#1
|
|||
|
|||
![]()
หลักคำสอนของตถาคตมุ่งที่อริยสัจ
หรือกฎของกรรมตัวเดียวกัน สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้ ๑. “เจ้าเห็นหรือยังว่า โลกนี้ทั้งโลกเต็มไปด้วยความทุกข์” (รับว่า เห็นแล้ว) ๒. “มันเป็นธรรมดาหรือผิดธรรมดา” (รับว่า เป็นธรรมดา) ๓. “เมื่อเป็นธรรมดาแล้ว จิตเราจักไปอึดอัดขัดข้องกับมันทำไม ปล่อยให้จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา มีอารมณ์สบาย ๆ มีการกำหนดรู้ว่า นี่เป็นทุกข์ เป็นอริยสัจ มิใช่ไม่ยอมรู้ว่าเป็นทุกข์” ๔. “ผู้กำหนดรู้จึงจักพ้นทุกข์ไปได้ มิใช่ปล่อยให้ทุกข์มันผ่านไปเฉย ๆ อาศัยความไม่รับรู้ ขาดสติสัมปชัญญะก็ใช้ไม่ได้ ตถาคตเจ้าทั้งหลายสอนสติสัมปชัญญะให้มี ให้เกิดแก่พุทธบริษัททุก ๆ พุทธันดร มิใช่สอนให้ไม่รู้ สอนให้ขาดสติสัมปชัญญะนั้น ย่อมมิใช่หนทางของผู้พ้นทุกข์” ๕. “เมื่อรู้ทุกข์ ก็ให้พิจารณาทุกข์นั้นตามหลักของอริยสัจ รู้แจ้งเห็นจริงตามนั้นเป็นปกติ แล้ววางทุกข์นั้นลงเสีย อย่าให้เกาะยึดอยู่ในจิต” ๖. “ทุกอย่างต้องถูกกระทบก่อน จึงจักเป็นของจริงในพุทธศาสนา นักปฏิบัติกรรมฐานจักต้องวัดอารมณ์กันที่ตรงนี้ อย่าให้กิเลสมันหลอกเรา หากอยู่สงบ ๆ โดยไม่ถูกกระทบก็หลงคิดว่าตนเองแน่แล้ว จึงถูกกิเลสหลอกอยู่ตลอดเวลา” ๗. “เพราะฉะนั้น จงอย่ากลัวอารมณ์กระทบ ให้เอามาเป็นครู พิจารณาให้ลงตัวธรรมดา ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามสภาวะของธรรมซึ่งมีความไม่เที่ยงเป็นปกติ” ๘. “อย่าไปยึดเกาะความไม่เที่ยง เพราะมันทุกข์อยู่ตามปกติเป็นธรรมดา จงปล่อยวางทุกข์นั้นด้วยกำลังของอริยสัจ ให้พิจารณาวนไปวนมาอยู่อย่างนี้เป็นปกติ มองความไม่เที่ยง มองความสกปรก มองความทุกข์ของร่างกายให้ชัดตามความเป็นจริง เพียรทำให้ได้บารมีก็จักสะสมและเต็มได้ในที่สุด” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 14:45 |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|