที่พบกันนี้ คือ คู่มวยที่เล่าขานกันจนเป็นตำนาน คือ ฝ่ายซ้าย เป็นคนจีนมาจากฮ่องกง ชื่อ จี๊ฉ่าง ส่วนคนขวาเป็นนักมวยไทย ใช้มวยสายโคราช เขาชื่อ นายยัง หาญทะเล ซึ่งเป็น ข้าราชบริพารใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ครับ

ถ้าสังเกตดูจะพบว่า ลักษณะการยืนจดมวย ของ มวยโคราช จะไม่เหมือนมวยไทยเวทีที่เห็นตามโทรทัศน์ทั่ว ๆ ไป (และก็ไม่น่าจะเหมือนกับหุ่นที่วัดบางกุ้งด้วยนะครับ) จะเห็นว่า มวยโคราชยุคนายยัง จะเขย่งส้นเท้าหลังเพื่อพร้อมจะเตะเข้าใส่เป้าหมายได้ตลอดเวลาครับ ซึ่งต่างจากการยืนจดมวยไทยสมัยปัจจุบันนี้ครับ



ส่วนภาพนี้ คือท่าลูกไม้ ไต่เขาพระสุเมรุ ของมวยไชยาครับ ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า ไต่เขาพระสุเมรุนี้ ขาข้างหนึ่งของฝ่ายที่ถูกไต่ต้องยกนะครับเพราะเนื่องจากว่าได้เตะออกไปแล้ว ส่วนผู้ที่ไต่ก็จะอาศัยแรงเตะของฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อที่จะทำการไต่ขึ้นไปครับ แต่ที่เราเห็นกันตามโทรทัศน์ส่วนใหญ่ขาของฝ่ายที่จะถูกไต่จะปักหลักอยู่กับพื้นทั้งสองข้าง

ผู้แสดงคือ ศิษย์คนหนึ่งของครูเขตร์ ศรียาภัย ชื่อของท่านคือ ครูทองหล่อ ยาและ หรือชื่อในวงการมวย ก็คือ ทอง เชื้อไชยา ครับ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)

เชื้อไชยา นี้ คือ ชื่อรุ่นที่ใช้เรียก ผู้ที่ได้เข้าเรียนในยุคสมัยที่ ครูเขตร์ ศรียาภัย ท่านสอนมวยไชยา ครับ ครูเขตร์ ท่านเปิดเป็นคณะ ชื่อ เชื้อไชยา ครับ เพราะฉะนั้น ลูกศิษย์ที่เรียนกับครูเขตร์ท่าน จึงใช้ ฉายาต่อท้ายว่า เชื้อไชยา ครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 06-04-2009 เมื่อ 17:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #23  
เก่า 07-04-2009, 10:02
เด็กเมื่อวานซืน เด็กเมื่อวานซืน is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 92
ได้ให้อนุโมทนา: 7,974
ได้รับอนุโมทนา 32,441 ครั้ง ใน 1,052 โพสต์
เด็กเมื่อวานซืน is on a distinguished road
Default

มีเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับครูเขตร์ ศรียาภัย เรื่องนี้ผมจำมาจากหนังสือเรื่อง มวยเมืองสยาม ของคุณวัลลภิศร์ สดประเสริฐ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านหนึ่งของครูเขตร์ครับ คุณวัลลภิศร์ได้เขียนไว้ว่า

ช่วงที่ท่านไปเรียนมวยไชยากับครูเขตร์ที่บ้านพักของท่านครู มีอยู่วันหนึ่ง ได้มีชายคนหนึ่งซึ่งได้อ่านบทความปริทรรศน์มวยไทยมาก่อนแล้ว มีความสนใจอยากจะขอพบกับครูเขตร์ท่าน เมื่อมาถึงก็ได้สนทนากับครูเขตร์อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะขอทดสอบวิชาการ ซึ่งขณะนั้นครูเขตร์ท่านอายุ ๗๐ ปีเศษแล้ว ท่านก็ยินดีให้ทดลอง โดยครูเขตร์ท่านบอกให้ชายคนนั้นเตะเข้าใส่ท่านได้เลย ในช่วงที่เตะนั้นไม่มีท่านใดได้ทันเห็น เนื่องจากบุตรีของครูเขตร์ท่านกำลังไปจัดน้ำมาให้แขกดื่ม ส่วนคุณวัลลภิศร์กำลังฝึกซ้อมอยู่ข้างนอก แต่ได้ยินเสียงการสนทนาอย่างชัดเจน

คุณวัลลภิศร์บันทึกว่า เมื่อสิ้นเสียงที่ครูเขตร์ท่านบอกให้เตะได้ ไม่นานนักก็ได้ยินเสียงเหมือนกับมีสิ่งของหล่นกระแทกพื้นเสียงดังพอสมควร เมื่อได้ยินเช่นนั้น
ทั้งบุตรีของท่านครูและตัวคุณวัลลภิศร์จึงได้รีบเข้าไปหาครูเขตร์ท่าน เผื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีจะได้ช่วยกันแก้ไข

เมื่อเข้าไปถึงก็พบว่าชายหนุ่มคนนั้นกำลังลุกขึ้นมาจากพื้นบ้าน บุตรีของครูเขตร์จึงได้สอบถามว่า เป็นอะไรมากไหม แต่ชายหนุ่มคนนั้นได้บอกว่า ปกติดี ไม่เป็นไร จากนั้นก็ได้นั่งสนทนากับครูเขตร์อยู่อีกสักระยะ ก่อนที่จะขอตัวกลับ

คุณวัลลภิศร์บันทึกต่อไปว่า บุตรีของครูเขตร์ได้สังเกตเห็นมีเลือดไหลซึมออกมาจากจมูกของชายคนดังกล่าว จึงได้แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยทันที ซึ่งทราบในภายหลังว่า ชายคนนี้ตั้งใจจะมาลองวิชาโดยเฉพาะ และเป็นวิชาการต่อสู้มาบ้างแล้ว เมื่อเขาขอทดสอบกับครูเขตร์ท่าน เขาจึงหมายที่จะเตะโดยเต็มแรง ถ้าเขาใช้แรงเตะแต่พอดี เขาคงจะไม่เจ็บตัวมากเช่นนี้ครับ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 07-04-2009 เมื่อ 15:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #24  
เก่า 09-04-2009, 11:42
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,970 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

http://www.muaychaiya.com/pahu2.html

ใครต้องการชม แม่ไม้ และลูกไม้มวยไชยา เชิญตามลิงค์ด้านบนนี้ขอรับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #25  
เก่า 16-04-2009, 22:42
คิมหันต์ คิมหันต์ is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 662
ได้ให้อนุโมทนา: 26,520
ได้รับอนุโมทนา 89,158 ครั้ง ใน 1,257 โพสต์
คิมหันต์ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เด็กเมื่อวานซืน อ่านข้อความ
ภาพนี้ยกตัวอย่างให้ชมกันครับ


จะเป็นภาพของ การจดมวยในรูปแบบของมวยโคราช คู่ที่พบกันนี้ คือ คู่มวยที่เล่าขานกันจนเป็นตำนาน คือ ฝ่ายซ้าย เป็นคนจีนมาจากฮ่องกง ชื่อจี๊ฉ่าง ส่วนคนขวาเป็นนักมวยไทย ใช้มวยสายโคราช เขาชื่อนายยัง หาญทะเล ซึ่งเป็นข้าราชบริพารในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ครับ
เพิ่มเติมครับ

.....ในสมัยนั้นเวทีมวยจะคล้าย ๆ กับปัจจุบัน ต่างกันตรงที่จะไม่มีเชือกขึงระหว่างมุมทั้ง ๔ กติกาการต่อสู้ก็จะสู้กันจนกว่า จะมีการน๊อกหรือยอมแพ้... ชัยชนะของนักมวยสองคนที่เป็นเหตุการณ์สำคัญ ในหน้าประวัติศาสตร์วงการมวยไทย คนแรกคือนักมวยโคราชชื่อ นายยัง หาญทะเล (นักชกคนขวาในภาพข้างบน) จากวังเปรมประชากร มวยในจวนของสวนกุหลาบ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านเป็นผู้สอนท่า "หนุมานควานสมุทร" ให้กับนายยัง หาญทะเล ไว้พิชิตจี๊ฉ่าง (นักชกคนซ้ายในภาพข้างบน) นักมวยจีนจากฮ่องกง ผู้มีกำปั้นหัวนกอินทรี และมีนิ้วมือแข็งดั่งเหล็ก สามารถแทงไม้หนา ๆ ให้ทะลุได้ อันเป็นที่ครั่นคร้ามมาแล้วทั้งเกาะ แต่นายยังก็ไม่ทำให้คนไทยผิดหวัง เพราะสามารถชกชนะมังกรจีนได้ด้วยแข้งซ้ายในยกที่ ๓ นับเป็นสุดยอดคู่มวยที่โด่งดังเป็นที่กล่าวขวัญถึง และเรียกเก็บเงินในการชกได้มากที่สุดในยุคสนามมวยสวนกุหลาบ (ร.๖ พ.ศ. ๒๔๖๔)

ที่มา http://osknetwork.com/modules.php?na...rder=0&thold=0
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 23:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #26  
เก่า 17-04-2009, 12:43
เด็กเมื่อวานซืน เด็กเมื่อวานซืน is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 92
ได้ให้อนุโมทนา: 7,974
ได้รับอนุโมทนา 32,441 ครั้ง ใน 1,052 โพสต์
เด็กเมื่อวานซืน is on a distinguished road
Default

เรื่องการชกระหว่าง นายยัง หาญทะเล กับ จี๊ฉ่าง นั้น ได้มีข่าวลือออกมาภายหลังการชกว่า จี๊ฉ่าง เป็นแค่กรรมกรแบกหามอยู่ย่านเยาวราช ไม่ได้เป็นครูมวยมาจากฮ่องกงแต่อย่างใด เรื่องนี้ผมได้ลองสืบหาข้อมูล โชคดีที่ได้พบกับบุคคลที่ยังทันอยู่ในเหตุการณ์วันนั้นพอดี บุคคลท่านนั้นขณะนี้อายุ ๑๐๐ กว่าปีแล้วครับ ท่านชื่อ คุณปู่ไสว หัพนานนท์ ตอนที่ผมได้สอบถามท่านทางโทรศัพท์(เนื่องจากท่านไม่สามารถลุกเดินได้อย่างปกติอีกแล้ว ผมจึงไม่ได้ไปพบกับท่านด้วยตัวเองครับ) คุณปู่ท่านยืนยันว่า จี๊ฉ่าง เป็นครูมวยจีนจริงเพราะได้เห็น จี๊ฉ่าง ร่ายรำไหว้ครูตามแบบฉบับมวยจีนของเขา

คุณปู่ยังเล่าต่อไปอีกว่า ตัวท่านเองในวันนั้นท่านแต่งชุดลูกเสือ ถือพลองคอยดูแลรักษาความปลอดภัยอยู่ที่มุมเวทีที่มีการชกกันระหว่าง นายยัง หาญทะเล และ จี๊ฉ่าง ครับ ถือว่าใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากกว่าใคร ๆ ข้อมูลที่ได้จากคุณปู่ฯ นี้ก็ตรงกับที่ ครูเขตร์ ศรียาภัยได้เขียนไว้ในหนังสือ ปริทรรศน์มวยไทย ครับ จึงทำให้เชื่อได้ว่า จี๊ฉ่าง เป็นครูมวยจีนจริง มิใช่เป็นแค่กรรมกรตามข่าวลือแต่อย่างใด


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 17-04-2009 เมื่อ 15:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #27  
เก่า 22-04-2009, 09:49
ใต้ร่มไม้ใหญ่ ใต้ร่มไม้ใหญ่ is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2009
ข้อความ: 6
ได้ให้อนุโมทนา: 1,857
ได้รับอนุโมทนา 4,838 ครั้ง ใน 113 โพสต์
ใต้ร่มไม้ใหญ่ is on a distinguished road
Default

ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณที่คัดสรรความรู้ดี ๆ มาให้อ่านกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 22-04-2009 เมื่อ 12:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ใต้ร่มไม้ใหญ่ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #28  
เก่า 22-04-2009, 15:07
ทิดตู่ ทิดตู่ is offline
สมาชิกยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 168
ได้ให้อนุโมทนา: 27,852
ได้รับอนุโมทนา 47,533 ครั้ง ใน 1,464 โพสต์
ทิดตู่ is on a distinguished road
Default

ท่านี้เป็นท่าที่ใช้ยั่วยุคู่ต่อสู้ และใช้ในลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเชิงมวยมันต่างกัน(เลยเอาบาทาลูบพักตร์เสียหน่อย)
หากใช้สุ่มสี่สุ่มห้า โดนเถรกวาดลาน นาคมุดบาดาล ทะแยค้ำเสาเข้าไป ไม่ไม้ใดก็ไม้หนึ่ง มีหวังลงไปนอนผลึ่งให้คู่ต่อสู้เอาบาทาลูบหน้าโดยสะดวกอย่างเป็นแน่

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ทิดตู่ : 22-04-2009 เมื่อ 15:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ทิดตู่ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #29  
เก่า 23-04-2009, 21:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หนูสงสัยค่ะ ว่าทำไมท่าย่างสามขุม จึงต้องฝึกเป็นเดือนคะ ทั้ง ๆ ที่ท่าก็แลดูไม่ยากอะไร แค่ตั้งการ์ดและย่ำเท้าไปมาแค่นั้นเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #30  
เก่า 23-04-2009, 22:25
สายท่าขนุน สายท่าขนุน is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 759
ได้ให้อนุโมทนา: 160,002
ได้รับอนุโมทนา 133,158 ครั้ง ใน 5,305 โพสต์
สายท่าขนุน is on a distinguished road
Wink

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เถรี อ่านข้อความ
หนูสงสัยค่ะ ว่าทำไมท่าย่างสามขุม จึงต้องฝึกเป็นเดือนคะ ทั้ง ๆ ที่ท่าก็แลดูไม่ยากอะไร แค่ตั้งการ์ดและย่ำเท้าไปมาแค่นั้นเอง
สงสัยด้วย แต่ขอเดาเอาเป็นความเห็นก่อนว่า
เพราะท่ามวยมิใช่ฝึกเพียงแต่ท่าทาง หรือฝึกเอาความคล่องเท่านั้น

ดังจะเห็นจากคำอธิบายท่าย่างสามขุมฯ
"เมื่อขึ้นท่าครูแล้วนักมวยก็จะเดินย่างสามขุม ยักเยื้อง ด้วยลีลา เนิบช้า ระแวดระวัง (เดินย่างไปหน้าตลอด และกลับตัว ห้ามย่างถอยหลัง) เพื่อสำรวจพื้นที่ ดูแสง ดูชัยภูมิ (ทิศที่จะได้เปรียบ) ในบริเวณที่จะทำการต่อสู้ พร้อมกับสังเกตดูท่ารำท่าไม้มวยของปรปักษ์ ไปด้วย เพื่อดูช่องว่าง หาจุดอ่อน อีกทั้งความถนัดในการใช้ อวัยวุธ ของคู่ต่อสู้อันเป็นการประเมินสถานการณ์ไว้เบื้องต้นชั้นหนึ่งก่อน"

ว่าต้องฝึกทั้งความชำนาญในการสำรวจพื้นที่ และประเมินคู่ต่อสู้
หากฝึกได้ภายในเดือนหนึ่งก็นับว่าเร็วมาก
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว...
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน

อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #31  
เก่า 24-04-2009, 09:35
เด็กเมื่อวานซืน เด็กเมื่อวานซืน is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 92
ได้ให้อนุโมทนา: 7,974
ได้รับอนุโมทนา 32,441 ครั้ง ใน 1,052 โพสต์
เด็กเมื่อวานซืน is on a distinguished road
Default

ที่คุณเถรีถามมาว่าทำไมจึงต้องฝึกนาน ความเห็นส่วนตัวของผมก็คือ เพื่อความคล่องแคล่วครับ เพราะในท่าย่างสามขุมนั้นได้ซ่อนการบุกและการตั้งรับในตัวไปพร้อม ๆ กันครับ ครูเขตร์ ศรียาภัย ท่านเคยกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่าการจดมวยที่ดีจะต้องอยู่ในลักษณะเหมือนกับ ปืนที่ง้างไกปืนแล้วพร้อมจะยิงได้ทันทีครับ และจะต้องสามารถรับพร้อมรุกไปในคราวเดียวกันได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้เราแทบจะไม่เห็นการรับพร้อมรุกในคราวเดียวกันครับ อย่างมวยที่ถ่ายทอดกันทางโทรทัศน์ก็จะใช้ลักษณะที่ว่ารับก่อนแล้วค่อยโต้ ซึ่งการกระทำแบบนี้ ครูเขตร์ ท่านเคยกล่าวไว้ว่ายังช้าเกินไปครับ

ในสมัยที่ ครูเขตร์ ศรียาภัย ท่านได้ไปศึกษาวิชามวยไทยสายของ ครูกิมเส็ง (สุนทร) ทวีสิทธิ์ นั้น ครูเขตร์ ท่านเคยได้ลงคู่ซ้อมกับเพื่อนท่านคนหนึ่ง(ต้องขออภัยที่จำชื่อไม่ได้ครับ จะนำชื่อมาลงในภายหลังนะครับ) ครูเขตร์ ท่านเล่าว่า เมื่อลงซ้อมคู่กับเพื่อนท่านนั้น ท่านรับก่อนแล้วค่อยโต้ ผลที่ได้คือท่านโต้เพื่อนไม่เคยทันสักที ครูเขตร์ ท่านมีความสงสัยมากว่าทำไมถึงโต้ไม่ทันสักที ท่านจึงได้ไปเรียนสอบถามกับ ครูกิมเส็ง

ครูกิมเส็ง ท่านได้กรุณาตอบว่า การรับแล้วถึงค่อยโต้ไม่มีทางที่จะโต้ทันแน่นอน จะต้องกระทำในลักษณะที่รับแล้วโต้ในจังหวะเดียวกันครับ

เมื่อซ้อมกันใหม่อีกครั้ง คราวนี้ ครูเขตร์ ท่านจึงเปลี่ยนวิธีการซ้อมใหม่เมื่อเพื่อนท่านรุกมาท่านจึงรับพร้อมพลิกเหลี่ยมโต้ไปพร้อม ๆ กัน ผลก็คือเพื่อนท่านหงายผลึ่งไปเลยครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 24-04-2009 เมื่อ 09:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #32  
เก่า 24-04-2009, 09:48
เด็กเมื่อวานซืน เด็กเมื่อวานซืน is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 92
ได้ให้อนุโมทนา: 7,974
ได้รับอนุโมทนา 32,441 ครั้ง ใน 1,052 โพสต์
เด็กเมื่อวานซืน is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สายท่าขนุน อ่านข้อความ
สงสัยด้วย แต่ขอเดาเอาเป็นความเห็นก่อนว่า
เพราะท่ามวยมิใช่ฝึกเพียงแต่ท่าทาง หรือฝึกเอาความคล่องเท่านั้น

ดังจะเห็นจากคำอธิบายท่าย่างสามขุมฯ
"เมื่อขึ้นท่าครูแล้วนักมวยก็จะเดินย่างสามขุม ยักเยื้อง ด้วยลีลา เนิบช้า ระแวดระวัง (เดินย่างไปหน้าตลอด และกลับตัว ห้ามย่างถอยหลัง) เพื่อสำรวจพื้นที่ ดูแสง ดูชัยภูมิ (ทิศที่จะได้เปรียบ) ในบริเวณที่จะทำการต่อสู้ พร้อมกับสังเกตดูท่ารำท่าไม้มวยของปรปักษ์ ไปด้วย เพื่อดูช่องว่าง หาจุดอ่อน อีกทั้งความถนัดในการใช้ อวัยวุธ ของคู่ต่อสู้อันเป็นการประเมินสถานการณ์ไว้เบื้องต้นชั้นหนึ่งก่อน"

ว่าต้องฝึกทั้งความชำนาญในการสำรวจพื้นที่ และประเมินคู่ต่อสู้
หากฝึกได้ภายในเดือนหนึ่งก็นับว่าเร็วมาก
ในสมัยของการชกคาดเชือกนั้น สามารถที่จะรุกเข้ากระทำกับคู่ต่อสู้ในขณะที่รำมวยได้ครับ ถ้ามัวแต่รำมวยเพลินก็มีสิทธิน็อกได้ครับ อย่างเช่นที่ นายปล่อง จำนงทอง(หมื่นมวยมีชื่อ) เคยถูกนักมวยโคราชลูกศิษย์ของพระเหมสมาหารเตะในขณะที่รำไหว้ครูอยู่ครับ โชคยังดีว่าไม่ถึงกับน็อกนะครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 24-04-2009 เมื่อ 09:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #33  
เก่า 24-04-2009, 12:07
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,311 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

ความมั่นคงในพื้นฐานมีความสำคัญที่สุด
มิฉะนั้นยอดจะขึ้นไปอย่างมั่นคงไม่ได้
จึงต้องฝังฐานรากให้มั่นคงที่สุด
ให้เข้ากระดูกดำยันชาติหน้าไปเลย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ทิดตู่ : 24-04-2009 เมื่อ 17:08 เหตุผล: แก้ไข"จะยอด"เป็น"ยอดจะ"ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #34  
เก่า 24-04-2009, 17:22
ทิดตู่ ทิดตู่ is offline
สมาชิกยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 168
ได้ให้อนุโมทนา: 27,852
ได้รับอนุโมทนา 47,533 ครั้ง ใน 1,464 โพสต์
ทิดตู่ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เถรี อ่านข้อความ
หนูสงสัยค่ะ ว่าทำไมท่าย่างสามขุม จึงต้องฝึกเป็นเดือนคะ ทั้ง ๆ ที่ท่าก็แลดูไม่ยากอะไร แค่ตั้งการ์ดและย่ำเท้าไปมาแค่นั้นเอง
เพราะการย่างสามขุม นอกจากเป็นการฝึกพื้นฐานในการยืน การย่าง การยก ให้แข็งแรงและมั่นคงแล้ว การย่างสามขุมยังเป็นท่าเบื้องต้นในการรุก รับ สำหรับออกอาวุธในแม่ไม้ต่าง ๆ ต่อไป หากการยืน ก้าว ย่าง ยก ไม่สมบูรณ์ ก็เป็นการอันตรายที่จะถูกฝ่ายตรงกันข้ามโจมตีโต้ตอบกลับมา สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงจนถึงขนาดไม้เดียวจอดได้ หรือหากแม้ออกอาวุธไปโดยที่ฐานยังไม่แข็งแรงและมั่นคง อวัยวุธแม่ไม้ที่ถูกส่งออกไปก็ให้ผลที่ไม่ตรงเป้า รุนแรง อันเนื่องมาจากฐานที่ไม่มั่นคง หรือสมัยนี้จะกล่าวว่า"วางมือวางเท้าไม่ถูกต้อง" รังแต่จะทำลายประโยชน์และอาจจะก่อให้เกิดโทษได้อีกด้วย
ส่วนที่ว่าทำไมต้องฝึกกันเป็นเดือน ๆ ก็เพื่อที่จะฝึกให้ร่างกายมันจำ จนสามารถแสดงอาการที่ผ่านการฝึกนั้น ๆ มาโดยที่ไม่ต้องคิด ให้ทุกอย่างมันออกมาโดยสัญชาตญาณความเคยชินโดยธรรมชาติ เพราะเวลาต้องต่อสู้กัน คงจะไม่มีเวลาไปนั่งพิจารณาก่อนว่า จะหลบจะสู้ จะรับ จะรุก อย่างไร ทุกอย่างต้องเป็นไปโดยธรรมชาติและความเคยชินจ้ะ การฝึกนาน ๆ และต่อเนื่องจึงมีส่วนสำคัญมาก(เหมือนการฝึกให้จิตทรงฌานอย่างไรละจ๊ะ)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 25-04-2009 เมื่อ 13:48 เหตุผล: เอาสระอิ ออก จากคำว่า สัญชาติญาณ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ทิดตู่ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #35  
เก่า 27-04-2009, 18:58
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,970 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ทุกท่าต้องฝึกจนนำมาใช้แบบให้มันเป็นไป"แบบอัตโนมัติของธรรมชาติ"
อัตโนมัติ+ธรรมชาติ พื้นฐานคือแม่บทสำคัญ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #36  
เก่า 27-04-2009, 19:04
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,970 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ยกตัวอย่างโยงไปเรื่อง ระนาดเอก "ลูกรัว" จะให้ไพเราะละเอียด ครูบาอาจารย์ให้ใช้ไม้แข็ง (ไม้ตีระนาด แบบตรงส่วนหัวชุบรักจนแข็งเพื่อให้ได้เสียงดุดัน กังวาน บทจะไพเราะ ก็ขึ้นกับฝีไม้ลายมือของผู้เล่นว่าจะพริ้วไหวหรือรวดเร็ว อ่อนช้อยขนาดไหน) รัวลูกมะพร้าว เจาะเปลือกจนถึงกะลา กว่าจะเจาะกันถึงกะลามะพร้าว ข้อมือ ก็มีแรง มีความชำนาญ แล้วจึงไปหัดลูกอื่น ๆ ต่อไปครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 28-04-2009 เมื่อ 13:15 เหตุผล: แก้การเว้นวรรคไม้ยมก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #37  
เก่า 27-04-2009, 19:14
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,970 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

สำหรับมวย ในเรื่องของการ "กอดรัด" เมื่อก่อนกระผมเคยคิดว่าไม่มีพิษสงอะไร ตอนฝึกมวยเคยฝึกกับนักมวยจริง ๆ คือท่านพี่ท่านนั้นผ่านสังเวียนมาแล้ว ผมเองไม่เคย แค่ลงนวมซ้อมกับพี่เขาเล่น ๆ ตามประสา จังหวะที่เขาเข้ามากอดรัด ผมพยายามแก้ แก้ไม่ออก แก้ไม่ตกสุดท้าย รัดผมจนจุก มันอธิบายไม่ถูกเหมือนโดนต่อยเข้าที่ลิ้นปี่ ทั้ง ๆ ในความเป็นจริง พี่ท่านนั้นไม่ได้ต่อยผมซักหมัดแต่รัดผมจนจุก ทนไม่ไหวขอเลิก คนฝึก คนรู้กับคนไม่รู้ไม่ฝึก มันต่างกันจริง ๆ ครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 27-04-2009 เมื่อ 20:10 เหตุผล: เอาไม้เอก ออกจาก คำว่า พิษส่ง, แก้ไข คำว่า เค้า เป็นเขา
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:20



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว