กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๘ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 26-02-2025, 19:46
พิชวัฒน์'s Avatar
พิชวัฒน์ พิชวัฒน์ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Aug 2014
ข้อความ: 500
ได้ให้อนุโมทนา: 3,308
ได้รับอนุโมทนา 24,997 ครั้ง ใน 988 โพสต์
พิชวัฒน์ is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชวัฒน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 27-02-2025, 00:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,488 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๘ ทางจันทรคติเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ สิ้นเดือน ๓ แล้ว ถ้าหากว่าเป็นปฏิทินโบราณ เราจะเริ่มเข้าฤดูร้อนในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเปลี่ยนเครื่องทรงถวายพระแก้วมรกตเป็นฤดูร้อน แต่กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา..!

จะเห็นว่าดินฟ้าอากาศคลาดเคลื่อนไปมาก โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีอธิกวาร คำว่า อธิกวาร ก็คือมีวันเพิ่มขึ้นมา ได้แก่วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ท่านที่ไปเรียนโหราศาสตร์มาก็น่าจะทราบคร่าว ๆ ว่าในเดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑ ถ้าโดยปกติแล้วจะเป็นเดือนขาด ก็คือมีแค่แรม ๑๔ ค่ำ แต่ว่าปีนี้เดือน ๗ มีแรม ๑๕ ค่ำด้วย

เพิ่งจะเรียนรู้มาแบบงู ๆ ปลา ๆ อย่าเพิ่งไปตำหนิว่าปฏิทินเขาผิด ไปศึกษาเสียก่อนว่าจันทรคติรอบใหญ่เป็นอย่างไร รอบเล็กเป็นอย่างไร เนื่องเพราะว่าการโคจรของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน เมื่อถึงเวลานับครบรอบปกติก็มีขาดบ้าง ก็ต้องเติมเข้าไปให้ครบ พอถึงเวลาครบ ๘ ปี หรือว่า ๑๑ ปี ถึงจะมีรอบใหญ่ที่ตรงกันสักครั้งหนึ่ง ค่อย ๆ เรียนรู้ไป ไม่ยากเกินความสามารถ

คราวนี้ในส่วนของพวกเราเองถือว่าสอบบาลีผ่านไปแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีใครมั่นใจตัวเองเลยแม้แต่รูปเดียว หวังเต็มที่แค่ติดซ่อมเท่านั้น..! ได้ยินแล้ว กระผม/อาตมภาพอยากจะเอาหัวโขกเสา อุตส่าห์ไปเก็บตัวซักซ้อมเป็นเดือน ๆ ดูท่าว่าจะไม่ได้ท่องจำบาลี ท่องจำแต่เมนูว่าวันนี้จะสั่งอะไรมาฉันเท่านั้น..!

เรื่องของการศึกษาบาลีเป็นเรื่องที่ต้องทุ่มเทจริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่ทำเล่น ๆ แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจกับสูตรที่เขาบอกว่า "ปีนี้ออกยาก ปีหน้าจะออกง่าย" ไอ้นั่นเป็นเรื่องของคนที่เรียนมาไม่ดีพอ แล้วก็โทษฟ้าโทษดินส่งเดชไปเรื่อย..! ถ้าท่านทั้งหลายสังเกตจะเห็นว่า นักธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก จะออกยากออกง่ายอย่างไร กระผม/อาตมภาพเฉลยปากเปล่าเดี๋ยวนั้นได้ทั้งหมด..! ก็แปลว่าถ้าบาลียากก็คือเราอ่านไม่ถึง หรือว่าจำไม่ได้เอง..!

ดังนั้น..ทันทีที่สอบจบ เราไม่ควรจะปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่า ท่องหนังสือใหม่เลย ก็เพื่อว่าถ้าหากว่าเราจะต้องซ่อม ก็จะได้มีเวลาทวนหนังสือมากกว่าคนอื่นเขา ถ้าหากว่าผ่าน เราทวนของเก่าแล้ว ถึงเวลาเรียนของใหม่ก็จะได้แม่นยำยิ่งขึ้น เนื่องเพราะว่าวิชาบาลีนั้น พื้นฐานไวยากรณ์สามารถใช้ไปยันประโยค ๙ เลย ถ้าไวยากรณ์ไม่แม่น มีสิทธิ์ตายฟรี..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-02-2025 เมื่อ 01:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 27-02-2025, 01:03
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,488 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

บุคคลที่กระผม/อาตมภาพทึ่งที่สุดก็คือหลวงพ่อเจ้าคุณสะอิ้ง - พระเดชพระคุณพระธรรมพุทธิมงคล (สะอิ้ง สิรินนฺโท ป.ธ. ๘) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๔ เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่ประโยค ๕ ถึงประโยค ๘ ท่านอ่านหนังสือเองแล้วสอบได้ ยังดี..ถ้าหากว่าท่านสอบประโยค ๙ ได้ด้วย จะเป็นเรื่องที่อัศจรรย์กว่านี้..!

เพียงแต่ว่าต่อให้ท่านเก่งขนาดไหนก็ตาม ในยุคนั้นผู้ที่ตรวจฉันท์ประโยค ๙ ยึดรูปแบบของตนเองเคร่งครัดมาก คุณจะแต่งไพเราะ แต่งได้เหมาะสมขนาดไหนก็ตาม ถ้าไม่เป็นไปตามรูปแบบของท่าน ท่านจับตกเลย..! พูดง่าย ๆ ก็คือกรรมการอื่นตรวจฉันท์ประโยค ๘ ประโยค ๙ แล้ว ต้องส่งให้ท่านดูอีกทีหนึ่ง ต่อให้คนอื่นผ่าน ๓ หอ แต่ถ้ารูปแบบไม่ได้ ท่านซึ่งเอาไปตรวจซ้ำจะปรับตกเลย..! จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมผู้ที่เรียนด้วยตนเอง อย่างหลวงพ่อพระธรรมพุทธิมงคลท่านถึงได้สอบประโยค ๙ ตก ? ต้องบอกว่าตกเพราะอาจารย์ ไม่ได้ตกเพราะลูกศิษย์ไม่มีความสามารถ เรื่องพวกนี้เป็นตำนานเล่าขานอยู่ในวงการบาลีของเรามาโดยตลอด

แบบเดียวกับท่านเจ้าคุณสอน - พระอุดมปิฎก (สอน พุทฺธสโร) ไม่มีโอกาสได้สอบประโยค ๙ เพราะว่ารูปไม่หล่อ..! จนกระทั่งท้ายสุด ท่านไปชงน้ำชาถวายพระเถระในงานสอบ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นการสอบปากเปล่า ได้ยินพระรูปหล่อเขาแปลตะกุกตะกัก..ไม่รอดสักที ท่านก็สั่นหัว บังเอิญกรรมการสังเกตเห็น จึงถามว่า "คุณแปลได้หรือ ?" ท่านบอกว่า "ได้ขอรับ เพียงแต่ว่าเกล้าฯ ไม่มีคนรับรองให้เข้าแปล เพราะว่าหน้าตาไม่ดีอย่างที่กรรมการต้องการ" กรรมการท่านนั้นจึงรับรองให้ แล้วท่านแปลรวดเดียวได้ ๙ ประโยคเลย..!

หรือไม่ก็อย่างหลวงพ่อเจ้าคุณสมบูรณ์ - พระเทพสาครมุนี (สมบูรณ์ ปญฺญาวุโธ ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเจษฎาราม (พระอารามหลวง) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๔ รูปปัจจุบัน ประโยค ๙ ประโยคเดียว ท่านสอบอยู่ ๑๔ ปี เพราะว่าท่านเป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดให้กับหลวงปู่แก้ว สุวณฺณโชโต วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสมณศักดิ์ของท่านก็คือพระเทพสาครมุนีเหมือนกัน

ด้วยความที่
ท่านต้องแบกงานทั้งจังหวัดเอาไว้ ไม่มีเวลาเรียนหนังสือ ไม่มีเวลาท่อง แต่พอถึงเวลา หลวงปู่แก้วบอกว่า "มหาสมบูรณ์ ไปสมัครสอบประโยค ๙ ด้วย" ท่านก็เพียรพยายามไปสอบ ปีแล้วปีเล่า ไปสอบได้เอาปีที่ ๑๔ อายุ ๔๐ กว่า เกือบจะ ๕๐ แล้ว..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-02-2025 เมื่อ 05:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 27-02-2025, 01:13
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,488 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

กระผม/อาตมภาพเรียนถามท่านว่า "แล้วทำไมปีนี้หลวงพ่อสอบได้ละครับ ?" ท่านพูดติดตลกว่า "เขาออกข้อสอบจนไม่มีอะไรจะออก กลับมาออกของเก่า ผมก็เลยทำได้" ไอ้เรื่องนี้ไม่จริงนะครับ เพราะว่าการแต่งฉันท์ ไม่ว่าจะประโยค ๘ ประโยค ๙ อะไรก็ตาม แม้ว่าหัวข้อจะคล้ายคลึงกัน แต่ไม่ซ้ำของเดิม

อย่างเช่นว่าปีนี้สรรเสริญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุ ๖ รอบ (๗๒ พรรษา) แต่ครั้งหน้าอาจจะเป็น ๗ รอบ (๘๔ พรรษา) อย่างนี้เป็นต้น แล้วสถานการณ์บ้านเมืองก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย การแต่งฉันท์จึงต้องดึงเอาสถานการณ์บ้านเมืองเข้ามา เพื่อที่จะเสริมความเด่นในข้อมูลที่เราสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นไปไม่ได้ที่จะออกซ้ำ แต่ท่านก็พูดไปแบบนั้น

แล้วในที่สุด ความเพียรของท่านก็เกิดดอกออกผล ผู้ใหญ่เห็นแล้วเมตตา ท่านจึงเจริญงอกงามในตำแหน่งหน้าที่และสมณศักดิ์มา จนกระทั่งท้ายสุดก็ได้สมณศักดิ์เทียบเท่าครูบาอาจารย์ ก็คือเป็นพระเทพสาครมุนี ท่านเป็นบุคคลที่ขยันมาก ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ทุกวัน ถ้าเจอหน้ากระผม/อาตมภาพถือหนังสือเมื่อไร จะคว้าไปดูทันทีว่าดูเรื่องอะไร ท่านอ่านแล้วหรือยัง ? ถ้ายังไม่อ่าน เดี๋ยวรุ่งขึ้นท่านจะถือติดมือมาแล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือจะไม่ยอมให้กระผม/อาตมภาพชนะท่านได้ โดยเฉพาะพวกตำราแปลจากต่างประเทศ ท่านจะชอบมากเป็นพิเศษ นี่คืออีกตำนานในวงการสอบบาลีของเรา

หรือว่าตำนาน "๓ พรหม" อย่างในปัจจุบันนี้ ก็คือ พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต, ศ.,ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ. ๙, Ph.D.) ราชบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร

พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ. ๙) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๕ แม่กองบาลีสนามหลวง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ

พระเดชพระคุณพระพรหมกวี (พงศ์สันต์ ธมฺมเสฏฺโฐ, ป.ธ.๙, ดร.) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๓ เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-02-2025 เมื่อ 05:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 27-02-2025, 01:17
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,488 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในสมัยนั้น ท่านเรียนบาลีแล้วท้ายที่สุดก็สอบได้ประโยค ๙ รุ่นเดียวกัน สอบประโยค ๑ - ๒ ปุ๊บ อ่านประโยค ๓ สอบประโยค ๓ ปุ๊บ อ่านหนังสือประโยค ๔ เพื่อนฝูงถามว่า "จะไม่รอประกาศผลสอบก่อนหรือ ?" ท่านตอบแบบไม่ไว้หน้าเลยว่า "กูไม่เห็นว่าอะไรจะทำให้กูตกได้..!" เล่นเอาเพื่อนฝูงเกือบจะกัดลิ้นตาย..! แล้วปัจจุบันนี้ก็เห็นอยู่ว่า แต่ละท่านเจริญอยู่ในวงการสงฆ์อย่างไร ? กลายเป็นแบบอย่างเขาอย่างไร ?

โดยเฉพาะบาลี ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ทางคณะสงฆ์ให้ราคามากกว่าการศึกษาแบบอื่นมาโดยตลอด ท่านทั้งหลายจะสังเกตเห็นว่า เอาแค่จังหวัดกาญจนบุรีของเราก็แล้วกัน สมัยก่อนหลวงพ่อไพบูลย์ (พระธรรมคุณาภรณ์) หรือพระมหาไพบูลย์ กตปุญฺโญ ป.ธ. ๘ เป็นเจ้าคณะจังหวัด ทั้ง ๆ ที่มหาณรงค์ ป.ธ. ๔ (พระเทพเมธากร) เป็นรุ่นพี่ ซึ่งท่านเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เพราะว่าประโยคบาลีขี่กันอยู่ อีกฝ่ายหนึ่งประโยค ๘ ผู้ใหญ่ก็ต้องคิดว่า "เออ..ท่านขยันกว่า หัวดีกว่า ไปปกครองคณะสงฆ์ย่อมสร้างความเจริญให้มากกว่า"

แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะว่าหลวงพ่อณรงค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเกาะสำโรง ถ้า
กระผม/อาตมภาพบอกแล้วพวกท่านทั้งหลายจะตกใจหรือเปล่า ? เจ้าคณะตำบลเกาะสำโรงในสมัยนั้นของท่าน กินแดนมาจากอำเภอเมืองมาไทรโยค มาทองผาภูมิ ไปยันสังขละบุรี..! เท่ากับเป็นเจ้าคณะจังหวัดชัด ๆ แค่บริหารคณะสงฆ์อย่างเดียว ก็ไม่มีเวลาไปอ่านหนังสือแล้ว ท่านก็เลยไม่ได้ไปสอบต่อ

แล้วก็มารุ่นหลัง ลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของหลวงพ่อไพบูลย์ ก็คือหลวงพ่อเจ้าคุณทองดำ หรือพระเดชพระคุณพระราชวิสุทธาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดปัจจุบันนี้ เปรียญธรรม ๖ ประโยค เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด แบกงานทั้งจังหวัดจนไม่มีเวลาเรียนต่อ

พระมหาปัญญา (พระเทพปริยัติโสภณ, ดร.) ที่เป็นสามเณร เรียนจนจบประโยค ๙ แถมปริญญาโทจากต่างประเทศมา ตำแหน่งมาทีหลัง แต่ว่าความรู้ขี่กันอยู่ ถึงเวลาปัจจุบัน หลวงพ่อเจ้าคุณปัญญาท่านก็ขึ้นมาเป็นเจ้าคณะจังหวัด สมณศักดิ์ไปถึงชั้นเทพแล้ว มีสิทธิ์เข้าถึงชั้นธรรมในเวลาอันไม่นาน หลวงพ่อเจ้าคุณทองดำกว่าจะขยับขึ้นมาเป็นชั้นราชได้ก็ ๒๐ กว่าปี แล้วตอนนี้ก็เป็นรองเจ้าคณะจังหวัด ถึงเวลาเจ้าคณะจังหวัดต้องไปกราบถวายความเคารพก่อนทุกครั้ง นี่คือราคาของประโยคบาลี ที่ทำให้ความก้าวหน้าทางคณะสงฆ์มีมากกว่า
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-02-2025 เมื่อ 05:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 27-02-2025, 01:21
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,488 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พวกเราถึงจะร่ำเรียนเพื่อที่จะให้มีความรู้และแปลพระไตรปิฎกได้ถูกต้อง เสียดายเมื่อวานที่ท่านทั้งหลายไม่ได้ฟังกระผม/อาตมภาพบรรยายให้กับบรรดา "ว่าที่พระอุปัชฌาย์" ฟัง ก็เพราะว่าการสวดกรรมวาจา ต้องแปลบาลีให้ท่านฟังทุกประโยค บุคคลที่เรียนบาลีมาจะได้เปรียบมาก เพราะว่าถ้าเข้าใจความหมาย จะจำขั้นตอนของการบวชได้ง่ายกว่ามาก

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น การเรียนของพวกเราจึงเป็นการเรียนเพื่อแปลพระไตรปิฎก เขาถึงได้ว่า "ภาษาบาลีเป็นภาษาเพื่อรักษาพระไตรปิฎก" กระผม/อาตมภาพไม่มีโอกาสเรียนเพื่อเอาประโยค แต่ก็คงอยู่แบบเดียวกับหลวงปู่ชุ้น ครูบาอาจารย์ ก็คือพระเดชพระคุณหลวงปู่พระธรรมเสนานี (ชุณห์ กิตฺติวณฺโณ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม แล้วก็เป็นอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม

ท่านเองไม่มีประโยคบาลี ถ้าหากว่าวิทยฐานะก็คือนักธรรมชั้นเอก แต่ความรู้บาลีของท่าน ประโยค ๙ ยังต้องหลบให้ เนื่องเพราะว่าถึงเวลาสวดมนต์ พอผิดปุ๊บท่านจะบอกเลย "หยุดเดี๋ยวนั้นเลย แก้ให้ถูก" เพราะว่าถ้าไม่เตือนตอนนั้นเลย คนที่ผิดก็มักจะจำไม่ได้..!

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อให้พวกเราเรียนแล้ว ไม่ได้คิดที่จะหวังได้ยศได้ตำแหน่งอะไร แต่ว่าการเรียนบาลีหลักใหญ่ใจความก็คือ ถ้าปฏิบัติธรรมไปด้วย จะสามารถเข้าใจและแปลได้ลึกซึ้งกว่ามาก ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะได้แค่เปลือกเท่านั้น ก็คือแปลเฉพาะตามศัพท์ เข้าไม่ถึงอรรถ คือความหมายที่แฝงอยู่อย่างแท้จริง

แค่ "มัชฌิมาปฏิปทา" คำเดียว ท่านก็แปลว่า "ทางสายกลาง"
แล้วทางสายกลางนั้นกลางอย่างไร ? กลางระหว่างทางโลกและทางธรรม ? กลางระหว่างโลกียะและโลกุตระ ? กลางอยู่ระหว่างรูปฌานกับอรูปฌาน ? หรือว่าเป็นกลางแบบไม่เกาะทั้งซ้ายทั้งขวา ดีก็วางชั่วก็วาง ? ขึ้นอยู่กับว่าท่านปฏิบัติไปถึงระดับไหน ก็จะแปลได้แค่นั้น

ดังนั้น..ในเรื่องของการเรียนการศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า การท่องบาลีเป็นการภาวนาที่ดีมาก กระผม/อาตมภาพยืนยัน แล้วทุกวันนี้ที่แปลบาลีได้ก็เพราะท่องบาลีนั่นแหละ ท่องไป ๆ รู้สึกเหมือนอะไรแตกโป๊ะอยู่ในหัวสมอง แล้วเข้าใจหมดเลยว่าต้องแปลอย่างไร..! พวกท่านลองไปเสี่ยงดวงท่องบาลีดูบ้างก็ได้ เผื่อว่าถึงเวลาแปลประโยคบาลีถูกใจครูบาอาจารย์ จะได้มี "มหา" นำหน้ากับเขาบ้าง

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๘
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-02-2025 เมื่อ 05:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:58



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว