|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
![]()
ถาม: พอดีฝึกเกี่ยวกับรูปและนาม
ตอบ : ฝึกอะไรไม่ได้มีสาระสำคัญ มันสำคัญตรงที่ต้องทำจริงจังและสม่ำเสมอ อย่าไปทำ ๆ ทิ้ง ๆ ให้สังเกตว่าถ้าเราเว้นระยะไปช่วงหนึ่งก็คือทิ้งมัน หลังจากนั้นถ้ามาทำใหม่มันจะยากกว่าเดิม เพราะใจมันไปฟุ้งซ่านเสียแล้ว ในเรื่องของการกำหนดรูปกับนามมันก็เท่ากับว่าเอาสติรู้อยู่กับปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด มันแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่สามารถสัมผัสถูกต้องได้ชัดเจน รู้เห็นได้ เขาเรียกว่ารูป ส่วนที่ไม่สามารถสัมผัสถูกต้องชัดเจน รู้เห็นได้ เขาเรียกว่านาม แล้วเราก็จะเห็นว่าจริง ๆ มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา มันก็สรุปลงตรงท้ายเหมือนกันว่าไม่มีอะไรเหลือ พิจารณาบ่อย ๆ ให้ใจมันยอมรับ และเชื่อจริง ๆ ว่าร่างกายนี้ไม่มีอะไรเป็นของเรา คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของ สักแต่ว่าเป็นรูปเป็นนามเท่านั้น เมื่อสักแต่ว่าเป็นรูปเป็นนาม สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามสภาพของมันเช่นนั้น ฉะนั้นถ้าหากว่าบางสิ่งที่ชวนให้เกิดโทสะมันก็จะไม่เกิด เพราะเห็นว่าสภาพแท้จริงของมันเป็นอย่างนั้น สิ่งใดที่ชวนให้เกิดโลภะมันก็ไม่เกิด สิ่งใดที่ชวนให้เกิดราคะมันก็ไม่เกิด ในเมื่อรู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง มันก็เหลืออยู่อย่างเดียวก็คือ หาทางหลุดพ้นไปจากมัน เรื่องของรูปนามมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่ง คืออาจารย์ประเสริฐ วัดเพลงวิปัสสนา ไม่ทราบเหมือนกันว่ารู้จักกันหรือเปล่า ท่านจะชำนาญพวกนี้มาก อาจารย์ประเสริฐท่านใฝ่รู้ท่านพยายามไปศึกษาสายอื่นด้วย แล้วบางอย่างที่สายรูปนามอธิบายได้ไม่ชัด อาจารย์ประเสริฐจะอธิบายได้ชัดกว่า ท่านอยู่วัดเพลงวิปัสสนาที่บางกอกน้อย ถ้ามีโอกาสแวะไปหาท่านได้ ถาม-ตอบ ช่วงบ่าย ณ บ้านอนุสาวรีย์ วันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 03-11-2009 เมื่อ 12:06 |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : การที่จะละขันธ์ ๕ ได้
ตอบ : เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นของเรา จะแยกเป็นธาตุ ๔ ก็ได้มันละเอียดดี แต่ถ้าเราถนัดแยกแค่รูปกับนามก็ได้ เพราะรูปก็คือร่างกายที่เราเห็น ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็คือนาม แต่ว่าถ้าหากละเอียดไป...ละเอียดไปแล้วจะมั่ว เพราะมันมีทั้งนามในรูป ทั้งรูปในนาม ยุ่งกันไปหมด อันนั้นมันจะเป็นพวกที่ศึกษาอภิธรรมขั้นสูงเขาเรียนกัน แต่อาตมาอยากจะบอกว่าเรียนเกิน คือถ้าเราเห็นว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ถอนความยินดีความพอใจจากมันออก มันก็จบแล้ว ลักษณะนั้นมันเหมือนกับว่าตีอวนจะเอาปลาทั้งทะเล ทั้ง ๆ ที่เรากินปลาตัวเดียวก็พอแล้ว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : เหมือนกับว่าเรานึกคิด แต่มันยังไม่ได้ละ
ตอบ : ความนึกคิดก็ส่วนความนึกคิด การรู้เห็นส่วนการรู้เห็น อย่าลืมว่า การคิดพิจารณาทุกอย่างแม้กระทั่งเรื่องรูปนามมันก็ต้องเป็นความนึกคิดประกอบ คือเป็นส่วนของสัญญา จำได้ก่อน หลังจากที่พิจารณาบ่อย ๆ มันจะเป็นปัญญาก็คือยอมรับ ถาม : เหมือนกับปัจจุบันที่ทำให้เกิดการเกิดดับได้ ตอบ : ถูกต้อง เมื่อเรารู้เห็นการเกิดดับแล้วเราทำอะไรต่อไป ถาม : ก็ไม่ต้องทำอะไร ก็ดูต่อไป ดูให้เห็นความเกิดดับที่แท้จริง ตอบ : ถ้าเกิดว่าเราเห็นไฟไหม้บ้านอยู่ เสร็จแล้วเราก็นั่งมองเฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยหรือ ถาม : จริง ๆ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นธรรมชาติที่มันเกิด ตอบ :ใช่ ถาม : แล้วเรายอมรับความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่พอมันเกิดทุกข์ เพราะเราไม่ยอมรับความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ตอบ :ใช่ คราวนี้ในลักษณะที่เราทำก็คือว่า เราเอาการรู้เห็นนั้นมาใช้ในการพ้นทุกข์อย่างไร ไม่ใช่ไม่เอาไปทำอะไร ถาม : สิ่งที่เราเห็นนั้นคือว่า เราทำอย่างไรที่จะให้เราอยู่กับปัจจุบันให้ได้ แล้วยอมรับความเป็นจริงนั้น เหมือนเราแยกกายกับจิต ให้เกิดการยอมรับ ซึ่งคนที่เป็นทุกข์เพราะไม่ยอมรับความเป็นจริงนั้น ตอบ : ใช่ คือไปดิ้นรนมัน แต่ว่าในลักษณะของเราที่ว่าทำนี่ ในเมื่อมันถึงวาระสุดท้ายของมัน ถ้าหากว่าจิตมันปลดออกจากการยึดเกาะทั้งหมดจริง ๆ แล้วความรู้สึกที่มันเข้ามามันจะเป็นอะไร เรายังก้าวไม่ถึงตรงจุดนั้น เราก็ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ย้ำแล้วย้ำอีกไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการหยุดอยู่กับปัจจุบันเป็นเรื่องที่ดี เพราะไม่ว่าจะไปอดีตหรือจะไปอนาคตมันเป็นการสร้างทุกข์ให้ตัวเองทั้งนั้น เหมือนกับว่าไปคิดให้มันทุกข์เป็นการซ้ำเติมตัวเอง แต่ว่าการที่เราหยุดอยู่กับปัจจุบันนั้น ถ้าหากว่าเราเอาแต่พิจารณาตามดูตามรู้อยู่อย่างเดียว ถ้ากำลังมันไม่พอ สังเกตไหมว่าเราเลิกเมื่อไหร่มันก็รัก โลภ โกรธ หลงเหมือนเดิม
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : เราเห็นว่าตราบใดที่เรายังมีขันธ์ ๕ อยู่ ขันธ์มันก็ทำตามหน้าที่ของมัน
ตอบ : มันทำตามปกติ ถาม : แต่จิตเป็นตัวที่รู้อยู่ว่า สิ่งที่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่รู้อยู่ว่ามันเป็นอย่างไร แล้วจิตก็เข้าใจในสิ่งที่อยู่ตรงนั้น แล้วยอมรับในสิ่งที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น ตอบ : ลักษณะของการยอมรับของเรา สมมติว่าเราเห็นเด็กเขาทำข้าวของเสียหาย ขว้างแก้วแตกกระจายไป ๑ ใบ เรายอมรับว่ามันเป็นธรรมดาเป็นปกติของเด็กที่ต้องทำอย่างนั้น เราไม่โกรธเด็ก แต่เราจะแก้ไขไหม ถาม : ก็ต้องสอนเขา แต่แก้วที่แตกไปแล้วนี่มันเกิดขึ้นแล้ว เราต้องยอมรับว่ามันเกิดแล้ว ถ้ายอมรับมันไม่ได้ ใจเราก็เป็นทุกข์ ถูกไหมคะ ตอบ : ถ้ามาอย่างนี้ถูกทาง ทำต่อได้เลย เพราะว่าคนเราที่มีปัญญาจะต้องแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างให้มันบรรเทาเบาบางลงมากที่สุด ไม่สร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เรา ไม่ว่าด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ แต่ว่าในส่วนใดก็ตามที่ธรรมชาติเป็นอย่างนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเรายอมรับมัน เพราะฉะนั้นที่โยมว่ามานี่ทำต่อไปลักษณะนั้นได้เลย ถูกทางแล้ว ที่ถามก็ต้องการจะรู้ว่าสิ่งที่เราทำมา นำมาใช้ประโยชน์จริงได้หรือไม่ ขณะเดียวกันว่า มันจะมีอยู่ระยะแรก ๆ ที่ถ้ากำลังใจมันยังไม่พอ สติสมาธิมันยังไม่มั่นคง มันจะห้ามอารมณ์ตัวเองไม่ได้ รู้ไม่เท่าทันมัน มันก็จะไปปรุงกับมันทันทีเหมือนกัน ตอนนั้นก็ต้องเบรกกันอุตลุด
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : สิ่งที่เห็นขึ้นในขณะจิตเดียว มันเห็นปุ๊บมันจะเกิดความรู้สึกปุ๊บ มันโกรธปุ๊บแว้บหนึ่ง แล้วมันก็วาง
ตอบ : ถ้าไม่ไปยินดี....มันก็ยินร้าย การปฏิบัตินี้ให้มันไปต่อไปอีกจ้ะ ถ้าหากก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่ง มันจะรู้สึกไม่ยินดีด้วย แล้วก็ไม่ยินร้ายด้วยกับทุกสิ่งที่มันเกิดขึ้น มีแต่ว่าจะแก้ไขเหตุการณ์ทุกอย่างให้เป็นไปให้ดีที่สุดอย่างไรเท่านั้น ถ้าเต็มที่เต็มสติปัญญาเต็มกำลังของเราแล้วแก้ไขไม่ได้ ก็จะยอมรับว่าสภาพของมันต้องเป็นอย่างนั้นเอง ฉะนั้นอีกขั้นเดียวเท่านั้นจ้ะ ถ้าหากว่าก้าวถึงมันก็จะไม่ไปปรุงแต่งยินดียินร้ายกับอะไรแล้ว ถาม : ใช่ค่ะ ที่เราเห็นก็คือว่า มองเห็นให้รู้ในสิ่งที่มันเป็น ตอบ : ถ้าหากว่าหยุดอยู่กับปัจจุบันก็มีความสุขมากแล้วจ้ะ เพียงแต่ว่ามันยังไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง ก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ให้ทุกอย่างมันเป็นเรื่องปกติ เป็นธรรมดาของมัน ยกขึ้นได้ วางลงได้ ปล่อยได้ วางได้ไม่ยึดไม่ถืออะไร ก็สบาย ที่ถามนี่จริง ๆ ก็คือแค่ต้องการให้รู้ว่า เราปฏิบัติแล้วเอามาใช้จริงได้ไหม ถ้าหากว่าแยกแยะได้อย่างที่เมื่อครู่ว่ามา ถือว่าสิ่งที่เราทำมาถูกทางและใช้ได้ ถาม : ต้องเพิ่มอะไรไหมคะ ตอบ : ไม่ต้องเพิ่มอะไร อยู่อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เพียงแต่ว่าทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ย้ำแล้วย้ำเล่า แล้วหลังจากนั้นถ้าหากกำลังมันพอมันจะก้าวข้ามไป จากการที่ยังยินดียินร้ายอยู่แล้วค่อยไปดับมัน ก็จะไม่ยินดียินร้ายกับอะไรแล้ว ถ้าถึงเวลานั้นก็จะสบาย
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|