|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
อุบายแก้ความโกรธ
ถาม : มีอุบายอย่างไรให้โกรธน้อย หรือเวลาเผชิญหน้าให้ไม่โกรธมาก ?
ตอบ : อันดับแรก ใช้สมาธิก่อน ถ้าสมาธิทรงตัว อารมณ์ตั้งมั่นอยู่เฉพาะหน้า จิตไม่ไปปรุงแต่งกับสิ่งที่เขาคิด..เขาพูด..เขาทำ เราก็โกรธน้อยหรือว่าไม่ทันจะโกรธ ถ้าหากว่ามีสมาธิอยู่ เท่ากับเราเหยียบเบรกรถได้ทัน ก็ไม่เกิดการชน การปะทะกัน ลำดับต่อไปต้องใช้อุบายอย่างที่คุณว่า อุบายนี้มาคิดให้เห็นจริงว่า สิ่งที่เขาทำให้เราโกรธเป็นจริงไหม ? ถ้าเป็นความเป็นจริง เราควรที่จะขอบคุณเขามากกว่าโกรธ เพราะเขายอมเสียสละตัวเองเป็นกระจก ส่องให้เห็นหน้าตาที่น่าเกลียดน่าชังของเรา ต้องถือว่าเขาเป็นครู แล้วถ้าเป็นเรื่องไม่จริง คนโง่ขนาดความจริงก็ยังไม่รู้ เขาน่าสงสารมากกว่าน่าโกรธตั้งเยอะ ถ้ายังไม่ไหวก็คิดต่อไปเลยว่า โกรธหรือไม่โกรธ ทั้งเขาและเราก็ทุกข์จะแย่อยู่แล้ว แต่ถ้าเราไปโกรธ เราไปซ้ำเติมด้วยความทุกข์ จะกลายเป็นว่า ขณะที่ต่างคนต่างทุกข์เท่ากัน เราไปซ้ำเติมด้วยความโกรธ กลายเป็นตัวเราทุกข์มากกว่าเสียอีก เกิดทุกข์เกิดโทษแก่ตัวเราเอง ขณะเดียวกัน..โกรธหรือไม่โกรธเขาเองก็ทุกข์ ท้ายที่สุดต่างคนต่างก็ตาย แล้วเราจะไปโกรธเขาเพื่อให้กำลังใจของเราเศร้าหมอง พลาดลงไปในอบายภูมิเพื่ออะไร ? อุบายพวกนี้ต้องค่อย ๆ คิด แล้วกำลังใจจะคลายออกไปได้ ถ้าคิดไม่เป็นก็จะสะสม แล้วคนล่าสุดจะเฮงมากเลย สะกิดนิดเดียวเราก็ระเบิดตูมใส่หน้าเขา แล้วเขาก็จะงง อะไร..? แค่นี้ก็ต้องโกรธขนาดนี้ด้วย เขาไม่รู้หรอกว่าฟางเส้นสุดท้ายเป็นอย่างไร ? ทับอูฐหลังหักไปแล้ว อูฐบรรทุกของได้เป็นกอง แต่พอหย่อนฟางเส้นเดียวลงไป ถึงกับหลังหักเลย เพราะว่าเกินกำลังแล้ว เพราะฉะนั้น..คิดให้เป็น ถ้าไม่มีอุบายในการคิด จะกลายเป็นสะสมความโกรธเอาไว้ แล้วคนสุดท้ายที่ไปสะกิดพอดี ถือว่าถูกรางวัลที่หนึ่งก็แล้วกัน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-01-2015 เมื่อ 22:05 |
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ถาม : ถ้าไม่มีสมาธิก็คิดอุบายแบบนี้ไม่ได้ ?
ตอบ : ถ้าไม่มีสมาธิก็เบรกไม่ทัน ถ้าเบรกไม่ทันก็ไม่มีเวลาคิด เพราะลงเหวไปแล้ว ดังนั้น..พระอนาคามีจึงจำเป็นต้องได้ฌานสี่ ถ้าไม่ได้ฌานสี่ก็ไม่สามารถที่จะระงับราคะกับโทสะได้ เผลอเมื่อไรก็ถูกลากไปไกลหลายกิโลเมตร ใครหวังที่จะดับราคะและโทสะ ต้องทำสมาธิให้ถึงฌานสี่ไว ๆ ถ้าคิดว่าไม่เกินสกิทาคามีเราก็พอกินแล้ว จะเอาแค่ปฐมฌานก็ได้ ถาม : แล้วฌานสี่ เวลาพูดเราไม่ได้ยินเสียงภายนอก อย่างนี้เราจะสนทนากับคนอื่นได้หรือครับ ? ตอบ : อันนั้นฌานแบบเด็กฝึกใหม่..! ถ้าคล่องตัวจะทรงฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ ก็ทำได้ทุกอย่าง ฉะนั้น..ต้องซักซ้อมการเข้าออกสมาธิให้คล่องตัวมาก ๆ ภาษาบาลีเรียกว่า วุฏฐานวสี ไม่ใช่เข้าเป็นอย่างเดียว ต้องออกให้เป็นด้วย ตั้งใจจะเอาระดับไหนต้องได้ทันทีเลย ถ้าอย่างนั้นกิเลสมาก็สะกัดเอาไว้ทัน ขณะเดียวกันใครมีปฏิสัมพันธ์กับเรา สามารถจะพูดคุย สามารถจะกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าจิตใจระงับได้นิ่งเท่ากับตอนที่นั่งสมาธิอยู่ พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ เทศน์ก่อนทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์ วันอาทิตย์ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-01-2015 เมื่อ 22:07 |
สมาชิก 98 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|