|
กระทู้ธรรม รวมข้อธรรมะจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติ |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#21
|
||||
|
||||
![]()
มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ เล่มที่ ๓๓/๑ หน้าที่ ๗๙
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม ![]() ครั้งนั้นเราเป็นดาบส (ฤๅษี) สัญจรไปแต่คนเดียว มีป่าหิมพานต์เป็นที่อยู่อาศัย เมื่อไปสู่มนุษย์โลกทางอากาศ ในวันหนึ่งก็ได้พบพระพุทธเจ้า เราได้เข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วสดับพระธรรมเทศนาของพระองค์ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพคือ ในเทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้ เราเกิดสองสกุลคือ สกุลกษัตริย์และสกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดในสกุลที่ต่ำทราม ![]() ในพระนครอุชเชนีอันรื่นรมย์ เราเป็นคนฉลาดเรียนจบไตรเพท ส่วนมารดาของเราชื่อจันทนปทุมา เราชื่อกัจจานะ เป็นผู้มีผิวกายงาม พระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไปเพื่อพิจารณาพระพุทธเจ้า ได้พบและได้สดับพระพุทธภาษิตอันปราศจากมลทิน จึงได้บรรลุอมตธรรมอันสงบระงับ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้วเป็นพระอรหันต์ มหากัปปินเถราปทานที่ ๓ เล่มที่ ๓๓/๑ หน้าที่ ๘๓ ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม ![]() ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าปทุมุตระ เมื่อเราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต เราครองราชย์ในเทวดาและมนุษย์โดยเป็นส่วน ๆ แล้วเราจุติ (ตาย) จากสวรรค์นั้นแล้ว ![]() เราได้สดับข่าวสารอุบัติของพระพุทธเจ้าจากพวกพ่อค้า ได้ทำการสักการะพวกพ่อค้า สละราชสมบัติ พร้อมด้วยอำมาตย์หนึ่งพันคนเป็นพุทธมามกะ พากันออกเดินทาง ได้พบแม่น้ำมหาจันทานที มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง ทั้งไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว เราระลึกถึงพระพุทธคุณแล้วตั้งสัจจวาจาดังนี้คือ • ถ้าพระพุทธองค์ทรงข้ามกระแสน้ำ คือ ภพไปได้ถึงที่สุดแห่งโลก ทรงรู้แจ้งชัดไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ก็ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ • ถ้ามรรคเป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบได้ เป็นเครื่องให้โมกขธรรม เป็นธรรมสงบระงับ นำความสุขมาให้ได้ไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ก็ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ • ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นทางกันดารไปได้ เป็นเนื้อนาบุญอันเยี่ยมไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ก็ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ ![]() ได้พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่เหมือนพระอาทิตย์ที่กำลังอุทัย เราพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคมแล้ว ![]() ได้บรรลุโสดาบัน ได้กราบทูลพระองค์ว่า “ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอได้โปรดให้พวกข้าพระองค์ได้บรรพชาเถิด” พระมหามุนีผู้สูงสุดตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด” ![]() จากนั้นเสด็จเข้าพระเชตวันมหาวิหารแล้วทรงสั่งสอน เราได้บรรลุอรหันต์ ลำดับนั้น เราได้สั่งสอนพระภิกษุพันรูป ผู้เคยเป็นอำมาตย์ของเรา แม้พวกเขาทำตามคำสอนของเรา ได้บรรลุอรหันต์ทั้งพันรูป กรรมที่ได้ทำไว้ในภพก่อน ได้แสดงผลให้เราในครั้งนี้ เราพ้นจากกิเลส เราได้เผากิเลสทั้งหลายแล้ว เป็นพระอรหันต์
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย ![]() ![]() ![]() แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 20-05-2010 เมื่อ 19:51 |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
||||
|
||||
![]()
ทัพพมัลลปุตตเถราปทานที่ ๔ เล่มที่ ๓๓/๑ หน้าที่ ๘๕
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม ![]() ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เพราะกรรมนั้นนำไป เราจึงมีความสุขในที่ทุกสถาน ![]() ครั้นเมื่อพระศาสนธรรมกำลังจะสิ้นสูญอันตรธาน ทวยเทพและมนุษย์พากันสลดใจ ครั้งนั้น เราทั้งหลายเป็นภิกษุรวม ๗ รูปด้วยกัน ได้เห็นความอุบาทว์อันร้ายแรง แสดงเหตุว่าพระศาสนาจะสิ้นสูญ จึงเกิดความสังเวช คิดกันว่า เว้นพระศาสนาเสีย ไม่ควรที่เราจะมีชีวิตอยู่ เราทั้งหลายจึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่แล้วจะบำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ![]() ครั้งนั้น พระเถระ (พระภิกษุผู้อาวุโสในที่นั้น) ได้ตักเตือนเราว่า การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าหาได้ยาก อีกประการหนึ่ง ความเชื่อที่บุคคลได้ไว้ก็หาได้ยาก และพระศาสนายังเหลืออีกเล็กน้อย ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเสียจะต้องตกลงไปในสาครคือความทุกข์อันไม่มีที่สิ้นสุด เพราะฉะนั้น พวกเราควรกระทำความเพียรเตลอดเวลาที่พระศาสนายังดำรงอยู่เถิด ![]() พระเถระที่เป็นพระอรหันต์ได้ปรินิพพาน พระอนุเถระเกิดในชั้นสุทธาวาส พวกเราที่เหลืออีก ๕ รูป เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความเพียร เมื่อสิ้นอายุจึงได้ไปเกิดยังเทวโลก เราทั้งหลาย คือ ตัวเรา ๑ พระปุกกุสาติ ๑ พระสภิยะ ๑ พระพาหิยะ ๑ พระกุมารกัสสปะ ๑ ![]() เขาช่วยกันยกมารดาขึ้นสู่เชิงตะกอน ลำดับนั้น เราตกลงมา ตกลงไปในกองไม้ จึงได้นามว่า ทัพพะ ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ในภพก่อน เรามีอายุได้ ๗ ขวบ ก็หลุดพ้นจากกิเลส เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ได้บรรลุพระอรหันต์
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย ![]() ![]() ![]() แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 20-05-2010 เมื่อ 19:50 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
||||
|
||||
![]()
มหาโกฏฐิตเถราปทานที่ ๗ เล่มที่ ๓๓/ ๑ หน้าที่ ๙๒
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม ![]() เพราะผลกรรมนั้น เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง ![]() เราท่องเที่ยวไปแต่ในสองภพ คือในเทวาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้จัก นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดี เราเกิดแต่ในสองสกุล คือ สกุลกษัตริย์ และสกุลพราหมณ์ หาเกิดในสกุลอันต่ำทรามไม่ ![]() ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบิดาเราให้ดำรงอยู่เพื่อความบริสุทธิ์ เราเลื่อมใสในพระองค์ ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ![]() และเมื่อกำลังนุ่งผ้ากาสาวะก็ได้บรรลุอรหันต์ เมื่อท่านพระสารีบุตรไต่ถามในปฏิสัมภิทา ก็ตอบได้ไม่ขัดข้อง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว เป็นพระอรหันต์
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย ![]() ![]() ![]() แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 28-11-2009 เมื่อ 11:50 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
![]()
ราธเถราปทานที่ ๙ เล่มที่ ๓๓ /๑ หน้าที่ ๙๖
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม ![]() ด้วยกรรมที่เราได้ทำไว้ดีแล้วนั้น เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เพราะกรรมนั้นนำไปเราจึงเป็นผู้ถึงความสุขในทุกภพ ![]() ในพระนครราชคฤห์ได้ถวายอาหารทัพพีหนึ่งแก่ท่านพระสารีบุตร ในเวลาเราแก่เฒ่า เราอาศัยวัดอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่ยอมบวชให้ เราชราหมดกำลังเรี่ยวแรง ครั้งนั้นเราเป็นคนยากเข็ญจึงเป็นผู้ปราศจากผิวพรรณ เศร้าโศก พระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาทอดพระเนตรเห็นเข้าจึงตรัสถามเราว่า “ ลูก ไฉนจึงเศร้าโศก จงบอกถึงโรคที่เกิดในจิตของเจ้า” เราได้กราบทูลว่า “ ข้าแต่องค์ผู้มีความเพียร ข้าพระองค์ไม่ได้บวชในศาสนาของพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงมีความเศร้าโศก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วยเถิด” ครั้งนั้น พระพุทธองค์ผู้สูงสุดได้รับสั่งให้เรียกภิกษุมาประชุม พร้อมแล้วตรัสถามว่า “ผู้ใดนึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นี้ได้ จงบอกมา” พระสารีบุตรได้กราบทูลว่า “ข้าพระองค์นึกถึงบุญคุณของเขาได้ พราหมณ์ผู้นี้ได้ถวายอาหารทัพพีหนึ่งแก่ข้าพระองค์ ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต พระเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า “ดีละ ๆ สารีบุตร เธอเป็นคนกตัญญู เธอจงบวชให้พราหมณ์ผู้นี้” ![]() เพราะเราเป็นผู้สดับพระพุทธดำรัสโดยความเคารพ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว เป็นพระอรหันต์
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย ![]() ![]() ![]() แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 20-05-2010 เมื่อ 19:50 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
||||
|
||||
![]()
กาฬุทายีเถราปทานที่ ๖ เล่มที่ ๓๓/๑ หน้าที่ ๑๐๙
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม ![]() เราเข้าไปยังพระวิหารหังสาราม ถวายบังคมได้สดับธรรมอันไพเราะ และทำสักการะแด่พระพุทธองค์ ![]() ![]() ในพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งนั้นพระสิทธัตถราชกุมารผู้ประเสริฐกว่านรชน ได้ประสูติที่สวนลุมพินีอันรื่นรมย์ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่โลกทั้งมวล ![]() ![]() พระพุทธองค์ทรงชนะมารพร้อมทั้งเสนามารยังอาสวะให้สิ้นไป ข้ามห้วงอรรณพคือภพแล้ว เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ![]() ![]() ![]() หมายเหตุ คำว่าหงสาวดี หงสวดี สามารถใช้ได้อีก ๒ คำดังนี้ค่ะ ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สุธรรม ยังมี หังสวดี และ หังสาวดี ที่ใช้ได้อีก ๒ คำครับ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย ![]() ![]() ![]() แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 21-05-2010 เมื่อ 13:03 |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|