กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๗ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๗

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 23-07-2024, 19:47
พิชวัฒน์'s Avatar
พิชวัฒน์ พิชวัฒน์ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Aug 2014
ข้อความ: 500
ได้ให้อนุโมทนา: 3,308
ได้รับอนุโมทนา 24,997 ครั้ง ใน 988 โพสต์
พิชวัฒน์ is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชวัฒน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 24-07-2024, 00:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ กระผม/อาตมภาพไปร่วมงานพิธีสามีจิกรรมพระเถระ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ที่วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) มา ซึ่งพิธีกรรมนี้ในสมัยโบราณก็คือ ช่วงที่พระภิกษุจำพรรษา ต้องไปรายงานตัวกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ว่า ปีนี้ตนเองอยู่ที่ไหน ? อยู่กับใคร ? ถ้าหากว่ามีอะไรที่ต้องการความช่วยเหลือ พระอุปัชฌาย์อาจารย์ก็จะได้รู้ว่าต้องไปช่วยที่ใด ? อย่างไรบ้าง ? คราวนี้เมื่อมาถึงยุคสมัยนี้ ก็มีการเพิ่มเจ้าคณะปกครองเข้ามาด้วย อย่างที่ท่านทั้งหลายเมื่อวันอาสาฬบูชา ก็ได้ทำสามีจิกรรมกับกระผม/อาตมภาพไปแล้ว

พิธีนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายต่อหลายประการด้วยกัน อันดับแรกก็คือได้สามัคคีธรรม เราต้องไม่ลืมพระพุทธพจน์ที่กล่าวว่า สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความสามัคคีในหมู่คณะย่อมทำให้เกิดสุข

ในเรื่องของพระพุทธศาสนาของเราไม่ใช่เรื่องของบุคคลคนเดียว แต่เป็นเรื่องของคณะสงฆ์ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคณะสงฆ์ไทย คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัมนิกาย เนื่องเพราะว่าไม่ว่าจะเป็นนิกายใดก็ตาม ก็คือศาสนบุคคลในพระพุทธศาสนา ถ้าหากว่ามีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกัน พระพุทธศาสนาของเราก็จะเจริญมากขึ้น

ลำดับต่อไปก็คือเป็นการปฏิบัติตามภิกขุอปริหานิยธรรม ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่าคำว่า อปริหานิยธรรม คือธรรมที่ปฏิบัติแล้วไม่มีวันเสื่อม มีทั้งในส่วนของพระภิกษุและฆราวาส โดยที่มีหมวดละ ๗ หัวข้อคล้ายคลึงกันมากหลายหมวดด้วยกัน แต่ว่าหมวดสุดท้ายคือสาราณียธรรมนั้นมีแค่ ๖ หัวข้อ

การปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมนั้น ของพระภิกษุเรามีข้อหนึ่งที่ระบุไว้ชัดเจนว่า พระสงฆ์ผู้เป็นพระเถระ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก พึงฟังคำของท่านและน้อมนำไปปฏิบัติตามด้วยความเคารพ ก็แปลว่าสิ่งที่เราไปทำสามีจิกรรมและรับโอวาทจากพระเถระเจ้าคณะปกครอง โดยเฉพาะในเขตคณะสงฆ์ภาค ๑๔ นั้น เรามีที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค มีที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด น่าจะมากที่สุดในประเทศไทย

เนื่องเพราะว่าหลวงพ่อเจ้าคุณแย้ม - พระเดชพระคุณพระธรรมวชิรานุวัตร, ดร. (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าคณะภาค ๑๔ นั้น นอกจากท่านจะมีความเคารพบรรดาเจ้าคณะปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูบาอาจารย์ที่เกษียณอายุไปแล้ว ท่านยังเห็นประโยชน์ว่าผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เป็นผู้สั่งสมประสบการณ์ไว้มาก เป็นรัตตัญญูบุคคล จึงควรที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา และท่านก็ใช้งานที่ปรึกษาจริง ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2024 เมื่อ 05:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 24-07-2024, 00:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น บรรดาพระเถระเจ้าคณะปกครองที่เกษียณอายุไปแล้ว แต่ละท่านสั่งสมประสบการณ์มาอย่างต่ำ ๆ ก็ ๔๐ - ๕๐ ปี หลายท่านถ้าบวชตั้งแต่อายุครบบวชจนเกษียณอายุของพระก็เกิน ๖๐ ปี ความรู้ทั้งหลายเหล่านี้ถ้าไม่มีการถ่ายทอดต่อ ก็จะหมดไปกับตัวท่านเอง อย่างที่โบราณใช้คำว่า ของกินถ้าไม่กินก็เน่า เรื่องเล่าถ้าไม่เล่าก็ลืม

ข้อต่อไปก็คือเป็นการปฏิบัติตามสาราณียธรรม คือธรรมอันยังให้บุคคลระลึกถึงกัน ก็คือจะทำอะไรก็ทำด้วยเมตตา จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา จะคิดอะไรก็คิดด้วยเมตตา ในเมื่อมีความเมตตารักใคร่สามัคคีกัน มีอะไรผิดพลาดก็ตักเตือนกัน อะไรที่ทำแล้วถูกต้องดีงามก็ชมเชยกัน บรรดาผู้น้อยก็ย่อมมีกำลังใจที่อยากจะทำงานเพื่อพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เพราะว่าผู้ใหญ่เห็นคุณค่าเห็นความสามารถ

แล้วยังเป็นการปฏิบัติตามวุฒิธรรม ๔ ประการอีก โดยเฉพาะในส่วนของสัปปุริสูปสังเสวะ การคบหาสัตบุรุษ ก็คือผู้รู้ และสัทธัมมัสสวนะ คือรับฟังธรรมด้วยความเคารพ โยนิโสมนสิการ ตรึกตรองด้วยความแยบคายแล้ว ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ก็คือนำมาปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรมนั้น ๆ นี่กล่าวเอาเฉพาะในส่วนที่ชัดเจนที่สุด ว่าพิธีสามีจิกรรมของคณะสงฆ์นั้นตรงกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง

โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ของเราเคารพกันด้วยพรรษา ไม่ได้เคารพกันที่ยศศักดิ์อัครฐานใด ๆ ทั้งสิ้น
ในเรื่องของสมณศักดิ์เป็นพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ท่านพระราชทานให้เพื่อความสะดวกในการทำงานคณะสงฆ์ ในการปฏิบัติภาระธุระในพระพุทธศาสนาแทนพระองค์ท่าน แต่ว่าพระเราก็ยังคงเคารพกันด้วยอายุพรรษาเป็นหลัก เราจะเห็นว่าพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง รูปปัจจุบัน ถ้าเจอพระเถระที่อายุกาลพรรษามากกว่า ท่านจะกราบก่อนทุกครั้ง จะไม่มีการไปนั่งยืดว่าข้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2024 เมื่อ 05:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 24-07-2024, 00:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เป็นประเพณีในพระพุทธศาสนา สืบทอดกันมานานจนกลายเป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ถ้าหากว่าเอาตามศัพท์สมัยใหม่ก็คือเป็น "วัฒนธรรมองค์กร" อย่างหนึ่ง เพียงแต่ว่าเป็นองค์กรพระพุทธศาสนาเท่านั้น แล้วเป็นองค์กรที่มหัศจรรย์มาก เพราะว่าองค์กรนี้บริหารด้วยบริขาร ๘ เท่านั้น ก็คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร ประคดเอว หม้อกรองน้ำ มีดโกน เข็มและด้าย ใช้งบประมาณเพียงน้อยนิด แต่บริหารองค์กรประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่มาก เป็นองค์กรที่ยืนยาวมา ๒,๕๖๐ กว่าปีแล้ว..!

ดังนั้น..ในส่วนของความดีความงามในพระพุทธศาสนานั้น เป็นสิ่งที่เราท่านทั้งหลายต้องช่วยกันรักษาเอาไว้ อะไรที่ดีงามเราก็รักษาของเก่าไว้ อะไรที่สามารถปรับปรุงเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เราก็ปรับปรุงโดยไม่ให้เสียแก่นแท้ ถ้าทำแบบนี้ พระพุทธศาสนาของเราก็จะทันสมัยและเจริญรุ่งเรืองได้

อย่างที่ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าปัจจุบันนี้มีการเผยแผ่ธรรมในสารพัดวิธีตามสื่อโซเชียลต่าง ๆ มีทั้งออกเป็นรายวัน ออกเป็นรายวันพระ หรือว่าออกทุกวัน เพียงแต่ว่าเราท่านทั้งหลาย อย่างน้อยต้องมีความรู้เก่าที่ครูบาอาจารย์สั่งสอน หรือว่าศึกษาตามพระไตรปิฎกมาในระดับหนึ่ง ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าสิ่งที่ท่านทั้งหลายกล่าวถึง และสามารถหาได้ในสื่อโซเชียลต่าง ๆ อย่างง่ายดายนั้น อะไรเป็นธรรมแท้ อะไรเป็นสัทธรรมปฏิรูป

ก็แปลว่าการที่เราจะแยกแยะของแท้ออกจากของเทียมได้ เราต้องมีพื้นฐานในระดับหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระดับที่ถึงเวลาแล้วต้องสามารถแก้ต่างให้กับพระพุทธศาสนาได้ ใครมีอะไรสงสัย ข้องใจ ต้องสามารถชี้แจงให้ชัดเจนได้ จึงกลายเป็นภาระของพุทธบริษัททั้ง ๔ คือภิกษุ ภิกษุณี ซึ่งปัจจุบันนี้อนุโลมเอาแม่ชีเข้าไปแทน อุบาสก อุบาสิกา ต้องตั้งหน้าตั้งตาศึกษาและปฏิบัติธรรมให้เกิดผลอย่างแท้จริง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2024 เมื่อ 05:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 24-07-2024, 00:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าท่านทั้งหลายศึกษาในยมกปาฏิหาริย์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์ จะเห็นว่าบรรดาพระอัครสาวกก็ดี พระมหาสาวกก็ดี ปกติสาวกก็ดี ทั้งภิกษุและภิกษุณีขออาสาแสดงแทน พระองค์ไม่อนุญาต สามเณรสามเณรีที่ได้อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ ขอแสดงแทน พระองค์ก็ไม่อนุญาต อุบาสกอุบาสิกาที่ได้อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ ขอแสดงแทน พระองค์ก็ไม่อนุญาต เพราะว่ายมกปาฏิหาริย์ นั้นเป็นสิ่งเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

ในเมื่อสมัยโน้นไม่ว่าจะเป็นพระเถระ
พระมัชฌิมะ พระนวกะ สามเณรสามเณรีและญาติโยมทั้งหลาย ต่างสามารถรับภาระธุระในพระพุทธศาสนา อาสาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนได้ เราท่านทั้งหลายต้องมาตรึกตรองว่า ในปัจจุบันนี้ เรามีความสามารถสักส่วนเสี้ยวของคนโบราณหรือไม่ ? ควรที่จะเร่งรัดตนเองให้มากยิ่งกว่านี้หรือไม่ ? ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจจะเป็นแค่ทัพพีที่คาหม้อแกงอยู่ กี่ปีกี่ชาติก็ไม่รู้รสว่าแกงนั้นรสชาติเป็นอย่างไร ? เพราะว่าไม่เคยเข้าถึงวิมุติรสของพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันอังคารที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2024 เมื่อ 05:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:51



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว