กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 13-12-2014, 07:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,624 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า เอาความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา พยายามให้จิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก อย่าให้ขาดได้ ส่วนคำภาวนานั้น จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดและเคยชินมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ความจริงเป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนธันวาคม แต่เนื่องจากวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมนั้น ทางวัดท่าขนุนมีงานบวชปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้องเลื่อนวันสอนกรรมฐานขึ้นมาเป็นอาทิตย์นี้

สำหรับในการปฏิบัติของเรานั้น ที่พบมามากต่อมากเลยก็คือ เมื่อปฏิบัติแล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องได้ พูดง่าย ๆ ว่า เวลานั่งภาวนาแล้ว พอเปลี่ยนอิริยาบถลุกขึ้นหรือไปทำสิ่งอื่น ก็จะหลุดจากการภาวนาไปเลย ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์เอาไว้ให้ต่อเนื่อง ดังนั้น..จึงหาความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้ยาก

อีกประเภทหนึ่งก็คือพออารมณ์ใจทรงตัวแล้ว เกิดความปีติ อิ่มอกอิ่มใจ ชุ่มชื่นเยือกเย็นใจ ที่จิตสงบจากกิเลสชั่วคราว แต่ไม่ทราบว่าตนเองทำได้อย่างไรสภาพจิตจึงเป็นอย่างนั้น เมื่อเสวยผลไปจนหมด รัก โลภ โกรธ หลง เข้ามากลุ้มรุมตนเองใหม่ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปสู่อารมณ์สงบได้อย่างเดิมอีก ซึ่งความจริงแล้วถ้าเรารู้จักพิจารณาว่า ก่อนที่จิตของเราจะสงบนั้น เราคิดอย่างไร ? พูดอย่างไร ? ทำอย่างไร ? อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ? แล้วเราก็ย้อนกลับไปคิดอย่างนั้น พูดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น เราก็สามารถที่จะสร้างกำลังใจคืนมาได้อีก

อีกประเภทหนึ่งก็คือ เมื่อปฏิบัติไปแล้วกำลังสมาธิสูง กดใจของตัวเองให้สงบจากกิเลสคือ รัก โลภ โกรธ หลง ได้เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะได้เป็นอาทิตย์ เป็นครึ่งเดือน เป็นเดือน เป็นหลาย ๆ เดือน แล้วเกิดความประมาท ไม่ทราบว่าอาการนี้คืออาการที่กำลังของสมาธิกด รัก โลภ โกรธ หลง ให้สงบลง ไปเข้าใจว่าตนเองได้มรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าหากว่ามีแรงกระทบเข้ามา เกิดความขุ่นมัว เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมาอีก จึงได้รู้ตัวว่าที่แท้ตนเองยังไม่ได้อะไรเลย

ดังนั้น..นักปฏิบัติที่ดีนั้น ไม่ควรที่จะไปปักใจมั่นว่าตนเองได้อะไรแล้ว หากแต่กติกาความเป็นพระอริยเจ้ามีอย่างไร ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติไป ไม่ต้องไปใส่ใจว่าทำแล้วได้อะไร ทำแล้วได้ถึงไหน ถ้าหากว่าได้จริง อารมณ์ใจทรงตัวจริง ก็จะอยู่กับเราไปนานแสนนาน แต่ถ้าไม่ได้จริง เมื่อพบแรงกระทบ เดี๋ยวก็จะพังไปเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-12-2014 เมื่อ 09:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 15-12-2014, 10:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,624 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับต่อไปที่พบมาก็คือ เมื่อภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ไม่ได้คิดพิจารณาในวิปัสสนาญาณต่อ ตรงจุดนี้จะเป็นทุกข์เป็นโทษใหญ่แก่ตนเอง เนื่องจากสภาพจิตของเราเมื่อคลายออกจากสมาธิมา ก็ย่อมไปแสวงหาที่อื่นเป็นที่ยึดเกาะและเสวยอารมณ์ เมื่อเราไม่หาสิ่งที่ดี ๆ คือวิปัสสนาญาณต่าง ๆ ให้พิจารณา สภาพจิตก็จะไปไขว่คว้า รัก โลภ โกรธ หลง มาเอง

เมื่อถึงเวลานั้นก็จะฟุ้งซ่านไปกับ รัก โลภ โกรธ หลง อย่างรุนแรงและน่ากลัว เนื่องจากได้กำลังของสมาธิไปช่วยในการฟุ้งซ่าน ทำให้หยุดยั้งได้ยาก หักห้ามได้ยาก เพราะว่าอกุศลกรรมมีกำลังสูงกว่าเสียแล้ว ดังนั้น..เมื่อท่านภาวนาจนจิตสงบเป็นระดับที่สุดของตนเองแล้ว สภาพจิตจะค่อย ๆ คลายออกมาโดยอัตโนมัติ ให้ทุกคนเร่งหาวิปัสสนาญาณให้สภาพจิตพินิจพิจารณา ให้เห็นความจริงของร่างกายนี้ ของโลกนี้ ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร

จะดูตามลักษณะของไตรลักษณ์ ก็คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเราก็ได้ จะดูตามแบบอริยสัจ ก็ดูให้เห็นชัดว่าความทุกข์นั้นเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วเราละเว้นไม่ไปสร้างเหตุนั้น ความทุกข์นั้นก็ไม่เกิดขึ้น

หรือจะดูตามนัยของวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นทั้งการเกิดและการดับ ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างดับสลายไปสิ้น ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นโทษเป็นภัย เป็นของน่ากลัว จนกระทั่งท้ายสุดไปถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาพจิตยอมรับความจริงก็จะปล่อยวาง เห็นธรรมดาในทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเราก็ทบทวนญาณทั้ง ๘ นี้ย้อนหน้าย้อนหลัง สลับไปสลับมา ก็จะเป็นวิปัสสนาญาณที่ ๙ ที่เรียกว่าสัจจานุโลมิกญาณ เป็นต้น

ดังนั้น..ในการปฏิบัติของเรา ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาท พยายามรักษาอารมณ์ใจในการปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องยาวนานให้มากที่สุด เมื่อกำลังสมาธิคลายตัวออกมา ก็เริ่มน้อมนำเอาวิปัสสนาญาณมาพินิจพิจารณาให้เห็นจริง เมื่อสภาพจิตยอมรับ ก็สามารถก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยเจ้าในระดับใดระดับหนึ่ง ตามกำลังที่เราจะพึงมีพึงได้

ลำดับต่อไปให้ทุกท่านภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-12-2014 เมื่อ 16:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:50



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว