|
เก็บตกจากบ้านเติมบุญ เก็บข้อธรรมจากบ้านเติมบุญมาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#141
|
|||
|
|||
![]() อ้างอิง:
|
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ทาสสุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#142
|
||||
|
||||
![]()
โยมถวาย Flash drive สื่อธรรมะ ๖๐ ปี พระอาจารย์จึงกล่าวว่า “เอาสิ่งที่อาตมาสอนมาถวายให้อาตมาฟัง ดูแปลก ๆ เหมือนกันนะ..! แต่ก็ดี..ไม่อย่างนั้นตัวเองก็ไม่มี เดี๋ยวจะลงลายเซ็นแล้วเอาไปขายต่อแพง ๆ..!”
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 10:26 |
สมาชิก 141 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#143
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : การชำระพระไตรปิฎกคือการแปลพระไตรปิฎกตั้งแต่เริ่มต้นใช่ไหมครับ ?
ตอบ : ไม่ใช่ ถ้าสังคายนาพระไตรปิฎกก็คือการทบทวนเนื้อหาให้ถูกต้อง ไม่มีผิดพลาด ส่วนใหญ่ต้องมีเหตุ เช่น ความเข้าใจผิดเพี้ยนกันในระหว่างหลักการปฏิบัติ ก็ต้องมาทบทวนว่าของเก่าที่ถูกต้องเป็นอย่างไร การชำระพระไตรปิฎกในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้แค่แก้คำผิด แต่ชำระพระไตรปิฎกในปัจจุบัน ชำระให้ตาย ไอ้ที่ผิดจนกระทั่งกลายเป็นถูกไปแล้วก็มี ถ้าพวกเราไปสวดมนต์วัดท่าขนุน จะเห็นว่า “อัญชะลิกะระณีโย” แต่พวกเราจะเคยชินกับอัญชลี “อัญชะลิ” มาตามพระไตรปิฎก มาตามบาลี เพราะว่าถ้าใช้อัญชลีจะไม่สามารถที่จะแปลได้ เนื่องจากว่าผิดวิภัตติ ผิดสระ ต่อให้แก้ในพระไตรปิฎกบาลีถูกก็ตาม ถึงเวลาคนสวดร้อยละ ๙๙ ก็ยังอัญชลีกันอยู่นั่นแหละ อัญชลีเป็นรากศัพท์อีกคำหนึ่งที่แยกออกมาต่างหาก หมายถึงพนมมือ คราวนี้ในเรื่องของศัพท์ภาษาบาลี จะมีการเข้าวิภัตติ ถึงเวลาเขาจะรู้ว่าคำนี้ควรแปลว่าอะไร อย่างเช่นว่าถ้าเป็นทุติยาวิภัตติ ก็จะต้องแปลใจความอย่างหนึ่ง ตติยาวิภัตติแปลโดยใจความเป็นอีกอย่างหนึ่ง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 10:28 |
สมาชิก 133 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#144
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : การสังคายนาพระไตรปิฎกคือทำทั้งหมด หรือเฉพาะบางบท ?
ตอบ : ถ้ามีสาเหตุที่เข้าใจไม่ตรงกันเมื่อไร ถ้าเห็นว่าสมควรก็รวมกันสังคายนาขึ้นมา เพราะฉะนั้น..การสังคายนาพระไตรปิฎกที่ได้รับการยอมรับจริง ๆ ก็คือการสังคายนาครั้งที่ ๑ หลังพระพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน การสังคายนาครั้งที่ ๒ หลังปรินิพพานแล้ว ๑๐๐ ปี การสังคายนาครั้งที่ ๓ หลังการปรินิพพานแล้ว ๓๒๕ ปีโดยประมาณ นอกนั้นส่วนใหญ่แล้วสาเหตุยังไม่เพียงพอ อย่างเช่นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๔ ที่ลังกาทวีป นำโดยพระมหินทเถระ ต้องบอกว่าเป็นการสวดสาธยายทบทวนพระไตรปิฎก ให้บรรดาพระภิกษุที่บวชที่นั่นได้ฟังกัน เพราะว่าเขาบวชกันทีเป็นร้อยเป็นพัน แต่ว่านักวิชาการบางท่านก็จัดให้เป็นการสังคายนาพระไตรปิฎก การสังคายนาครั้งที่ ๔ และ ๕ ทำที่ลังกาทวีป หรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า “ตัมพปัณณิทวีป” ส่วนครั้งที่ ๖ เขาว่าทำที่ประเทศพม่า เนื่องในวาระ ๒,๕๐๐ ปีหลังปรินิพพาน พระไทยรูปหนึ่งที่ได้รับเชิญเข้าไปในงานฉัฏฐสังคายนา ก็คือพระมหาเกี่ยว อุปเสโณ ซึ่งสมณศักดิ์สุดท้ายของท่านก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ท่านบอกว่า “ท่านเล็กเอ๋ย..หกเดือนไม่ได้ไปไหนเลย อยู่แต่ไอ้กะบ้าเอนั่นแหละ จนจะบ้าตามมันอยู่แล้ว” วัน ๆ อยู่กับตัวหนังสืออย่างเดียว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 10:30 |
สมาชิก 133 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#145
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : จัดเมื่อปีไหนครับ ?
ตอบ : พ.ศ. ๒๔๙๙ แต่คราวนี้ที่เขานับเป็น พ.ศ. ๒๕๐๐ เพราะว่าหลายประเทศเขานับวันแรกที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พอครบรอบปีก็นับเป็น ๑ ปี ส่วนประเทศไทยนับครบรอบปีปรินิพพานเป็น พ.ศ. ๑ ก็เลยช้ากว่าเขา ๑ ปี ของเขา พ.ศ. ๒๔๙๙ ของเราจริง ๆ ก็คือ พ.ศ. ๒๕๐๐ นั่นแหละ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 10:31 |
สมาชิก 130 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#146
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า “เวลาคนอยู่รวมกันเป็นพันหรือหลายพันจะเห็นว่า มนุษย์เราล้างผลาญทรัพยากรอย่างมหาศาลเลย แค่กินข้าวเหลือคนละเม็ดสองเม็ดเท่านั้นแหละ เศษอาหารเป็นถัง ๆ เลย ถึงเวลาแม่ชีเขาล้างผ่านที่กรอง เขาก็เทใส่รวมกัน ไม่น่าเชื่อว่าเศษอาหารจะเป็นถัง แล้วเราลองคิดดูว่า มนุษย์โลกของเรา ถ้าหากว่ายังใช้ทรัพยากรขนาดนี้ แล้วยังไม่จำกัดการเกิดอีก ทรัพยากรจะพอไหม ?
แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วปัจจุบันนี้เขาพยายามที่จะคิดหาว่า การปลูกพืชผักที่เป็นอาหาร ทำอย่างไรจะใช้พื้นที่เท่าเดิม แล้วปลูกได้มากกว่าเดิม ? มีการตัดต่อพันธุกรรม มีการค้นหาพันธุ์ใหม่ ๆ แต่โอกาสที่จะเป็นไปได้ก็ยาก เพราะว่าความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อยลงไปเรื่อย ๆ ยกเว้นบรรดาท่านทั้งหลายที่ทำในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้ทำเพื่อการค้า ถ้าลักษณะอย่างนั้นเขาค่อย ๆ ปรับปรุงดินได้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกปอเทือง แล้วไถกลบฟื้นดิน หรือว่าการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อให้ผลัดกันใช้สารอาหาร”
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 10:31 |
สมาชิก 137 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#147
|
||||
|
||||
![]()
“เมื่อสองวันที่ผ่านมา มีข่าวว่าคนอินเดียเป็นร้อยล้านกำลังอดน้ำ ประเทศอินเดียนั้นหาน้ำยากตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว บรรดากุมภทาสีก็คือ พวกทาสหญิงที่มีหน้าที่ตักน้ำ ไปหาน้ำเข้าบ้านอย่างเดียว เดินกันทีหนึ่งครึ่งค่อนวันกว่าจะถึงแหล่งน้ำ ตักแล้วก็เอาเทินหัวมา อาตมาไปเนปาลเห็นชาวบ้านไปรุมอยู่รอบบ่อ ๑๐–๒๐ คน น้ำก้นบ่อสูงประมาณครึ่งนิ้ว ไปยืนรอจนน้ำสูงพอที่จะถึงขอบถัง เวลาเอียงถังแล้วน้ำจะพอไหลเข้าถังได้ ตักขึ้นมาก็เทใส่คนโทน้ำ หม้อน้ำทองเหลืองทองแดงของตัวเอง รอตักไปเถอะ กว่าจะได้พอก็เป็นวัน..!
ท่านวิปัสสี เจ้าอาวาสวัดมุนิวิหารที่อาตมาเอากฐินปลดหนี้ไปให้ ท่านบอกว่าคนรวยของเนปาลนิยมให้ทานด้วยน้ำ พอถึงเวลาก็ซื้อน้ำมาเทลงในอ่างน้ำสาธารณะที่มีก๊อกอยู่ ถ้าใครโชคดีเจอคนรวยซื้อน้ำมาใส่ ก็ไปเปิดเก็บเข้าบ้านตัวเอง ถ้าช้าคนอื่นก็เอาไปหมด จะว่าไปแล้ว น้ำจืดแต่ละปีที่เกิดจากฝนตกนั้นมหาศาล แต่ว่าการบริหารจัดการไม่ดี ทำให้ไม่สามารถที่จะเก็บกักเอาไว้ใช้งานได้จนครบรอบปี ใครมีที่มีทาง ถ้าจะทำแหล่งน้ำ ขอให้รู้ไว้เลยว่า แหล่งน้ำจะเล็กจะใหญ่ หน้ากว้างหน้าแคบแค่ไหนก็ตาม น้ำจะระเหยออกวันละ ๑ เซนติเมตรโดยประมาณ ถ้าจะทำแหล่งน้ำให้มีน้ำครบปี อย่างน้อยก็ต้อง ๓๖๕ เซนติเมตร หรือถ้าประมาทหน่อยว่ามีฤดูฝน ๓–๔ เดือน ก็เอาสัก ๓ เมตรก็ได้ อีก ๖๕ เซนติเมตรไม่ต้องไปคิด”
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 10:34 |
สมาชิก 134 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#148
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า “สำหรับวันบวงสรวงไหว้ครูและเป่ายันต์เกราะเพชรตามสายกรรมฐานของเรา โดยเฉพาะการฝึกมโนมยิทธิ จะต้องมีเครื่องบูชาครูทุกครั้ง คราวนี้ถ้าหากว่าเราจัดบูชาครูทุกครั้ง บางเวลาก็ไม่สะดวก ก็ใช้วิธีจัดเครื่องบวงสรวงใหญ่ถวายท่านปีละครั้ง เป็นการไหว้ครูประจำปี คราวนี้ในเมื่อทางวัดจัด เราก็ไปร่วมด้วย ทำบุญร่วมด้วยสัก ๕ บาท ๑๐ บาท เครื่องบวงสรวงก็เป็นของเราไปด้วย
ปัจจุบันนี้ในส่วนของเครื่องบวงสรวง ต้องบอกว่าเบาแรงเบาเงินของอาตมาไปมาก เพราะว่าพระมหานันทวัฒน์ เขมธมฺโม เปรียญธรรม ๖ ประโยค วัดปากน้ำภาษีเจริญ ท่านรับภาระแทนมาหลายปีแล้ว อย่าลืมว่าการสืบชะตานั้น เขาคิดมูลค่าทั้งหมด ๕๕๐,๐๐๐ บาท พอเขาไปเจอชุดบวงสรวงของท่านมหาเข้า เขาถามว่าชุดนี้กี่แสน ? อาตมาบอกว่าไม่ได้จ่ายสักบาทเดียว เรื่องของบายศรีบวงสรวงเป็นงานที่เหนื่อยมาก ทำล่วงหน้าหลายวันแต่ใช้แค่พักเดียว แค่ชั่วธูปเทียนหมด โบราณเขาถึงได้บอกว่า “เหมือนบายศรีเมื่อมีงานท่านถนอม เจิมแป้งหอมน้ำมันให้หรรษา ครั้นเสร็จงานท่านทิ้งลงในคงคา ก็ลอยไปลอยมาเป็นใบตอง” โดนรื้อทิ้งแล้วก็ไม่เป็นต้นบายศรี ..(หัวเราะ)..”
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 10:35 |
สมาชิก 133 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#149
|
||||
|
||||
![]() อ้างอิง:
![]() |
สมาชิก 110 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#150
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า “เดือนนี้ปล่อยปลาช่อนไป ๑๖ กิโลกรัม ปลาดุก ๔๕ กิโลกรัม ปลาหมอ ๑๑ กิโลกรัม แล้วก็ควาย ๒ ตัว รวมทั้งหมด ๕๖,๐๙๐ บาท ที่เน้นปล่อยควาย ไม่ใช่อย่างที่ทุกคนคิด เพราะว่าถ้าเกิดมาโง่คงจะแก้ได้ยาก ปล่อยควายให้ตายก็แก้ไม่ได้..! ที่อาตมาเน้นการปล่อยควาย เพราะว่าบ้านเราควายน้อยลงไปเรื่อย ๆ แล้วอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นการผสมพันธุ์สายเลือดชิด ก็เลยทำให้ควายตัวเล็กลงไปเรื่อย ๆ
สมัยอาตมาเด็ก ๆ ควายแต่ละตัวสูงท่วมหัว ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเราตัวเล็กแล้วเห็นว่าควายตัวใหญ่ เพราะว่าน้ำหนักยืนยันได้ ตัวเล็ก ๆ ก็ ๘๐๐–๙๐๐ กิโลกรัม ตัวใหญ่หน่อยก็ ๑,๐๐๐–๑,๒๐๐ กิโลกรัม สมัยนี้ควายตัวหนึ่งน้ำหนักถึง ๔๐๐–๕๐๐ กิโลกรัม ถือว่าใหญ่มากแล้ว ควายบ้านเราน้อยลงไปเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่พยายามปล่อยเอาไว้ เดี๋ยวก็หมด ความฝันสมัยเด็ก ๆ ของอาตมาคืออยากเป็นเด็กเลี้ยงควาย เป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่มาก ไม่รู้หรอกว่านั่นเป็นวิสัยที่ข้ามชาติข้ามภพมา ด้วยความที่เป็นแม่ทัพนายกองคุมทหารมาแทบทุกชาติ พอถึงเวลาเห็นเด็กเลี้ยงควาย พกไม้ตะพด ห้อยหนังสติ๊ก สะพายย่าม คุมควายฝูงเบ้อเริ่ม รู้สึกว่าเท่สุด ๆ เวลาคนอื่นอยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจ อยากเป็นหมอ ไม่เอาหรอก อาตมาอยากเป็นเด็กเลี้ยงควาย ...(หัวเราะ)... เพิ่งจะมาเข้าใจหลังจากฝึกกรรมฐานแล้ว ว่าเป็นสัญญาเดิมที่ข้ามชาติข้ามภพมา เป็นผู้นำกองกำลังมาตลอด ถึงเวลาเห็นเขาสามารถพาควายทั้งฝูงไปได้ ก็เลยชื่นชม อยากจะเป็นเด็กเลี้ยงควายบ้าง”
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 19:48 |
สมาชิก 131 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#151
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า “พระอาจารย์บ๊ะท่านสั่งให้ฉันชาให้ได้วันละสองกาใหญ่ ๆ ก็เลยต้องมานั่งกรอกให้ตัวเองอยู่ทุกวัน ชาอะไรก็ได้ให้เป็นชาก็แล้วกัน แล้วสั่งด้วยว่าเวลาชง ห้ามแช่เกิน ๒ นาที ไม่อย่างนั้นสารที่อยากให้รักษาโรคจะเปลี่ยนไป ถ้าแทนนินออกมา ก็จะท้องผูกแทน แทนนินเป็นสารที่มีรสฝาด ถ้าหากว่าฉันเข้าไปเยอะ ๆ จะท้องผูก”
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 19:56 |
สมาชิก 126 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#152
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า “อาตมาคงจะเหมือนกับโยมแม่นั่นแหละ บอกให้อยู่เฉย ๆ ไม่เคยอยู่ได้ คนเคยทำงาน บอกว่าอยู่เฉย ๆ แล้วรำคาญ หางานทำไปเรื่อย ๆ ท้ายสุดก็ไปโดนรถชน เพราะว่ากวาดบ้านแล้วเอาขยะไปทิ้ง ถนนซอยที่บ้านก็ไม่ได้ใหญ่ แต่มอเตอร์ไซค์ก็บิดกันกระจาย ท้ายสุดเขาหลบคนอื่นแล้วมาชนแม่ ความขยันทำให้เจ็บตัวได้ คราวนี้ก็ได้พักแล้ว พักระยะยาวเพราะว่าโดนมอเตอร์ไซค์ชนสะโพกหลุด
ถึงเวลาไปโรงพยาบาล หมอบอกให้นอนนิ่ง ๆ จะได้ต่อกลับไปตามเดิมได้ นิ่งได้ไม่ถึงครึ่งวันก็ลุกเข้าห้องน้ำแล้ว ทั้งหมอทั้งพยาบาลโวย แม่บอกว่า “ก็ยังไปได้” ก็จริง..ยังไปได้ก็ไป เพียงแต่ว่าไปสภาพไหน เขย่งขาเดียวยังอุตส่าห์ไป จะว่าคนแก่ดื้อก็ไม่ใช่ คนเคยทำงานแล้วอยู่เฉยไม่เป็น ให้อาตมาไปนั่งนิ่ง ๆ ก็ตายเหมือนกัน วัน ๆ ต้องทำนั่นทำนี่ไปเรื่อย”
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 19:57 |
สมาชิก 124 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#153
|
||||
|
||||
![]()
โยมถวายซองทำบุญ พระอาจารย์กล่าวว่า “เห็นแล้วอยากเหวี่ยง หน้าซองขนาดนี้ไม่เขียน เขียนแต่ข้างใน ถ้าเมื่อครู่ไม่ได้เหลือบเห็นก็ยัดลงถังสังฆทานไปแล้ว ทำอะไรให้เหมือนชาวบ้านชาวเมืองเขาหน่อย จะได้เป็นขี้ปากชาวบ้านเขาน้อยลง..!
พอ ๆ กับคุณสุเมธ สมประดีกุล หรืออดีตพระสุเมธ ฉฬภิญโญ เวลาทำบุญเขาจะต้องเขียนธนบัตรทุกใบ ถ้าเป็นอาตมาสมัยก่อนจะถามว่า มึงจะเขียนไปทำส้น..อะไร..!? แต่สมัยนี้เลิกถามแล้ว ถามไปก็เท่านั้น สันดานแก้ไม่หาย ก่อนหน้านี้อาตมาบอกว่า เหมือนอย่างวิสัยหมา หมาไปไหนก็เยี่ยวรดเสาทำเครื่องหมายไปเรื่อย นี่เขาต้องทำเครื่องหมายแบงค์ทุกใบเหมือนกัน ของบางอย่างเป็นวาสนา ภาษานักประพันธ์เขาเขียนสวยมาก วาสนาที่ตัดไม่ขาด ภาษาไทยแท้เขาว่า “สันดาน” สันดานมาจากบาลีว่า สนฺตติ แปลว่า ความสืบเนื่อง ชาติแล้วชาติเล่าเป็นอย่างนั้น ก็เลยไม่สามารถจะแก้ไขได้ เพราะว่าเคยชิน แบบเดียวกับพระปิลินทวัจฉะ"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 19:58 |
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#154
|
||||
|
||||
![]()
“พระปิลินทวัจฉะเป็นพระมหาสาวกที่ได้รับเอตทัคคะทางด้านเป็นที่รักของเทวดา ไปไหนพรหมเทวดาห้อมล้อมกันเป็นร้อยเป็นพัน แต่ท่านอยู่ร่วมกับชาวบ้านเขาไม่ได้ เพราะชาวบ้านเขาว่าท่านพูดจาหยาบคาย ก็คือปกติท่านเรียกคนอื่นว่า “ไอ้ถ่อย” ถึงเวลาก็ “เฮ้ย..ไอ้ถ่อย เป็นอย่างไรบ้าง ?” เกิดจากการที่ท่านเคยเกิดเป็นพราหมณ์ต่อเนื่องมา ๕๐๐ ชาติ อยู่ในตระกูลพราหมณ์ที่ถือว่าสูงที่สุด แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังต้องเคารพกราบไหว้ ก็เลยเห็นคนอื่นเป็นคนต่ำไปหมด
หรือก็เหมือนนกุลปิตา นกุลมาตา สองท่านเมื่อเจอพระพุทธเจ้า ตรงเข้าไปกอดเลย ถามว่า “ลูกไปไหนมา หายไปนานขนาดนี้ ?” ท่านเคยเกิดเป็นพ่อแม่ของพระพุทธเจ้าต่อเนื่องมา ๕๐๐ ชาติ คนอื่นเขาตกอกตกใจ พระพุทธเจ้าท่านเห็นเป็นเรื่องปกติ” ถาม : ทำไมท่านถึงไม่ได้เป็นพุทธมารดาคะ ? ตอบ : ชาติสุดท้ายต้องสร้างบารมีมาเกิดเป็นพุทธมารดาโดยเฉพาะ ถ้าสร้างไม่ถึงก็เป็นไม่ได้ พระพุทธมารดาเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก นอกจากมีเบญจกัลยาณีแล้วยังต้องประกอบไปด้วยอิตถีลักษณะที่งามสมบูรณ์อีก ๖๔ อย่าง ไม่สูงเกิน ไม่ต่ำเกิน ไม่อ้วนเกิน ไม่ผอมเกิน ไม่ขาวเกิน ไม่ดำเกิน สารพัดที่จะกำหนด ถามว่าทำไม ? อย่างเช่นว่า ถ้าช่วงตัวยาวเกิน ถึงเวลาพระโพธิสัตว์จะกินนมก็ต้องยืดคอ เดี๋ยวเด็กคอยาว ทำให้เสียพุทธลักษณะไป ดังนั้น...ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะเกิดเป็นพุทธมารดา ก็ไปเป็นในชาติอื่นแทน นกุลปิตากับนกุลมาตาเป็นฆราวาสที่ได้รับเอตทัคคะทางเป็นผู้คุ้นเคยยิ่งของพระพุทธเจ้า
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 20:00 |
สมาชิก 125 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#155
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ตอนที่เราจับภาพพระหรือดวงแก้ว ถ้าภาพที่เห็นไม่ตรงกับของจริง แล้วในแต่ละครั้งที่เราทำก็ไม่เหมือนเดิม ?
ตอบ : ถ้าหากว่าไม่เหมือนของจริง ก็ลืมตาดูใหม่ เมื่อตั้งใจจับภาพพระหรือภาพดวงแก้ว ถ้าไม่เหมือนเดิม โอกาสที่จะได้ดีก็ยาก อย่างน้อยก็ต้องยึดของเก่าไว้ก่อน ทีนี้การจับภาพของเรา ส่วนใหญ่ใช้นึกเอา ไม่ได้ใช้ของจริง ให้ย้อนกลับไปหาของจริง ถาม : เวลาใช้ของจริง พอทำไปสีกลายเป็นขาวขุ่น ? ตอบ : ขอให้เหมือนเดิม จะสีอะไรก็เรื่องของเขา เพราะว่าสีสันขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิตอนนั้น ถาม : ถ้าขนาดไม่เท่าเดิมละครับ ? ตอบ : ขนาดไม่จำเป็น แต่รูปร่างต้องเป็นของเก่าตามต้นฉบับ ถาม : ใหญ่น้อยก็ได้ เป็นสีอะไรก็ได้ แต่เป็นทรงเดิม ? ตอบ : ส่วนใหญ่ก็คือ ต้องสีเดิมทรงเดิม ยกเว้นสมาธิขึ้น สีจะเปลี่ยน แต่ว่าทุกอย่างจะเหมือนเดิม
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 20:00 |
สมาชิก 116 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#156
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : เราจับลูกแก้วที่มีรูปพระ ถือเป็นพุทธานุสติหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : สำคัญที่คุณนึกถึงพระหรือเปล่า ? ถ้าไม่ได้นึกถึงพระ ก็เป็นแค่อาโลกกสิณ ถ้านึกถึงพระด้วยก็มีส่วนของพุทธานุสติอยู่
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 20:00 |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#157
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : พระนิพพานนี่อุปจารสมาธิก็ไปได้หรือครับ ?
ตอบ : อุปจารสมาธิได้แค่เห็นเท่านั้น
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 20:01 |
สมาชิก 118 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#158
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : เวลาที่จับภาพดวงแก้วหรือภาพพระ จับไว้ที่กลางกาย ไว้ที่ส่วนต่าง ๆ ของกาย ไว้ที่พระนิพพาน มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ ?
ตอบ : จะไว้ที่ไหนก็ได้ การที่เราไว้ใน ไว้นอกเป็นส่วนของกีฬาสมาธิ ก็คือเราซักซ้อมไว้ให้เกิดความคล่องตัว จะได้ไม่เบื่อหน่าย เพราะว่าถ้าอยู่ที่เดียว บางคนนิสัยขี้เบื่อ ส่วนจะไว้ที่ไหนก็ตามไม่ได้สำคัญ สำคัญตรงผลของสมาธิ ถาม : ตอนแรกเราไว้ที่จมูก ทรงไปได้ระยะหนึ่ง แล้วก็ทรงไม่ได้ ก็เลยย้ายไปที่อื่น แล้วก็ทรงได้ อย่างนี้ถือว่ายังใช้ได้ไหมครับ ? ตอบ : ก็บอกแล้วว่าไม่ได้มีความสำคัญ สำคัญตรงที่เราทรงสมาธิได้ไหม ? จะย้ายไปตรงไหนก็ย้ายไปเถอะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 20:01 |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#159
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : อย่างถ้าเราเคยจับภาพพระมาก่อน พอมาจับดวงแก้วก็ทำได้ระดับหนึ่ง เวลาเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตาม แก้วนี้ก็จะมา แต่ว่าบางทีถ้าจวนตัวสุด ๆ ภาพพระจะแทรกขึ้นมา อย่างนี้ถือว่าโอเคหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : ไม่ตั้งแต่แรกแล้ว เพราะว่ากรรมฐานกองไหนก็ตาม ต้องทำให้ถึงที่สุดก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนกอง คุณยังไม่ทันจะได้เต็มที่ก็เปลี่ยนไปเรื่อย ชาตินี้เอาดีได้ก็เก่งตายห่..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 20:02 |
สมาชิก 116 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#160
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ถ้าเราภาวนาแล้วรู้สึกว่าลมหายใจไม่มี อย่างไรเราก็ไม่ตายใช่ไหมครับ ?
ตอบ : ก็ไม่แน่ ถ้าทรงฌานอยู่ กำลังของฌานรักษาก็อยู่ได้ แต่ถ้าหากว่าสภาพร่างกายไม่ไหว จิตหลุดออกไปเลย ก็อาจจะตาย เพียงแต่ว่าการปฏิบัติธรรมทุกอย่างเขาให้แลกกันด้วยชีวิต ไม่อย่างนั้นเรื่องแค่นี้ยังกลัวตายอยู่ ก็ไม่ต้องไปคิดว่าจะสำเร็จหรือไม่ ถาม : ถ้าตายตอนนั้นอย่างไรก็คุ้มใช่ไหมครับ ? ตอบ : ก็ไม่แน่เหมือนกัน ตอนขาดใจตายดันไปนึกถึงนรกก็ช่วยไม่ได้ อาสันนกรรมเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนที่สุดว่าใจสุดท้ายจะเกาะอะไร เพราะว่าแค่เสี้ยววินาทีเดียว ถาม : ต่อให้เราสร้างความเคยชินมามาก ๆ ? ตอบ : ขนาดคนได้อภิญญายังร่วงเลย คุณจะชินกว่าเขาหรือ ? คุณไม่สงสัยเลยหรือว่าทำไมชั้นจาตุมหาราช เทวดามากมายจนนับไม่ถ้วน ? นั่นทรงฌานได้ทั้งนั้น แล้วก็หลุด ถาม : ไม่ใช่ว่าท่านตั้งใจที่จะหลุดเพื่อไปรับตำแหน่งใช่ไหมครับ ? ตอบ : ถ้าเป็นคุณจะเอาไหมเล่า ? แทนที่จะไปกินเงินเดือนปริญญาตรี ปริญญาโท กูก็ขอแค่อัตรา ป.๔..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2019 เมื่อ 20:03 |
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|