#181
|
|||
|
|||
![]()
ตามเรื่องว่าพระพุทธเจ้าก่อนเข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ชมฌานเป็นการใหญ่
เข้านิโรธสมาบัติ ออกจากนิโรธแล้วถอยออกไปจนถึงปฐมฌาน แล้วกลับเข้าสู่ปฐมฌานอีกจนถึงจตุตถฌาน ไป ๆ มา ๆ อยู่ เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้วพระองค์จึงนิพพาน ในระหว่างกามาวจร คือ จิตเที่ยวในกามาวจรกับรูปาวจร แต่อารมณ์ของกามาวจรและอารมณ์ของรูปาวจร ก็มิได้ทำให้จิตใจพระองค์หลงใหลไปตาม เพราะพระองค์รู้โลกทั้งสามแล้วแต่เมื่อครั้งตรัสรู้ใหม่ ๆ ยิ่งทำใจพระองค์ให้ทรงผ่องใสยิ่งขึ้น เพราะเห็นชัดแจ้งแทงตลอด ในเรื่องอารมณ์ของกามาวจรและรูปาวจร อันเป็นเหตุให้โลกทั้งหลายวุ่นวายไม่มีที่สิ้นสุด สมกับที่พระอานนท์ชมเชยพระพุทธเจ้าว่า “น่าอัศจรรย์จริงหนอ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในระหว่างกองกิเลสทั้งปวง ซึ่งมีพร้อมอยู่แล้วในโลกนี้คือกามาวจรและรูปาวจรนั้นเอง” หรือจะเรียกในมนุษยโลกและเทวโลกก็ได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#182
|
|||
|
|||
![]()
นิโรธสมาบัติกับสมาธิมิใช่อย่างเดียวกัน
นิโรธสมาบัติเข้าไปโดยลำดับเพ่งเอาอารมณ์ของฌานอย่างเดียว ไม่พิจารณาอะไร จนดับสัญญาและเวทนาเรียกว่าเข้านิโรธ ส่วนสมาธิคือเพ่งเอาจิตผู้คิดผู้นึก รู้สึกสิ่งต่าง ๆ ว่าดี ชั่ว ว่าหยาบ ละเอียด ว่าสิ่งที่ควรละควรถอน ซึ่งมีสติเป็นผู้ควบคุมอยู่ เป็นวิสัยของผู้ยังไม่ตาย วิญญาณจะรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ จึงจำเป็นจะพิจารณาให้รู้เหตุผลสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นจริงอย่างไร ผู้พิจารณาเห็นโทษว่าสิ่งนั้น ๆ เกิดขึ้นแล้วดับเป็นธรรมดา ของเหล่านี้เกิดดับไม่รู้แล้วรู้รอด เมื่อท่านพิจารณาเห็นชัดแจ้งในใจของตนในธรรมะที่ท่านพิจารณาอยู่ จนเกิดปราโมทย์ความเพลินในธรรมนั้น ๆ เรียกว่า สมาธิ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#183
|
|||
|
|||
![]()
มีเรื่องเล่าว่า พระพากุละ เมื่อท่านสำเร็จพระอรหันต์แล้ว ท่านไปเข้าสมาบัติอยู่ในที่แจ้งแห่งหนึ่ง
สหายเก่าของท่านเมื่อครั้งเป็นฆราวาสอยู่เดินมาในที่นั้น เห็นท่านนั่งเข้าสมาบัติอยู่จึงถามท่านว่า ท่านทำอะไร พระพากุละก็ไม่ตอบ แล้วสหายเก่าคนนั้นจึงเดินเลยไป เมื่อท่านนั่งสมาธิพอสมควรแล้ว ท่านจึงออกจากสมาบัติ แล้วเดินไปพบสหายเก่าของท่าน เขาจึงถามท่านว่า เราได้ยินอยู่แต่เราไม่พูด เราเสวยธรรมะที่ควรเสวย เป็นอันว่านิโรธสมาบัติเป็นโลกีย์ ผู้ฝึกหัดแล้วย่อมเข้าใจได้เสมอ ส่วนสมาธิเป็นธรรมชั้นสูงควรแก่อริยภูมิจึงจะเข้าได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#184
|
|||
|
|||
![]()
มีชายคนหนึ่งชื่อบุษณะ คิดอยากจะภาวนากรรมฐานอย่างฤๅษี อยู่ดี ๆ ก็ไปอยู่ป่าคนเดียว ฝึกหัดกรรมฐานแบบพิจารณาธาตุทั้ง ๔พิจารณาแต่ละธาตุตั้งเดือนกว่า
มาวันหนึ่ง ฝนตกใหญ่น้ำหลากมาจากภูเขาท่วมตัวจนถึงคอ แกไม่รู้สึกตัวเลย จนกระทั่งน้ำแห้งแล้วเห็นฟองน้ำและขยะไหลมาที่คอ แกจึงรู้สึกว่าน้ำท่วมถึงคอ (ดีไม่ท่วมจมูก) ไม่ทราบว่าอยู่กี่วัน ผอมแห้งยังเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก แกจึงคลานออกมาถึงบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่งซึ่งติดกับชายป่า เจ้าของบ้านเห็นเข้าจึงลงไปอุ้มขึ้นมาอาบน้ำให้แล้วเอาผ้ามาเปลี่ยนให้ใหม่ บำรุงอาหารให้ราว ๓-๔ วัน แล้วเจ้าของบ้านจึงส่งไปหาพ่อแม่ ต่อมาทีหลัง แกจึงบวชในพระพุทธศาสนา ได้ตามมาจำพรรษาในวัดหินหมากเป้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ บอกเบอร์ชะมัดอย่าบอกใคร (เห็นจะเป็นบางครั้ง) เมื่อมาอยู่วัดหินหมากเป้งที่อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ผู้เขียนห้ามไม่ให้บอกเบอร์ (หวย) เด็ดขาดถ้าบอกจะไม่ให้อยู่วัด เขาก็เชื่อฟังโดยดี ออกพรรษาแล้วจึงกลับไปบ้านเดิม และได้ข่าวท่านไปสร้างวัดที่ท่านทำความเพียรแต่ก่อนนั้นเอง แต่มีหมู่เพื่อนไม่มากนัก
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 13-08-2011 เมื่อ 20:16 |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#185
|
|||
|
|||
![]()
เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยวอินโดนีเซีย ได้ไปพักที่เขาสมาลัง
เป็นภูเขาไฟควันตลบอยู่บนยอดเขา เขาเรียกว่า เขาคิชฌกูฏ ตอนเช้าและตอนบ่ายจะเห็นควันโขมงอยู่บนยอดเขา เชิงเขาจะมีลาวาเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด ไม่ทราบว่ากี่พันกี่หมื่นปีมาแล้วที่เป็นอยู่เช่นนี้ เย็นวันหนึ่งมีคนมาหาที่วัด แล้วพูดเรื่องภูเขาและเรื่องที่เขาไปภาวนา อยู่ในป่าแห่งหนึ่งข้างทางที่เขาชี้ให้ดูนั่นเอง เขาบอกว่า แบกกล้วยไปเครือหนึ่งหวังว่าจะกินวันละลูก ร้อยวันก็หมดพอดี แล้วเขาก็นั่งภาวนาอยู่แถวนั้น ทีแรกก็กลัวสัตว์ร้ายมี งู เสือ หมี เป็นต้น แต่ภาวนามาได้ ๒-๓ วัน สัตว์เหล่านั้นก็มาหายั้วเยี้ยเลยไม่กลัว เห็นเป็นมิตรสหายอันดีต่อกัน เขาไม่ได้บอกว่านะไปอยู่ป่ากี่วัน และไม่ได้บอกลูกเมียทางบ้านให้ทราบด้วย เขาภาวนาเป็นเวลานานพอสมควร จึงได้กลับเข้าไปบ้าน มองเห็นบ้านและลูกเมียเป็นอะไรไม่ทราบ คิดกลัวไปหมด อยู่มาราว ๓-๔ วัน สัญญาอันนั้นก็กลับเข้ามาเห็นลูกเมียเป็นปกติ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#186
|
|||
|
|||
![]()
มีเรื่องเล่าว่า ลูกพระมหากษัตริย์องค์หนึ่ง รักษาศีลเคร่งครัดมาก
เมื่อเห็นประชาชนประพฤติเหลวไหลไม่ประพฤติเป็นธรรม ท่านจึงคิดเบื่อหน่ายหนีเข้าป่าคนเดียว และบอกว่าห้าร้อยปีจะกลับมาเพื่อฟื้นฟูศาสนาให้เจริญตามเดิม คนอินโดนีเซียเชื่อจนบัดนี้ เวลาก็ล่วงเลยมาห้าร้อยปีกว่าแล้ว ก็ไม่เห็นพระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นกลับมาสักที แต่คนอินโดนีเซียเชื่ออยู่อย่างนั้น และคอยวันคืนมาของพระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาให้เจริญ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#187
|
|||
|
|||
![]() จิต - ใจ จะขอย้อนพูดถึงเรื่อง จิต-ใจ อีกทีหนึ่ง เพราะจิต-ใจ เป็นของละเอียดมาก บางคนอาจจะไม่เคยได้ยินคำสองคำนี้เลยก็ได้ เมื่อไม่เคยได้ยินได้ฟังก็จะหาว่าผู้เขียนพูดเพ้อเจ้อ แต่แท้ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องจิต-ใจ ว่าเป็นของสำคัญมาก เมื่อพูดถึงเรื่องกิเลสทั้งหลายก็จะพูดถึงแต่เรื่องจิต-ใจทั้งนั้น ว่ากิเลสเกิดจากจิต-ใจ กิเลสจะดับก็เพราะดับได้ที่จิต-ใจนี้แห่งเดียวเท่านั้น กิเลสเป็นของไม่มีตัวตน เป็นนามธรรมล้วน ๆ แต่เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแก่ใคร เมื่อใดแล้ว ผู้นั้นจะต้องแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น โทสะ เป็นต้น เมื่อเกิดจากจิต-ใจ ผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะต้องแสดงสีหน้าพิกลต่าง ๆ เรามาพิจารณาว่าใครเป็นผู้ทำให้สีหน้าพิกลไปต่าง ๆ เมื่อจิตเป็นผู้ทำให้เป็นเช่นนั้น เราเอาสติข่มจิตผู้ทำนั้นไว้ให้ได้ ก็จะสามารถระงับโทสะนั้นได้อย่างปลิดทิ้ง อย่างนี้กิเลสคือโทสะนั้นมิใช่เป็นของมีตัวหรือ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#188
|
|||
|
|||
![]()
จิต-สติ-กิเลส
เมื่อจะพูดถึงเรื่องจิต-ใจ ก็จะต้องพูดถึงสติผู้ควบคุมจิตและผู้รักษาจิตโดยเฉพาะ ส่วนกิเลสคือความเศร้าหมองของจิต จะขอพูดถึงเรื่องสามอย่างนี้เท่านั้นแหละ นอกจากนี้จะไม่พูด ถ้าพูดไปก็จะฟั่นเฝือมากเป็นเหตุให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญได้ โดยเฉพาะผู้เขียนเป็นคนเรียนน้อยรู้น้อยไม่ค่อยเข้าใจลึกซึ้ง จึงจะขอพูดถึงเฉพาะแต่เรื่องที่ปฏิบัติอยู่นี้เป็นหลักใหญ่ และเป็นประธานของการปฏิบัติซึ่งก็มีอยู่เพียงสามอย่างเท่านั้นแหละ ฉะนั้นจึงอยากให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง ได้เข้าใจถึงเรื่องสามอย่างนี้บ้างโดยเฉพาะ จึงจะเข้าใจหนังสือเล่มนี้ดี ถ้าไม่รู้เรื่องสามอย่างนี้แล้ว ก็จะหาว่าผู้เขียนพูดเพ้อเจ้อไปก็ได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#189
|
|||
|
|||
![]()
จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า กิเลส อันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง
จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต ให้รู้เท่าทันจิต ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ คำว่า รู้เท่า คือ สติรู้จิตอยู่ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่า ๆ กันนั่นเอง คำว่า รู้ทัน คือสติทันจิตว่าคิดนึกอะไร พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า รู้ทัน แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้นี้เรียกว่า รู้ตาม อย่างนี้เรียกว่า ไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้ว พอจิตคิดนึก สติจะรู้ทันที ไม่ก่อนไม่หลัง ความคิดของจิตก็จะสงบทันที นิ่งเฉย สติควบคุมจิตนิ่งอยู่แต่ผู้เดียว ไม่คิดไม่นึกอะไร อันนี้เป็นยอดแห่งความสุขที่วิเวก การที่จะทำสติให้ได้อย่างนี้ จะต้องพร้อมด้วยกายวิเวกและจิตวิเวกอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อสติเห็นจิตคุมจิตอยู่แล้ว ความปลอดโปร่งแห่งจิตจะหาที่สุดไม่ได้ ความรู้ต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน ย่อมเกิดจากสติควบคุมจิตนี้ทั้งนั้น ฉะนั้น สติควบคุมจิต จึงเป็นยอดแห่งความปรารถนาของผู้ปฏิบัติกรรมฐานโดยแท้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#190
|
|||
|
|||
![]()
คราวนี้จะพูดถึงเรื่อง อารมณ์ของจิต หรือจิตส่งนอก ก็เรียก
จิตที่ส่งออกไปนอกกายมีหกสายใหญ่ ๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตส่งนอกมันออกไปจากทวารหกสายนี้ทั้งนั้น ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีเด็ดขาด
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#191
|
|||
|
|||
![]()
ส่วนคำว่า จิตส่งใน คือในของจิต หมายความว่าส่งออกจากจิตนั่นเอง
โดยที่ไม่ได้ส่งออกไปตามอายตนะทั้งหก เช่น ส่งจิตไปเห็นรูปเทวบุตร เทวดา หรือภาพภูติผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า ส่งใน คือ ส่งอยู่ในจิตนั่นเอง จิตที่ส่งไปตามอารมณ์ภายใน (หรือจะเรียกว่า ส่งใน ก็ใช่) การที่จิตส่งในนี้เป็นของสำคัญมากเพราะอาจจะเป็นเหตุให้เกิดวิปริตต่าง ๆ ที่เรียกว่าเสียสติก็เป็นได้ ผู้ฝึกหัดจิตต้องการจับเอาตัวจิต แต่กลับไปจับเอาอารมณ์ที่ส่งออกไปนอกจิต จึงไม่ได้จิตสักที โดยสำคัญว่าอันนั้นก็จิต อันนี้ก็จิต แท้ที่จริงแล้วเป็นอาการของจิตหรืออารมณ์ของจิตทั้งนั้น อย่างที่ท่านเรียกว่า สำคัญเปลือกเป็นแก่นจึงไม่ได้แก่นสักที เมื่อผู้รู้เช่นนั้นแล้ว ตั้งสติไว้ให้แน่วแน่ คุ้มครองจิตไว้ได้แล้ว อารมณ์ของจิตเกิดขึ้นเมื่อใดก็ทันจิตทุกเมื่อ รู้เท่าจิตทุกเวลา อารมณ์ที่ว่านี้คืออาการที่จิตเกิดขึ้นเมื่อใดก็ทันจิตทุกเมื่อ รู้เท่าจิตทุกเวลา อารมณ์ที่ว่านั้นคือการที่จิตปรุงแต่งก็หายวับไปทันที ยังเหลืออยู่แต่สติควบคุมจิต ส่วนกิเลสทั้งหลายที่มีมากมายเหลือที่จะคณานับนั้น เมื่อสติจับจิตตรงนี้ได้แล้ว กิเลสเหล่านั้นก็จะหายวับไปทันที ที่ว่ากิเลสเกิดจากจิตก็คือเกิดตรงนี้เอง กิเลสดับจากจิตก็เพราะดับตรงนี้ได้นั่นเอง เรียกอีกสำนวนหนึ่งว่า เกิดกับดับพร้อม นั้นเอง ที่พระองค์ตรัสว่ากิเลสทั้งปวงเกิดจากจิตในที่เดียว จิตคือผู้คิด ผู้นึกหรือผู้ปรุงแต่ง ถ้าไม่คิดกิเลสทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น อย่างสำนวนโวหารพระกรรมฐานท่านว่า สติรู้เท่าทันจิต นั่นเอง เมื่อสติรู้เท่าทันจิตแล้ว กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นก็จะหายวับทันที
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#192
|
|||
|
|||
![]()
ดังตัวอย่างเช่นความโกรธเกิดขึ้นแก่ผู้ใด
ความโกรธเกิดขึ้นแล้วจึงรู้ จึงเรียกว่าไม่รู้เท่ารู้ทัน ถ้ารู้เท่าทันแล้ว พอจิตคิดโกรธ สติตามรู้เท่าทัน ความโกรธนั้นก็จะหายไป
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#193
|
|||
|
|||
![]()
ผู้ซึ่งจะรู้เท่าทันได้ดังว่านั้นจะต้องประกอบด้วยกายวิเวกและจิตวิเวก
กายวิเวกคือ ต้องอยู่คนเดียวจริง ๆ ไม่คิดไม่นึกถึงคนนั้นคนนี้ สงบจากสิ่งทั้งปวงหมด จึงเรียกกายวิเวก ส่วนจิตวิเวกนั้น จิตต้องเข้าถึงอัปปนาสมาธิ ที่เรียกว่า จิตเป็นเอกวิเวกอยู่คนเดียว นั้นแหละจึงจะรู้ได้ว่ากายกับจิตควบคุมซึ่งกันและกัน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#194
|
|||
|
|||
![]()
บรรดาลูกศิษย์ของพราหมณ์พาวรีทั้งสิบหกคน
ซึ่งพระอาจารย์ได้คิดค้นตั้งปัญหาอันลึกซึ้งคัมภีรภาพให้คนละปัญหา เพื่อนำไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า ลูกศิษย์ทั้งสิบหกคนของพราหมณ์พาวรีนี้ ก็ได้รับการอบรม ปฏิบัติตามหลักวิชาการของพราหมณีวงศ์จนชำนิชำนาญแคล่วคล่องมาแล้วทั้งนั้น เมื่อพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์ตั้งปัญหาให้ไปทูลถามพระพุทธองค์ มาณพทั้งสิบหกคนจึงเดินทางไปยังสำนักของพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลถามปัญหานั้น ๆ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม วิสัชนาแก้ปัญหานั้น ๆ ของศิษย์พราหมณ์พาวรีจนครบทั้งสิบหกคน แต่ละคนล้วนตั้งใจปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์ ก็เกิดรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมนั้น ๆ ได้บรรลุอรหัตผลทุกท่าน ยกเว้นปิงคิยมาณพ มัวพะวงคิดถึงแต่อาจารย์พราหมณ์พาวรีว่า ไม่ได้ฟังธรรมคำสอนอันลึกซึ้งละเอียดจากพระพุทธองค์ ทั้งวาจาวาทะถ้อยคำของพระองค์ก็สละสลวยเป็นของน่าฟัง ธรรมของพระองค์นี้เป็นสิ่งสมควรแก่ผู้มีปัญญา ที่สามารถพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงได้โดยแท้ เสียดายจริง ๆ ที่อาจารย์ของเราไม่ได้มาฟัง ด้วยจิตของปิงคิยมาณพส่งไปหาอาจารย์อยู่อย่างนั้น จึงไม่ได้สำเร็จอรหันต์พร้อมเพื่อนในคราวนั้น ต่อมาภายหลังเมื่อได้ฟังธรรมโอวาทจากพระพุทธองค์อีก จึงได้สำเร็จบรรลุอรหัตผล บรรดาศิษย์ทั้งสิบหกรวมทั้งอาจารย์จึงได้ขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระองค์ แล้วพระองค์ก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ความว่า ท่านจงเป็นภิกขุมาเถิด ธรรมวินัยของเราตรัสไว้ดีแล้ว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#195
|
|||
|
|||
![]()
กิเลสทั้งหลายที่ว่ามีมากมาย เวลาจะดับ ก็ดับที่ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปหาดับในที่ต่าง ๆ ทั่วไป
พระพุทธศาสนาท่านสอนให้ดับที่ต้นตอบ่อเกิดของกิเลส กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นก็จะดับหมด ถ้าจะกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเป็นของกว้างก็กว้าง กล่าวคือท่านสอนเรื่องจิตที่ส่งส่ายไปตามอารมณ์หาที่สุดมิได้ คือหาประมาณที่สุดไม่ได้นั่นเอง ถ้าจะว่าเป็นของแคบก็แคบนิดเดียว คือเมื่อสติควบคุมจิตได้แล้ว หาต้นตอที่เกิดของกิเลสได้แล้ว กิเลสก็ดับ ณ ที่นั้นเอง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#196
|
|||
|
|||
![]()
โอ้อนิจจาน่าสงสารพระภิกษุที่บวชมาไม่ถึง ๔-๕ พรรษา
ก็อยากจะเป็นพระคณาจารย์สอนพระกรรมฐานเสียแล้ว แต่พระกรรมฐานห้าอย่างที่พระอุปัชฌาย์สอนให้ตนเบื้องต้นตอนบวชก็ยังพิจารณาไม่ได้ แล้วจะไปสอนคนอื่นได้อย่างไร ผู้ที่จะเป็นพระคณาจารย์สอนกรรมฐานได้นั้นตนเองจะต้องฝึกหัดสมาธิให้ได้ ขณิก-อุปจาร-อัปปนาสมาธิเสียก่อน ถ้าปฏิบัติไม่ได้อย่างว่านั้นแล้ว ขืนไปสอนเขาเดี๋ยวจะถูกลูกศิษย์หลอกเอา บางทีอาจารย์เรียกลูกศิษย์มาอบรมกรรมฐานแล้วถามว่าจิตเป็นอย่างไร ลูกศิษย์ก็จะบรรยายอย่างกว้างขวางว่าจิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ฝ่ายอาจารย์หลงเชื่อเพราะตนเองไม่เคยเป็นมาก่อน ขณิก-อุปจาร-อัปปนา สมาธิก็ไม่รู้จัก เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็จะเสริมลูกศิษย์คนนั้นว่าดีแล้ว ถูกแล้ว ลูกศิษย์คนอื่น ๆ เมื่อได้ยินได้ฟังอาจารย์พูดเช่นนั้น ส่งเสริมอย่างนั้น ต่างก็ริที่จะสรรหาคำพูดต่าง ๆ มาพรรณนาให้อาจารย์หลงเชื่อ อาจารย์ก็จะส่งเสริมลูกศิษย์คนนั้นต่อไปว่าได้สำเร็จมรรคผลชั้นนั้น ชั้นนี้ ภูมินั้น ภูมินี้ แล้วก็จะไปโฆษณาตนเองว่าฉันได้สำเร็จมรรคผล สิ่งเหล่านี้ผู้เขียนได้เคยประสบมาแล้ว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#197
|
|||
|
|||
![]()
มีผู้หญิงคนหนึ่งเคยเป็นหัวหน้าอบรมสั่งสอนกรรมฐานเขามาเป็นเวลาตั้งสิบกว่าปี
ต่อมาภายหลังได้ไปอบรมกรรมฐานแบบยุบหนอพองหนอ คือ กายปัพพะดี ๆ นี่เอง แล้วก็กลับไปโฆษณาให้เพื่อนเก่า ๆ ฟังว่ามาทำกรรมฐานกับฉันเถิด ทำแบบพุทโธไม่ได้ผลหรอก มาอบรมแบบยุบหนอ-พองหนอดีกว่า เจ็ดวันเท่านั้นจะทำให้สำเร็จมรรคผล เพื่อน ๆ ได้ยินเข้าเขาเบื่อไม่อยากฟัง แต่ก็ทนฟังแกพูดเพ้อเจ้อไปอย่างนั้นแหละ ต่อมาผู้เขียนได้เรียกตัวมาถามว่า คุณอบรมกรรมฐานอย่างไรจึงได้สำเร็จมรรคผลเร็วนัก แกกลับปฏิเสธเป็นชุลมุนว่า อบรมตามอย่างอาจารย์สอนนั่นแหละ นี้เป็นตัวอย่าง เรื่องการสำเร็จมรรคผล พูดอวดอุตตริมนุสสธรรมไปทั่วบ้านทั่วเมืองเช่นนี้ ถ้าเป็นจริงอย่างแกว่า ผู้หญิงก็จะเป็นอรหันต์กันไปหมดนะซิ ต่อจากนั้นแกจึงค่อยสงบลง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#198
|
|||
|
|||
![]()
การฝึกกรรมฐานแบบพม่า คือ ยุบหนอ พองหนอ หมายเอาลมหายใจเข้า-ออก นั่นเอง
ต่อมาสอนให้กำหนดเอาอิริยาบถ เช่น เมื่อก้าวเท้าไปข้างหน้า กำหนดว่า ก้าวหนอ-ก้าวหนอ อย่างนี้เป็นต้น ผู้เขียนรู้สึกสงสารจริง ๆ อุตส่าห์ไปเรียนกรรมฐานถึงประเทศพม่า มาสอนในเมืองไทยกลับมาก็สอนเรื่องเก่านั่นเอง แท้ที่จริงแล้วสติปัฏฐานภาวนาที่สามเณรน้อย ๆ เรียนจากนักธรรมตรี ท่องบ่นจดจำกันจนปากเปียกปากแฉะว่าสติปัฏฐานสี่ให้พิจารณา กาย เห็นสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนา เห็นสักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นเวทนาปัสสนาสติปัฏฐาน จิต เห็นสักแต่ว่าเป็นจิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรม ไม่ใช่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#199
|
|||
|
|||
![]()
การพิจารณากาย-เวทนา-จิต-ธรรม ให้เห็นเป็นสักแต่ว่านั้นไม่ใช่ของง่าย เพราะมันเป็นการลบสมมติบัญญัติของเดิมทั้งหมด
ที่เห็นเป็นสักแต่ว่านั้นมันเป็นบัญญัติสมมติใหม่ซึ่งเกิดจากสติปัฏฐาน ถ้าผู้ปฏิบัติพิจารณาได้อย่างนี้มันก็จะละการถือตน ถือตัว ถือเรา ถือเขา ให้หมดสิ้นไปจากใจได้นี้เป็นเบื้องต้นของสติปัฏฐานดังกล่าวแล้ว ที่พากันไปเรียนมาจากประเทศพม่านั้นได้ความเข้าใจอย่างนี้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มันก็เป็นเพียงอนุมานกรรมฐานธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง คือยุบหนอ-พองหนอ กำหนดลมหายใจเข้าออก กายก็เห็นเป็นเพียงอาการก้าวไปคือขาของเรานั่นเอง ก้าวไปก็คงรู้เห็นเป็นเพียงแค่นั้น มันไม่เข้าถึงสติปัฏฐานดังที่สามเณรน้อยเรียนนักธรรมท่องบ่นจดจำมาจากตำรา สติปัฏฐานทั้งสี่นี้ถ้าผู้ภาวนาไม่ถึงอัปปนาสมาธิแล้ว จะพิจารณาอย่างไร ๆ ก็ไม่เป็นสติปัฏฐานอยู่นั่นเอง ถึงจะไปเรียนมาจากประเทศพม่าก็ตามเถิด เท่านั้นแหละ สติปัฏฐานภาวนาพระพุทธองค์สอนไม่ให้ไปเรียนที่อื่น ให้เราเอาที่กาย-เวทนา-จิต-ธรรม นี้เอง เมื่อจะเกิดความรู้ความเข้าใจ ก็รู้ที่กาย-เวทนา-จิต-ธรรม นี้แหละ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 13-08-2011 เมื่อ 20:21 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#200
|
|||
|
|||
![]()
พระคณาจารย์กรรมฐานทั้งหลายควรระวังหน่อย
การที่จะเป็นพระคณาจารย์เขานั้น เรามันจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติให้เป็นเสียก่อน เพียงแต่เรียนรู้ แต่ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น มีโดยส่วนมาก กรรมฐานมันมีอาการพิสดารมาก โดยมากพระกรรมฐานที่มีอายุพรรษา ๒๐๓๐ พรรษา แต่รักษาพรหมจรรย์ไม่ได้นั้น เป็นเพราะปฏิบัติกรรมฐานไม่ถึงจิต ไม่ใช่เหตุรักผู้หญิงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะปฏิบัติกรรมฐานไม่มีหลัก คงได้แต่เงาดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ในผลที่สุดแม้แต่เงาก็จับตัวไว้ไม่ได้ มันก็เลยเบื่อเท่านั้นเอง จึงรักษาพรหมจรรย์ไว้ไม่ได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
Tags |
หลวงปู่เทสก์ |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|