#1
|
||||
|
||||
ปกิณกโอวาทก่อนบวชเนกขัมมะ ช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี ๒๕๖๒
ญาติโยมมาเยอะกว่าที่คิด แสดงว่าไม่มีอะไรจะทำ ก็เลยมานั่งทรมานตัวเองเล่น ๆ เรื่องพวกนี้ต้องบอกว่า เป็นสามัญสำนึกในการที่ทุกคนต้องการความดี เพียงแต่ว่าความดีนั้นเราจะแสดงออกอย่างไรให้เห็นได้ชัดเจน ก็ต้องเป็นเรื่องของการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
ให้ทาน อย่างเช่นว่าเราใส่บาตร ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก รักษาศีลก็มีการสมาทาน ภาษาชาวบ้านบอกว่าขอศีล แต่พอขอศีลเมื่อไร พระไม่ให้ พระให้สมาทานศีล คำว่าสมาทานก็คือศึกษาว่าศีลเป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร แล้วก็ทำตาม คราวนี้เราขอศีล ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ แล้วแต่ว่าขอหลายคนหรือขอคนเดียว พระก็ไม่ให้ศีลอีก พระให้สิกขาบท สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เธอจงศึกษาข้อกำหนดนี้นะ ขอศีลแต่ให้สิกขาบท ก็คือถ้าฟังบาลีไม่ออกก็หมดเรื่อง ฟังบาลีออกแล้วจะงง ๆ ว่า ทำไมขออย่างหนึ่งแล้วให้อีกอย่างหนึ่ง ?
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-09-2019 เมื่อ 17:58 |
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ศีล แปลว่า ปกติ คำว่า ปกติ คือความต้องการของมนุษย์และสัตว์ทั่ว ๆ ไป ก็คือไม่มีใครอยากให้เขามาฆ่าเรา เราก็ไม่ควรที่จะไปฆ่าใคร ไม่มีใครอยากให้เขามาทำร้ายเรา เราก็ไม่ควรที่จะไปทำร้ายใคร ไม่มีใครอยากให้เขามาลักขโมยข้าวของของเรา เราก็อย่าไปลักขโมยของใคร ไม่มีใครอยากให้เขามาแย่งคนที่เรารัก ของที่เรารัก เราก็อย่าไปแย่งคนรัก อย่าไปแย่งของรักคนอื่น ไม่มีใครอยากฟังคำโกหกมดเท็จ เราก็อย่าไปโกหกหลอกลวงคนอื่น ไม่มีใครอยากขาดสติสัมปชัญญะ ออกอาการเหมือนกับคนบ้าในสายตาคนอื่น เราก็อย่าไปดื่มสุรา อย่าไปเสพยาเสพติด
คำว่า ศีล ที่แปลว่าปกติ ก็คือปกติความต้องการของมนุษย์และสัตว์เป็นอย่างนั้น คนยุคก่อนมักจะเรียกคู่กันไปว่า ศีลธรรม
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-09-2019 เมื่อ 17:59 |
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
ศีลคือข้อห้าม ธรรมคือข้อปฏิบัติ เป็นของคู่กัน อย่างเช่นว่าถ้าห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามทำร้ายสัตว์ ก็ต้องปฏิบัติในเมตตาพรหมวิหารคู่กันไป ห้ามลักขโมยหยิบฉวยช่วงชิงของเขา ก็ต้องปฏิบัติในทานคู่กันไป คือนอกจากไม่เอา เราก็ให้แทน ไม่แย่งชิงคนรักของคนอื่น ของรักของคนอื่น ก็ต้องมีสันโดษ ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
ไม่ต้องการให้เขาพูดโกหกมดเท็จ ก็ต้องใช้ปิยวาจา พูดดี พูดเพราะ วาจาที่ไม่ดีมีอะไรบ้าง ? มี สัมผัปปลาปวาจา เรียกว่าพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่เรื่องที่ไร้ประโยชน์ ปิสุณาวาจา คำพูดที่ส่อเสียด ยุแยงตะแคงรั่ว ให้คนอื่นเขาแตกร้าวกัน ผรุสวาจา คำพูดเหมือนขวานถาก บางคนบอกว่าคือพูดคำหยาบ...ไม่ใช่...บางคนพูดเพราะมาก เป็นพวกที่คอยเสียดสีถากถาง เยาะเย้ยคนอื่น ผรุสวาจา วาจาเหมือนขวานถาก ถากได้ทุกอย่างยกเว้นแต่ด้ามตัวเอง..! ใครเคยเห็นขวานถากด้ามตัวเองได้บ้าง ? ท้ายที่สุดคือมุสาวาจา พูดโกหก เราต้องงดเว้นเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ไปใช้ปิยวาจา และท้ายที่สุดเราเว้นจากการดื่มสุรา เสพยาเสพติด ซึ่งทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ เราก็ต้องปฏิบัติธรรม เพิ่มสติสัมปชัญญะให้กับพวกเรา ดังนั้นที่โบราณเรียกว่าศีลธรรม จึงเป็นของที่คู่กัน เว้นอย่างหนึ่ง ต้องทำอีกอย่างหนึ่ง เว้นอย่างเดียวไม่ได้ทำ ก็ไม่มีความดีอะไรเพิ่มขึ้น
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-09-2019 เมื่อ 18:01 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
เมื่อศีลธรรมปฏิบัติมากเข้า...มากเข้า กลายเป็นคุณสมบัติประจำตัว เรียกว่า คุณธรรม คือความดีเฉพาะของคนนั้น ๆ เมื่อความดีปรากฏชัด คนอื่นเลียนแบบทำตาม เรียกว่า จริยธรรม คือแบบอย่างในการปฏิบัติ
เพราะฉะนั้น..สามคำนี้ต้องเรียงให้ถูก ก็คือศีลธรรม ปฏิบัติไปแล้วกลายเป็นคุณธรรม คุณธรรมปรากฏชัด คนอื่นทำตามเรียกว่าจริยธรรม ส่วนใหญ่เราจะเรียกว่า คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม แต่ความจริงศีลธรรมต้องขึ้นหน้าก่อน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-09-2019 เมื่อ 18:01 |
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
ไม่มีใครจดเล็กเชอร์สักคน สงสัยว่าวันนี้จะบรรยายฟรี บรรยายจบแล้วไม่เหลืออะไรไว้ในหัวเลย ส่วนใหญ่ก็อาศัยเครื่องบันทึกเสียง อาตมาเป็นเด็กโบราณ สมัยอยู่วัดท่าซุงกับหลวงพ่อฤๅษีฯ ด้วยความเคยชินตั้งแต่วัยรุ่น ท่านบอกว่ากระดาษกับปากกาให้ใกล้มือไว้เสมอ ไม่อย่างนั้นเวลาพระหรือเทวดาท่านบอกอะไร ถ้าเราไม่รีบจดไว้ก็จะลืม
เป็นเรื่องอัศจรรย์มาก อาตมาเป็นคนความจำดีเป็นพิเศษ วันก่อนท่านเจ้าคุณทิน (พระโสภณพัฒนคุณ) บอกเบอร์โทรศัพท์พระครูอุทัย ก็คือท่านพระครูสุวิมลกาญจนวัฒน์ พระครูสุวิมลกาญจนวัฒน์ก็จด ๐๘๕ - ๒๕๔ - ๘๑๑๑ แต่พระอาจารย์เล็กจำเข้าไปในหัวแล้ว บางคนเห็นอาตมาหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วกดเบอร์ ถามว่าไม่ได้บันทึกเบอร์ไว้หรือ ? สองสาเหตุด้วยกันที่ไม่ได้บันทึกไว้ สาเหตุแรกคือเก็บไม่เป็น สาเหตุที่สองก็คือจำได้ ไม่รู้ว่าจะบันทึกเบอร์ให้ดูถูกสมองตัวเองไปทำไม...! ในเมื่อเราจำจะดีกว่า แต่โอกาสพลาดก็มี นักปราชญ์ท่านถึงได้บอกว่า จำไว้ดีกว่าจด แต่ถ้าจำไม่หมด จดไว้ดีกว่าจำ ตกลงว่าอะไรดีกว่ากันแน่ ?
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-09-2019 เมื่อ 19:38 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
ดังนั้น..อาตมาก็ถือบันทึกติดมือตลอดเวลา เข้าโบสถ์ไป หลวงพ่อท่านพูดเรื่องอะไรก็จด ๆ ๆ การจดตอนนั้นได้เปรียบมาก ได้เปรียบเพราะว่าถ้ากำลังใจของเราอยู่ตรงไหน สิ่งนั้นเราจะฟังเข้าใจเลย จดไว้จะเป็นประโยชน์ต่อกำลังใจของเราตอนนั้นมาก แต่ถ้าเราบันทึกเสียง บางทีกำลังใจยังไม่ถึง ก็ฟังไม่รู้เรื่อง จนกว่ากำลังใจจะถึงจุดนั้น แล้วก็จะมาสงสัยว่า เราฟังข้ามตรงนั้นไปได้อย่างไร
มีวันร้ายคืนร้ายไฟฟ้าดับ ออกจากโบสถ์มาหลวงพี่ชัยวัฒน์ก็วิ่งหา "ท่านเล็ก..ผมยืมบันทึกหน่อย" หลวงพี่บัญชาตามมาอีกคน "ผมต่อคิวนะ" แล้วทำไมไม่จดเสียเองวะ ? ที่จดเอาไว้นั่นคือกำลังใจของอาตมา ไม่ใช่กำลังใจของพี่ ๆ เขา ถ้าหากว่าไม่ตรงกับกำลังใจของพี่ ๆ เขา ที่อาตมาจดไว้ก็ไร้ประโยชน์ ดังนั้น...ถึงเวลาแล้วปฏิบัติตามโบราณ ไม่บานบุรีอย่างแน่นอน อาตมาขอยืนยัน เพราะว่าตัวเองปฏิบัติมาโดยตลอด
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-09-2019 เมื่อ 19:40 |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
ความจำดีขนาดนี้ ถึงเวลาพระท่านสั่งงาน มั่นใจว่าจำได้แน่นอน ท่านสั่งแค่สามข้อ ปรากฏว่ารอให้สว่างขึ้นมา หายไปชนิดแคะไม่เจอ นึกให้ตายก็ได้แค่ข้อเดียว สมน้ำหน้าตัวเองที่ไม่ยอมจด
นิมิตต่าง ๆ ที่ได้จากกรรมฐานก็เหมือนกัน ถ้าไม่จดเอาไว้ ถึงเวลาจะหายหมด เพราะว่าไม่ใช่ของเรา ที่จำได้นั้นของเรา แต่ส่วนที่ยังจำไม่ได้เพราะทำไม่ได้นั่นไม่ใช่ของเรา เพราะฉะนั้น..ถ้าท่านบอกให้รีบจดไว้ ตอนนี้ไม่ทันแล้ว ทน ๆ จำไปก่อนก็แล้วกัน ให้รู้ว่าคราวหน้าเราต้องติดกระดาษปากกาเอาไว้ด้วย ถึงเวลาจะได้ใช้งาน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-09-2019 เมื่อ 19:41 |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
อย่างที่บอกว่าเวลาดูแลพวกเราก็น้อย งานของอาตมาก็มากขึ้นทุกวัน ตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตขึ้น การงานก็มากขึ้นตามไปด้วย เพราะว่าตำแหน่งมาพร้อมกับหน้าที่ ดังนั้น...ใครที่อยากได้ยศ อยากได้ตำแหน่ง แต่ไม่อยากได้งานนั้นเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างจะมาพร้อมกัน เป็นเงาตามตัว
พวกเราเมื่อถึงเวลาเห็นอาตมาหายไป อย่าเพิ่งฝ่อตาย ไปแล้วจะรีบกลับมา พรุ่งนี้ก็ครึ่งค่อนวันกว่าจะจบภารกิจ กลับมาก็คงเย็นเลย มะรืนนี้ยิ่งสาหัสเข้าไปใหญ่ เพราะว่าทำพิธีปิดตรงนี้แล้วก็ต้องรีบวิ่งลงไปวัดใต้ ถวายมุทิตาสักการะเจ้าคณะจังหวัด ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนจากเจ้าคุณชั้นราช เป็นพระเทพปริยัติโสภณ แล้วก็วิ่งยาวไปพุทธาภิเษกที่วัดกษัตราธิราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโน่น..! พระเรานี่ยิ่งแก่เขาก็ยิ่งใช้ ส่วนคนแก่เขาให้เกษียณ อาตมาเวลาเห็นคนแก่เกษียณแล้วอิจฉา บ่นมากไปก็ไม่ดี เข้าสู่การปฏิบัติของเราดีกว่า งานนี้เราปฏิบัติเพื่อถวายพระราชกุศลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ต้องตั้งใจให้เต็มที่หน่อย พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. ปกิณกโอวาทก่อนบวชเนกขัมมะช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี ๒๕๖๒ ณ วัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย ทะเล)
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-09-2019 เมื่อ 19:44 |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|