#1
|
|||
|
|||
![]()
เนกขัมมบารมี (๒)
เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๓๖ เพื่อนผู้ร่วมปฏิบัติธรรมร่วมกับผม ท่านฟังเทปที่หลวงพ่อท่านสอน เรื่องทานหรือจาคะก็นำไปสู่พระนิพพานได้ หากเราทำบารมีใดให้เต็ม จะมีผลทำให้บารมีอื่น ๆ อีก ๙ บารมีเต็มไปด้วย ในการปฏิบัติบารมี ๑๐ หลวงพ่อเริ่มจากทานบารมีก่อน เพื่อนผมฟังแล้วก็พิจารณาว่า สำหรับตนเอง ขอเลือกเอาเนกขัมมบารมีเป็นบาทต้น เมื่อนึกถึงจุดนี้ สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนว่า ๑. “ถ้าจักยึดเนกขัมมบารมีเป็นบาทแรก ก็สมควรและเหมาะสมดี สำหรับข้อวัตรปฏิบัติเพื่อเนกขัมมบารมี ขอให้เจ้าจดจำคำตรัสในโอวาทปาฏิโมกข์ คือ • สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง คือ ไม่ทำชั่ว ทั้งกาย วาจา ใจ ให้หมั่นค่อย ๆ ละไป โดยยึดหลักสังโยชน์เป็นเครื่องวัด • กุสะลัสสูปะสัมปะทา คือ พยายามทำแต่ความดี ทั้งกาย วาจา ใจ โดยอาศัยสังโยชน์เป็นหลัก • สะจิตตะปะริโยทะปะนัง คือ ทำจิตให้ผ่องใส เพียรใช้ปัญญา ละจากสังโยชน์ ๑๐ อย่าให้เป็นเครื่องร้อยรัด วาจา และใจ ให้เศร้าหมอง นี่คือหลักการของเนกขัมมบารมี ที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ตั้งแต่องค์ปฐมทรงวางไว้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-05-2010 เมื่อ 14:32 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
![]()
๒. จากนั้นสมเด็จองค์ปฐม ทรงเสด็จมาเป็นประธาน ทรงตรัสว่า เราทุก ๆ พระองค์จักพอใจมาก ถ้าหากเจ้าสามารถปฏิบัติตามข้อวัตรของเนกขัมมบารมีให้มีผล เพราะเป็นจุดประสงค์ตรงความต้องการของเราทุก ๆ พระองค์ จักขนเหล่าสัตว์ทั้งหลายให้เข้าถึงพระนิพพาน ด้วยการบวชในเนกขัมมบารมี คือ การบวชเพื่อความดับไม่มีเชื้อ ดับกิเลส คือ สังโยชน์ ๑๐ ให้หลุดออกไปจากการยึดเกาะของจิต จงตั้งใจไว้ในเนกขัมมบารมี หมั่นทำตามข้อวัตรปฏิบัตินี้ให้เกิดขึ้นกับจิตอยู่เนือง ๆ ระลึกถึงหลักปฏิบัตินี้อย่าให้ขาด มีศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งอยู่เฉพาะหน้าเป็นประจำ จึงจักยังจิตให้ถึงพร้อมตามหลักคำตรัส พระโอวาทปาฎิโมกข์นั้น ๆ
๓. เมื่อเจ้าคิดได้โดยตั้งใจเอาเนกขัมมบารมีเป็นบาทแรกแล้ว ต่อไปเมื่อทบทวนบารมี ๑๐ ก็จงเอาเนกขัมมบารมีขึ้นหน้า แล้วนำมาเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ดึงเอาบารมีอีก ๙ ประการมาเป็นองค์ประกอบ จุดนี้จักทำให้บารมี ๑๐ ของเจ้าเต็มได้ ๔. จงหมั่นระวังขันธมารและกิเลสมารเข้ามาขัดขวาง การทำความเพียรในเนกขัมมบารมีนี้ด้วย |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
![]()
๕. “ธรรมารมณ์ใดที่เป็นศัตรู ขัดกับพระโอวาทปาฎิโมกข์ เจ้าจงหมั่นละธรรมารมณ์นั้น ให้ออกไปจากจิตเสียโดยไว”
ในวันเดียวกันนี้ พอเพื่อนของผมท่านรู้ข่าว เรื่องเปลือกหรือขันธ์ ๕ ที่หลวงพ่อท่านเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปบางส่วน ซึ่งมันก็เป็นของธรรมดา แต่จิตของเพื่อนผมมันฟุ้งออกนอกทาง มีการปรุงแต่งธรรม ซึ่งเป็นอุปาทานทำให้เกิดอารมณ์ ๒ คือ พอใจกับไม่พอใจ ทำจิตของตนเองให้เศร้าหมอง ซึ่งขัดกับเนกขัมมบารมี ซึ่งเพิ่งได้รับคำสอนจากสมเด็จองค์ปฐม ก็ต้องหยุดปรุงแต่งธรรมต่อไป หลวงปู่บุดดาท่านก็เมตตามาสอนว่า ๑. “พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ อย่างท่านฤๅษีตายได้หรือ ?” (ตอบว่า ไม่ตายค่ะ) ๒. “เอ้อ! แล้วไป ข้าคิดว่าเอ็งจะตอบว่าตายได้เสียอีก เรื่องขันธ์ ๕ เอ็งอย่าเพิ่งไปสนใจเลย ปล่อยไว้ให้เป็นเรื่องของพระท่าน สนใจการปฏิบัติธรรมให้ละสังโยชน์ ๔ - ๕ ให้ได้เสียก่อน” ๓. “แล้วอย่าลืมจรณะ ๑๕ เสียล่ะ พระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ ท่านมีกันครบทุกข้อจึงจะถึงนฤพานได้ เนกขัมมบารมีจึงจะมีผล ข้าไปล่ะ” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-05-2010 เมื่อ 02:55 |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
![]()
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|