กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๗ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนตุลาคม ๒๕๖๗

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 12-10-2024, 20:08
พิชวัฒน์'s Avatar
พิชวัฒน์ พิชวัฒน์ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Aug 2014
ข้อความ: 500
ได้ให้อนุโมทนา: 3,308
ได้รับอนุโมทนา 24,997 ครั้ง ใน 988 โพสต์
พิชวัฒน์ is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๗

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๗


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชวัฒน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 13-10-2024, 00:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เมื่อช่วงสายหลังจากที่ทำพิธีบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติรุ่นที่ ๗/๒๕๖๗ แล้ว กระผม/อาตมภาพก็ได้ไปร่วมประชุมกลุ่มย่อยกับนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน รุ่นที่ ๖ ของสถาบันพระปกเกล้า

เป้าหมายที่ครูบาอาจารย์เขาพานิสิตมาก็คือ จะช่วยในการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะในส่วนของชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุนอย่างยั่งยืน กระผม/อาตมภาพสอบถามแล้วว่า "ให้เวลากับชุมชนของเราในการพัฒนาเท่าไร ?" ผู้อำนวยการหลักสูตรตอบว่า "น่าจะประมาณ ๓ - ๔ เดือน"

กระผม/อาตมภาพจึงขออนุญาตในที่ประชุมว่า "ขอพูดอะไรหน่อย อาจจะ "กระเทือนซาง" พวกเรา หรือว่าฟังไม่เข้าหูก็ต้องขออภัยด้วย เพราะว่าหลักสูตรประกาศนียบัตรนั้นคือหลักสูตรการเรียนปีเดียว แต่ว่าทางวัดท่าขนุนบริหารจัดการชุมชนมา โดยเฉพาะอาตมภาพเองก็น่าจะถึง ๓๐ ปีแล้ว..!"

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายตั้งใจที่จะบริหารจัดการท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ตามหลักสูตรจริง ๆ ควรจะไปหาสถานที่ซึ่งเขาไม่มีอะไรเลย แล้วไปทำที่นั่นจนประสบความสำเร็จ ถึงจะเชื่อได้ว่าหลักสูตรของพวกท่านทำแล้วเกิดผล ไม่ใช่แค่เพ้อฝันเอาตามจินตนาการว่า ถ้าศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางนี้แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ..!

โดยเฉพาะชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุนของเรา พัฒนาขึ้นมาจนเป็น ๑๐ สุดยอดชุมชนคุณธรรม ตามโครงการเที่ยวชุมชน ยลวิถี ของกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ก็เหมือนอย่างกับท่านทั้งหลายเป็นนักท่องเที่ยว โผล่หน้าเข้ามาถ่ายรูปเสร็จ แล้วก็บอกว่าชุมชนนี้เป็นผลงานของท่าน ซึ่งไม่น่าจะใช่..!

แล้วอีกอย่างหนึ่ง ระยะเวลาแค่ ๓ - ๔ เดือนไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ น้อยเกินไปที่จะทำความเข้าใจกับชุมชน น้อยเกินไปที่จะไปขุดค้นศักยภาพของชุมชน ในเมื่อเราไม่เข้าใจ เราไม่เข้าถึง เราย่อมไม่สามารถที่จะพัฒนาให้ดีได้..!

โดยเฉพาะอำเภอทองผาภูมิของเรา มีชาติพันธุ์ที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ มอญ พม่า ทวาย กะเหรี่ยง ม้ง เย้า ลีซอ อาข่า มีกระทั่งขมุที่เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม แล้วยังมีไทยอีสานอีกตั้งหลายหมู่บ้าน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ถ้าเราไม่ได้อยู่ในพื้นที่เป็นเวลาที่ยาวนานพอ เราจะไม่เข้าใจเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-10-2024 เมื่อ 02:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 13-10-2024, 00:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ยกตัวอย่างเช่นพี่น้องม้ง ขอให้กระผม/อาตมภาพช่วยจัดงานและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานปีใหม่ม้งให้ ๔ ปีติดต่อกัน สิ่งหนึ่งที่ขอร้องพวกเขาก็คือว่า ถึงเวลาแล้วให้เอาผลผลิตในบ้านมาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวด้วย ส่วนใหญ่ของพวกเขาก็จะเป็นพืชผักเมืองหนาว เพราะว่าบ้านม้งนั้นอยู่บริเวณบ้านทุ่งนางครวญ หมู่ที่ ๖ ของตำบลชะแล แล้วก็นำเอาพวกเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน ซึ่งบรรดาพี่น้องม้งส่วนใหญ่ พอแต่งตัวแล้วก็ประเดประดังใส่เสียเต็มตัว เพราะถือว่าเป็นหลักทรัพย์อย่างหนึ่ง เอามาวางจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว หาเสื้อผ้าชุดม้งมาให้นักท่องเที่ยวได้เช่าใส่แล้วถ่ายรูป

ปรากฏว่าได้รับความร่วมมือดีมาก งานปีใหม่ครั้งต่อไปมีทุกอย่างที่ทางเราต้องการ โดยเฉพาะพืชผักผลไม้เมืองหนาว เขาจัดมารวมกันเป็นถุง ๆ ละ ๒๐ กิโลกรัม น่าจะมีหลายตัน..! มาถึงก็แจกนักท่องเที่ยวทุกคน คนละถุง บรรดาชุดม้งที่เตรียมไว้ ใครจะใส่เขาก็กุลีกุจอช่วยแต่งตัวให้อย่างเต็มที่ พืชผักก็ไม่คิดเงิน ชุดที่ใส่ก็ไม่คิดค่าเช่า..! พอสอบถามเขาว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ผู้นำของเขาบอกว่า "บุคคลที่มาถึงบ้านคือแขก ตามธรรมเนียมม้งแล้ว เขาไม่สามารถที่จะเก็บเงินแขกได้..!"

คราวนี้เห็นหรือยังว่า ถ้าเราหลับหูหลับตาไปพัฒนาโดยที่เข้าไม่ถึงธรรมเนียมของเขา โอกาสที่เราจะพัฒนาให้ยั่งยืนนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าพวกขนบธรรมเนียมหรือว่าจารีตประเพณี ก็คือชีวิตจิตใจของชาติพันธุ์นั้น ๆ พูดง่าย ๆ ว่าฝังรากลึกจนแก้ไขไม่ได้แล้ว

ลองบอกพี่น้องชาวอีสานของเราให้เลิกกินข้าวเหนียวสิ มีใครยอมทำตามสักกี่คน เพื่อนฝูงของกระผม/อาตมภาพ พระมหาปรีชา ภูริปญฺโญ หลุดมาอยู่ที่วัดทัพหลวง จังหวัดนครปฐม วันไหนไม่ได้ฉันข้าวเหนียวก็บ่น บอกว่า "ไม่อิ่ม" เพราะว่าตัวเองโตมาจากอีสาน ถึงเวลาบวชแล้ว ร่ำเรียนจบเปรียญธรรม ๗ ประโยค ครูบาอาจารย์ส่งจากวัดพระงาม (พระอารามหลวง) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดทัพหลวงที่อยู่ภาคกลาง..!

อีกชนเผ่าหนึ่งที่อยากจะยกตัวอย่างก็คือพี่น้องกะเหรี่ยง คนกะเหรี่ยงสมถะ สันโดษพอ ๆ กับพระหรือมากกว่าพระด้วยซ้ำไป..! กระผม/อาตมภาพไปสนับสนุนให้เขาทอผ้าด้วยกี่เอว หาวัสดุอุปกรณ์ให้ ซื้อด้ายให้ ใช้เวลาประมาณ ๔ เดือนในการทอผ้า สะสมผลงาน พอถึงเวลาวัดท่าขนุนเปิดตลาดชุมชน วางจำหน่ายไม่ถึง ๑๕ นาทีหมดเกลี้ยง..!
กระผม/อาตมภาพก็ยังแปลกใจว่า "ทำไมขายดีขนาดนั้น..!?"

พอสอบถามแล้วว่า "ขายผืนละเท่าไร ?" เขาบอกว่า "ผืนละ ๔๐๐ บาท" กระผม/อาตมภาพได้ยินแล้วจะเป็นลม ผ้าถุงทอมือของกะเหรี่ยงที่อื่นเขาขายกัน ๓,๐๐๐ บาท ๓,๕๐๐ บาท แต่นี่มาขาย ๔๐๐ บาท เขาบอกว่า "ได้ค่าแรงแค่นั้นก็พอแล้ว..!" อาตมภาพนี่ "น้ำตาจิไหล" แล้วไอ้ที่กูลงทุนไปทั้งหมดจะไม่ได้คืนบ้างเลยหรือ ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-10-2024 เมื่อ 02:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 13-10-2024, 00:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

นั่นคือความรู้จักพอที่ฝังรากลึกอยู่ในชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เพราะฉะนั้น..จะไปสนับสนุนอะไรคนกะเหรี่ยง..เข็นไม่ขึ้น..! คนกะเหรี่ยงถ้ามีข้าวกินก็หยุดทำงาน ข้าวหมดเมื่อไรค่อยหางานทำใหม่ ดังนั้น..ถ้าเป็นกะเหรี่ยงแท้ที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับโลกภายนอก ปีไหนปลูกข้าวได้เต็มยุ้งก็จบ กินไปจนกว่าจะหมดแล้วค่อยทำกันใหม่..!

ดังนั้น..ถ้าหากว่าบรรดานิสิตทั้งหลายจะสนับสนุนโครงการอะไรให้พี่น้องชาวกะเหรี่ยง คุณไม่มีทางที่จะทำโครงการที่ยั่งยืนได้ นอกจากโครงการระยะสั้น ๒ เดือน ๓ เดือนจบ เพราะว่าถึงเวลาขายผลผลิตได้ พี่น้องกะเหรี่ยงก็หยุด ไม่ทำงาน ขอใช้เงินให้หมดก่อน เงินเยอะแล้วโดนถ่วง ทำงานไม่ไหว..!

นี่คือปัญหาต่าง ๆ ที่เราพบเจอมาว่า แค่แต่ละชาติพันธุ์มีแบบธรรมเนียมที่ต่างกัน เราก็จะไปไม่รอดแล้ว แต่ที่วัดท่าขนุนสามารถที่จะร้อยรวมเขาทั้งหลายเหล่านี้เข้ามาด้วยกันได้ ก็เพราะอาศัยหลักธรรมทางพุทธศาสนา

ไม่ว่าจะชาติพันธุ์ใดก็ตาม พระพุทธศาสนาสามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะการให้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนมาก ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก กระผม/อาตมภาพเสียสละช่วยเหลือเขามาโดยตลอด ในเมื่อถึงเวลาแค่ขอความร่วมมือเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาทั้งหลายเต็มใจที่จะทำให้อยู่แล้ว แต่ไม่ใช่นิสิตประกาศนียบัตรที่มีเวลาการเรียน ๑ ปีแล้วออกพื้นที่แค่ ๓ - ๔ เดือน คุณยังไม่สามารถที่จะผูกใจเขาให้เขายอมทำตามคุณได้หรอก

แล้วโดยเฉพาะปัญหาที่ว่า การสนับสนุนทำอะไรขึ้นมาก็ตาม อันดับแรกต้องมีตลาดให้เขา อย่างวัดท่าขนุนสนับสนุนให้เขาทอผ้าพื้นเมือง ให้เขาปลูกผักปลอดสารพิษ ให้เขาสานเสื่อลำแพน ให้เขาทำเครื่องจักสาน ฯลฯ ถ้าไม่มีตลาดให้เขาใครจะทำ เพราะว่าคนเราถ้าพูดกันแบบไม่ต้องเกรงใจก็คือ"อยู่กันด้วยผลประโยชน์" ในเมื่อทำในสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์ เขาย่อมไม่อยากที่จะทำ

วัดท่าขนุนจึงต้องเปิดวัดเป็นตลาดชุมชนตั้งแต่แรก ๆ ก็คือถึงเวลาวัดมีงานให้เขามาวางขายกันในวัดเลย จนกระทั่งได้พื้นที่ของทางสถานีตำรวจภูธรทองผาภูมิ ก็มาเปิดเป็นตลาดชุมชนที่นั่น ปรากฏว่าบรรดาสินค้าของเรามีมากกว่าที่จะวางในตลาดแค่ ๓ คูหาได้ จึงต้องสร้างตลาดริมแควขึ้นมาอีก เพื่อให้ทั้ง ๗ ตำบลนำเอาสินค้าเด่นของตัวเองมาวางจำหน่ายได้ ตลาดชุมชนหมดไป ๓ ล้านกว่าบาท ตลาดริมแควหมดไปประมาณ ๑๕ ล้านบาท คิดว่าท่านจะมีงบประมาณให้นักศึกษามากขนาดนี้ไหม !?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-10-2024 เมื่อ 17:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 13-10-2024, 00:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อท่านมีตลาดรองรับให้เขาจำหน่ายสินค้า แล้วคนซื้อล่ะ ? ในเมื่อไม่มีคนซื้อ เราก็ต้องทำประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนรู้จักตลาดอีก ต้องมีการประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงเวลาจัดกิจกรรมอะไรให้มาจัดที่ตลาด พอถึงเวลาคนเขาแชร์กันออกไปมาก ๆ คนก็จะรู้จักตลาดกันมากขึ้น

แล้วต้องมีความอดทนอดกลั้นเพียงพอ เพราะว่าการเปิดตลาด ไม่ใช่ ๒ อาทิตย์ ๓ อาทิตย์ ขายไม่ได้กูก็เลิก..! ๒ อาทิตย์ ๓ อาทิตย์ผ่านไป คนเพิ่งรู้ว่าตรงนี้มีตลาด ตั้งใจว่าเดี๋ยวเดือนหน้ามาเที่ยวทองผาภูมิ จะมาซื้อของตรงนี้ ถ้ามาถึงคุณปิดร้านหนีไปแล้ว..! เขาจะซื้ออะไร ? ปัญหาพวกนี้จะมีอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น..ถ้าหากว่าบรรดานิสิตต้องการที่จะช่วยพัฒนาให้เป็นแหล่งเที่ยวที่ยั่งยืน อันดับแรกเลย พิจารณาดูสินค้าท้องถิ่นของเรา อาตมภาพคิดไว้แล้ว แต่ตัวเองรับไป ๓๐ กว่าตำแหน่ง แบ่งภาคได้ยากมาก ให้มาช่วยทำวิจัยวิธีเก็บถนอมสินค้าให้มีอายุอย่างน้อย ๖ เดือน ๑ ปี ให้มาช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นสูญญากาศ หรือว่าสามารถที่จะใช้ยูวีฆ่าเชื้อโรค หรือว่าใช้วิธีนึ่งฆ่าเชื้อโรคอะไรก็ได้ เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ดูแล้วน่ากินน่าใช้ แล้วสามารถเก็บงำได้สัก ๖ เดือน ๑ ปี ช่วยให้สินค้าของเรายกระดับขึ้นมา ก็จะเข้าสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้

เพราะฉะนั้น..ขอฝากครูบาอาจารย์ไปด้วยว่า กลับไปแล้วช่วยปรับหลักสูตรเสียใหม่ด้วย ถ้าไม่รู้ว่าจะปรับไปทางไหน โทรมาปรึกษาได้ พระครูวิลาศกาญจนธรรมจะช่วย "ไกด์ไลน์" ให้..!

จากที่เขาต้องการให้กระผม/อาตมภาพทำหน้าที่อวยพรแล้วก็นั่งเป็นหุ่นอย่างเดียว ก็เลยโดนกรอกไปเสียเต็มหัว แต่ว่านี่ก็คือสิ่งที่เราพบมาจริง ๆ ส่วนใหญ่แล้วคนเขียนหลักสูตรก็ใช้วิธี "คิดว่า คาดว่า" ควรจะเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นอย่างนี้ ทำแล้วต้องได้อย่างนั้น ทำแล้วต้องได้อย่างนี้ กระผม/อาตมภาพก็คิดอยู่เหมือนกันแหละว่า "ผ้าถุงกะเหรี่ยงผืนหนึ่งน่าจะขายได้สัก ๓,๕๐๐ บาท แต่ปรากฏว่าได้แค่ ๔๐๐ บาท..!" แล้วท่านทั้งหลายที่อยู่ในหอคอยงาช้าง พอถึงเวลาพาเด็กออกมาต่างจังหวัด คิดว่าจะประสบความสำเร็จตามหลักสูตรย่อมเป็นไปไม่ได้

ถ้าพูดอะไรไปกระทบกระเทือนมากก็ต้องขออภัยทุกท่านด้วย แต่ขอตั้งใจอวยพร ให้ท่านทั้งหลายทำภารกิจได้สำเร็จ สมกับที่ตั้งเป้าประสงค์เอาไว้ ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนนี้หูเขาหายชาหรือยัง ?

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-10-2024 เมื่อ 02:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:01



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว