|
ฝากคำถามถึงหลวงพ่อ คุณสามารถตั้งคำถาม และทีมงานจะรวบรวม และคัดกรองเพื่อนำไปถามหลวงพ่อในตอนเย็นวันอาทิตย์ที่หลวงพ่อมารับสังฆทาน |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
|||
|
|||
![]()
๑.หนังสือธรรมะที่ในการพิมพ์เฉพาะครั้งนั้นระบุว่าพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน แต่พิมพ์ครั้งอื่นไม่ทราบว่าจะเป็นธรรมทานเสมอไปหรือไม่ หากมีผู้นำฉบับที่ระบุว่าพิมพ์แจกเป็นธรรมทานในครั้งดังกล่าว มาสแกนลงอินเตอร์เน็ตแจกเผยแพร่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นสาธารณะ แต่ไม่ได้ขออนุญาตทางวัดที่ออกหนังสือธรรมะหรือผู้ที่ดูแลลิขสิทธิ์ก่อน ผู้เผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต , ผู้ที่อ่านหรือดาวน์โหลดต่อจะผิดศีลข้อ ๒ หรือไม่ครับ
๒.พระไตรปิฎกและอรรถกถาที่แปลเป็นไทย ไม่ว่าจะโดยมหาจุฬา ฯ หรือมหามกุฎ ฯ ก็ตาม ถ้ามีผู้เจตนาจะสร้างเว็บไซต์เผยแพร่พระไตรปิฎกและอรรถกถาที่มีหลายฉบับเปรียบเทียบกันเป็นธรรมทาน แต่ผู้สร้างเว็บไซต์ไม่ได้บอกกล่าวขออนุญาตไปทางสถาบันทั้งสอง พิมพ์ข้อความจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาของทั้งสองสถาบันลงในเว็บไซต์ดังกล่าวเลย ผู้จัดทำ , ผู้อ่าน รวมไปถึงผู้ที่อ้างอิงคัดลอกจากเว็บไซต์ดังกล่าว จะมีส่วนผิดศีลข้อ ๒ หรือไม่ครับ ๓.หากนำข้อความบางส่วนจากหนังสือธรรมะที่มีลิขสิทธิ์ของวัดเผยแพร่เป็นธรรมทาน แต่ได้ทำตามข้อยกเว้นใน พรบ.ลิขสิทธิ์ -มาตรา ๓๓ คือแสดงให้มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว -และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง คือ ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร หากทำแบบนี้จะยังคงมีความผิดทางศีลธรรมที่ต้องชำระหนี้สงฆ์หรือไม่ครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลูกแม่แดง : 11-06-2022 เมื่อ 23:48 |
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลูกแม่แดง ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : หนังสือธรรมะที่ในการพิมพ์เฉพาะครั้งนั้นระบุว่าพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน แต่พิมพ์ครั้งอื่นไม่ทราบว่าจะเป็นธรรมทานเสมอไปหรือไม่ หากมีผู้นำฉบับที่ระบุว่าพิมพ์แจกเป็นธรรมทานในครั้งดังกล่าว มาสแกนลงอินเตอร์เน็ตแจกเผยแพร่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นสาธารณะ แต่ไม่ได้ขออนุญาตทางวัดที่ออกหนังสือธรรมะหรือผู้ที่ดูแลลิขสิทธิ์ก่อน ผู้เผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต , ผู้ที่อ่านหรือดาวน์โหลดต่อจะผิดศีลข้อ ๒ หรือไม่ครับ ?
ตอบ : ถ้าระบุเป็นธรรมทานก็ไม่ผิด แต่เสียมารยาท..! ถาม : พระไตรปิฎกและอรรถกถาที่แปลเป็นไทย ไม่ว่าจะโดยมหาจุฬา ฯ หรือมหามกุฎ ฯ ก็ตาม ถ้ามีผู้เจตนาจะสร้างเว็บไซต์เผยแพร่พระไตรปิฎกและอรรถกถาที่มีหลายฉบับเปรียบเทียบกันเป็นธรรมทาน แต่ผู้สร้างเว็บไซต์ไม่ได้บอกกล่าวขออนุญาตไปทางสถาบันทั้งสอง พิมพ์ข้อความจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาของทั้งสองสถาบันลงในเว็บไซต์ดังกล่าวเลย ผู้จัดทำ , ผู้อ่าน รวมไปถึงผู้ที่อ้างอิงคัดลอกจากเว็บไซต์ดังกล่าว จะมีส่วนผิดศีลข้อ ๒ หรือไม่ครับ ? ตอบ : ผิดและมีสิทธิ์ได้คุกเป็นของแถมด้วย..! ถาม : หากนำข้อความบางส่วนจากหนังสือธรรมะที่มีลิขสิทธิ์ของวัดเผยแพร่เป็นธรรมทาน แต่ได้ทำตามข้อยกเว้นใน พรบ.ลิขสิทธิ์ -มาตรา ๓๓ คือแสดงให้มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว -และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง คือ ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร หากทำแบบนี้จะยังคงมีความผิดทางศีลธรรมที่ต้องชำระหนี้สงฆ์หรือไม่ครับ ? ตอบ : ถ้ายังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ยังผิด |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|