กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๘ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๘

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า เมื่อวานนี้, 18:18
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,955
ได้ให้อนุโมทนา: 225,219
ได้รับอนุโมทนา 800,740 ครั้ง ใน 39,375 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๘

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๘


__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า วันนี้, 00:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,399
ได้ให้อนุโมทนา: 157,996
ได้รับอนุโมทนา 4,479,753 ครั้ง ใน 36,008 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘ อากาศที่โรงแรม Asia Spa Resort เมืองธรรมศาลาอยู่ที่ ๑๕ องศาเซลเซียส เนื่องเพราะว่าเมื่อวานนี้ ตอนท้ายของการบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุน มีเสียงฝนตกดังสนั่นหวั่นไหวมาก บันทึกเสียงเสร็จแล้ว กระผม/อาตมภาพเปิดประตูหลังออกไปดู ถึงได้เห็นว่าไม่ใช่แค่น้ำฝนอย่างเดียว หากแต่ลูกเห็บขนาดประมาณหัวแม่มือ กำลังกระเด้งกระดอนอยู่บนลานเทอเรซหลังโรงแรม ขาวโพลนไปหมด..!

ตอนอยู่ที่วัดภัคสุนาค กระผม/อาตมภาพได้ชี้ให้ดูท้องฟ้าก่อนขึ้นรถแล้ว บอกกับทุกคนว่า "อากาศแบบนี้ ถ้าเป็นที่ทองผาภูมิ อีกสักครู่ฝนก็จะตก แต่ไม่ทราบว่าที่เมืองธรรมศาลานี้จะเหมือนกันหรือเปล่า ?" โชคดีที่ว่าพวกเรากลับเข้าที่พักแล้ว พายุลูกเห็บถึงได้มา แล้วต่อด้วยฝนอีกเกือบ ๑ ชั่วโมง ต้องเจริญพรขอบคุณเจ้าแม่นภิสราเทวีที่ช่วยอนุเคราะห์สงเคราะห์ให้ทุกอย่างเป็นไปโดยสะดวกเรียบร้อย

ส่วนเช้าวันนี้พวกเรานัดกันตามเวลาที่ ๖ - ๗ - ๘ แต่ว่า ๖ โมงเช้า ส่วนใหญ่ก็ตื่นแล้ว ลงไปนั่งรอกันที่ห้องอาหาร แต่เนื่องจากว่าผู้ดูแลห้องอาหารได้รับนัดหมายว่า ให้เปิดห้องอาหารตอน ๗ โมง แต่ละคนจึงนั่งคุยกัน งัดเอาเรื่องความเฉิ่ม ความเชย ความเปิ่นของพรรคพวกในคณะ ขึ้นมาเสียดสี "บูลลี่" กันเป็นที่สนุกสนาน เสียงหัวเราะดังสนั่นหวั่นไหว จนกระผม/อาตมภาพต้องเบรกว่า "พวกคุณกำลังจะทำให้ประเทศจีนเดือดร้อน เนื่องเพราะคุยกันเสียงดังขนาดนี้ เขาต้องคิดว่าเป็นคนจีนอย่างแน่นอน..!"

ครั้นอาหารพร้อมแล้ว พวกเราก็รับประทานกันแบบไม่ต้องฟังเสียง น้องการ์ตูน (นางสาวศรันย์พร บุรินทรโกษฐ์) นำเอาอาหารจากเมืองไทยมาไล่แจกทุกโต๊ะ เพียงแต่กระผม/อาตมภาพไม่ได้ให้ความสนใจเท่านั้นเอง เนื่องจากมีนิสัยว่า "ไปที่ไหนก็ต้องกินอาหารของที่นั่น" เพราะได้รับการอบรมมาตั้งแต่เด็กว่า "ดินฟ้าอากาศของแต่ละที่ อาหารของแต่ละแห่ง เหมาะกับการเป็นอยู่ในสถานที่นั้น ๆ"

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าเรากินอาหารพื้นเมือง เราก็สามารถจะอยู่ดีมีสุขได้ทุกที่ แต่ต้องฝึกตนเองให้เคยชิน ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะท้องเสีย วิ่งเข้าส้วมกันนับรอบไม่ถ้วนก็เป็นได้..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : วันนี้ เมื่อ 01:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า วันนี้, 00:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,399
ได้ให้อนุโมทนา: 157,996
ได้รับอนุโมทนา 4,479,753 ครั้ง ใน 36,008 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่ออิ่มแล้ว นายวิกรม (วิกะระมะ) หรือชื่อไทยว่าวิกรม
มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ก็ได้นำเอารถตู้มาเปลี่ยนให้คันของกระผม/อาตมภาพ ไม่ทราบเหมือนกันว่ารถตู้คันที่ใช้อยู่และสะดวกกับการถ่ายรูปนั้น ส่งไปให้กับนักท่องเที่ยวคณะไหน ? แต่เขาก็หารถมาให้จนได้ครบ ๒ คัน

พาพวกเราวิ่งลงเขาเข้าเมืองธรรมศาลา ซึ่งรถติดค่อนข้างที่จะมาก กว่าจะหลุดไปถึงวัด Gyuto Tantric Monastery ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์ขนาดใหญ่ได้ ทำเอารถติดจนหลายคนเริ่มจะท้อ แต่พอไปเห็นวัดและวิทยาลัยสงฆ์ขนาดมหึมา ก็รู้สึกว่าคุ้มค่าที่ได้มาถึง

พวกเราถ่ายรูปหมู่ด้านหน้าตัวอาคารหลัก ซึ่งถ้าเป็นบ้านเราเมืองเราก็ประมาณมหาวิหาร แล้วเดินเข้าไปภายใน กระผม/อาตมภาพอ่านป้ายข้อห้ามของเขา ก็คือ "ไม่ให้ส่งเสียงดัง ไม่สมควรจะขึ้นไปนั่งบนอาสนะพระ ไม่สมควรที่จะจับต้องสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องสักการบูชา" ก็เดินเข้าไปด้านใน ถ่ายรูปเสียทุกซอกทุกมุม

โดยมีคุณเอ (นายฉัตตริน เพียรธรรม) กรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็นซีทัวร์ ตามอธิบายขยายความให้ทราบว่า แต่ละอย่างหมายถึงอะไร โดยเฉพาะทางด้านนิกายตันตระนั้น ได้รับคำตำหนิว่าเป็นผู้ทำศาสนาพุทธให้เสื่อมมาโดยตลอด บุคคลที่ไม่ศึกษาและเข้าใจถึงหลักการของเขา ก็คิดว่าเป็นตามนั้น แล้วก็พูดต่อ ๆ กันมา..!

เมื่อกระผม/อาตมภาพถ่ายรูปเสร็จสรรพเรียบร้อย ก็มีพระมาสะกิด โบกมือประมาณว่า "ห้ามถ่ายรูป" กระผม/อาตมภาพก็ยังงง ๆ อยู่ แต่อีกฝ่ายเดินไปสับสวิตช์ปิดไฟภายในศาลานั้นไปเลย..! เมื่อเดินออกมาข้างนอกถึงได้เห็นป้ายเล็ก ๆ เขียนเอาไว้ว่า "ห้ามถ่ายรูป ห้ามบันทึกวีดีโอ" กระผม/อาตมภาพก็ได้แต่ขอโทษอยู่ในใจ เนื่องเพราะไม่ทราบจริง ๆ..!

พวกเราเดินหาห้องน้ำห้องส้วมของเขา เมื่อเข้ากันเรียบร้อยแล้วก็กลับขึ้นรถ ให้โชเฟอร์พาฝ่ารถติดสาหัสสากรรจ์ ตอนแรกออกมาตรงซอยประตูวัด เห็นมีตำรวจจราจร ๓ คน ๔ คน ช่วยกันโบกรถ ก็ยังรู้สึกว่าเขาทำหน้าที่เข้มแข็งมาก ที่ไหนได้..พ่อเจ้าประคุณเอาแค่รถตัวเองออกได้เท่านั้น..! เมื่อรถตัวเองหลุดพ้นไปได้ ทุกคนก็โดดขึ้นรถวิ่งหายวับไปกับตา ปล่อยให้พวกเราติดกันอีรุงตุงนังกันต่อไป พูดง่าย ๆ ว่า ติดเสียจนท้อใจ..!

กรุงเทพฯ ของเราว่ารถติดมากแล้ว ทำไมธรรมศาลาถึงได้ติดขนาดนี้ ? ขยับไปได้ทีละประมาณช่วงคันรถ แล้วก็ติดอีกพักใหญ่ ๆ เป็นอย่างนี้ไปตลอด ผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมงถึงได้เจอตัวต้นเหตุ ก็คือรถบรรทุกคันหนึ่งจอดตายแหงแก๋ขวางอยู่กลางทาง..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : วันนี้ เมื่อ 01:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า วันนี้, 00:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,399
ได้ให้อนุโมทนา: 157,996
ได้รับอนุโมทนา 4,479,753 ครั้ง ใน 36,008 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พลขับพาพวกเราไปยังสถาบันนอร์บูลิงการ์ ซึ่งนอร์บูลิงการ์นั้นก็คือพระราชวังฤดูร้อนขององค์ดาไลลามะในทิเบต สถาบันนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อรักษางานฝีมือต่าง ๆ ของชนชาวทิเบตเอาไว้ เราเดินเข้าไปภายในแล้ว รู้สึกว่าเขาพยายามทำสถานที่นี้ให้เป็นพระราชวังฤดูร้อนจริง ๆ เพราะว่ามีการชักสายน้ำให้ไหลเข้ามา และปลูกต้นไม้ใบหญ้าต่าง ๆ เอาไว้ร่มรื่นมาก

พวกเราเดินขึ้นไปหลายช่วงจนถึงพระวิหารหลัก เข้าไปกราบองค์พระประธาน ทำบุญหยอดตู้กันเรียบร้อยแล้ว ก็ถ่ายรูปต่าง ๆ ในบริเวณนั้น โดยไม่มีใครมาหวงมาห้ามแม้แต่คนเดียว

หลังจากนั้นก็ได้เข้าไปในพิพิธภัณฑ์ตุ๊กตา ตอนแรกก็ยังสงสัยว่าคือตุ๊กตาแบบไหน ? ปรากฏว่าเป็นตุ๊กตารูปชาวทิเบตตั้งแต่โบร่ำโบราณ ในการมาค้นเจอดินแดนทิเบต มีการเลี้ยงสัตว์ มีการต้อนแกะ ต้อนวัวจามรี จนกระทั่ง "มหาราชซองซานกัมโป" สามารถรวบรวมชาวทุ่งหญ้าทั้งหลายขึ้นมาเป็นประเทศทิเบตได้

แล้วภายหลังความเสื่อมก็เข้ามา มีฝรั่งชาวยุโรปเข้ามาแทรกแซง ตลอดจนกระทั่งประเทศจีน ทำให้ทางด้านทิเบตเสื่อมทรามลง จนองค์ดาไลลามะต้องเสด็จหนีออกจากทิเบตมาอยู่ที่ธรรมศาลาแห่งนี้ ส่วนสุดท้ายเป็น "ภาพทังกา" ก็คือภาพเขียนสำหรับแขวนบูชาสวย ๆ งาม ๆ ทำกันอย่างชนิดไว้ฝีมือเป็นจำนวนมาก แต่ว่าถ่ายรูปยากเพราะว่าอยู่ในกรอบกระจก ที่ค่อนข้างจะสะท้อนแสง

จากนั้นกระผม/อาตมภาพก็เดินขึ้นชั้นบนของพิพิธภัณฑ์ ไปดูบรรดาช่างฝีมือต่าง ๆ ซึ่งกำลังตอก กำลังแกะ กำลังขัดงานฝีมือแต่ละชิ้นอยู่ เมื่อกระผม/อาตมภาพเห็นแล้วถึงกับทึ่งมาก เนื่องเพราะว่าพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ แบบทิเบต ขนาดพระกริ่งของบ้านเรา

ตอนแรกก็คิดว่าเป็นการหล่อขึ้นรูป ที่ไหนได้..เป็นการที่เขาขึ้นรูปโลหะด้วยเครื่องไม้เครื่องมือประเภทแฮนด์เมด ทีละชิ้น ๆ แล้วนำมาเชื่อมต่อกัน ขัดแต่งจนกระทั่งสำเร็จเป็นองค์พระขึ้นมา กระผม/อาตมภาพกับท่านพันแสน (พระอธิการธรรมชัย อคฺคธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดศิลาวาส (ปิงโค้ง) ถึงกับมองหน้ากัน ประมาณว่าทุกคนเข้าใจผิดกันหมดว่าหล่อทั้งองค์ ที่ไหนได้..เป็นงานฝีมือที่ทำด้วยมือจริง ๆ..!

หลังจากลงมาข้างล่างแล้ว มีการชวนเข้าไปยังร้านขายของที่ระลึก ซึ่งมีสินค้างานฝีมือต่าง ๆ อยู่ในนั้น ทุกคนไปติดใจตุ๊กตาวัวจามรีทั้งสีดำและสีขาว ซึ่งใช้ขนจามรีแท้ ๆ มาประดับเป็นขนของตัวตุ๊กตา ราคาก็ไม่แพงมาก อยู่ที่ ๑,๒๐๐ รูปีต่อตัวเท่านั้น จึงมีการค้นหากันแทบจะหมดร้าน คนที่หาไม่ได้ก็หันไปซื้อหินมีค่า พวกบรรดาเทอร์คอยส์ อเมทิสต์ หรือว่าอำพันแทน

กระผม/อาตมภาพกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูอัญมณี คัดเลือกให้กับบุคคลที่ต้องการ เหตุที่ต้องการให้เขาซื้อกันที่นี่ เพราะว่าราคาค่อนข้างสมเหตุสมผล ไม่ได้แพงจนเกินไปนัก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : วันนี้ เมื่อ 01:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า วันนี้, 00:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,399
ได้ให้อนุโมทนา: 157,996
ได้รับอนุโมทนา 4,479,753 ครั้ง ใน 36,008 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้นก็ได้เดินเข้าไปห้องข้างใน ซึ่งมีภาพทังกา ทั้งภาพวาดและภาพปักสวย ๆ งาม ๆ อยู่มากมาย ลูกเหมียว (นางนิภา ศิริวรดล) ซึ่งมากับทิดเต้อ (นายมานนท์ ศิริวรดล) มองตาโตไปที่สาวทิเบต ซึ่งเป็นผู้แนะนำสินค้าอยู่ภายในร้าน มองบนมองล่างอยู่หลายทีแล้วก็บอกว่า "หลวงพ่อ..เขาไม่ได้ใส่รองเท้าส้นสูง แต่ยังสูงกว่าหลวงพ่ออีก..!"

กระผม/อาตมภาพบอกว่า "ได้ดูข่าวในพระราชสำนักหรือไม่ ? สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี พระราชาธิบดีแห่งภูฏานนั้น องค์ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ของเราว่าสูงใหญ่ชนิดฝรั่งยังอาย แต่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ยังสูงกว่าในหลวงของเราอีก..! ถ้าเป็นเผ่าพันธุ์ของทิเบตแท้ ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชายก็จะสูงระหงแบบนี้ทั้งนั้น"

เมื่อพวกเราเดินดูแล้วรู้สึกว่า ราคาของทังกาภายในนี้ค่อนข้างจะแพง แต่เป็นความแพงแบบสมเหตุสมผล ก็คือวาดด้วยมือทีละเส้นสาย ปักด้วยมือทีละเส้นสาย โดยเฉพาะมาดามชวง (นางสาวไพรินทร์ สุวิชชาญพันธุ์) ตอนที่นั่งรอเข้าเฝ้าองค์ดาไลลามะ เห็นแต่รัศมีสีแดงฉานครอบคลุมลงมาอยู่ตลอดเวลา พอมาเห็นองค์พระธยานิพุทธะกายสีแดงเข้าก็ "ถึงบางอ้อ" บอกทันทีว่าขอซื้อทังกาแผ่นนี้ พลิกดูราคาแล้วอยู่ที่ ๖๔,๗๒๐ รูปี จึงถามเขาว่าสามารถรูดบัตรได้หรือไม่ ? เจ้าหน้าที่บอกว่ารูดได้ "หม่าม้า" ของคณะก็เลยกระดี๊กระด๊าซื้อหาทันที เนื่องเพราะว่านึกออกว่าจะไปแขวนบูชาไว้ที่ไหน ?

โดยเฉพาะผู้แนะนำสินค้าบอกว่า ทังกาทุกภาพนั้นสร้างขึ้นด้วยมือของพระลามะ ทุกรูปจะต้องเข้าสมาธิเต็มที่ แล้วถึงจะเขียนลายแต่ละเส้น ปักด้ายแต่ละเส้น ถ้าหากว่าสมาธิลดลง ก็ต้องหยุดพัก จนกว่าจะหายเหนื่อยแล้วก็มาเข้าสมาธิเต็มที่ แล้วก็ค่อยเขียนหรือปักกันต่อ ก็แปลว่าสามารถที่จะบูชาเป็นวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์ได้ โดยที่ไม่มีความจำเป็นต้องไปเข้าพิธีอีก

เมื่อได้สินค้ากันมาทุกคน แม้แต่กระผม/อาตมภาพก็ซื้อด้วยกล้องมาหลายชิ้น..! พวกเราก็ตรงไปยังร้านอาหารตรงปากทางออก ซึ่งได้สั่งอาหารบุปเฟต์เอาไว้ทั้งหมด ๒๓ ที่ พวกเราตักอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คือผักกับผัก มีอย่างสุดท้ายเท่านั้นที่เป็นเนื้อไก่ อยู่ในลักษณะคล้ายกับผัดเปรี้ยวหวานบ้านเรา แต่ว่ารสชาติไม่ใช่ กินกันแล้วกินกันอีกจนแทบจะลุกไม่ไหว ไปเข้าห้องน้ำห้องส้วมกันแล้วมาขึ้นรถ เพื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่อไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : วันนี้ เมื่อ 01:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า วันนี้, 00:52
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,399
ได้ให้อนุโมทนา: 157,996
ได้รับอนุโมทนา 4,479,753 ครั้ง ใน 36,008 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่เจ้าประคุณรุนช่องเถอะ..! รถช่างติดเหลือใจ กว่าที่จะฝ่ารถติดไปจนถึงพิพิธภัณฑ์สงครามอินเดีย - จีนได้ ก็ใช้เวลาไปเป็นชั่วโมง แล้วฝนก็ตกพรำ ๆ ไปตลอดทาง จนมีบางคนงอแงไม่อยากลงรถ กลัวว่าจะเปียกฝน..!

แต่กระผม/อาตมภาพมั่นใจในฝีมือของ "น้องหนูน้ำพริกสละ" ก็เลยเดินลงไปให้พวกเราถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน และดูสถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงการรบกัน ระหว่างอินเดียกับประเทศจีน ซึ่งมีบุคคลเสียชีวิตในสงครามไปเป็นจำนวนมาก เมื่อถ่ายรูปกันทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะรูปปั้นอนุสาวรีย์ท่านนายพลโสรวาร สิงห์ เสร็จเรียบร้อย พวกเราก็กลับขึ้นรถ ฝ่ารถติดกันต่อไป ถือว่าเป็นรายการทรมานบันเทิง..!

จนกระทั่งมาขึ้นเขาที่ทางทั้งคับแคบ คดเคี้ยว และสูงชัน หลุดขึ้นไปถึงพิพิธภัณฑ์ชาวทิเบต ปรากฏว่าเป็นเวลาพักกลางวันของเขาพอดี ดูจากนาฬิกาแล้วเราต้องรอกันประมาณ ๑ ชั่วโมง ก็เลยมาถ่ายรูปหมู่และเดินดูสถานที่ต่าง ๆ พอไปเจอร้านกาแฟก็แห่กันเข้าไป ส่วนใครที่ไม่กินน้ำชากาแฟก็ออกไปเดินดูหมา ดูธรรมชาติต่าง ๆ รอบวัด จนเจ้าหน้าที่เขาทนไม่ได้ บ่ายโมงครึ่งก็รีบมาเปิดพิพิธภัณฑ์ให้..!

เมื่อซื้อตั๋วเข้าไปทางด้านในแล้ว เห็นเขาแบ่งเป็นช่วง ๆ แบบไม่ได้กั้นห้อง ช่วงแรก ๆ ก็คือความเป็นมาของชนชาวทิเบต ต่อด้วยศาสนาของทิเบต จากศาสนาบอนคือนับถือผี ก็เริ่มมานับถือพุทธ แล้วแตกออกเป็นนิกายต่าง ๆ มีนิกายเกลุกปะ (นิกายหมวกเหลือง) นิกายเนียงมาปะ (นิกายหมวกแดง) นิกายกาจูปะ และนิกายศากยะปะ ซึ่งนิกายเกลุกปะนั้น ปัจจุบันเป็นนิกายที่สังกัดขององค์ดาไลลามะ เรียกภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่า "นิกายหมวกเหลือง"

แล้วก็มาถึงเรื่องของการป้องกันชาติ ป้องกันแผ่นดิน ซึ่งเขาระบุเอาไว้ว่า "แม้ประเทศของเราจะเล็ก อาวุธของเราจะล้าหลัง แต่เราก็ต้องสู้กับผู้รุกราน เพื่อรักษาศาสนา ประเทศชาติ ประชาชน และวัฒนธรรมของเราเอาไว้"

เรื่องต่าง ๆ หลายเรื่องพอเข้าไปฟัง และชมวิดีโอซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหว มีการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ถ้าไม่ใช่บุคคลที่ค่อนข้างใจจะเข้มแข็ง ก็คงต้องเสียน้ำตากันเลยทีเดียว..! จนกระทั่งมาถึงช่วงสุดท้าย เป็นห้องของผู้หญิงทิเบต เริ่มตั้งแต่พระมารดาขององค์ดาไลลามะ และบรรดาวีรสตรีต่าง ๆ ซึ่งต่อสู้กับกองทัพคอมมิวนิสต์จีน จนกระทั่งมาถึงบุคคลที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงอยู่ในปัจจุบัน

จากนั้นพวกเราออกมาจะหาซื้อสินค้าของที่ระลึก แต่ปรากฏว่าข้าวของเขาเหลือน้อยมาก ๆ ไม่มีอะไรให้เลือก ก็เลยต้องกลับขึ้นรถ ฝ่ารถติด สร้างความตื่นเต้นให้กับชีวิตกลับขึ้นเขา แต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่บรรยายว่าหัวโค้งนี้ มุมถนนนี้ ตนไม่สามารถขับได้อย่างเด็ดขาด แต่เขาก็สามารถที่จะไปกันได้ ทั้ง ๆ ที่รถสองคันใหญ่เกินถนนไปอย่างน้อยก็ครึ่งคัน เขาก็สามารถที่จะถ้อยทีถ้อยอาศัย พากันขยับซ้ายขยับขวา จนกระทั่งผ่านกันไปได้ด้วยดีทุกครั้ง..!

เมื่อพวกเรากลับมาถึงโรงแรมที่พัก ส่วนหนึ่งก็ไปสั่งอาหารเย็น อีกส่วนหนึ่งก็เข้าที่พัก ทำภารกิจส่วนตัว กระผม/อาตมภาพที่ถือ "ชุดเดียวเที่ยวทั่วโลก" ก็รีบซักจีวรเอาไว้ก่อน เพราะว่าอีกหลายวันต่อไปไม่ทราบว่าจะมีโอกาสแบบนี้หรือเปล่า ?

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันเสาร์ที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : วันนี้ เมื่อ 01:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:55



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว