|
ซัวสะเดย..เนียงลออ ซัวสะเดย..เนียงลออ โดยพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#21
|
||||
|
||||
พ้นบันไดมาแล้วก็จะเป็นมณฑปหลังนี้ น้องเล็ก ลูกปุ๊กและคุณอารีเข้ามาถ่ายรูปด้วย รอจนพี่มุกดา พี่วิไลและคุณปัญญามาถึงจึงเดินต่อ สุดบันไดทางซ้ายมือเป็นเหมือนเทวาลัยขนาดไม่ใหญ่นัก มีซุ้มจตุรมุขเป็นหน้าบันด้านละ ๔ ชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นละเอียดยิบ เยื้องเข้าอีกหน่อยเป็นอาคารที่น่าจะเป็นกุฏิพระ ลักษณะเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ทรงไทยชัด ๆ มุงกระเบื้องลอนเล็กสีเขียว มีหน้าต่างบานเกล็ดอีกด้วย... |
สมาชิก 127 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
||||
|
||||
ศาลาบนก้อนหิน ทางขวามือเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ มีหินที่เหมือนกับกำแพงธรรมชาติโอบเอาไว้ส่วนหนึ่ง เมื่อหันเข้าไปทางขวาเต็ม ๆ จะเป็นก้อนหินขนาดมโหฬาร ที่ด้านบนก้อนหินสร้างศาลาขนาดใหญ่เอาไว้ทั้งหลัง มีบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กทอดขึ้นไปยังศาลาข้างบนด้วย... |
สมาชิก 124 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
||||
|
||||
โผล่มาทางพระบาทของพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ พี่วิไลเดินนำขึ้นบันไดไปข้างบน บันไดตรงขึ้นไปสองช่วง แต่ละช่วงหลายสิบขั้น แล้วหักเลี้ยวขวาขึ้นสู่ศาลาหลังใหญ่ คะเนด้วยสายตาน่าจะกว้างประมาณ ๙ X ๒๑ ตารางเมตร พวกเราโผล่มาทางปลายพระบาทของพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่ยาวเกือบเต็มศาลา... |
สมาชิก 124 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
ด้านหลังองค์พระเหลือพื้นที่ว่างนิดเดียว องค์พระพุทธไสยาสน์แกะจากหินธรรมชาติ ที่เป็นส่วนของยอดหินก้อนใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลานั่นแหละ สัณฐานของยอดหินค่อนข้างแบน ลักษณะขององค์พระบรรทมตะแคงซ้าย เหลือพื้นที่ด้านหน้าองค์พระกับข้างฝาศาลาประมาณเมตรเศษ ๆ ส่วนด้านหลังแคบมาก ต้องเดินตะแคงข้างถึงจะผ่านไปได้... |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
||||
|
||||
องค์พระพุทธไสยาสน์ส่วนหนึ่งดูเหมือนจมลงไปในพระแท่นบรรทม พระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ออกไปในลักษณะศิลปะพุกาม แต่องค์พระแกะไม่เต็มพระองค์ จึงเหมือนกับจมลงไปในพระแท่นบรรทมส่วนหนึ่ง ช่วงระหว่างพระองค์กับพระแท่นบรรทมที่มีชานจากการแกะเว้าเข้าไป มีผู้เอาพระพุทธรูปขนาดหน้าตักประมาณ ๕ นิ้ว มาวางถวายไว้เรียงเป็นตับ ช่วงฐานของพระแท่นบรรทม แกะเป็นพระพักตร์ของพระพุทธรูปเรียงรายไว้เกือบตลอดความยาวขององค์พระพุทธไสยาสน์... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-08-2014 เมื่อ 02:39 |
สมาชิก 125 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
||||
|
||||
ได้ดอกไม้ธูปเทียนมา ก็ไหว้พระกันตามอัธยาศัย คุณอารีเอาดอกบัวและธูปเทียนทองที่ซื้อติดมือมาตั้งแต่เชิงบันได ส่งมาให้พวกเราคนละชุด อาตมาหลบญาติโยมชาวขแมร์ทั้งหลายที่แห่กันมากราบไหว้พระพุทธรูป ไปอยู่ทางด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ ตั้งใจถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชา สวดอิติปิ โสฯ ๓ ห้องถวาย แล้วอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้าที่ทั้งหลาย ตลอดจนจอมคนแห่งกัมโพชที่วันนี้ไม่ "เห็นพระเศียร" เลย... |
สมาชิก 126 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
||||
|
||||
โลกเอิวเบ๊าะของชาวเขมรหรือหลวงปู่สรวง ภูเขาลูกนี้แต่เดิมชื่อมเหนทรบรรพต เป็นสถานที่ซึ่งถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ สมัยก่อนหลวงปู่หลวงพ่อจากเมืองไทยถ้าธุดงค์มาเขมร จะต้องมากราบพระพุทธไสยาสน์องค์นี้กันทั้งนั้น แม้แต่ "โลกเอิวเบ๊าะ (หลวงพ่อดาบส)" อย่างหลวงปู่สรวง เจ้าของฉายานาม "เทวดาเล่นดิน" ก็ยังพาลูกศิษย์มากราบไหว้อยู่หลายครั้ง... |
สมาชิก 132 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
||||
|
||||
รุมปิดทองกันที่พระพักตร์พระพุทธไสยาสน์ เนื่องจากมีญาติโยมถวายแผ่นทองมาอยู่เรื่อย ๆ อาตมาสั่งให้น้องเล็กเอาติดตัวไว้เสมอ มาถึงที่นี่จึงได้ที น้องเล็กควักออกมาแจกให้ทุกคน จึงไปรุมกันปิดทองอยู่แถวพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ ส่วนอาตมาเดินดูรอบองค์พระ เห็นมีลายเซ็นของพวก "มือบอน" ทั้งหลาย อยู่ด้านหลังองค์พระเต็มไปหมด ฝรั่งหลายคนยกกล้องถ่ายลายเซ็นเอาไว้ ไม่ทราบว่าเอาไว้ดูเล่นหรือจะเอาไปประจานกันแน่... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-08-2014 เมื่อ 09:21 |
สมาชิก 125 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
||||
|
||||
ขึ้นทางบันไดหน้า แต่มาลงทางบันไดหลัง วนมาจนถึงพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ มีตู้บริจาคตั้งอยู่ด้วย อาตมาจึงหยอดตู้ไป ๒,๐๐๐ เรียล ครั้นเห็นว่าส่วนมากปิดทองกันเสร็จแล้ว อาตมาจึงเดินออกมาทางเดิม แต่เลี้ยวขวาลงบันไดทางด้านหลังศาลา มีป้ามอย แม่ป๋อม พี่มุกดา น้องเล็กและลูกปุ๊ก ตามลงมาด้วย อาตมาให้ทุกคนหยุดถ่ายรูปกันก่อน บันไดด้านนี้สูงกว่าด้านหน้าอีก ตรงเชิงบันไดเป็นสิงห์แบบขอม แกะสลักจากหินทรายตั้งอยู่คู่หนึ่ง ลงมาถึงเชิงบันไดเจอพระเจ้าถิ่นที่กลับจากบิณฑบาตพอดี... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-08-2014 เมื่อ 01:52 |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
||||
|
||||
นมัสการหลวงพ่อ..สบายดีนะครับ "จุมเรียบซัว..โลกเอิว..ซกสบายดี ?" อีกฝ่ายตอบกลับมาด้วยมารยาทอันดี แต่พอเห็นแม่ป๋อมยกกล้องถ่ายรูปก็รีบเดินหนี อาตมาอวยพรตามหลังไปว่า "ซกขะเพียบลออ" คุณแม่ที่ทำเสียเรื่องหัวเราะแหะ ๆ... อาตมาเห็นป้ายบอกทางไปห้องน้ำ จึงเดินตรงเข้าไปปลดทุกข์เบาก่อน ห้องน้ำของเขาเป็นโถชักโครกอย่างดี แต่ประตูปิดด้วยการใช้ไม้ขัดดานเอา เป็นการประยุกต์โลกยุคเก่ากับยุคใหม่เข้าด้วยกันแบบไม่ขัดเขิน ขนาดอยู่บนเขาอย่างนี้ห้องน้ำของเขายังไม่ขาดแคลนน้ำ ต้องชมเชยทางวัดเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีระบบประปาก็แปลว่าต้องหาบน้ำมาจากเชิงเขาโน่นเลยทีเดียว ทำให้อาตมาไม่กล้าใช้น้ำมาก ตักราดไปขันเดียวพอให้สะอาดเท่านั้น แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-08-2014 เมื่อ 01:44 |
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
||||
|
||||
ศาลาบูชาพรหมพักตร์ ออกมาเจอลูกปุ๊กที่รอคิวเข้าห้องน้ำอยู่ ในเมื่อคนอื่นยังทำธุระไม่เสร็จ อาตมาจึงฉวยโอกาสถ่ายรูปศาลาลอยฟ้าจากทางด้านหลังนี้ไปด้วย เสร็จแล้วเดินอ้อมหินใหญ่ที่ตั้งศาลาครบรอบพอดี ก็มาเจอศาลาเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยบายศรีกระดาษ มีทั้งสีเงิน สีทอง สีเขียวแน่นไปหมด... เมื่อเล็งดูดี ๆ จึงเห็นว่าที่ผนังศาลามีปูนปั้นแบบดุนนูน เป็นพรหมพักตร์อยู่ทั้งซ้ายขวา ต่ำลงมาเป็นลายมงคลอะไรก็ดูไม่ถนัด กับนกที่บินอยู่ด้านละตัว ติดขอบศาลาทั้งสองข้าง เป็นนางฟ้าโปรยดอกไม้ที่เป็นรูปกระจังแข็งโป๊กลงมาตรงกลาง ข้างหน้าศาลามีตู้บริจาคเรียงราย บนตู้บริจาควางพานไว้หลายสิบใบ มีทั้งพานใส่ผลไม้และพานใส่เงิน เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่น่าจะเป็นพรหมพักตร์ในศาลานั่นเอง... |
สมาชิก 120 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
||||
|
||||
พระพุทธรูปนาคปรกอยู่ในรอยเว้า ทางซ้ายมือของศาลาซึ่งก็คือขวามือเมื่อตอนที่เดินเข้ามา เป็นผนังหินธรรมชาติโอบกว้างไปหลายสิบเมตร มีพระพุทธรูปหินทรายองค์ใหญ่กว่าตัวคนเล็กน้อยตั้งอยู่สามองค์ ถัดไปเป็นเสมาแกะสลักและพระพุทธรูปปูนปั้นลงสีอีกเกือบสิบองค์ จุดที่หินใหญ่สองก้อนมาชนกัน เว้าเข้าไปเป็นที่นั่งได้ มีพระพุทธรูปนาคปรกแกะจากหินทรายองค์ใหญ่ พระสงฆ์รูปหนึ่งกำลังนั่งพรมน้ำมนต์ให้แก่ญาติโยมที่เข้าไปทำบุญตรงนั้น ถัดไปเป็นศาลเพียงตา (ศาลพระภูมิ) สีเหลืองหลังหนึ่ง... |
สมาชิก 125 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
||||
|
||||
พุทธกับพราหมณ์อยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน ตรงกลางลานหินเป็นสระน้ำคอนกรีตไม่ใหญ่นัก มีสายพลาสติกกำลังส่งน้ำลงในสระ ซึ่งล้นออกไปยังศิวลึงค์ตั้งอยู่บนอุมาโยนีข้างหน้าสระ แล้วไหลลงไปยังฐานที่เป็นรูปกลีบบัวกลีบใหญ่ จากนั้นไหลลงท่อพีวีซีที่ปลายกลีบบัวออกไปถึงไหนก็ไม่รู้ มีญาติโยมหลายคนวักน้ำไปล้างหน้าและพรมศีรษะตนเองอยู่... |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
||||
|
||||
แม่ค้าขายลอดช่องเขมร ถัดจากสระน้ำไป เป็นป้ายปูนแจ้งรายละเอียดของสถานที่นี้เป็นอักษรขอม บอกเวลาการสร้างป้ายอันนี้ว่า พ.ศ. ๒๕๔๘ มีแม่ค้าวางหาบขายลอดช่องอยู่หาบหนึ่ง ลูกค้าหลายคนกำลังล้อมหาบสั่งลอดช่องกันอยู่ แต่พวกเราไม่มีใครอยากกินลอดช่อง อาตมาจึงชวนเดินกลับลงไปข้างล่าง... ขาลงถึงแม้จะสบายกว่าก็จริง แต่ความกว้างของบันไดทำให้เดินไม่ถนัด เพราะจะเดินก้าวละขั้นก็กว้างเกินไป เดินสองก้าวต่อขั้นก็แคบเกินไป จึงต้องจด ๆ จ้อง ๆ เขย่งก้าวกระโดดกันไป ตามแต่ว่าใครจะขายาวขาสั้นกว่ากัน... |
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
||||
|
||||
อยากมีประสบการณ์ก็ต้องซื้อของแพง ลงมาถึงข้างล่างก็ต้องเดินเลาะร้านค้าเพื่อกลับไปยังลานจอดรถ ลูกปุ๊กเห็น “กุเลน” หรือลิ้นจี่ป่า ที่บ้านเราเรียกว่า “คอแลน” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “พนมกุเลน” หรือ ภูเขาลิ้นจี่ป่า จึงแวะเข้าไปถามราคา แล้วก็ต้องสะดุ้ง เพราะคนขายตอบว่า “พวงละ ๒๐ บาท” อ๊ากกก..! ไอ้ของที่บ้านเรายกให้ฟรียังไม่ค่อยมีใครเอา ที่นี่ขายกันหยิบมือละ ๒๐ บาท..! ด้วยความที่เกิดมายังไม่เคยกินคอแลนมาก่อน เดี๋ยวมีคนถามว่าคอแลนรสชาติเป็นอย่างไร ถ้าตอบเขาไม่ได้ก็เสียทีที่เข้าป่ากับหลวงพ่อบ่อย ๆ คุณลูกจึงพยายามต่อราคา ท้ายสุดได้มา ๓ พวง ๕๐ บาท กลายเป็นจ่ายแพงหนักเข้าไปอีก แล้วเอามาแบ่งให้คนอื่น ๆ ได้ชิมด้วย... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-08-2014 เมื่อ 08:32 |
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
||||
|
||||
ไม่อยากเดินไกล เอาตรงนี้แหละ..! อาตมากินคอแลนมามากแล้ว บางต้นเอาไปตำน้ำพริกแทนมะนาวได้เลย จึงหันไปสนใจของอื่นแทน มีกระเพาะค่าง เป็นต้น สำหรับกระเพาะค่างนี้ ตำรายาอายุวัฒนะโบราณเรียกว่า “พญาร้อยยอด” เพราะค่างกินยอดไม้สารพัดชนิด เมื่อตากแห้งเอามาดองน้ำผึ้ง หรือ “พญาร้อยดอก” รวมกับกระเพาะเม่น หรือ “พญาร้อยราก” เพราะเม่นกินรากไม้สารพัดชนิดเช่นกัน กินทุกวันร่างกายจะแข็งแรง หรือว่าจะแข็งแต่แรงไม่มีก็ไม่รู้ ? เจ้าหมาสีน้ำตาลค่อนข้างผอมตัวหนึ่ง เดินเบียดอาตมาเข้าไปที่ถังน้ำใส่ดอกบัว เอาหัวซุกแหวกดอกบัวลงไปจนถึงน้ำ แล้วเลียกินอย่างกระหายจัด อาตมาชี้ให้ทุกคนดูเลยหัวเราะกันใหญ่ แม้แต่แม่ค้าขายดอกบัวก็พลอยหัวเราะไปด้วย เออหนอ..จะคนจะสัตว์ก็ทุกข์ด้วยความหิว ความกระหายพอกัน... |
สมาชิก 119 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
||||
|
||||
พม่ามีศาลรุกขเทวดาที่แปะกับต้นไม้ เขมรก็มีศาลพระภูมิที่แบอยู่กับดิน คุณราญเอารถตู้มาจอดเทียบ พวกเราขึ้นรถแล้วก็พาวิ่งย้อนเส้นทางเดิมมาได้นิดเดียว พอถึงช่วงที่เป็นลานกว้าง ก็พารถวิ่งชิดชายห้วยที่มีต้นไม้ร่มครึ้มแล้วจอด คุณปัญญาเปิดประตูให้ทุกคนลงมา กำลังงง ๆ ว่าอะไรกัน ? พี่วิไลก็บอกว่า ลำห้วยสายนี้เป็นห้วยน้ำมนต์ พี่ปราณีให้พาพวกเรามาสักการะ ใครจะอาบน้ำมนต์ก็ได้นะคะ.. ที่ชายห้วยมีรั้วไม้เตี้ย ๆ กั้นไม่ให้คนลงไปเล่นน้ำ ตามร่มไม้ริมห้วยมีแคร่ไม้ตั้งเรียงรายกันเป็นระยะ น่าจะเป็นที่ขายของมาก่อน แต่ตอนนี้ไม่มีแม่ค้าเหลืออยู่เลย พี่วิไลพาเดินเลียบลำห้วยไปทางซ้าย อาตมาเห็นศาลพระภูมิหลังหนึ่ง ที่เป็น ศาลพระภูมิ จริง ๆ ไม่ใช่ศาลเพียงตา เพราะว่าสร้างแปะไว้กับพื้น (ภูมิ) เลย จึงให้แม่ป๋อมถ่ายรูปเอาไว้ ก่อนที่จะรีบเดินตามคณะไป มาถึงบริเวณที่ไม่มีรั้วไม้ น้ำตรงนี้ค่อนข้างลึก มีชิงช้าหวายสานอย่างดีห้อยอยู่ตัวหนึ่งด้วย... |
สมาชิก 113 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
||||
|
||||
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ โปรดให้สร้างศิวลึงค์ไว้ที่ก้นแม่น้ำถึง ๑,๐๐๐ องค์ พี่วิไลบอกให้คุณปัญญาส่งเครื่องสักการะมา อาตมาจึงเห็นว่าคุณปัญญาถือถาดมาใบหนึ่งด้วย ในถาดมีกลีบดอกบัว ดาวเรือง กุหลาบ ปนกับถั่วงากองพูนอยู่ พี่เขาส่งให้อาตมาเพื่อโปรยลงไปในลำห้วย อาตมาจึงถึงบางอ้อ ที่แท้ลำห้วยนี้ก็คือต้นแม่น้ำเสียมเรียบนั่นเอง... สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ผู้สถาปนาอาณาจักรกัมโพช ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย โปรดให้สร้างศิวลึงค์พร้อมกับอุมาโยนีที่ต้นแม่น้ำเสียมเรียบบริเวณพนมกุเลน เพื่อให้แม่น้ำสายนี้กลายเป็นน้ำมนต์ไปทั้งสาย จำนวนศิวลึงค์และอุมาโยนีที่สร้างมีถึง ๑,๐๐๐ องค์ การแกะสลักในน้ำคงจะยุ่งยากน่าดู... |
สมาชิก 116 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
||||
|
||||
แค่ขุดทางเบี่ยงให้น้ำแห้ง แกะสลักเสร็จก็ถมทางเบี่ยงให้น้ำไหลมาทางเดิม ไม่ได้ยากอะไรเลย แค่เบี่ยงทางน้ำให้ไหลไปทางอื่น แล้วแกะสลักจนเสร็จ จากนั้นก็ถมทางเบี่ยงให้น้ำไหลกลับมาในเส้นทางเดิม สุรเสียงจอมคนแห่งกัมโพชดังขึ้น ตกใจนะนี่..นึกว่าผีหลอกกลางวัน..! แล้วนี่พระองค์ท่าน หายพระเศียร ไปไหนมา ? วันนี้เป็น วันพระ นอกจากรุกขเทวดาและภุมมเทวดาแล้ว ที่เหลือทั้งหมดต้องไปประชุมที่เทวสภา ขนาดข้าพเจ้ารีบกลับมาแล้ว ยังโดน จิกกัด แบบนี้ รู้อย่างนี้มาช้ากว่านี้ก็คงจะดี.. นั่น..มี ทรงพระงอน อีกด้วย ทำอย่างกับว่า จิกกัด ไปแล้ว พระองค์ท่านจะสะเทือนอย่างนั้นแหละ อ้อ..วันนี้วันพระหรือ ? มาจนลืมวันลืมคืนไปแล้ว... |
สมาชิก 118 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
||||
|
||||
เขาทำชิงช้าไว้ให้ถ่ายรูปด้วย “สมเด็จพระบรมมหาปัยกาเจ้าทรงเล็งเห็นว่า ประชาชนทุกคนก็ล้วนแล้วแต่อยากได้น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ทว่าน้ำมนต์ที่พราหมณ์ “ผลิต” จากเทวาลัยต่าง ๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ศรัทธาแล้วมีน้อยเหลือเกิน จึงทรงมีพระดำริให้ “สร้าง” แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ประดุจแม่น้ำคงคาในชมพูทวีป ไหลผ่านไปถึงไหนประชาชนจะได้มีน้ำมนต์ใช้กันโดยถ้วนหน้า” มัคคุเทศก์เถื่อนเข้าประจำที่แล้วครับท่าน... อาตมารับถาดใส่เครื่องสักการะมาจากคุณปัญญา โปรยดอกไม้ลงไปในลำห้วย ๓ กำ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แม้จะดูแปลก ๆ ที่มาบูชาพระในแม่น้ำสายนี้ แต่ก็สำคัญอยู่ที่การตั้งใจเท่านั้น แล้วส่งถาดต่อให้คนอื่น ๆ เป็นนางฟ้าโปรยดอกไม้กันบ้าง ส่วนตัวเองเดินไปนั่งที่ชิงช้าหวายให้แม่ป๋อมถ่ายรูป คนอื่นเห็นว่าเขาตั้งใจทำชิงช้าให้ถ่ายรูปอยู่แล้ว จึงมาขอถ่ายบ้าง... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-09-2014 เมื่อ 02:05 |
สมาชิก 111 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|