|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ทำไมจิตเราไม่รวมเป็นหนึ่ง ?
ตอบ : เขาฝึกกันแทบตายกว่าจะแยกจิตได้ นี่แยกได้แล้วอยากจะดึงกลับมาอีก ถาม : ...?... ตอบ : ต่อไปเราจะทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กันได้ คิดครั้งหนึ่ง ๓ เรื่อง ๔ เรื่องก็ได้ ถาม : ทำงานพร้อมกันได้สบายค่ะ หนูขายลูกชิ้นด้วยค่ะ คนมาสั่งก๋วยเตี๋ยวก็ทำให้เขา คิดสตางค์เสร็จ ก็นับลูกชิ้น นับไปคุยไป ลูกค้าเก่า ๆ เขาเชื่อใจ มีอยู่วันหนึ่งลูกค้าใหม่มาถึง อุ๊ย..นับอย่างนี้ฉันไม่เอาหรอก เราก็บอกว่า... ถ้าขาดหรือเกินแม้แต่ลูกหนึ่ง ถุงนี้คุณเอาไปเลย ไม่คิดเงิน เขามานับดูก็ตรงกับที่เรานับ ครั้งนี้ก็เลยคิดว่า ถึงเวลาที่จะต้องรวมจิตให้เป็นหนึ่ง ? ตอบ : แรก ๆ ก็จำเป็น พอทำได้และมั่นคงแล้ว ให้สังเกตว่าในระยะแรกเป็นการฝึก แต่ในระยะหลังจะเป็นการใช้งาน เคยได้ยินหลวงพ่อวัดท่าซุงพูดบ่อย ๆ ไหมว่า ฌานใช้งาน คือลักษณะของการทรงฌานอยู่ ในขณะเดียวกันก็ทำอะไร ๆ ทุกอย่างไปพร้อมกันได้ด้วย กว่าจะถึงบางอ้อ ก็ อ้าว..ผ่านตาไปไม่รู้เท่าไรเเล้ว นั่นแหละ..คำว่าฌานใช้งานจะเป็นอย่างนั้น สังเกตไหม ที่หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังในประวัติหลวงปู่ปาน หลวงปู่ปานก็นั่งหัวเราะไป คุยกับโยมเขาไป ท่านไม่ได้ทำอะไรหรอก ท่านให้ช่วยรดน้ำมนต์ให้คนที่โดนไสยศาสตร์มา บอกว่า "รดเข้าไปลูก รดให้หนักเข้าไว้ เราเป็นต่อแล้ว รดเข้าไป" หลวงพ่อก็รดไปเรื่อย ไม่เห็นหลวงปู่ปานนั่งเสกคาถา หรือเข้าฌานอะไรเลย ทำไมท่านยังจะต้องไปนั่งอีก ในเมื่ออารมณ์ท่านทรงตัวเป็นปกติอยู่แล้ว อย่างเช่นว่า เราคุยกันอยู่ตรงนี้ เราคุยไปก็คิดตามไปด้วย ลองจับอารมณ์ข้างในของเราดูสิ ใจก็นิ่งอยู่อย่างนั้น ในเมื่อใจนิ่งอยู่อย่างนั้น อาการภายนอกก็เป็นเหมือนน้ำปากบ่อ คือ จะกระเพื่อมไปตามกระแสนภายนอกได้ แต่น้ำก้นบ่อจะนิ่งอยู่ตลอดเวลา ต้องรักษากำลังใจอย่างนี้เอาไว้ให้ได้ ถ้าหากว่ากำลังใจเราอยู่อย่างนี้ได้ ตัวนิวรณ์จะกินเราได้ยากเต็มที สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-04-2015 เมื่อ 11:14 |
สมาชิก 133 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|