|
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ กระผม/อาตมภาพเข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ก็มีงานด่วน ๆ เพิ่มเข้ามา ซึ่งจะว่าไปแล้ว หลายงานก็เป็นเรื่องที่กระผม/อาตมภาพได้ดำเนินการไปแล้ว ส่วนใหญ่ "จุดบอด" ของบรรดาพระสังฆาธิการก็ดี บรรดาพระนิสิตก็ตาม ก็คือการทิ้งงานไว้จนกลายเป็น "ดินพอกหางหมู" จนกระทั่งถึงเวลาแล้วก็มา "เผางาน" ส่งกัน ซึ่งไม่ใช่ความนิยมของกระผม/อาตมภาพที่จะทำอย่างนั้น
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ท่านทั้งหลายจะสังเกตเห็นว่า ไม่มีผู้บังคับบัญชาทวงงานกับทางวัดท่าขนุนเลย เพราะว่ากระผม/อาตมภาพจะทำล่วงหน้าไล่ไปเรื่อย จนถึงวันสุดท้าย ลงข้อมูลเสร็จ ก็พร้อมที่จะส่งได้ อย่างเช่นการตรวจการคณะสงฆ์ภายในวันที่ ๑๐ ธันวาคมนี้ กระผมทำเสร็จ พร้อมที่จะส่งแล้ว แต่สำหรับท่านอื่น ๆ ก็คือ รอจนกระทั่งโดนทวงงาน แล้วก็ส่งแบบ "เผางาน" ซึ่งมักจะหาดีไม่ได้ ช่วง ๒ วันที่ผ่านมา กระผม/อาตมภาพได้สั่งงานและให้แนวคิดเพิ่มขึ้นหลายงาน อย่างเช่นว่าการสั่งและออกงบประมาณให้จัดทำพื้นที่การเกษตรโคก หนอง นา ตัวอย่างที่บ้านปอสามต้น ซึ่งจะต้องใช้เงินหลายแสนบาท เพียงแต่ว่าถ้าทำสำเร็จขึ้นมา อันดับแรกเลยก็คือ ญาติโยมทางด้านปอสามต้นจะอยู่ในลักษณะที่พึ่งพาตนเองได้ ต่อให้โลกภายนอกวุ่นวายขนาดไหน เขาก็ไม่เดือดร้อน เพราะว่ามีอยู่มีกินกันแล้วอย่างมั่นคง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2021 เมื่อ 02:32 |
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
ประการต่อมาก็คือ ขอให้ท่านนายกฯ ประเทศ บุญยงค์ ศึกษาเรื่องการทำตลาดทองผาภูมิให้เป็นตลาดปลอดถุงพลาสติก ซึ่งจากโครงการเดิมของเทศบาลตำบลทองผาภูมิ ก็คือตลาดปลอดกล่องโฟม ซึ่งทำได้สำเร็จไปแล้วโดยบรรดาพ่อค้าแม่ขายให้ความร่วมมือดีมาก
แต่การนี้ที่เราจะทำให้เกิดตลาดปลอดถุงพลาสติกนั้น กระผม/อาตมภาพกำหนดให้บรรดาผู้นำชุมชนและกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ ไปดูงานที่ตลาดป่าไผ่ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ที่โน่นเขาใช้วัสดุธรรมชาติในการทำภาชนะบรรจุข้าวของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบไม้ ใบตอง กระบอกไม้ไผ่ กะลา ฯลฯ เป็นต้น ส่วนของทองผาภูมิของเรานั้น เอาแค่กระเป๋าผ้าก็พอ หรือไม่ก็ตะกร้า เพราะว่าเรามีโครงการ หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าซิ่น นั่งแคร่ไม้ ใส่บาตรพระทุกวันอาทิตย์อยู่แล้ว ญาติโยมส่วนหนึ่งจึงมีตะกร้าเป็นปกติ ก็แค่หิ้วตะกร้าไปตลาดเท่านั้น ส่วนท่านที่ไม่มีถุงผ้า กระผมให้นโยบายไปว่า เราควรจะทำจำหน่าย หรือถ้ามีงบประมาณส่วนไหนสนับสนุนได้ ก็ทำแจกไปเลย โดยการติดตราหรือมีวลีเท่ ๆ เกี่ยวกับทองผาภูมิ ถึงเวลานักท่องเที่ยวมา เขาก็ให้ความร่วมมือเอง คาดว่าประมาณปีเดียวทุกอย่างก็น่าจะลงตัวแล้ว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2021 เมื่อ 13:41 |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
อีกโครงการหนึ่งเป็นเรื่องภายในวัดของเราเอง ก็คือมอบหมายให้มหาไบท์ (พระมหาจักรพงษ์ ปญฺญาทีโป ป.ธ.๖) มหาเสริฐ (พระมหาอุตรา อุตฺตโร ป.ธ.๖) นำบรรดามหาเปรียญของวัดเรา ซึ่งมีอยู่มาก ปีนี้ก็มีมหาเอกชัยเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ ราย เปิดการสอนบาลี แต่เป็นการสอนที่ไม่หวังการสอบ ก็คือให้ผู้ที่สนใจมาศึกษาเข้าไว้ โดยการเรียนแบบไปช้า ๆ ไม่เร่งรัด ไม่ยุ่งกับการสอบ ประมาณว่าประโยค ๑ - ๒ ก็เรียนสักปีละ ๒ เล่มก็พอ ก็แปลว่า ๒ ปีผ่านไป ถ้าหากว่าใครมั่นใจในตัวเอง แล้วค่อยไปลงชื่อสอบ เป็นต้น ส่วนใครที่ไม่มั่นใจในตัวเองก็รอต่อไปจนกว่าจะมั่นใจ หรือถ้าไม่คิดที่จะสอบเลย ศึกษาเพื่อที่จะให้แปลภาษาบาลีได้ถูกต้อง แบบเดียวกับหลวงปู่ปาน วัดบางนมโคก็ได้
หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค เรียนบาลี สามารถแปลวิสุทธิมรรคชนิดตั้งวิเคราะห์ได้ทุกตัว ลักษณะอย่างนั้นถ้าสอบ ต่ำสุดต้องได้ประโยค ๘ แต่หลวงปู่ท่านไม่ได้สอบ ท่านเรียนเพื่อทบทวนว่าตำรานั้นเขาแปลไว้ถูกต้องจริงหรือเปล่า ? หลวงพ่อวัดท่าซุงเคยเล่าให้ฟังว่า นอกจากในเรื่องของการรักษาโรคแล้ว หลวงปู่ปานยังเปิดโรงเรียนสอนบาลีด้วย มีนักเรียนเกือบ ๓๐๐ รูป กระผม/อาตมภาพได้ยินแล้วยังทึ่งว่าหลวงปู่เอาเวลาที่ไหนไปสอนนักเรียน มีวิธีอย่างหนึ่งก็คือจ้างบรรดามหาเปรียญเข้ามาเป็นครูสอนแทน ตรงจุดนี้ที่เห็นประโยชน์ก็เพราะว่า ถ้าเราสามารถแปลบาลีได้ เราก็จะเห็นว่าตำราต่าง ๆ นั้นถูกต้อง หรือผิดเพี้ยนไปจากพระไตรปิฎก หรือพระไตรปิฎกมีตรงไหนที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง อย่างที่กระผม/อาตมภาพอ่านแล้ว บางทีก็แปลกใจ เอาแค่พระพระสุตตันตปิฎก เล่มแรก ทีฆนิกาย เรื่องแรก พรหมชาลสูตร คำว่า พรหมชาล นั้น ชาละ คือ ตาข่าย มีผู้แปลว่า สูตรแห่งข่าย คือ พระญาณอันประเสริฐขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะแปลคำว่าพรหมเป็นความหมายว่าประเสริฐ ด้วยเห็นในเนื้อหาว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถรู้ได้ทั่วถ้วน ถึงบรรดาลัทธิต่าง ๆ ทั้ง ๖๒ ลัทธิในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ลัทธิ หรือว่า อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ ลัทธิ ก็เพราะว่าพระองค์ล่วงรู้ด้วยข่าย คือ พระญาณอันประเสริฐ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2021 เมื่อ 02:38 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
แต่ตรงนี้กระผม/อาตมภาพเห็นแย้งกับท่านผู้แปล ที่เห็นแย้งก็เพราะว่า คำนี้แปลตรง ๆ ตัวได้เลย คือ พรหมชาล คือ ตาข่ายดักพรหม เพราะว่าในบรรดา ๖๒ ลัทธินั้น เก่งแค่ไหนไปได้แค่พรหม ไม่มีเกินนั้น ติดตาข่ายอยู่แค่นั้นเอง
ดังนั้น...ถ้าหากว่าพวกท่านทั้งหลายได้ศึกษาบาลีเอาไว้บ้าง อย่างน้อย ๆ พอถึงเวลา เราก็จะได้สอบสวนทวนความว่าตรงไหนผิด ตรงไหนถูก และโดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงสนับสนุนเรื่องการศึกษาบาลีเป็นอย่างมาก ถ้าหากว่ามีการศึกษาบาลีมากขึ้น ในเรื่องของการศึกษาคณะสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นแผนกธรรม แผนกบาลีหรือว่าแผนกสามัญ ก็จะสมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้น เพราะว่าปัจจุบันนี้พระเณรทิ้งสายบาลีไปเรียนสายสามัญกันมาก เนื่องจากบาลีนั้น อันดับแรกเลยก็คือ เรียนยาก เนื้อหายากต่อการเข้าใจ ประการที่สองก็คือ บาลีตรวจให้คะแนนไม่เหมือนชาวบ้านชาวเมืองเขา การสอบอื่น ๆ เขาตรวจว่าเราทำถูกเท่าไร แต่การสอบบาลีเขาตรวจว่าเราทำผิดเท่าไร ถ้าผิดเกินกว่าที่กำหนด ก็เป็นอันว่าตกไปเลย ดังนั้น...ตรงจุดนี้ ถ้าหากว่าโครงการต่าง ๆ ที่ทางผู้บังคับบัญชากำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น ๑ ตำบล ๑ มหาเปรียญ หรือว่า ๑ ตำบล ๑ โรงเรียนปริยัติธรรม เราก็ทำเป็นปกติ แต่คราวนี้ความเป็นปกติของเรานั้น กลายเป็นไม่ปกติของที่อื่น อย่างเช่นวันนี้ ทางกองงานเลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๔ ได้ยกตัวอย่างการลงข้อมูลสารสนเทศของวัดท่าขนุน ให้เป็นตัวอย่างแก่วัดอื่น ๆ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ อีกเป็นพันวัด นั่นก็คือเรื่องที่เราทำกันเป็นปกติ ถึงเวลาก็ลงข้อมูลไล่ไปเรื่อย ก็จะมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่เราจะต้องลงในแต่ละวัน แต่ที่อื่นไปปล่อยทิ้งค้างเอาไว้ พอถึงเวลาเจอข้อมูลมาก ๆ เข้า ก็เกิดความท้อ ไม่มีอารมณ์ที่จะไปลงข้อมูลแล้ว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2021 เมื่อ 02:42 |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
เรื่องพวกนี้ ท่านทั้งหลายก็จะเห็นว่า ถ้าหากว่าเป็นเรื่องหลักการทำงานนั้น ผมจะเป็นคนที่วิ่งเข้าใส่งาน สมัยที่ออกจากวัดท่าซุงใหม่ ๆ บางทีทำการก่อสร้างทีหนึ่ง ๒ วัด ๓ วัดพร้อมกัน มีคนถามว่า ทำไมถึงทุ่มเทกับงานขนาดนี้ ? กระผม/อาตมภาพให้คำตอบชัด ๆ ว่า ถ้าเราวิ่งเข้าหางาน เราจะรู้ว่าตรงนี้เรารับไหว พูดง่าย ๆ ก็คือยอมเหนื่อย ยอมรับกรรม ทำงานต่าง ๆ ไปเป็นการชดใช้หนี้เก่า ๆ ที่เคยสร้างไว้ ถ้าหากว่าไม่ทำ แล้วรอให้เจ้าหนี้ทวงเอง บางทีก็อาจจะหนักจนเรารับไม่ไหว
อย่างเมื่อวันก่อน เขาก็แจ้งว่าจะทวงหนักถึงขนาดสูญเสียอวัยวะ ประมาณแขนขาดขาขาด กระผม/อาตมภาพก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้นไม่ให้ ติดหนี้มาหลายชาติแล้ว ขอติดต่อไปก่อน เพราะว่าถ้าแขนขาดขาขาดแล้วจะทำงานยาก ไม่ได้กลัวในการใช้หนี้ เพราะรู้ว่าที่เขาทวงนั้นเป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้น แต่กลัวว่าถ้าพิการแล้ว จะทำงานให้คณะสงฆ์ หรือว่าทำงานให้กับพระพุทธศาสนาลำบาก ถ้าพวกท่านทั้งหลายสามารถเจรจากับเจ้ากรรมนายเวรได้ ก็ทดลองดูว่าจะต่อรองได้หรือไม่ แต่ตัวกระผมเองไม่เสียเวลาไปต่อรอง ก็คือวิ่งใส่งานไปเอง ถือว่าทำงานชดเชยไป ในระหว่างนั้นก็ปล่อยชีวิตสัตว์ไปด้วย จากหนักก็จะกลายเป็นเบา มาแล้วเราก็พอรับไหว แต่ถ้าหากว่าวางเฉย..กลัวเหนื่อย ถึงเวลาถ้าหากว่าโดนทวง เราอาจจะจ่ายคืนไม่ไหว จึงขอบอกกล่าวแก่พวกเรา เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างหนึ่งว่า อย่ากลัวเหนื่อย อย่ากลัวงาน ทุ่มเททำไป แล้วเรื่องไม่ดีที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราจะลดน้อยถอยลง เพราะว่าอันดับแรกก็คือ อานิสงส์ที่เราทำในขอบเขตของพระพุทธศาสนาเป็นบุญใหญ่มาก ประการที่สอง ถ้าหากว่ากำลังใจของเราจดจ่ออยู่กับงาน ก็จะทรงสมาธิได้ บางทีก็ได้แบบไม่รู้ตัว ประการต่อไปก็คือ เมื่อบุญใหญ่เกิดขึ้น กรรมก็ต้องถอยห่างออกไป ถ้าไม่ใช่กรรมที่หนักจริง ๆ บางทีก็แทบจะแผ้วพานเราไม่ได้เลย จึงขอเรียนถวายแนวทางเหล่านี้ไว้กับพระภิกษุสงฆ์สามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้ พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2021 เมื่อ 02:44 |
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|