กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๘ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 12-02-2025, 16:40
พิชวัฒน์'s Avatar
พิชวัฒน์ พิชวัฒน์ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Aug 2014
ข้อความ: 500
ได้ให้อนุโมทนา: 3,308
ได้รับอนุโมทนา 24,997 ครั้ง ใน 988 โพสต์
พิชวัฒน์ is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชวัฒน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 13-02-2025, 00:38
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๘ อากาศที่ทองผาภูมิอยู่ที่ ๒๐ องศาเซลเซียส แสดงว่าเข้าฤดูร้อนแล้ว แต่ขนาดนั้นไอ้ตัวเล็ก (นางสาวพัชรีภรณ์ หยกอุบล) เจ้าหน้าที่ดูแลเว็บไซต์วัดท่าขนุน และเว็บเพจเฟซบุ๊กวัดท่าขนุน ยังบ่นว่าหนาว

เมื่อวานนี้กระผม/อาตมภาพออกไปเพื่อมอบรางวัลให้กับผู้แข่งขันในการจักสานงานไม้ไผ่ และแปรรูปอาหารพื้นเมือง ซึ่งงานจักสานไม้ไผ่นั้นกลายเป็นการแข่งขันกันในหมู่ลูกศิษย์ของลุงโจและป้าลอน ลุงโจ (นายสมบุญ พวงสุวรรณ) ป้าลอน (นางลอน พวงสุวรรณ) นั้น ทั้งคู่เป็น "ครูศิลป์ของแผ่นดิน" ซึ่งขึ้นทะเบียนอยู่กับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เมื่อฝีมือไปถึงระดับอวดชาวโลกเขาได้ ส่งผลงานไปให้ฮือฮาทั้งในและต่างประเทศแล้ว ลุงโจกับป้าลอนก็ผันตัวเองมาเป็นวิทยากร สอนการจักสานต่าง ๆ ให้กับเด็ก ๆ เพื่อหวังที่จะให้มีการสืบทอดวิชาการต่อไปในเบื้องหน้า

เนื่องเพราะว่าจังหวัดกาญจนบุรีนั้น แม้ว่าจะพื้นที่ป่าจะเป็นป่าไม้เบญจพรรณ แต่เป็นป่าไม้เบญจพรรณที่เป็นป่าไผ่ไปเสีย ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น..ในช่วงหน้าแล้ง พอใบไผ่ร่วงหมด มองไปทางไหนก็รู้สึกว่าแห้งแล้งกรอบเกรียมไปหมด แต่ด้วยความที่มีไผ่อุดมสมบูรณ์นี่เอง จึงเป็นเหตุให้เป็นวัสดุในการใช้งานต่าง ๆ สารพัด

โดยเฉพาะภูมิปัญญาไทยโบราณที่จักสานสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตั้งแต่ชิ้นเล็กสุดจนถึงชิ้นใหญ่สุดขึ้นมาได้ กระผม/อาตมภาพตั้งแต่เด็ก ก็เห็นงานจักสานที่เขาสานไม้ไผ่เส้นละเอียดเหมือนเส้นผม ล้อมตลับสีผึ้ง หรือว่าล้อมตลับใส่ปูนกินกับหมาก แล้วมีการลงรักปิดทอง เขียนสีอีกด้วย

มาถึงยุคนี้ เด็ก ๆ โรงเรียนบ้านจันเดย์ ซึ่งกระผม/อาตมภาพมอบงบประมาณสนับสนุนงานจักสานให้ ก็สามารถที่จะจักสานงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปากกา กระเป๋าถือ แจกัน ตลอดจนกระทั่งกระถางธูปเชิงเทียน ล้อมด้วยไม้ไผ่จักสานลักษณะเดียวกันออกมาได้ กลายเป็นของที่ระลึก ซึ่งใครเห็นก็ชอบใจทั้งสิ้น

ผลการแข่งขันการจักสานไม้ไผ่ของสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิปีนี้ ผู้ชนะเลิศคือเด็กหญิงจิรภิญญา พวงสุวรรณ หลานของลุงโจและป้าลอนนั่นเอง ไอ้ตัวเล็กตั้งแต่เพิ่งจะรู้ภาษาก็จับ ๆ คลำ ๆ ไม้ไผ่มาขัดแตะกันอยู่ในลักษณะสานลายสองไปก่อน ปัจจุบันนี้สามารถสานงานได้อย่างคล่องแคล่วมาก

อย่างเช่นงานแข่งขันในวันนี้ก็คือตะกร้าไม้ไผ่หูหิ้ว ขนาดสูง ๔ นิ้ว กว้าง ๘ นิ้ว เด็กหญิงจิรภิญญาใช้เวลา ๑๒ นาทีในการสานงานเสร็จและเก็บงานได้เรียบร้อยมาก ส่วนเพื่อนฝูงร่วมรุ่นที่เข้าแข่งขันกันเอง ก็รับรางวัลลดหลั่นกันไปมากน้อยตามฝีมือของตน ไม่มีการเข้าข้างกันว่าเป็นหลานของครูศิลป์ของแผ่นดิน เนื่องเพราะว่าฝืมือกินขาดเพื่อนฝูงจริง ๆ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2025 เมื่อ 08:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 13-02-2025, 00:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนอีกด้านหนึ่งที่เป็นการแข่งขันการแปรรูปอาหารพื้นบ้าน แล้วมีบุคคลเข้าแข่งขันมากที่สุด ก็คือการทำขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย (ปลา) ที่จำเป็นจะต้องใช้คำว่าปลาด้วย เพราะว่าขนมจีนน้ำยาปลานี้ เป็นขนมจีนที่สามารถเข้ากับเนื้อหยวกได้ดีที่สุด ถ้าหากว่าเป็นหมูเป็นไก่ ก็ไม่น่าจะทำเป็นน้ำยา ควรที่จะเป็นแกงเขียวหวานมากกว่า ผู้ชนะเลิศประเภทขนมจีนน้ำยาหยวกปลาก็คือนายวรรณกร บวรวัชรเดชา

ส่วนอีกสองรายการเป็นการแปรรูปอาหารพื้นบ้านจากทองโยะ ซึ่งถ้าหากว่าภาษาเก่า ๆ เขาเรียกว่าข้าวปุ๊กบ้าง เรียกว่าขนมแดกงาบ้าง ซึ่งเป็นอาหารที่ชาวกะเหรี่ยงของเราใช้ในพิธีกินข้าวใหม่ มาตอนหลังดัดแปลงมาเป็นทองโยะทอดจิ้มนมข้น อยู่ในลักษณะที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า "ปาท่องโก๋กะเหรี่ยง"

แต่ว่า
เมื่อหลายปีก่อน กระผม/อาตมภาพจัดให้มีการแข่งขันแปรรูปไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทองโยะอาหารคาว หรือว่าทองโยะอาหารหวาน ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ปีนี้จึงแข่งขันใหม่อีกรอบหนึ่ง เพื่อที่จะดูพัฒนาการและแนวทางในการแปรรูปว่าจะออกไปอย่างไรบ้าง

ปรากฏว่าผู้ชนะเลิศเก่า ก็คือโรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ กวาดรางวัลไปทั้งประเภทอาหารคาวและอาหารหวาน อาหารคาวนั้นคือน้ำพริกทองโยะสมุนไพร อาหารหวานนั่นก็คือทองโยะสอดไส้ ซึ่งครั้งก่อนนั้นการที่แปรรูปออกมาก็คือไดฟุกุทองโยะ สามารถทำเป็นอาหารหวานมาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้ลิ้มชิมกันอยู่ตลอด โดยเฉพาะจัดเป็นอาหารว่างในช่วงของการประชุมต่าง ๆ ด้วย

ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ ได้สนับสนุนให้เขาแปรรูปของเดิม ๆ ซึ่งคนคุ้นชินแล้วไม่รู้สึกตื่นเต้นให้เป็นของรุ่นใหม่ ๆ มา สิ่งที่ทำมานั้นแม้ว่าจะชนะกันคะแนนหนึ่ง สองคะแนนก็ตาม แต่ว่าบุคคลผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศก็อย่าเพิ่งถอดใจ อย่างของเก่าที่เป็นทองโยะผัดพริกขิงนั้น ปัจจุบันนี้ก็เป็นเมนูของร้านอาหารเรือนสวนริมแคว กลายเป็น "ซิกเนเจอร์เมนู" อย่างหนึ่งไปแล้ว

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าท่านที่จะทำบัวลอยทองโยะ ทองโยะสอดไส้ ทองโยะผัดพริกขิง หรือว่าบรรดาทองโยะเฟรนซ์ฟรายอะไรก็ตาม ขอให้พัฒนาฝีมือตนเองยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้ามีโอกาส กระผม/อาตมภาพจะจัดแข่งขันใหม่อีกรอบ ว่าเราสามารถพัฒนาไปถึงจุดใดบ้าง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2025 เมื่อ 01:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 13-02-2025, 00:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้นก็มาชมการแสดงของเด็ก ๆ จากโรงเรียนบ้านหนองเจริญ โรงเรียนบ้านดงโคร่ง โรงเรียนบ้านวังผาตาด โรงเรียนบ้านเสาหงษ์ โรงเรียนอนุบาลทองผาภูมิ โรงเรียนบ้านหินดาด โรงเรียนบ้านหินแหลม โรงเรียนบ้านจันเดย์ และโรงเรียนวัดหินดาด ซึ่งโรงเรียนบ้านหินดาดและโรงเรียนวัดหินดาดนั้นเป็นหนึ่งโรงเรียนที่เกินมา แต่จะไม่บอกว่าเป็นโรงเรียนไหน เนื่องเพราะว่าชื่อคล้ายคลึงกัน ผู้อำนวยการโรงเรียนก็เลยส่งเด็กเข้ามาทำการแสดงด้วย เพราะว่าได้ฝึกซ้อมเอาไว้แล้ว ทางกระผม/อาตมภาพก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้เด็กแสดงเพิ่มเติมอีกชุดหนึ่ง

เมื่อแจกรางวัลไปแล้ว เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ก็วิ่งหาร้านค้า ซื้อโน่นซื้อนี่กินกันเองตามใจชอบ เนื่องเพราะว่าบางทีอยากกินก็มีสตางค์น้อย เสียดายสตางค์ ไม่กล้าซื้อกิน ตอนนี้ได้รางวัลจาก "หลวงตา" ไป อยากจะกินอะไรก็ซื้อได้ กลายเป็นว่าเงินผ่านมือ หมุนเวียนอยู่ในท้องตลาดไปในเวลาอันรวดเร็ว

แต่ว่ามีส่วนหนึ่งที่อยากจะติงบรรดาผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูผู้ฝึกซ้อมการแสดงของเด็ก ๆ เนื่องเพราะว่าเด็กที่มาแสดงนั้น อย่างเช่นว่า "สาวกันตรึม" หรือว่า "เซิ้งอีสานใต้" ซึ่งในทองผาภูมิของเรามีพี่น้องไทยอีสานอยู่หลายหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านทุ่งนางครวญ บ้านห้วยเสือ บ้านถ้ำภูเตย และบ้านเขาพระอินทร์ เป็นต้น ในส่วนของหมู่บ้านอื่น ๆ ก็ยังมีแทรกมีแซมอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช่ไทยอีสานทั้งหมู่บ้าน แต่บางทีก็ครึ่งค่อนหมู่บ้านเช่นกัน..!

การที่เราแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสานของเรานั้น กระผม/อาตมภาพชื่นชมด้วย แต่ว่าการแต่งตัวของเด็ก ๆ นั้น เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นการแต่งตัวตามหมอลำประยุกต์ ก็คือนุ่งสั้นชะเวิกชะวาก ประมาณ "สั้นเสมอหู" ซึ่งเป็นภาพพจน์ที่ไม่ดี จากการที่ผู้ใหญ่หลายต่อหลายคนทำให้เด็ก ๆ เห็น แล้วก็ไปชื่นชมว่าเป็นการแต่งตัวที่สวยงาม ถ้าหากว่าเป็นผู้ใหญ่ก็พอที่จะชมว่าสวยงามได้ แต่ด้วยความที่เป็นเด็ก ๆ รูปร่างยังไม่มีรูปไม่มีทรง แล้วไปแต่งตัวแบบนั้น โดยไปชื่นชมว่าเป็นของดีของงามก็น่าจะไม่ใช่แล้ว..!

โดยเฉพาะท่าเต้นบางอย่างที่เด้งหน้าเด้งหลังนั้น เด็ก ๆ อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร เห็นว่าสนุกสนานเข้ากับจังหวะดนตรี แต่ว่าผู้ใหญ่นั้นรู้อยู่เต็มอก
ดังนั้น..ถ้าหากว่าเป็นเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เราอาจจะเปลี่ยนเป็นเสียงพิณ เสียงแคน จังหวะมัน ๆ แล้วก็ให้เด็กมาเซิ้งมาฟ้อนกัน น่าจะสนุกสนานและมีในส่วนของการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่ดีมากกว่า
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2025 เมื่อ 02:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 13-02-2025, 00:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ท่านทั้งหลายอาจจะคิดว่า ในเรื่องของศิลปวัฒนธรรมต้องมีพัฒนาการ กระผม/อาตมภาพก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะว่าเข้าใจเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เป็นอย่างดี แต่ว่าตำหนิตรงที่ว่า เด็กนักเรียนประถมต้นบ้าง อนุบาล ๑ อนุบาล ๒ อนุบาล ๓ บ้าง แล้วมาแต่งตัวแสดงในลักษณะอย่างนี้ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะว่าเป็นการแสดงออกที่ผู้ใหญ่เห็นว่า "แก่แดด" เสียมากกว่า ในเรื่องแบบนี้ ถ้าเราสนับสนุนไป นานไปเด็กทั้งหลายเหล่านี้ก็จะอยู่ในลักษณะ "โตเร็วเกินอายุ" แล้วสังคมบ้านเราก็คงจะวุ่นวายไปกว่านี้อีกมาก..!

เรื่องศิลปวัฒนธรรมเป็นรากฐานประเทศชาติของเรา ในส่วนใดที่ดีเราควรที่จะสืบทอดเอาไว้ ในส่วนของการเรียกแขกเรียกคน โดยเฉพาะหนุ่ม ๆ สาว ๆ ตกมันเหล่านั้น ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่เขาเถิด เราเป็นคุณครู เป็นแม่พิมพ์ของชาติ อย่างไรเสีย แบบพิมพ์ที่เราพิมพ์ออกมาก็อย่าให้บิดเบี้ยวมากนัก ถึงแม้จะไม่สวยงามระดับเกรด A ก็ขอให้ได้สัก B+ ก็ยังดี

มาถึงช่วงเช้าวันนี้ เป็นวันขึ้น ๑๕ เดือน ๓ มาฆบูชา พระภิกษุวัดท่าขนุนไม่ได้ออกบิณฑบาต เมื่อไปฉันเช้าที่โรงครัวแล้ว ก็เข้าอุโบสถ ทำการอุปสมบทหมู่ บุคคลที่ตั้งใจอุปสมบทเพื่อปฏิบัติธรรมในสัปดาห์วันมาฆบูชาปี ๒๕๖๘ ซึ่งตอนแรกนั้นผ่านการขานนาคมาได้ทั้งหมด ๙ ท่านด้วยกัน

แต่ด้วยความว่ามีท่านหนึ่ง ซึ่งเมื่อเจองานต่าง ๆ ของวัดท่าขนุนเข้าไปแล้ว รู้สึกว่าวุ่นวาย ไม่ตรงกับจริตของท่าน จริตของท่านอยู่ในลักษณะที่ว่า เมื่อบิณฑบาตฉันแล้วก็ต้องนั่งสมาธินิ่ง ๆ ดูจิตดูใจตนเองไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องทำมาหากินอะไรประมาณนั้น เมื่อมาเจองานวุ่นวายที่วัดท่าขนุน โดยเฉพาะเมื่อวานมีไฟป่าไหม้ ต้องระดมพระภิกษุไปช่วยกันทำแนวกันไฟ ท่านก็เลยถึงโอกาส "ฟิวส์ขาด" ไม่สามารถที่จะรับเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ได้ พาญาติโยมหนีกลับบ้านไปแล้ว..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2025 เมื่อ 02:04
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 13-02-2025, 00:54
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

กระผม/อาตมภาพก็ไม่ได้ว่าอะไร เนื่องเพราะว่าตนเองโตมาด้วยการฝึกงานเป็นกรรมฐาน เข้าใจดีว่าท่านที่นั่งนิ่ง ๆ อย่างเดียว โดยไม่ทำมาหารับประทานอย่างอื่นนั้น ไม่ช้าก็เครียดจนไปต่อไม่ไหว..!

หลายต่อหลายท่านที่บวชแล้ว ก็ยื่นข้อต่อรองกับพระอุปัชฌาย์อย่างกระผม/อาตมภาพว่า อยากอยู่ในที่นิ่ง ๆ ในที่เงียบ ๆ แต่เมื่อส่งไปอยู่ที่เกาะพระฤๅษี ก็เผ่นออกมาในเวลาอันไม่นาน เนื่องเพราะว่าทนความเงียบไม่ไหว ถึงขนาดบ่นว่า "นั่นก็เงียบเกินไป เงียบจนได้ยินลมหายใจตัวเอง ทำเอาหลอนไปเลย" เหล่านี้เป็นต้น แสดงว่าจิตใจของตนเองนั้นกลับกลอกมาก ต้องการแบบนั้น แต่พอได้กลับไม่อยากที่จะทำ

เมื่อออกจากอุโบสถมาแล้ว กระผม/อาตมภาพก็ขึ้นแสดงพระธรรมเทศนาเนื่องในวันมาฆบูชา แล้วก็มาทำการเจริญพระพุทธมนต์ รับถวายภัตตาหารสังฆทาน อปโลกน์และให้พรแล้ว ก็ปล่อยให้พระภิกษุวัดท่าขนุนของเรา ไปทำการเจริญพระพุทธมนต์ฉลองพระใหม่ ตัวเองที่ไข้ขึ้นจนหมดสภาพ รีบฉันเพลแล้วก็นอนพัก จนกระทั่งช่วงบ่ายก็มาลงอุโบสถ ทบทวนพระปาฏิโมกข์ร่วมกับพระภิกษุอื่น รวมแล้ว ๔๑ รูป จากนั้นก็ปล่อยให้ทุกท่านไปวางผางประทีป เพื่อตามถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา หน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไร ท่านทั้งหลายคงต้องรอดูทางเฟซบุ๊กภายในคืนนี้

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๘
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2025 เมื่อ 02:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:37



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว