#1
|
||||
|
||||
![]() เทศนาวันมาฆบูชา วันอังคารที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๒ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ติฯ ณ บัดนี้อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชนาในโอวาทปาฏิโมกขกถา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาเพิ่มพูนบารมี เสริมสร้างกุศลบุญราศีแก่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้ ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย สิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในโลกนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน องค์พระสมเด็จพระภควันต์ของเรา ได้กล่าวไว้เป็นภาษาบาลีว่า “กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ” การจะเกิดได้เป็นมนุษย์นั้นยากเหลือเเสน เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในวัฎสงสารที่ยาวไกลไม่เห็นต้นเห็นปลายนี้ การเวียนว่ายตายเกิดของเราก็เป็นไปตาม ๓๑ ภพภูมิ ที่แบ่งออกเป็น เหฏฐิมสงสาร มัชฌิมสงสาร และปุริมสงสาร เป็นต้น แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 20-03-2020 เมื่อ 02:07 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
![]()
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้นเราก็มักจะเวียนว่ายตายในส่วนของ “เหฏฐิมสงสาร” ก็คืออบายภูมิทั้งสี่ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้วนั้นพวกเราทั้งหลายมีการกระทำที่ไหลลงต่ำเป็นปกติ ก็แปลว่า กาย วาจา ใจ ของเราทั้งหลายเหล่านั้น สั่งสมแต่ในส่วนที่เป็นอกุศลกรรมเสียมาก โอกาสที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์จึงยากอย่างเหลือแสน
ดังที่อรรถกถาจารย์ท่านเปรียบเอาไว้ว่า เหมือนดั่งกับมีเต่าตาบอดตัวหนึ่งอยู่ในทะเลที่เต็มไปด้วยคลื่นลม ได้นำเอาแอกเล็ก ๆ อันหนึ่งโยนลงไปในทะเลแห่งนั้น ระยะเวลา ๑๐๐ ปี เต่าตัวนั้นจะโผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง ถ้าหากว่าศีรษะของเต่าสวมกับแอกพอดี นั่นคือโอกาสที่เราจะได้เกิดเป็นมนุษย์ครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นไปได้โดยยากมาก แล้วถ้าหากนับตามวิทยาการสมัยใหม่ที่หมอเขาบอกว่า ก่อนที่เราจะจุติ หรือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดานั้น ต้องมีการต่อสู้กันในระหว่างเชื้อที่พ่อให้ไว้เป็นล้าน ๆ ตัว เราเองนั้นหลุดมาเป็นหนึ่งในหลายล้านนั้นได้ ก็ต้องถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ยากยิ่งเหลือแสน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 20-03-2020 เมื่อ 02:07 |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
![]()
ดังนั้นเมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วยังกล่าวไว้ว่า กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ การที่เราจะรักษาชีวิตให้อยู่รอดได้นั้น ก็เป็นของยากเหลือแสน เพราะว่าในชีวิตหนึ่งนั้น เราเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดอุบัติเหตุอันตรายต่าง ๆ มากมาย สามารถที่จะตายลงไปได้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะชีวิตของเราขึ้นอยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ถ้าหากว่าเราหายใจเข้า ไม่หายใจออกก็ตายแล้ว ถ้าหากหายใจออก ไม่หายใจเข้าก็ตายอีกเช่นกัน ชีวิตเราอยู่กับความตายใกล้ชิดขนาดนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า การที่เราจะรักษาชีวิตเอาไว้ให้อยู่รอดนั้นเป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:49 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
![]()
ความยากอีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านตรัสว่า กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ การที่จะได้ฟังธรรมก็แสนยาก เหตุที่การจะได้ฟังธรรมก็แสนยากนั้น เพราะว่าต้องประกอบด้วยสมัยได้โอกาส คือท่านทั้งหลายได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา ได้อยู่ในครอบครัวที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ขัดขวางในกองบุญการกุศลของท่าน ท่านทั้งหลายจึงจะมีโอกาสได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ดังนั้นญาติโยมทั้งหลายถ้าหากสังเกตจะเห็นว่า ประชากรไทย ๖๐ กว่าล้านคน ประชากรของทางกาญจนบุรีของเราก็หลายล้านคน แต่ว่าท่านทั้งหลายเข้าวัดท่าขนุนแห่งนี้มาฟังเทศน์ฟังธรรมแค่ไม่กี่ร้อยคน
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นการตอกย้ำยืนยัน สิ่งที่องค์พระสมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ก็คือว่าการที่เราจะมีโอกาสได้ฟังธรรมก็แสนยาก เพราะว่าส่วนใหญ่ในแต่ละวันนั้น สิ่งที่เขาพูดก็มักจะเป็นวาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ ชักชวนแต่จะให้เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นในใจของเรา หลักธรรมที่จะดับความ รัก โลภ โกรธ หลง นั้นจะปรากฎขึ้นจากปากคนได้น้อยมาก ดังนั้นพระองค์ถึงได้ย้ำว่า การจะได้ฟังธรรมนั้นก็แสนยาก แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:50 |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
![]()
แล้วความยากอย่างยิ่งที่สุดนั่นก็คือ “กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท” การที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นนั้นยากเหลือแสน เพราะว่าพระพุทธเจ้าของเรานั้น แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทด้วยกัน
ประเภทที่ ๑ เป็นพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ ขนาดนั้นก็ยังต้องบำเพ็ญบารมีในช่วงสุดท้ายถึง ๔ อสงไขยกับแสนมหากัป ถ้าหากว่าถามว่า ๔ อสงไขยกับแสนมหากัปนั้นนานเท่าไร ? ไม่มีใครบอกได้ เพราะว่าอสงไขยหรือ อสํเขฺยย ตามภาษาบาลี แปลว่า นับไม่ได้ ได้แต่ประมาณเอาว่า ถ้ามีภูเขาเนื้อหินล้วน กว้าง ๑๖ กิโลเมตร สูง ๑๖ กิโลเมตร ยาว ๑๖ กิโลเมตร ในพระบาลีท่านบอกว่า กว้างยาวสูงด้านละ ๑ โยชน์ (๑ โยชน์ มี ๔๐๐ เส้น ๑ เส้นมี ๒๐ วา) เท่ากับ ๘,๐๐๐ วา ก็คือ ๑๖,๐๐๐ เมตร ความสูง ๑๖ กิโลเมตร ยาว ๑๖ กิโลเมตร กว้าง ๑๖ กิโลเมตรพอดี ระยะเวลา ๑๐๐ ปี จะมีเทวดาเอาผ้าเนื้ออ่อนเหมือนสำลี มาเช็ดภูเขาลูกนั้นครั้งหนึ่ง หนึ่งร้อยปีมาเช็ดอีกครั้งหนึ่ง ถ้าภูเขาลูกนั้นสึกเสมอพื้นเมื่อไรได้เวลาประมาณหนึ่งกัป และในพระบาลีท่านกล่าวไว้ว่า ๖๔ กัปนี้เป็น ๑ อสงไขย ๔ อสงไขยกับเป็นมหากัป ก็ลองเอา ๖๔ คูณ ๔ เข้าไปเท่ากับ ๒๕๖ กัป ก็แปลว่าหนึ่งมหากัปนั้นเราจะต้องเช็ดเอาภูเขาเหล่านั้นสึกเสมอพื้นไป ๒๕๖ ลูก องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมา ๔ อสงไขยกับแสนของมหากัป ก็คูณกันเข้าไปไม่ต้องนับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-02-2019 เมื่อ 15:43 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
![]()
พระพุทธเจ้าประเภทที่ ๒ คือ ประเภทศรัทธาธิกะ ท่านหวังให้การประกาศศาสนานั้นมีอุปสรรคน้อยมาก จึงต้องสร้างบารมีถึง ๘ อสงไขยกับแสนของมหากัป โลกยุคนั้นท่านประกาศศาสนาที่ใด คนชั่วจะเข้าไปในเขตนั้นไม่ได้
ก็ยังมีพระพุทธเจ้าที่ทรงพระเมตตาอย่างเหลือแสนอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าวิริยาธิกะ ทรงสร้างบารมีช่วงสุดท้ายถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนของมหากัป เพราะว่าต้องการให้โลกยุคนั้นคนชั่วไม่สามารถเกิดขึ้นได้ มีแต่คนดีล้วน ๆ แปลว่าการที่พระองค์ท่านเหนื่อยยากแทบล้มประดาตายอยู่เนิ่นนานปานนั้น ก็เพื่อความอยู่สุขสบาย และประกันมรรคผลให้กับบริวารของพระองค์ท่านเท่านั้น แต่องค์สมเด็จพระภควันต์ทั้งสามประเภท ไม่ว่าจะอุบัติขึ้นแล้วเป็นประเภทใดก็ตาม เมื่อถึงเวลาก็จะมีการประชุมสงฆ์แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ คำว่า โอวาทปาฏิโมกข์ นั้นก็คือหลักคำสอนที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:50 |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
![]()
ดังที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เมื่อแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ก็ได้ประกาศว่า
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขึ้นชื่อว่าความอดทนนั้นจะเป็นตบะอย่างยิ่ง เพราะว่าสมัยนั้นเขาบำเพ็ญตบะด้วยการทรมานตัวเอง แต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราตรัสว่า ในเรื่องของความอดทนอดกลั้น จัดเป็นตบะที่เป็นเลิศที่สุดแล้วหลังจากนั้นพระองค์ท่านก็ประกาศหลักการของพระพุทธศาสนาว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ แปลว่าท่านทั้งหลายต้องละเว้นจากความชั่วทั้งปวง ก็คือไม่ทำชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:51 |
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
![]()
ในเมื่อหลักการเป็นเช่นนี้ แล้วจะทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงการกระทำที่พร้อมเช่นนั้นได้ พระองค์ท่านก็ได้ประกาศวิธีการว่า
อนูปวาโท เราต้องไม่ว่าร้ายใคร แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:51 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
||||
|
||||
![]()
องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ไม่ว่าจะเป็นประเภทของปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะ หรือวิริยาธิกะ เมื่อประชุมสงฆ์ประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ คือแนวคำสอนหลักที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการประชุมกี่ครั้งก็ตาม ก็จะประกาศหัวข้อธรรมในลักษณะเดียวกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อเป็นหลักการสอนธรรมของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
การที่พระองค์ท่านประกาศประชุมโอวาทปาฏิโมกข์ บางพระองค์ก็ประกาศ ๑ ครั้ง บางพระองค์ก็ประกาศ ๒ ครั้ง บางพระองค์ก็ประกาศ ๓ ครั้ง เนื่องจากว่าอายุพระพุทธศาสนานั้นยาวนานไม่เท่ากัน ถ้าหากว่าอายุศาสนายาวนานหลายหมื่นปี อย่างเช่นพระพุทธเจ้าบางองค์ ก็คือ พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น เมื่อระยะเวลาผ่านไปคำสอนก็เริ่มเคลื่อนเริ่มคลาย เริ่มออกจากแนวทาง พระองค์ท่านก็ต้องประชุมสงฆ์ ตรัสย้ำโอวาทปาฏิโมกข์เสียใหม่ ดังนั้นการที่ประกาศโอวาทปาฏิโมกข์มากน้อยเท่าไร ขึ้นอยู่กับอายุของพระพุทธศาสนาของแต่ละพระองค์ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:51 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
![]()
ในสมัยปัจจุบันของเรา อายุพระพุทธศาสนาอายุ ๕,๐๐๐ ปี ทรงประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ครั้งเดียว ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ซึ่งก็คือวันมาฆบูชา ซึ่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงเล็งเห็นความสำคัญของวันนี้ จึงได้กำหนดขึ้นมาเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ให้ญาติโยมทั้งหลายได้ทำบุญ ใส่บาตร ได้ฟังเทศน์ฟังธรรม น้อมนำความดีทั้งหลายที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งสอนมาปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็มีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาด้วย
ดังนั้น..วันมาฆบูชาของเรานั้น ปรากฏขึ้นอย่างเป็นหลักเป็นฐานจริง ๆ ก็ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นของเรานี่เอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดว่าวันมาฆบูชาต้องปฏิบัติอย่างไร แต่ว่าพวกเราก็ถือตามมติของในหลวงรัชกาลที่ ๔ ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยกว่าสองร้อยปีแล้ว ก็คือไปวัด ทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ เวียนเทียน อย่างของวัดท่าขนุนของเรา ก็ยังมีงานพิเศษเพิ่มขึ้นมา ก็คือการตามประทีปหมื่นดวงเป็นพุทธบูชา ขณะเดียวกันก็มีการปิดทองรอยพระพุทธบาท ปิดทองรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาส ซึ่งก็คือหลวงปู่พุกและหลวงปู่สายด้วย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:52 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
||||
|
||||
![]()
ในวันมาฆบูชานี้จึงเป็นวันที่ท่านทั้งหลายได้สั่งสมบุญกุศล เพื่อให้เป็นไปตามโอวาทปาฏิโมกข์ ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ก็คือเราต้องถึงพร้อมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจในการกระทำความดี
กายของเรานั้นจะสงบ วาจาของเราจะสงบได้ด้วยศีล เมื่อเรามีศีลควบคุมตัวของเราอยู่แล้ว เราก็ต้องทำให้ใจของเราสงบด้วยกำลังของสมาธิ ดังที่ท่านทั้งหลายตั้งอกตั้งใจ น้อมใจฟังเทศน์ในปัจจุบันนี้ เท่ากับว่าท่านได้ทำสมาธิอยู่แล้ว ในส่วนของปัญญานั้น องค์สมเด็จพระประทีปแก้วหมายเอาการเห็นความจริงในโลกนี้ว่า ประกอบด้วยความไม่เที่ยงเป็นปกติ มีความทุกข์เป็นปกติ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้ เพื่อให้พวกเราปรารถนาการล่วงพ้นจากกองทุกข์ พวกเราทั้งหลายนั้นได้กระทำตามที่องค์สมเด็จพระบรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คือการฟังธรรม รักษาศีล ทำบุญใส่บาตร ก็นับว่าเรายึดถือแนวทางในการปฏิบัติเบื้องต้นของพระพุทธศาสนาแล้ว สิ่งที่ท่านทั้งหลายได้กระทำนี้ ก็จะรวมกันเป็นเดชพลวปัจจัย กุศลบารมีทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่ได้ไปไหน เมื่อได้รวมตัวกันมากขึ้น ๆ ก็จะทำให้ท่านทั้งหลายมีความคล่องตัว ในการทำมาหากิน มีฐานะร่ำรวย และท้ายที่สุด ท่านทั้งหลายจะได้เข้าถึงธรรมตามที่ปรารถนา แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:52 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
||||
|
||||
![]()
อาตมาภาพรับหน้าที่วิสัชนาในโอวาทปาฏิโมกกถาก็พอสมควรแก่เวลา ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ เป็นประธาน ได้ดลบันดาลญาติโยมทั้งหลายที่มาบำเพ็ญบุญกุศล ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้ก็ดี หรือญาติโยมทั้งหลายที่บำเพ็ญกุศลอยู่ทางบ้านก็ตาม ขอให้ประสบแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดถึงธนสารสมบัติอันเป็นที่พึงใจทั้งปวง อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชนามาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เทศน์วันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๒ (ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดย ฤทธิบูรณ์ เลิศวรานุรักษ์) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2019 เมื่อ 19:52 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|