กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๗ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนมิถุนายน ๒๕๖๗

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 19-06-2024, 20:03
พิชวัฒน์'s Avatar
พิชวัฒน์ พิชวัฒน์ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Aug 2014
ข้อความ: 500
ได้ให้อนุโมทนา: 3,308
ได้รับอนุโมทนา 24,997 ครั้ง ใน 988 โพสต์
พิชวัฒน์ is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชวัฒน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 19-06-2024, 23:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ พวกเราก็ได้ทำการฉลองพัดเปรียญธรรมและประกาศนียบัตรผู้สอบได้ประโยคบาลีปี ๒๕๖๗ ไปแล้ว

ในส่วนของงานฉลองนั้น ต้องถือว่าเป็นครั้งแรกของวัดท่าขนุนและครั้งแรกของอำเภอทองผาภูมิ ในเรื่องของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีวัดท่าขนุนนั้น จัดตั้งขึ้นในปี ๒๕๖๒ ตามโครงการ ๑ ตำบล ๑ มหาเปรียญ ซึ่งผู้ดำเนินโครงการคือท่านอาจารย์พระมหาวิสูตร วิสุทฺธิปญฺโญ ป.ธ.๙ รองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ดูแลด้านการศึกษาคณะสงฆ์

แต่เท่าที่ดำเนินการผ่านมานั้น สำนักเรียนบาลีที่ประสบความสำเร็จ ส่งพระสอบแล้วได้ประโยคบาลีก็มีแค่วัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) วัดหัวนา วัดทุ่งมะสัง และวัดท่าขนุน ส่วนอีกวัดหนึ่งที่สอบประโยคบาลีได้มาก คือวัดเขาพุราง แต่นั่นเป็นของคณะสงฆ์ธรรมยุต

ในเรื่องของการเรียนบาลีนั้น วัตถุประสงค์ของกระผม/อาตมภาพคือ ต้องการให้ทุกท่านมีความสามารถในการแปลพระไตรปิฎก หรือภาษาบาลีได้ถูกต้อง การที่เราจะแปลภาษาบาลีได้ถูกต้องนั้น ส่วนหนึ่งต้องมีการปฏิบัติธรรมควบคู่กันไปด้วย เนื่องเพราะว่าศัพท์บาลีหลายอย่างนั้น ถ้าเราไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม อาจจะแปลแล้วไม่เข้าถึงเนื้อหาหรืออรรถรสอย่างแท้จริง

เอาแค่คำว่า "สุขในฌาน" เราก็บอกได้ว่าเป็นความสุขเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่มีอาการเป็นอย่างไรเราอธิบายไม่ได้ แต่ถ้าเราเรียนประโยคบาลีด้วย แล้วปฏิบัติธรรมด้วย เราก็จะเข้าใจว่า บุคคลที่โดนไฟใหญ่ ๔ กอง คือ รัก โลภ โกรธ หลง เผาอยู่ตลอดเวลา เมื่อกำลังใจเข้าถึงฌานได้ กำลังสมาบัติที่เกิดขึ้น สามารถดับไฟใหญ่ทั้งสี่กองลงได้ชั่วคราว บุคคลที่โดนไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับลงจะมีความสุขสบายอย่างไรอธิบายเป็นคำพูดได้ยาก

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น วัตถุประสงค์การเรียน
ของพวกท่านที่กระผม/อาตมภาพตั้งเอาไว้จึงไม่เหมือนกับที่อื่น เนื่องเพราะคำว่าบาลี มาจาก ปาลธาตุ คือ ในความรักษา เรียนเพื่อรักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก ถึงเวลาจะได้แปลได้ถูกต้อง

แต่ว่าในบ้านเมืองเราส่วนใหญ่แล้วพอเรียนไป ผู้บังคับบัญชาเห็นความพากเพียร เนื่องเพราะว่าการเรียนบาลีนั้นยากมาก เมื่อสำเร็จการศึกษามีประโยคเปรียญธรรมติดตัว ท่านก็มักจะมอบหมายภาระหน้าที่ทางคณะสงฆ์ให้ จึงมีความเจริญก้าวหน้าในการปกครองคณะสงฆ์ มากกว่าบุคคลที่ไม่มีประโยคบาลีสนับสนุน ทำให้การเรียนบาลีของพวกเรานั้น ระยะหลัง ๆ มีวัตถุประสงค์ที่ผิดเพี้ยนไปมาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-06-2024 เมื่อ 02:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 19-06-2024, 23:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

โดยเฉพาะหลายสำนักมีการแย่งตัวผู้เป็นนักศึกษาบาลีกัน อยู่ในระดับจ้างให้เรียนในนามสำนักของตัวเอง เนื่องเพราะว่าเจ้าสำนักสามารถเอาผลงานตรงนี้ไปใช้ในด้านการศึกษา เวลาที่ขอยศขอตำแหน่งก็มักจะได้ง่าย เพราะว่ามีผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

เมื่อได้ประโยคบาลีมาก็มีการให้รางวัลกันหนัก ๆ บางวัดผู้ที่จบประโยค ๙ มา ได้รับถวายปัจจัยให้เป็นล้านเลยก็มี..! ซึ่งวัดเราถ้าได้ระดับร้อยบาทก็ดีใจตายชักแล้ว และที่ผ่าน ๆ มาก็ไม่มีการฉลองประโยคบาลีกันมาก่อนเลย

รุ่นเก่า ๆ อย่างพระครูสุตกาญจนวัฒน์, ดร. อดีตก็คือพระมหาปรีชา จิรนาโค พระครูกาญจนปริยัติคุณ อดีตก็คือพระมหาชุมพร ปิยธมฺโม หรือแม้กระทั่งพระมหานันทวัฒน์ เขมธมฺโม ป.ธ.๖ ที่ไปศึกษาอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ จบประโยค ๖ แล้วเรียนต่อไม่ไหว เพราะว่าเจ็บไข้ได้ป่วย จนต้องเบนเข็มไปในทางสั่งสอนญาติโยม โดยการเปิดบ้านสุมโนขึ้นมา นำญาติโยมเจริญพระกรรมฐานแทน

พอมาถึงรุ่นเราที่มีการฉลองกัน ก็ถือว่าเป็นไปตามทางโลก แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ลืมว่า ในการเรียนของเรานั้น วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคืออะไร ? โดยเฉพาะถ้าอยู่นาน ๆ ไป มีอายุพรรษาได้ระดับ อาจจะต้องไปรับหน้าที่พระสังฆาธิการระดับใดระดับหนึ่ง อย่างเช่นเจ้าอาวาส เป็นต้น ซึ่งกฎเกณฑ์กติกาเขาก็ตั้งโดยเอาความรู้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ มีแนวโน้มว่าต่อไปเจ้าอาวาสอย่างน้อยจบปริญญาตรี โดยเฉพาะปริญญาตรีทางด้านพระพุทธศาสนา

จะว่าไปแล้วก็เป็นความปรารถนาดีของผู้บังคับบัญชา ที่ต้องการให้เราท่านทั้งหลายไม่ใช่ว่าบวชมาแล้ว "ฉันเช้าแล้วเอน ฉันเพลแล้วนอน ตอนบ่ายพักผ่อน ตอนค่ำจำวัด" อย่างน้อย ๆ การศึกษาเล่าเรียนของเรา ถึงจะไม่ได้ใช้งานจริง ก็ขอให้อยู่ในลักษณะภัณฑาคาริกปริยัติ ก็คือเรียนแบบคลังสะสมความรู้ มีโอกาสก็จะได้ถ่ายทอดต่อให้บุคคลรุ่นหลัง ๆ ต่อไป

โดยเฉพาะบุคคลที่ทำหน้าที่การสอนในพระปริยัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นแผนกธรรม แผนกบาลี หรือว่าแผนกสามัญ จากประสบการณ์ของกระผม/อาตมภาพคือ ยิ่งสอนตัวเองยิ่งเก่ง เพราะว่าเท่ากับได้ทบทวนความรู้อยู่ตลอดเวลา อย่างที่หลายท่านจะเห็นว่า ถึงเวลาสอบนักธรรมสนามหลวง กระผม/อาตมภาพสามารถเฉลยปากเปล่าได้ทุกข้อ ก็เพราะว่าสอนแล้วสอนอีก ย้ำแล้วย้ำอีก แต่ว่าผู้เรียนก็มักจะเป็นผู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-06-2024 เมื่อ 02:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 20-06-2024, 00:08
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..การที่จะเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม บางทีก็เป็นการทวนความรู้เก่าของเราไปในตัว ขณะเดียวกันก็ได้สร้างธรรมทานไปด้วย

ในเรื่องของการเรียนนั้น ควรที่จะเรียนให้ต่อเนื่องกันไป ก็คือไปให้สุดแรงสุดกำลังของเราก่อนแล้วค่อยหยุด ถ้าหากว่าเรียน ๆ หยุด ๆ จะมีประสบการณ์ประเภท "ไฟหมด" ก็คือไม่มีอารมณ์ที่จะเรียนต่ออีก..!

ดังนั้น..ท่านใดที่เรียนอยู่ ถ้าเป็นไปได้ต้องตะเกียกตะกายไปให้เต็มที่ของเรา ถ้าสามารถจบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ก็ยิ่งดี ถ้าต้องการที่จะดูตัวอย่างกาญจนบุรีของเราก็มี ก่อนหน้านี้ก็มีพระมหาเอกชัย อุตฺตโม วัดหม่องกระแทะ ซึ่งท่านจบประโยค ๙ ตอนอายุ ๔๐ กว่าปี หรือกระผม/อาตมภาพก็ไม่แน่ใจว่าจะถึง ๕๐ ปีหรือเปล่า ?

หรือแม้กระทั่งเจ้าคณะอำเภอพนมทวน ก็คือพระมหาธวัชชัย กลฺยาโณ ป.ธ.๙ นั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ เพราะว่าท่านผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วจึงมาบวช บวชแล้วเรียนบาลีจบประโยค ๙ ก็คือเรียนตอนอายุมากแล้ว แต่สามารถลุยจนจบประโยค ๙ ได้

ก็แปลว่าในเรื่องของการศึกษานั้น ไม่ใช่ว่าอายุมากหรืออายุน้อย หากแต่อยู่ที่ความพยายามล้วน ๆ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เราทั้งหลายพบเห็นอยู่ในปัจจุบัน ก็คือเรามีรุ่นพี่ที่เป็นเปรียญธรรมที่เป็นประโยคสูง ก็เอาเป็นเป้าหมายไว้ว่าเราจะทำให้ได้ในระดับนั้น หรือท่านที่ยังไม่มีเปรียญธรรมอยู่ก็เพียรพยายามที่จะสอบให้ได้

ถ้าดูตัวอย่างพระภิกษุสามเณรที่มาจากภาคอีสาน เมื่อถึงเวลาสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป กลับบ้านไปกลายเป็น "พระมหา" แทบจะเป็นความหวังของหมู่บ้าน สมัยนี้เขาใช้คำว่า "ตัวแทนหมู่บ้าน" ก็คือมีอะไรชาวบ้านแทบจะมอบกายถวายชีวิตให้กับพระมหาที่จบมาจากเมืองกรุง ยิ่งได้ประโยคสูง ๆ ชาวบ้านก็ยิ่งตั้งความหวังเอาไว้มาก พูดง่าย ๆ ว่ายังไม่ทันจะเรียนจบ เขาก็แทบจะยกขึ้นเหนือเศียรเหนือเกล้าไปแล้ว..!

แต่เราต้องไม่ลืมประโยคบาลีที่เราเรียนว่า ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย บุคคลได้ยศแล้วไม่พึงเมา ก็คือต่อให้เราเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เราก็ยังคงเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกับผู้อื่น การศึกษาเป็นเพียงเครื่องช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับเรา มีหนทางที่จะศึกษาเรียนรู้ได้มากกว่าคนอื่นเท่านั้น

ถ้าศึกษาไปแล้วใช้งานไม่ได้ก็ไร้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปหลงในเรื่องของยศ ในเรื่องของตำแหน่ง ก็มีแต่จะพาให้เราห่างไกลจากความดี แล้วอาจจะหลงทางจนพาเราสู่ทุคติไปเลยก็เป็นได้..!

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เถรี)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-06-2024 เมื่อ 02:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:48



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว