กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๕ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนเมษายน ๒๕๖๕

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-04-2022, 17:31
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,599
ได้ให้อนุโมทนา: 219,376
ได้รับอนุโมทนา 766,710 ครั้ง ใน 37,529 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๕

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๕


__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 25-04-2022, 23:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,562 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพิ่งจะเสร็จสิ้นจากการประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ตรงจุดนี้ก็ขอแจ้งว่า ขณะนี้กระผม/อาตมภาพไม่ได้อยู่วัดอีกแล้ว เนื่องเพราะว่าได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในการสอบบาลีสนามหลวงรอบที่ ๒ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า "สอบซ่อม" ซึ่งต้องไปประจำอยู่ที่กองอำนวยการสอบวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) เป็นเวลา ๓ วันต่อเนื่องกัน

แต่กระผม/อาตมภาพมีภารกิจที่อื่น ก็คงจะอยู่ได้แค่ ๒ วันเท่านั้น ซึ่งท่านเจ้าคณะภาค คือพระเดชพระคุณพระเทพศาสนาภิบาล เจ้าคณะภาค ๑๔ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ท่านก็บอกแล้วว่าวันสุดท้ายเหลือผู้เข้าสอบแค่ ๒๕ รูป/คนเท่านั้น มา ๒ วันแล้วก็ถือว่าให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แล้ว ส่วนอื่นถ้าหากว่าติดขัดด้วยประการใดก็พอที่จะอะลุ้มอล่วยกันได้

วันนี้ในช่วงเช้า กระผม/อาตมภาพก็ได้นำพระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาตตามปกติ ตรงจุดนี้ญาติโยมบางท่านที่มาจากที่อื่นแล้วมาใส่บาตร เห็นกระผม/อาตมภาพแล้ว ด้วยความที่รู้จักมักคุ้นก็ทักทายว่า "หลวงพ่อ..เป็นใหญ่เป็นโตขนาดนี้แล้วยังต้องบิณฑบาตเองอีกหรือ ? ทางบ้านผม เพิ่งจะเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ให้เณรบิณฑบาตให้ฉันแล้ว" กระผม/อาตมภาพได้ยินแล้วก็ถอนหายใจ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทรงมีพุทธัตถจริยา คือจริยาในความเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระองค์ท่านอยู่ ๕ อย่างด้วยกัน คือ

ข้อที่ ๑ ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เมื่อเช้าขึ้นมาก็เสด็จออกบิณฑบาต

ข้อที่ ๒ สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ช่วงเย็นทรงเทศน์โปรดประชาชนทั่วไป เหตุที่ต้องเป็นช่วงเย็นนั้น เกิดจากหลายสถานด้วยกัน

ประการแรก ชมพูทวีปคือประเทศอินเดีย ลังกา และบริเวณเขตนั้น อากาศร้อนมาก ช่วงกลางวันประชาชนไม่สามารถที่จะฝ่าแสงแดดออกไปฟังธรรม หรือถึงไปฟังธรรมก็คงร้อนจนไม่มีสมาธิที่จะฟัง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-04-2022 เมื่อ 18:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 25-04-2022, 23:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,562 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ประการที่สอง การเสด็จออกบิณฑบาตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บางทีไปไกลมาก ไกลถึงขนาดข้ามประเทศ..! พระองค์ท่านกว่าจะเสด็จกลับก็ต้องเป็นเวลาช่วงบ่ายแล้ว ส่วนจะเสด็จกลับด้วยวิธีใด ? ทำไมไปไกลขนาดนั้นแล้วกลับได้ทัน ? ขอฝากเป็นการบ้านให้ท่านทั้งหลายไปค้นคว้ากันเอาเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องตกเย็นแล้ว ถึงได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดประชาชนทั่วไปได้

ข้อที่ ๓ ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ ก็คือค่ำแล้ว ให้โอวาทพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ซึ่งคำว่า ค่ำ ในที่นี้ กระผม/อาตมภาพตีความว่า อย่างน้อยก็น่าจะประมาณ ๒ ทุ่ม

ข้อที่ ๔ อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เมื่อเที่ยงคืนไปแล้ว ก็แก้ไขปัญหาที่พรหม เทวดา เสด็จมาทูลถาม

ข้อที่ ๕ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ ข้อที่ ๕ นี้สำคัญมาก ก็คือเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูอุปนิสัยสัตว์โลก ว่าสมควรที่จะเสด็จไปโปรดผู้ใด แล้วก็กำหนดเอาไว้ เมื่อถึงเวลาช่วงเช้า ก็วนกลับไปสู่ภารกิจเดิม ก็คือการเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อสงเคราะห์คนต่อไป

ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ปฏิบัติในพุทธัตถจริยาเป็นพุทธกิจ ๕ ประการตลอดพระชนม์ชีพ แล้วเราที่เป็นสาวก จะละเว้นจากภารกิจทั้งหลายเหล่านี้ได้อย่างไร ?

เพียงแต่ว่าในระหว่างที่บิณฑบาตนั้น ก็ไม่สามารถที่จะบอกกล่าวให้ชัดเจนได้ จึงฉวยโอกาสนำมาบอกกล่าวให้ญาติโยมทั้งหลาย ที่ฟังรายการเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนนี้อยู่ ได้รับรู้รับทราบพร้อมเพรียงกันไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-04-2022 เมื่อ 18:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 25-04-2022, 23:21
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,562 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ประการต่อไปก็คือคุณบุหงา มาโนช ภริยาของคุณสมใจ มาโนช ประธานชมรมผู้สูงอายุอำเภอทองผาภูมิ บ้านนี้ติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ทั้งบ้าน..! เมื่อรักษาตัวหายดีแล้ว ได้ทำหน้าที่อุบาสก อุบาสิกาที่ดีเหมือนเดิม ก็คือใส่บาตรทุกวัน วันละ ๕ วัด ก็คือ ๕ วัดที่ออกบิณฑบาตในเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ ครอบครัวนี้ใส่บาตรสงเคราะห์ทั้ง ๕ วัด

ที่กล่าวถึงก็เพราะว่าคุณโยมบุหงา มาโนช บ่นให้อาตมาฟังว่า "ท่านอาจารย์..เมื่อไรจะหายดีเสียทีก็ไม่รู้ ? จนป่านนี้ก็ยังไม่ฟื้นเลย ตั้งแต่เกิดมาจนอายุ ๘๕ ปีนี้ ยังไม่เคยเจออะไรที่ทำให้หมดเรี่ยวหมดแรงได้ขนาดนี้" กระผม/อาตมภาพฟังแล้วก็ได้แต่ปลอบใจไปตามเพลง แต่ถอนใจตรงที่ว่า...โยมลืมคำว่า ๘๕ ปีไปเสียแล้ว..!

เนื่องเพราะว่าคนที่อายุมาก สังขารก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป ต้องพยายามรักษาสุขภาพของตน ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าหากว่าล้มป่วยลงไป บางคนสุขภาพทรุดไปเลย และบางรายถึงขนาดนอนติดเตียงไปตลอดชีวิตก็มี เนื่องเพราะว่าความแข็งแรงของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้น...การที่ท่านทั้งหลายต้องออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายนี้แข็งแรง จะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาหมอ พึ่งพาโรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้

อีกรายหนึ่งสอบถามว่า "หลวงพ่อครับ วันที่แรลลี่ทัวร์ของกิฟท์จังพลังเวทย์ไปวัดท่าขนุน ผมขอไปร่วม "แจม" ด้วยได้ไหมครับ ?" อืมม์...น่าคิด ก็ได้แต่ตอบไปว่า "ถ้าหากว่าจะไปร่วมทำบุญ ทางวัดไม่เคยห้ามใครอยู่แล้ว แต่ถ้าหากว่าจะไปร่วมมั่วกับเขา เพื่อรับวัตถุมงคลที่จัดสรรเอาไว้สำหรับลูกทัวร์ของกิฟท์จังพลังเวทย์นั้น เป็นไปไม่ได้ เอ็งยื่นมือมา..ข้าตีมือหักเลย..!"

ดังนั้น...ถ้าหากว่าต้องการตรงจุดนี้ ให้ไปสมัครแรลลี่ทัวร์ของกิฟท์จังพลังเวทย์ในเดือนมิถุนายนต่อไป ก็สามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรม แล้วก็รับวัตถุมงคลที่ทางวัดจัดสรรพิเศษไว้ให้สำหรับลูกทัวร์ของคณะนี้โดยเฉพาะ

และที่สำคัญก็คือ กระผม/อาตมภาพจะต้องล็อควันเอาไว้ เพื่อที่จะไม่รับงานอื่น จะได้อยู่เพื่อสนทนาธรรมกับญาติโยมทั้งหลาย ที่อุตส่าห์ยอมซื้อทัวร์ เพื่อที่จะได้พบหน้าเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนโดยเฉพาะ กำลังใจขนาดนี้เราจะทิ้งเขาไม่ได้ แล้วของคนอื่นก็ไม่มีการจัดงานในลักษณะอย่างนี้อีกด้วย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-04-2022 เมื่อ 18:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 25-04-2022, 23:38
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,562 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

โดยเฉพาะงานส่วนนี้นั้น ประสานเข้ากับงานของชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุนด้วย เนื่องเพราะว่าที่อยู่ ที่กิน ของที่ระลึกทุกอย่าง ซึ่งสามารถขายได้ เพราะมีคนเข้าไปท่องเที่ยวในพื้นที่ ก็จะทำให้เกิดผลประโยชน์ตกกับประชาชนในพื้นที่ของเราเอง

ดังนั้น..ตรงจุดนี้ไม่ว่าจะในทางโลกหรือในทางธรรม ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอยู่ เพื่อที่จะต้อนรับลูกทัวร์คณะนี้โดยเฉพาะ แต่ขอความกรุณา มาทำบุญตามปกติทุกวันก็ได้ แต่อย่ามั่วเข้าไปตอนที่คนอื่นเขากำลังรับวัตถุมงคลที่จัดสรรไว้ให้เขาเป็นการเฉพาะ

ส่วนญาติโยมอีกรายหนึ่งนั้น ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะหัวเราะหรือว่าร้องไห้ดี เพราะว่ารีบ ๆ ร้อน ๆ วิ่งเข้าร้านค้าซื้อข้าวปลาอาหารเพื่อใส่บาตร แล้วเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนก็ยืนปิดบาตรมองหน้า จนกระทั่งโยมสงสัย เงยหน้าขึ้นมาในลักษณะตั้งใจจะถามว่าเกิดอะไรขึ้น ? กระผม/อาตมภาพจึงชี้ให้ดูว่าโยมยังใส่รองเท้าอยู่ อีกฝ่ายถึงได้รีบถอดรองเท้าแล้วก็ใส่บาตร โดยมีการขอโทษขอโพยว่า "รีบจนลืมไปครับ"

ตรงจุดนี้ต้องบอกว่า ญาติโยมส่วนหนึ่งนั้น บางทีก็ไม่เห็นความสำคัญในรายละเอียดต่าง ๆ ที่บรรพบุรุษของเราได้ประพฤติปฏิบัติมาอย่างถูกต้องและเป็นรูปธรรมมาช้านาน

การถอดรองเท้าใส่บาตรนั้น แสดงซึ่งความเคารพในทานของตน แล้วขณะเดียวกัน ก็มีในพระไตรปิฎกที่กล่าวถึงพระเจ้าพิมพิสาร โดนพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นราชบุตรชิงบัลลังก์ แล้วให้ช่างกัลบกใช้มีดโกนกรีดฝ่าเท้า คือฝ่าพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อไม่ให้พระองค์ท่านเดินจงกรมได้

ซึ่งอรรถกถาจารย์ท่านได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากโทษที่ในอดีตชาติ พระเจ้าพิมพิสารเคยใส่รองเท้าเข้าไปในลานวัดลานเจดีย์ ดังนั้น...การที่พวกเราทั้งหลายถอดรองเท้าก่อนใส่บาตร นอกจากเป็นการเคารพในทานแล้ว ยังเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพในพระรัตนตรัยอีกด้วย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-04-2022 เมื่อ 18:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 25-04-2022, 23:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,562 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าญาติโยมทั้งหลายเคยไปประเทศพม่า จะเห็นว่าคนพม่าเริ่มถอดรองเท้าตั้งแต่ประตูรั้ววัด แล้วเอารองเท้าเหน็บด้านหลังโสร่งบ้าง ถือติดมือมาบ้าง ถ้าหากว่าวัดไหนเป็นวัดท่องเที่ยว มีถุงพลาสติกให้ ก็เอาใส่ถุงพลาสติกหิ้วมาบ้าง จนกระทั่งมีพระเถระรูปหนึ่งปรารภขำ ๆ กับกระผม/อาตมภาพว่า "บ้านเราเข้าวัดถือดอกไม้ ธูป เทียนไปบูชาพระ ถือข้าวปลาอาหารไปถวายพระ แต่คนพม่าเข้าวัด ถือรองเท้าเข้าไปหาพระ" ซึ่งตรงจุดนี้เป็นการพูดกันเล่นขำ ๆ เท่านั้น

แต่ถ้าหากว่ากล่าวถึงความละเอียดในการปฏิบัติแล้ว ต้องถือว่าพุทธศาสนิกชนชาวพม่านั้น มีความละเอียดในการประพฤติปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนามากกว่าประเทศไทยของเราหลายเท่า

วันนี้แค่การออกบิณฑบาตวันเดียว ก็มีประสบการณ์เรื่องเล่าต่าง ๆ จำนวนมาก เพียงแต่ว่านำมาบอกกล่าวในระยะเวลาจำกัดได้แต่เพียงเท่านี้ จึงขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมทั้งหลายที่ฟังอยู่ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศแต่เพียงเท่านี้


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-04-2022 เมื่อ 18:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 07:34



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว