กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 09-03-2011, 09:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ให้ดูอารมณ์จิตตัวเดียว ดูแต่ความเลวของตน

ให้ดูอารมณ์จิตตัวเดียว ดูแต่ความเลวของตน


สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. “กิจ ๒ ประการที่ต้องจำไว้ให้ดี ๆ คือ เรื่องกิจของงานทางโลกให้ทำไปเรื่อย ๆ ในทางสายกลาง ใครจักว่าอย่างไรก็ช่างเขา ให้ถือเอาเจตนาบริสุทธิ์เป็นหลักสำคัญ กับเรื่องกิจของงานทางธรรมซึ่งทำที่จิตเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อความหลุดพ้นหรือพ้นทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย เป็นชาติสุดท้ายในทางสายกลางเช่นกัน”

๒. “เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเองมิใช่ให้ดูความดี ถ้าระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้นในจิตได้เพียงประการเดียว ความดีก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่ายเพียงแต่บังคับจิตให้คิดอยู่ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หรือมหาสติปัฏฐาน ๔ กองใดกองหนึ่ง ก็ย่อมได้ตลอดเวลา สำคัญคือต้องใช้อารมณ์ให้เป็นมวย ต้องรู้เท่าทัน มีชั้นเชิงชกให้เป็น”

๓. “การต่อสู้กับกิเลส มิใช่จักมานั่งประมาทเฉย ๆ นั้นก็ชนะกิเลสไม่ได้ จักต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วย โดยใช้จริตหกนั่นแหละเป็นอาวุธ หากใช้เป็นผลที่ได้รับก็คือมีแต่ชัยชนะลูกเดียว”

๔. “อย่าสนใจร่างกายจนเกินพอดี บางคนห่วงกาย ปรนเปรอร่างกายจนเกินพอดี เป็นการเพิ่มสักกายทิฏฐิ มิใช่ลดสักกายทิฏฐิ แต่บางคนก็ไร้ปัญญา เบียดเบียนร่างกายจนเกินไป แม้กายจักหิว-กระหายก็ไม่ให้กิน ไม่ให้ดื่ม ทั้ง ๆ ที่พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์อนุญาตให้บริโภคเภสัชทั้ง ๕ ได้ในยามวิกาล รวมทั้งน้ำปานะด้วย” (เภสัชทั้ง ๕ มีนมสด, นมส้มหรือนมเปรี้ยว, เนยแข็ง, เนยเหลว คือพวกน้ำมันจากพืชและสัตว์, น้ำผึ้ง-น้ำอ้อย-น้ำผลไม้ที่ลูกเล็กกว่ากำปั้นมือคนโบราณ)

๕. “บางคนป่วยแต่ไม่ยอมรับการรักษา คิดว่าตนเองทนสู้โรคได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นความโง่ หลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นี่ตถาคตมิได้ตรัสเพื่อให้พวกเจ้าไปตำหนิพระ เพียงแต่ตรัสเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่พวกเจ้า ให้รู้เท่าทันสภาวะของร่างกายตามปกติ อย่าฝืนโรคจนเกิดเป็นภัยเบียดเบียนตนเอง ในขณะที่ร่างกายมันยังทรงชีวิตอยู่ ให้รู้จักรักษาร่างกายไว้ เพื่อไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้มากจนเกินไป”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 10-03-2011, 12:13
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๖. “การรู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริงของร่างกาย เสมือนหนึ่งเราได้เรียนรู้สภาวะของอักขระ พยัญชนะของตัวหนังสือ เราเข้าใจตามความเป็นจริงก็อ่านออกเขียนได้ มีความเข้าใจไม่ผิดพลาดฉันใด ร่างกายนั้นก็เช่นเดียวกัน เราเรียนรู้ว่ามันเสื่อมมันพร่องลงไปทุกวัน มันอยู่ได้ด้วยสันตติ เราก็เรียนรู้สันตตินั้น เห็นความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็นของธรรมดา

๗. “เมื่อยังไม่ตาย ร่างกายมันก็มีเวทนาทุกวัน เราก็มีหน้าที่บรรเทาทุกขเวทนาให้มันทุกวัน แต่เพียงพอดี นี่ก็เข้าหลักมัชฌิมาปฏิปทาเหมือนกัน พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์สอนเหมือนกันหมด เรื่องทางสายกลาง คือ ความพอดี ไม่เบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ ของตนเองและผู้อื่น ศีล สมาธิ ปัญญา กำหนดลงอยู่ตรงนี้เช่นกัน บุคคลผู้สิ้นความเบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ คือ ผู้เข้าถึงอรหัตผล

๘. “ตัวอย่างธรรมะมีให้พวกเจ้าเห็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคนหรือสัตว์ วัตถุธาตุ สุดแล้วแต่พวกเจ้าจักเห็น หรือสามารถนำมาพิจารณาลงในแง่ไหนได้เท่านั้นเอง พยายามเลิกเบียดเบียนตนเองเสียให้ได้ โดยใช้สังโยชน์เป็นหลักปฏิบัติ หมั่นถามจิตตนเองว่า การคิด การพูด การกระทำในทุก ๆ ขณะจิตนั้น เบียดเบียนตนเองหรือไม่ จักต้องศึกษาให้ได้โดยละเอียด

๙. “อย่าลืมธรรมะทุกข้อจักต้องเกิดขึ้นกับตนเองก่อน จึงจักเป็นของแท้ ตนเองจักต้องเลิกเบียดเบียนตนเองก่อน จึงจักเลิกเบียดเบียนบุคคลอื่นได้ พรรษานี้จักทำความเพียรได้สักแค่ไหน พวกเจ้าทั้งสองจงถามจิตตนเองดู อายุล่วงไปใกล้ความตายเข้าไปทุกที ยังจักประมาทกันอยู่อีกหรือ มีสติไม่ตั้งมั่น สัมปชัญญะไม่แจ่มใส จำได้บ้าง เพียรได้บ้าง ลืมเสียบ้าง เผลอปล่อยความเพียรเสียมาก เพราะอ่อนในอานาปานุสติกันทั้ง ๒ คน ชอบให้อารมณ์อื่น ๆ มาแย่งเวลาของการเจริญพระกรรมฐานไปเสียมากต่อมาก เหมือนคนไม่ตั้งใจทำจริง จึงดูคล้ายกำลังใจไม่เต็มกระนั้น นี่จงอย่าโทษใครให้โทษใจตนเองที่ไม่ใคร่จักเตือนตนให้เดินตรงทาง

๑๐. “พวกเจ้ายังมีอารมณ์ขี้เก็บ ชอบเก็บทุกข์เอาไว้ไม่ยอมวาง จิตคนช่างจดจำอยู่แต่ความชั่ว ดีแท้ ๆ... คำด่า คำนินทา ใครว่ามาหลายสิบปียังอุตส่าห์เก็บเอามาจำได้ ไม่ใคร่จักลืม ต่างกับคำสอนของตถาคตเจ้า พวกเจ้าฟังแล้วไม่ใคร่จักจำ นี่แต่ละรายไม่ใช่พบพระพุทธเจ้ามากันน้อย ๆ นะ พบกันมาแล้ว ฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสน ๆ องค์ แต่ก็ไม่ค่อยจักจำไม่นำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลอย่างนี้กันมาโดยตลอด พวกเจ้าไม่เสียดายกาลเวลากันบ้างหรือ เกิดตาย ๆ ทนทุกข์อยู่ในวัฎสงสารอย่างนี้ดีหรือ(ก็ยอมรับว่า ไม่ดี) “รู้ว่าไม่ดี ก็จงอยายามทำให้พ้นจากความไม่ดีนี้ ไม่มีใครช่วยพวกเจ้าได้ พวกเจ้าแต่ละคนจักต้องช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ คิดถึงจุดนี้เอาไว้ให้ดี ๆ”

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-03-2011 เมื่อ 01:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว