|
ฝากคำถามถึงหลวงพ่อ คุณสามารถตั้งคำถาม และทีมงานจะรวบรวม และคัดกรองเพื่อนำไปถามหลวงพ่อในตอนเย็นวันอาทิตย์ที่หลวงพ่อมารับสังฆทาน |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
|||
|
|||
![]()
จากการที่ได้ลองสังเกตตัวเองมาเป็นปีแล้ว ถ้าผมได้ทำในสิ่งที่ชอบ อารมณ์ใจของผมจะทรงตัวได้ง่ายมาก แทบจะทรงตัวทันทีที่ได้ทำสิ่งนั้น ยิ่งได้ทำ ใจก็ยิ่งทรงตัว ยิ่งได้ทำ ใจก็ยิ่งรักในสิ่งนั้น เมื่อมีความรักในสิ่งนั้น ๆ มากขึ้น ก็จะเริ่มหาเหตุผลมารองรับว่าผมชอบสิ่งนั้นเพราะอะไร ซึ่งจะสามารถหาเหตุผลมากล่าวอ้างได้มากมาย เวลาที่ใครมาตำหนิในสิ่งที่ผมชอบ ผมก็มักจะหาเหตุผลมาอธิบายได้เสมอ
แต่สิ่งที่ผมชอบนั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องของทางโลก ผมว่าน่าจะนำวิธีนี้มาใช้กับทางธรรมได้ เพราะผมถนัดแบบนี้ ถ้าผมต้องการจะไปพระนิพพาน ผมจะต้องมีใจที่รักในพระนิพพานจริง ๆ ถ้าผมรักในพระนิพพานจริง ๆ ได้เมื่อไหร่ ทุกอย่างที่ผมทำก็จะเป็นไปเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว โดยที่ผมไม่ต้องฝืนใจทำแต่อย่างใดอีก แต่ปัญหาของผมตอนนี้ก็คือ ผมไม่รู้ว่าอารมณ์ของพระนิพพานเป็นอย่างไร ที่พอจะนึกออกก็มีแค่ความสงบของสมาธิเวลาที่ทรงตัวเท่านั้น ผมลองพยายามพูดออกมาเสมอเวลาที่ไหว้พระเสร็จ ว่าโลกนี้ไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา พูดถึงเหตุผลที่ว่าทำไมโลกนี้ถึงไม่น่าอยู่ เพราะมีแต่ความทุกข์ มีแค่พระนิพพานเท่านั้นที่ไม่ทุกข์ ผมก็พยายามพูดทุกวัน เพราะถ้าพูดออกมาแล้วจะทำให้ผมเข้าใจได้ง่ายขึ้นมากกว่าการคิดอย่างเดียว แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีความเศร้าหมองปนอยู่ด้วย ว่าผมยังอยากจะอยู่ในโลกนี้ เพราะโลกนี้ยังมีความสุขอยู่บ้าง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกนี้ก็มีความทุกข์อยู่เยอะมากจริง ๆ ไปพระนิพพานเลยน่าจะดีกว่า ผมก็พยายามคิดแบบนี้ แต่ใจก็ยังไม่รักในพระนิพพานจริง ๆ ในเมื่อผมไม่รู้ว่าอารมณ์ของพระนิพพานเป็นอย่างไร ผมก็เลยไม่สามารถรักในพระนิพพานได้จากใจจริง ถ้าผมสามารถรักพระนิพพานได้จริง ๆ เมื่อไหร่ ผมคิดว่าผมก็น่าจะมีโอกาสบรรลุธรรมได้บ้าง ไม่ทราบว่าสำหรับคนกิเลสหนาอย่างผม จะพอมีวิธีทำอย่างไรให้จิตรักในพระนิพพานได้จริง ๆ บ้างครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รุ้งทรงกลด : 01-12-2020 เมื่อ 22:00 |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ รุ้งทรงกลด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : จากการที่ได้ลองสังเกตตัวเองมาเป็นปีแล้ว ถ้าผมได้ทำในสิ่งที่ชอบ อารมณ์ใจของผมจะทรงตัวได้ง่ายมาก แทบจะทรงตัวทันทีที่ได้ทำสิ่งนั้น ยิ่งได้ทำ ใจก็ยิ่งทรงตัว ยิ่งได้ทำ ใจก็ยิ่งรักในสิ่งนั้น เมื่อมีความรักในสิ่งนั้น ๆ มากขึ้น ก็จะเริ่มหาเหตุผลมารองรับว่าผมชอบสิ่งนั้นเพราะอะไร ซึ่งจะสามารถหาเหตุผลมากล่าวอ้างได้มากมาย เวลาที่ใครมาตำหนิในสิ่งที่ผมชอบ ผมก็มักจะหาเหตุผลมาอธิบายได้เสมอ
แต่สิ่งที่ผมชอบนั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องของทางโลก ผมว่าน่าจะนำวิธีนี้มาใช้กับทางธรรมได้ เพราะผมถนัดแบบนี้ ถ้าผมต้องการจะไปพระนิพพาน ผมจะต้องมีใจที่รักในพระนิพพานจริง ๆ ถ้าผมรักในพระนิพพานจริง ๆ ได้เมื่อไหร่ ทุกอย่างที่ผมทำก็จะเป็นไปเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว โดยที่ผมไม่ต้องฝืนใจทำแต่อย่างใดอีก แต่ปัญหาของผมตอนนี้ก็คือ ผมไม่รู้ว่าอารมณ์ของพระนิพพานเป็นอย่างไร ที่พอจะนึกออกก็มีแค่ความสงบของสมาธิเวลาที่ทรงตัวเท่านั้น ผมลองพยายามพูดออกมาเสมอเวลาที่ไหว้พระเสร็จ ว่าโลกนี้ไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา พูดถึงเหตุผลที่ว่าทำไมโลกนี้ถึงไม่น่าอยู่ เพราะมีแต่ความทุกข์ มีแค่พระนิพพานเท่านั้นที่ไม่ทุกข์ ผมก็พยายามพูดทุกวัน เพราะถ้าพูดออกมาแล้วจะทำให้ผมเข้าใจได้ง่ายขึ้นมากกว่าการคิดอย่างเดียว แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีความเศร้าหมองปนอยู่ด้วย ว่าผมยังอยากจะอยู่ในโลกนี้ เพราะโลกนี้ยังมีความสุขอยู่บ้าง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกนี้ก็มีความทุกข์อยู่เยอะมากจริง ๆ ไปพระนิพพานเลยน่าจะดีกว่า ผมก็พยายามคิดแบบนี้ แต่ใจก็ยังไม่รักในพระนิพพานจริง ๆ ในเมื่อผมไม่รู้ว่าอารมณ์ของพระนิพพานเป็นอย่างไร ผมก็เลยไม่สามารถรักในพระนิพพานได้จากใจจริง ถ้าผมสามารถรักพระนิพพานได้จริง ๆ เมื่อไหร่ ผมคิดว่าผมก็น่าจะมีโอกาสบรรลุธรรมได้บ้าง ไม่ทราบว่าสำหรับคนกิเลสหนาอย่างผม จะพอมีวิธีทำอย่างไรให้จิตรักในพระนิพพานได้จริง ๆ บ้างครับ ? ตอบ : ให้คิดอยู่เสมอว่าเราต้องตาย ถ้าตายไปแล้วคนชั่ว ๆ แบบเราต้องลงนรกแน่ ๆ มีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะช่วยเราให้รอดพ้นไปได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ที่ใดเลยนอกจากพระนิพพาน เรานึกถึงพระองค์ท่าน เท่ากับเราอยู่ใกล้กับพระองค์ท่าน เราอยู่ใกล้กับพระองค์ท่านก็คือเราอยู่กับพระนิพพาน แล้วรักษาเอารมณ์สุดท้ายนี้เอาไว้ ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ พยายามทำบ่อย ๆ ทุกวัน ท้ายสุดก็จะรักพระนิพพานไปเอง |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
Tags |
พระนิพพาน |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|