กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 22-03-2011, 11:31
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ศัตรูของโลกธรรม ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศัตรูของโลกธรรม ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ต่อดังนี้

๑. “ศัตรูของโลกธรรม ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ตถาคตยกอุปมาเพียงโลกธรรม ๔ เพราะจุดนี้ติดมาก และเป็นการถูกต้องที่นำมาพิจารณาจนครบ ๘ ทั้งโลกธรรมภายนอกและภายใน ดูอารมณ์จิตของตนเองเอาไว้ให้ดี จักพอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี ไม่ถูกทั้งคู่ ครั้นจักให้จิตอยู่ในอารมณ์อัพยากฤตทรงความเฉย ๆ อยู่โดยไม่มีฐานรองรับก็เป็นของยาก มันอยู่ได้ไม่นาน เพราะฉะนั้น จึงต้องหาหลักปักไว้เป็นเครื่องยึดให้อารมณ์เฉยนั้นทรงตัวเข้าไว้

๒. “เบื้องต้นเป็นอันดับแรก คือ สมถภาวนาในอานาปานุสติกรรมฐาน รู้ลมเข้าออกเข้าไว้ เป็นการบังคับจิตให้อยู่ในความสงบของอารมณ์ฌานได้ระยะหนึ่ง แล้วอันดับนี้ต้องเรียกว่ามีสมาธิกำหนดรู้คือตั้งใจทำกันให้จริง ๆ มิใช่ทำบ้างหยุดบ้าง ขี้เกียจก็เลิก ขยันก็ทำ อย่างนี้ก็ไม่เป็นเรื่อง เหมือนคนมีตุ่มใส่น้ำใช้ เห็นมันพร่องอยู่ค่อนตุ่ม ทั้ง ๆ ที่จักต้องตักน้ำเติมอยู่แล้ว แต่ขี้เกียจทำ ไม่เอาว่ะ ยังพอมีใช้วันหลังค่อยตักก็ได้ นี่สภาพจิตมันบิดตะกูดอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา จึงหาความเพียรจริง ๆ ไม่ได้สักที”

๓. “เมื่อรู้ลมเข้าลมออก จักควบกับคำภาวนาได้ด้วยยิ่งดี หรือจักบวกภาพพระอันเป็นกสิณให้จิตทรงตัวได้ก็ยิ่งดี เมื่อจิตมีกำลังก็ถอนออกจากสมาธิมาพิจารณาหรือวิปัสสนาสภาพของขันธ์ ๕ หรือสภาพของอารมณ์ที่เกาะติดขันธ์ ๕ จุดไหนด้วยการใช้ปัญญาแกะจุดนั้น”

๔. “หากเกิดอารมณ์เบื่อร่างกาย ให้พยายามวางเฉยลงในกฎธรรมดาของร่างกาย กำหนดพิจารณารู้ลมหายใจเข้าออกให้เป็นวิปัสสนาญาณ เห็นลมหายใจเข้าออกก็ไม่เที่ยง สักวันหนึ่งเมื่อมันหยุดหายใจ ร่างกายนี้ก็จักต้องตายไปตามกฎของธรรมดา ไตรลักษณญาณคลุมหมดธรรมดาของมันเป็นอย่างนั้น

๕. “ถ้าเรายังมีความเบื่อหน่าย มีอารมณ์หดหู่ก็ถือว่าเป็นอารมณ์เศร้าหมองมีความไม่พอใจ ฝืนกฎธรรมดา ควรจักปล่อยวางไม่ใช่ไปเศร้าใจกับกฎธรรมดานั้น นี่มันทุกข์กับไตรลักษณ์เสียแล้วหรือ ความทุกข์ของร่างกายหรือไตรลักษณ์นี้ฝืนไม่ได้ จักเศร้าโศกเสียใจไปกับมันทำไมเพราะเป็นธรรมดาของมัน มันเที่ยงอยู่อย่างนั้น มันมีเกิด แล้วก็แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา เราก็วางเฉยในมัน เพราะรู้ด้วยปัญญาว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่ตัวตนของเรา หรือของใคร มันเป็นกฎไตรลักษณ์ คือ ธรรมดาของมันเป็นอย่างนี้เอง พิจารณาไปให้จิตมันสงบ จนกระทั่งยอมรับนับถือกฎธรรมดา จิตก็จักเป็นสุข คือ วางเฉยในไตรลักษณ์ได้ ทำให้ดี ๆ นะ จักได้ถึงพระอรหันต์ไม่ยากนัก


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 23-03-2011 เมื่อ 10:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:52



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว