กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > ปกิณกธรรมจากเกาะพระฤๅษี

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-02-2011, 21:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,545 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐

อบรมที่เกาะพระฤๅษี วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐

สำหรับพระใหม่ จะมีของใช้ที่นอกเหนือจากผ้าครองที่เราอธิษฐาน อย่างเช่น พวกบาตรหรือผ้าที่เกินมา บาตรนี้ท่านให้มีไว้เพียงหนึ่งใบ และใช้ตลอดชีวิต ใบที่สองขึ้นไปต้องรีบทำวิกัปเป็นเจ้าของร่วมกับคนอื่น หรือไม่ก็มอบให้เป็นของสงฆ์ ถึงพวกเราอยู่ที่นี่ไม่ได้บิณฑบาตแต่ก็ต้องมีบาตร เพราะว่าเป็นบริขาร*สำคัญ ๑ ใน ๘ อย่างที่เป็นสมบัติของพระ นอกเหนือจากนั้นไม่ถือว่าเป็นของจำเป็นหรือว่าเป็นของสำคัญ

บริขารของพระใหม่นั้นจะยุ่งยากมาก เพราะเรายังไม่เคยชินกับกฎกติกาใหม่ อยู่ ๆ ก็ถูกจับเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เปลี่ยนการหลักการที่ยึดถือปฏิบัติ โอกาสที่จะพลาดก็มีมาก

ที่ต้องระมัดระวังที่สุดก็คือ ศีลที่เป็นอาบัติหนักทั้ง ๑๗ ข้อ คือ ปาราชิก ๔** สังฆาทิเสส ๑๓*** อย่าให้โดนเป็นอันขาด เพราะปาราชิก ๔ ข้อ โดนแล้วแก้ไขไม่ได้ ขาดความเป็นพระไปเลย สังฆาทิเสส ๑๓ ข้อนั้นแก้ไขได้ แต่ว่าแก้ไขได้ยากมาก

คำว่าสังฆาทิเสส แปลว่า ขึ้นต้นด้วยสงฆ์ ลงท้ายด้วยสงฆ์ คือ เราขาดความเป็นพระ ต้องไปสารภาพท่ามกลางสงฆ์ว่า โดนอาบัติข้อไหน ? แล้วคณะสงฆ์ก็จะปรับให้เราอยู่ปริวาสกรรม**** จนกว่าจะครบ แล้วหลังจากนั้นถึงจะให้คณะสงฆ์อีก ๒๐ รูป สวดคืนความเป็นพระให้ จึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากที่สุด

ระหว่างที่อยู่ปริวาส ก็ร่วมกินร่วมนอน ร่วมสังฆกรรมกับพระอื่นไม่ได้ โดนจำกัดเขตอยู่ พระอื่นเข้าไปในเขตนั้นกี่คน เราก็ต้องไปกราบท่าน สารภาพว่าเราทำผิดอะไรมา วันไหนเกิดเพื่อนขยัน เข้าไปเยี่ยมสัก ๒๐ รูป ก็สารภาพจนเป็นลมแล้ว..!

อาบัติอื่นที่เบากว่านั้น โดนแล้วสามารถแก้ไขได้ แต่ว่าอย่าให้โดนได้เป็นดีที่สุด เพราะว่าการที่เราละเมิดในศีลของพระ ก็เหมือนกับร่างกายที่เป็นแผล การแสดงคืนอาบัติ ก็เหมือนกับการหยุดการลุกลามของแผลนั้น

แต่ไม่ได้หมายความว่าแผลนั้นจะหายไป ถ้าเป็นมาก ๆ มีแต่แผลทั้งตัว คนเห็นก็รู้สึกรังเกียจ ความประพฤติของเราก็ไม่เป็นที่เลื่อมใสของบุคคลที่จะควรจะเลื่อมใส บุคคลที่เลื่อมใสแล้วก็อาจจะหมดความเลื่อมใสลงไป เพราะฉะนั้น..พวกเราต้องระวังให้ดี ไม่อย่างนั้นแล้วพวกเราเองนั่นแหละ จะเป็นผู้ที่บวชเข้ามา แล้วทำให้ศาสนาเสื่อมลงไป


หมายเหตุ :
* ของใช้จำเป็นสำหรับพระ ๘ อย่าง ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิ ประคดเอว บาตร หม้อกรองน้ำ มีดโกน เข็มและด้าย
** พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ : ปฐมภาค : ปาราชิกกัณฑ์
*** พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ : มหาวิภังค์ : ปฐมภาค : เตรสกัณฑ์
**** การอยู่กรรมของพระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพื่อจะได้พ้นมลทินกลับมาบริสุทธิ์เช่นเดิม : วิ.จุล.๖/๑๕๖/๑๘๒
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-02-2011 เมื่อ 02:21
สมาชิก 92 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 26-02-2011, 13:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,545 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระใหม่นอกจากจะต้องระมัดระวังในเรื่องของศีลแล้ว ยังต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนักธรรมด้วย โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา การสอบนักธรรมเขาสอบกันในพรรษา เนื่องจากว่าหลักสูตรนักธรรมนั้น เป็นหลักสูตรที่กระทรวงศึกษารับรองให้

ตอนนี้ใครสอบได้นักธรรมเอก จะได้วุฒิเท่ากับ ม. ๓ ก่อนหน้านี้ช่วงที่อยู่ในพรรษาเขาสอบธรรมชั้นนวกะกัน นวกะนี้เป็นการสอบกันภายใน ไม่เป็นทางการ ก็เลยไม่สามารถใช้วุฒิบัตรไปรับรองในเรื่องอื่นได้

แต่ถ้าสอบนักธรรมตรีได้ อย่างน้อย ๆ ก็เอาวุฒิบัตรไปผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ทางคณะสงฆ์ก็เลยปรับให้มาสอบในพรรษา ประมาณก่อนออกพรรษา ๑๕ วัน จะสอบ ฉะนั้น..พวกเราต้องเร่งดูหนังสือไว้

เรื่องของพระใหม่อีกอย่างก็คือว่า การสวดมนต์เป็นเรื่องที่จำเป็น ถ้าหากว่าสวดมนต์ไม่เป็น เดี๋ยวฆราวาสเขาจะบ่นว่า เลี้ยงไก่ไว้ไม่มีไก่จะขัน เพราะสวดมนต์ไม่ได้

เพราะฉะนั้น งานของเราจะยุ่งมาก ต้องแบ่งเวลาให้เป็น สมมติว่าวันนี้เราจะสวดให้ได้ ไม่ต้องเอาอะไรมาก เอาบทให้พรทั้งหมดมาหัด “ยถา สัพพี” ให้พรให้ได้ก่อน คือการตั้งความปรารถนาดีให้พรแก่โยม ว่าสิ่งที่เขาสงเคราะห์เรานี้ จะให้เป็นปฏิพรย้อนกลับไปอย่างไร ก็เหมือนเหมือนกับการจ่ายค่าอาหาร

ถ้าฉันแล้วให้พร "ยถา สัพพี" ไม่เป็น เท่ากับว่าเรา "ชักดาบ" ไม่ยอมจ่ายค่าอาหาร ไปฉันบ่อย ๆ แล้วชักดาบ เดี๋ยวเขาก็ไม่เลี้ยง ฉะนั้น..ถึงงานจะมาก เราก็ต้องแบ่งเวลาให้เป็น เวลานี้เราท่องหนังสือ เวลานี้เราซ้อมท่องสวดมนต์ เวลานี้เราปฏิบัติภาวนา

ถ้าแบ่งเวลาเป็นแล้วจะไม่ยุ่ง งานแม้จะมากเท่าไรก็ไม่ยุ่ง แต่ถ้าแบ่งเวลาไม่เป็นแล้ว จะสับสนวุ่นวายไปหมด ระเบียบหรือว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เราต้องยึดถือในแบบของพระ ต้องพยายามปฏิบัติให้ได้

ศีลพระแม้จะมาก แต่ถ้าสติเราสมบูรณ์บริบูรณ์ ระมัดระวังรักษาใจได้ แค่เราขยับตัวก็รู้แล้วว่าศีลจะขาดหรือไม่ แรก ๆ ก็จะรู้สึกเครียดบ้าง เพราะไปทางไหนโอกาสพลาดก็มีทั้งนั้น แต่ว่าพอปรับตัวไประยะหนึ่ง เดี๋ยวก็จะเคยชิน แล้วก็จะปรับตัวเข้ากับศีลได้ไปเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-02-2011 เมื่อ 17:59
สมาชิก 82 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 27-02-2011, 01:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,545 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนในเรื่องของการขบฉันของที่นี่ ตอนช่วงเช้าทางป่าไม้เขาเลี้ยง ส่วนช่วงกลางวัน ถ้าหากว่ามีโยมอยู่ โยมเขาจะทำอาหารถวายเอง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องของการบิณฑบาต สมัยที่ผมมาอยู่ใหม่ ๆ ต้องบิณฑบาต เดินขึ้นไปตรงทางหน้าวัดโน่น

ไปราว ๕ กิโลกว่า กลับอีก ๕ กิโลกว่า กว่าจะได้ฉันก็โน่น ๙ โมง จึงต้องฉันมื้อเดียวโดยอัตโนมัติ เพราะว่าออกเดิน ๖ โมงเช้า กว่าจะกลับมาถึง ๙ โมงเช้า ระยะทางไปกลับราว ๑๐ กิโลเศษ ๆ

มาตอนหลังพวกเขาโดนทางการกวาดล้าง เก็บเอาไปไว้ที่ศูนย์อพยพตรงหน้าอำเภอหมด ก็เลยไม่มีบ้านให้บิณฑบาต เพราะว่าทางด้านบน วัดสะพานลาวกับวัดเหมืองสองท่อ เขาก็มาบิณฑบาต วัดห้วยสมจิตรก็บิณฑบาตอยู่แล้ว หมู่บ้านเดียวต้องเลี้ยงพระถึง ๓ วัด

ทางด้านล่างก็มีวัดเขาถ้ำ มีวัดถ้ำทะลุและสำนักสงฆ์เขารวก เขาก็บิณฑบาตของเขาอยู่แล้ว เราจะลงไปรบกวนเขาอีกก็ไม่ดี เลยกลายเป็นว่าอยู่ที่นี่แล้วไม่ได้บิณฑบาต ขาดวัตรปฏิบัติของพระไปอย่างหนึ่ง

ส่วนเรื่องของการศึกษากรรมฐาน เราต้องแบ่งเวลาภาวนาให้เป็น เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือลมหายใจเข้าออกของเรา อย่าทิ้งเป็นอันขาด ทิ้งเมื่อไรก็ฟุ้งซ่านเมื่อนั้น เมื่อปฏิบัติรักษาอารมณ์ใจได้แล้ว ต้องหัดประคับประคองอารมณ์นั้นให้เป็น

ให้อารมณ์ใจนั้น อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไม่อย่างนั้นพอทำแล้วทิ้ง ความฟุ้งซ่านก็จะครอบงำเรา ถึงเวลาแล้วเราก็ทำใหม่ กลายเป็นคนขยัน ทำงานทุกวันแต่ผลงานไม่มีเพิ่มขึ้นเลย

หลายคนบ่นว่าทำกรรฐานมาหลายปี บางคนก็เป็น ๑๐ ปีแล้ว แต่หาความก้าวหน้าไม่ได้ ก็เพราะว่าทำแล้วทิ้ง ไม่ได้รักษาของที่ทำเอาไว้ หาสมบัติมากองไว้ตรงหน้าเสร็จแล้วก็ทิ้งถังขยะไป หามาเท่าไรก็ไม่มีกินไม่มีใช้ เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เราต้องรู้จักสังวรระวังแล้วก็รักษากำลังใจตัวเองให้ดี

แรก ๆ ของนักปฏิบัติ ถ้าหากว่าตั้งใจรักษาอารมณ์จริง ๆ แทบจะไม่อยากคุยกับใคร เพราะเสียเวลาการปฏิบัติของตัวเอง เนื่องจากว่าคุยเมื่อไรก็ฟุ้งซ่านเมื่อนั้น พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสกับพระมหาโมคคัลลานะ* ว่า

“เราจักไม่กล่าวคำพูดอันเป็นเหตุให้ต้องเถียงกัน คำพูดอันเป็นเหตุให้ต้องเถียงกัน ทำให้ต้องพูดมาก บุคคลที่พูดมากจิตใจย่อมฟุ้งซ่าน ผู้ที่จิตใจฟุ้งซ่านย่อมห่างจากสมาธิ” คือ กำลังใจจะไม่ทรงตัว

ถ้าจะพูด ก็พูดในสิ่งที่ชักนำให้ปฏิบัติ ชักนำให้คลายกำหนัด ชักนำให้สันโดษ ชักนำให้ยินดีในการปลีกตัวออกจากหมู่ เหล่านี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น..เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าหากว่าเราค่อย ๆ ศึกษา แล้วค่อย ๆ ทำไป ความก้าวหน้าก็จะมีขึ้นได้


หมายเหตุ :
* พระสุตตันตปิฎก: อังคุตตรนิกาย: เอกนิบาต: เอตทัคคปาลิ: เอตทัคควรรค ; ธัมมปทัฏฐกถา ยมกวรรควรรณา ๘
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-02-2011 เมื่อ 02:58
สมาชิก 73 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 27-02-2011, 21:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,545 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเราเห็นว่าดีกับเรา ก็พยายามสร้างเหตุนั้นเอาไว้ ผลดีก็จะเกิดแก่เราเอง แต่ถ้าหากว่าไม่ดี เราก็หยุดการสร้างเหตุนั้น ผลร้ายก็จะไม่เกิดกับเรา

ส่วนใหญ่แล้วพวกเราวิจัยหาเหตุกันไม่เป็น ขาดธรรมข้อใหญ่ที่สุดของพระพุทธเจ้า คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์*เมื่อวิจัยหาเหตุไม่เป็น ก็ไม่รู้ว่าผลดีนั้นเกิดกับตัวเองอย่างไร รู้แต่ว่าตอนนั้นดี แล้วก็ทำใหม่ไม่เป็น

เมื่อกินผลนั้นจนหมด ก็ไปฟุ้งซ่านเดือดร้อนตามเดิม จนกว่าจะเปะปะมั่วไปทำถูกเข้าอีกที ก็ได้ผลมาอีก เสร็จแล้วก็กินหมดอีกเหมือนเดิม เพราะเราสร้างเหตุไม่เป็น ผลก็เลยไม่เกิด

บางคนทำไป ๆ รู้แต่ว่าตัวเองเบื่อ เบื่ออย่างที่สุด เบื่ออย่างหาทางออกไม่ได้ แต่ไม่รู้ว่าผลของความเบื่อนั้นเกิดจากอะไร ตัวเบื่อเป็นกรรมฐานที่ดีมาก เรียกว่านิพพิทาญาณ** เกิดเครื่องรู้ว่าร่างกายนี้ โลกนี้ เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง

ให้พิจารณาย้อนหลังไปว่า ช่วงนั้นเราคิดอย่างไร ? พูดอย่างไร ? ทำอย่างไร ? ปฏิบัติภาวนาพิจารณาอย่างไร ? อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ? แล้วพยายามทำแบบนั้นอีก ก็จะเกิดนิพพิทาญาณขึ้นมาใหม่

แต่นิพพิทาญาณนี้ ถึงแม้จะดีแสนดี แต่ก็ต้องระมัดระวัง เพราะบางทีความเบื่อเกิดขึ้นมามาก เราหาทางออกไม่เป็น คลายอารมณ์ไม่เป็น บางคนเบื่อขนาดถึงจ้างเขาฆ่าตัวตายไปเลย สมัยพุทธกาลมีพระอยู่ ๖๐ กว่ารูป จ้างปริพาชกให้ฆ่าตัวเอง เพราะว่าเบื่อร่างกายจนสุดที่จะทนได้

ความจริงแล้ว ถ้าเราพิจารณาเพิ่มขึ้นอีกนิดเดียวว่า ขึ้นชื่อว่าการมีชีวิตอยู่นั้นย่อมเป็นเรื่องที่ทุกข์ ทำให้เราต้องทนอยู่ด้วย เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเป็นปกติอย่างนี้เอง ขึ้นชื่อว่าการเกิดมาเพื่อพบกับความทุกข์แบบนี้ เพื่อพบกับความน่าเบื่อแบบนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีกแล้ว ถ้าหากว่าเราตายชาตินี้ เราขอไปพระนิพพานที่เดียว

เมื่อกำลังใจคลายตัวลง รู้ว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว รู้ว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้ว รู้ว่าลมหายใจเข้าออกนี้เป็นลมหายใจเข้าออกสุดท้ายแล้ว ลมหายใจเข้าออกหน้าไม่มี วันข้างหน้าไม่มี ชาติข้างหน้าไม่มี

หมายเหตุ :
* พระอภิธรรมปิฎก: วิภังคปกรณ์ : โพชฌงควิภังค์ ; พระสุตตันตปิฎก : ทีฆนิกาย : มหาวรรค : มหาสติปัฏฐานสูตร
** สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาสภมหาเถระ) : คัมภีร์วิสุทธิมรรค : ปริเฉทที่ ๒๑ : นิพพิทานุปัสสนาญาณ : หน้า ๑๐๙๐
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-02-2011 เมื่อ 03:24
สมาชิก 71 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 28-02-2011, 13:24
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,545 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การเวียนตายเวียนเกิดที่หาความสุขไม่ได้แม้แต่นิดเดียวอย่างนับกัปไม่ถ้วน ถ้าเปรียบกับการดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันของเรานี้ ก็แค่ครู่เดียวเท่านั้น การดำรงชีวิตอยู่ชั่วคราวแค่นี้ ทำไมเราจะอยู่ด้วยดีไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างเถอะ ขึ้นชื่อว่าการเกิดใหม่เราไม่ต้องการอีกแล้ว เราต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน

ถ้าวางกำลังใจแบบนี้ได้ ก็จะก้าวข้ามความเบื่อ จะข้ามจากนิพพิทาญาณไป กลายเป็นสังขารุเปกขาญาณ* คือปล่อยวางในการปรุงแต่งทั้งปวง ตาก็สักแต่ว่าเห็น หูก็สักแต่ว่าได้ยิน จมูกก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้นก็สักแต่ว่าได้รส กายก็สักแต่ว่าสัมผัส ใจก็สักแต่ว่ารับรู้ ไม่นำไปครุ่นคิด

ในเมื่อเราไม่เอาไปคิด ไม่เอาไปปรุง ไม่เอาไปแต่งเพิ่ม สิ่งที่เป็นโทษแก่เราก็ไม่มี เคยเปรียบเอาไว้หลายครั้งว่า เหมือนกับเขาลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวใส่น้ำเปล่ามาให้ เมื่อไม่มีรสไม่มีชาติ ก็ไม่มีใครอยากจะไปกิน แต่ถ้าเราไปปรุงไปแต่ง ไปเติมน้ำปลา เติมน้ำตาล เติมน้ำส้ม เติมพริกเข้าไป ก็จะอร่อย น่ากิน แล้วก็กินไม่เลิก ทำให้เรายึดติดอยู่ตรงจุดนั้น

แต่ถ้าเราปล่อยได้ วางได้ ก็จะไม่ไปยึดอยู่ตรงนั้นอีก การปรุงแต่งเมื่อหยุดลง การเอร็ดอร่อยในอารมณ์ที่เกิดจาก รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะไม่มี เราก็จะไม่ไปดิ้นรนไขว่คว้าหามาให้เดือดร้อนแก่ตัวเองอีก

ขอให้ทุกคนจำไว้ให้ขึ้นใจอยู่ประโยคหนึ่งว่า เรื่องของการปฏิบัติธรรม ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงธรรมด้วยกันทั้งนั้น ใครวางก่อน คนนั้นสบายก่อน ใครไม่วาง ก็สงสารเขาเถอะ อย่าไปซ้ำเติมเขา ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ของเราเลย

เราวางแล้ว เราสบายแล้ว ก็คอยดู ถ้ามีโอกาสก็ช่วยประคับประคองคนอื่น ให้เขาปล่อยวางให้ได้ ถ้าเขายังวางไม่ได้ เขาก็ยังเป็นผู้ที่น่าสงสาร อาจจะต้องตกลงสู่อบายภูมิ เพราะฉะนั้น..เขาไม่ใช่คนที่เราควรจะไปโกรธ ไม่ใช่คนที่เราควรจะไปตำหนิ

ทุกคนเห็นว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นดีแล้ว เขาถึงได้ทำ ในเมื่อเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นดีแล้ว เราจะไปแก้ไขเขาตอนนั้นไม่ได้หรอก แม้กระทั่งโจรยังเห็นว่าการปล้นคนอื่นเขาดี สบาย ไม่ต้องไปเสียเวลาทำมาหากินมาก

แต่ว่าเป็นความดีแบบไหน ? ดีของเขาหรือดีของเรา ? หรือว่าดีของพระพุทธเจ้า ? ดีของเขายังไม่ใช่แน่นอน ดีของเราก็ยังไม่แน่ว่าจะใช่ แต่ถ้าดีของพระพุทธเจ้านั้นดีจริง ๆ


หมายเหตุ :
*สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาสภมหาเถระ) : คัมภีร์วิสุทธิมรรค : ปริเฉทที่ ๒๑ : สังขารุเปกขาญาณ : หน้า ๑๐๙๖
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 28-02-2011 เมื่อ 16:42
สมาชิก 66 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 01-03-2011, 01:15
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,545 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เพราะฉะนั้น..ใครวางก่อนคนนั้นก็สบายก่อน ถึงเวลาเราสบาย เอาตัวรอดได้แล้ว คนอื่นเขาเดือดร้อนเราค่อยมาช่วยเขา ตอนที่ยังเอาตัวรอดไม่ได้ อย่าเพิ่งไปปล้ำกันตรงนั้น

เราจะไปแก้ไขคนอื่นไม่ได้ เรื่องของคนอื่นเป็นเรื่องของโลก เรื่องของโลกนั้นหนักเกินกำลัง ให้ดูที่ตัว แก้ที่ตัว ดูที่ใจของเรา แก้ไขที่ใจของเรา

ใจของเรามีความดีบ้างไหม ? ถ้าไม่มี..สร้างให้มีขึ้นมา เมื่อมีแล้วพยายามทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ใจของเรามีความชั่วบ้างไหม ? ถ้ามี..ให้ขับไล่ออกไป แล้วระมัดระวังไว้อย่าให้เข้ามา ถ้าทำอย่างนี้ได้ งานเฉพาะหน้าของเราจะมีเพียงนิดเดียว

อย่าทิ้งการภาวนา ลืมลมหายใจเข้าออกเมื่อไร แปลว่าลืมความดี ลืมความดีเมื่อไร โอกาสพลาดลงอบายภูมิจะมีสำหรับเรา

ขอให้ทุกคนสังวรระวัง ตั้งหน้าปฏิบัติให้สมกับที่เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ให้สมกับที่เราเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่หลวงพ่อ ทำให้เต็มที่ คนอื่นก็มีสิบนิ้วเท่ากับเรา เขาทำได้ เราก็ต้องทำได้เช่นกัน


--------------------------------------
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-03-2011 เมื่อ 10:25
สมาชิก 70 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:31



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว