กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-09-2011, 09:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,753
ได้ให้อนุโมทนา: 152,182
ได้รับอนุโมทนา 4,420,581 ครั้ง ใน 34,343 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัว ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไปพร้อมกับคำภาวนา ไหลตามลมหายใจออกมาพร้อมกับคำภาวนา ลมหายใจจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติที่ร่างกายต้องการ เรามีหน้าที่กำหนดรู้ตามเข้าไป กำหนดรู้ตามออกมาเท่านั้น

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือนวันสุดท้ายของเรา การปฏิบัติของเรานั้น มีหลายท่านที่ห่วงกังวลว่าจะผิดทาง ทำให้เสียเวลาการปฏิบัติ ก็อยากให้พวกเรายึดในอปัณณกปฏิปทา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้

อปัณณกปฏิปทา คือ ปฏิปทาที่ปฏิบัติแล้วไม่ผิด ประกอบไปด้วย ๓ อย่างด้วยกัน คือ ๑.อินทรีย์สังวร การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับนักปฏิบัติใหม่ ๆ นั้น จะเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะว่าสติยังไม่เพียงพอ สมาธิก็ยังไม่เพียงพอ

เมื่อสติยังไม่เพียงพอก็จะไหลไปตามรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมารมณ์ทันทีที่กระทบ เมื่อสมาธิไม่เพียงพอก็ไม่มีกำลังที่จะรั้งให้กลับเข้ามาอยู่กับปัจจุบันธรรมเฉพาะหน้าได้ ดังนั้น..พวกเราจึงจำเป็นที่จะต้องเน้นย้ำในเรื่องสมาธิให้มีความทรงตัวมากกว่านี้ ถ้าสมาธิของพวกเราทรงตัว อยู่กับลมหายใจเฉพาะหน้า ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสหรือใจครุ่นคิด เราก็จะไม่ไปให้ความสนใจ ไม่ไปให้ความสำคัญตรงนั้น

ถ้าหากเราไม่ไปให้ความสนใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ที่เข้ามาถึง รัก โลภ โกรธ หลงต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เราเองก็จะมีความสุขจากใจที่สะอาด เพราะปราศจากกิเลสชั่วคราว ถ้าหากว่านับไปแล้วก็จะเป็นวิขัมภนวิมุติ เป็นการหลุดพ้นอย่างหนึ่ง แต่เป็นการหลุดพ้นเพราะใช้กำลังใจข่มกิเลสเอาไว้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-09-2011 เมื่อ 16:02
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 26-09-2011, 10:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,753
ได้ให้อนุโมทนา: 152,182
ได้รับอนุโมทนา 4,420,581 ครั้ง ใน 34,343 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นสำคัญมาก เนื่องจากว่าพวกเราที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ พอถึงเวลาเลิกปฏิบัติไป ก็ปล่อยให้กำลังที่ตนเองสั่งสมมาได้นั้น สูญสิ้นไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจอยู่เสมอ

ตาเห็นรูปก็ไปยินดียินร้ายกับรูป หูได้ยินเสียงก็ไปยินดียินร้ายกับเสียง เป็นต้น ทำให้กำลังที่เราสะสมได้มาในระหว่างที่ปฏิบัติ นำไปใช้ในการยินดียินร้ายกับสิ่งเหล่านี้ กำลังจึงหมดไปอยู่เรื่อย ทำให้มีต้นทุนไม่พอที่จะต่อสู้กับกิเลส องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงได้แนะนำพวกเราว่าให้สำรวมอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของพวกเราไว้ให้ดี

นอกจากจะเป็นการสั่งสมกำลังของตัวเองเอาไว้ไม่ให้สูญเสียไปแล้ว ยังเป็นการป้องกันไม่ให้รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นได้อีกด้วย พระองค์ท่านตรัสว่า ถ้าเราปฏิบัติในข้อแรกคืออินทรีย์สังวรนี้ได้ ก็ถือว่าปฏิบัติได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด

ข้อที่สองคือ โภชเนมัตตัญญุตา แปลว่า รู้จักประมาณในการกิน ไม่เลือกกิน กินพอดี พอเหมาะ พอควรกับธาตุขันธ์ของตน ถ้าถามว่าเท่าไรจึงจะพอดี ก็ต้องเอาอย่างที่ผู้รู้บางท่านได้แนะนำไว้ว่า ตอนเช้ากิน ๓ ส่วน ตอนกลางวันกิน ๒ ส่วน ตอนเย็นกิน ๑ ส่วน ก็ถือว่าเรารู้จักประมาณในการกิน

แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วก็ถือว่าตอนเช้ากิน ๒ ส่วน กลางวันกิน ๑ ส่วน ตอนเย็นไม่กินเลยก็ได้ นี่เป็นการประมาณในการกินของตนเอง ด้วยการจำกัดให้สภาพร่างกายของเรารับเอาอาหารการกินลงไปแค่พอยังอัตภาพไว้เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ได้กินเพื่อความอ้วนพีของร่างกาย ไม่ได้กินเพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ ไม่ได้กินเพื่อไปกระตุ้นกิเลสให้เกิดขึ้นโดยการหาสิ่งบำรุงต่าง ๆ มากิน เป็นต้น

ในข้อนี้เรายังต้องแฝงเอาไว้ด้วยการปฏิบัติในอาหาเรปฏิกูลสัญญา ก็คือพิจารณาอาหารเป็นปกติว่า มีพื้นฐานมาจากความสกปรก เรากินเข้าไปหรือไม่กินเข้าไปเราก็ตายแน่นอน แต่ที่เรากินเข้าไปก็เพื่อระงับความกระวนกระวายของร่างกาย เพื่อให้สามารถที่จะใช้ร่างกายปฏิบัติธรรมในส่วนที่ตนเองต้องการได้ เราจะไม่เลือกกิน ไม่ใช่ว่าที่ไหนเขาบอกว่าดี เราก็เสาะแสวงหา ตะเกียกตะกายไปหามากินให้ได้ ถ้าอย่างนั้นเรียกว่าไม่มีโภชเนมัตตัญญุตา

การที่เราจำกัดเรื่องการกินนั้น ก็เพราะว่าถ้าร่างกายหนักไปด้วยอาหารก็จะง่วงซึม ทำให้ภาวนาไม่ดี ถ้าร่างกายปลอดโปร่งจากอาหาร เลือดลมเดินสะดวก การภาวนาจิตก็จะทรงตัวตั้งมั่นได้ง่าย และโดยเฉพาะว่าถ้าเราเว้นจากอาหารมื้อค่ำ ก็จะทำให้เราปราศจากความกังวล ไม่ต้องเสียเวลาไปเสาะแสวงหามาอีก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่าถ้าหากว่าเราปฏิบัติในโภชเนมัตตัญญุตา ก็เรียกว่าเราปฏิบัติไม่ผิด
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-09-2011 เมื่อ 02:18
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 27-09-2011, 07:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,753
ได้ให้อนุโมทนา: 152,182
ได้รับอนุโมทนา 4,420,581 ครั้ง ใน 34,343 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อที่ ๓ ข้อสุดท้ายของอปัณณกปฏิปทาก็คือ ชาคริยานุโยค คือ การปฏิบัติธรรมของผู้ตื่นอยู่ คำว่าผู้ตื่นอยู่ในที่นี้ ก็คือการมีสติระลึกรู้อยู่เสมอ การที่จะมีสติระลึกรู้อยู่เสมอแล้วป้องกันไม่ให้กิเลสเข้ามากินใจเราได้ ก็คือการระลึกถึงอานาปานุสติ เอาสติกำหนดจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างที่พวกเราปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้

ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับปัจจุบันตรงหน้า ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ส่งจิตวุ่นวายฟุ้งซ่านไปในเรื่องอดีตที่ผ่านมาหรือเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จนกระทั่งท่านทั้งหลายสามารถที่จะปฏิบัติให้จิตของตนก้าวเข้าสู่ระดับปฐมฌานละเอียดขึ้นไป ถ้าอย่างนั้น ท่านสามารถที่จะเป็นผู้ตื่นได้แม้กระทั่งเวลาที่หลับอยู่

เพราะสภาพจิตที่ละเอียด จะรับรู้อาการภายนอกทั้งหมด นอนอยู่ก็รู้ว่าตัวเองนอน หลับอยู่ก็รู้ว่าตัวเองหลับ กรนอยู่ก็รู้ว่าตัวเองกรน มีสิ่งใดเกิดขึ้นรอบข้างก็รับรู้อยู่ แต่ว่าไม่ไปใส่ใจในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ยกเว้นว่าบางอย่างมีความเกี่ยวเนื่องกันที่เราต้องไปจัดการให้เรียบร้อย ก็จะคลายสติออกมาอย่างระมัดระวัง

เมื่อจัดการสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว ก็ดึงเอาอารมณ์ของตนเองกลับเข้าไปสู่จุดปลอดภัย ก็คืออยู่กับอารมณ์เฉพาะหน้า ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ต่อไป การที่เราเป็นนักปฏิบัตินั้น ถ้าเข้าไม่ถึงชาคริยานุโยคคือการปฏิบัติธรรมของบุคคลที่ตื่นอยู่ คือหลับและตื่นมีสติระลึกรู้เท่ากัน ถ้าอย่างนั้นเรายังเอาดีได้ยาก

เพราะว่าหลายต่อหลายท่านเวลากลางวันสามารถที่จะระงับยับยั้งไม่ให้รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นกับตัวเองได้อย่างดียิ่ง แต่เวลาที่นอนหลับ สติขาดลง รัก โลภ โกรธ หลงก็กินอย่างเต็มที่ กินเราตอนตื่นไม่ได้ก็ไปกินเราตอนหลับ พาให้เราฝันวุ่นวายไปหมด

ท่านที่ไม่เคยละเมิดศีลข้อกาเมฯ ก็ฝันว่าละเมิดศีลข้อกาเมฯ ท่านที่ไม่เคยละเมิดศีลข้อปาณาติบาตก็ฝันว่าละเมิดศีลข้อปาณาติบาต เป็นต้น แต่ถ้าเราสามารถจะปฏิบัติได้จนถึงระดับตื่นและหลับรู้ได้เท่ากัน กิเลสก็ไม่สามารถที่จะกินใจของเราได้ สติ สมาธิของเราจะดำเนินต่อเนื่องไปตลอด

เมื่อสติไม่ขาดช่วงลง ความผ่องใสของจิตมีมาก ปัญญาก็จะเกิดมากขึ้น เห็นทุกอย่างได้ชัดเจน แหลมคม เมื่อเห็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ได้ สมาธิที่ทรงตัวอยู่ก็มีกำลังมากเพียงพอที่จะตัดละซึ่งสาเหตุนั้น ช่วยให้เราหลุดพ้น ได้มรรคผลแต่ละระดับตามกำลังที่ตนเองทำได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-09-2011 เมื่อ 11:28
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 27-09-2011, 07:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,753
ได้ให้อนุโมทนา: 152,182
ได้รับอนุโมทนา 4,420,581 ครั้ง ใน 34,343 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ถ้าหากว่าใครปฏิบัติในข้อชาคริยานุโยค องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่าปฏิบัติได้ไม่ผิดแล้ว

ลำดับนี้ก็ให้ทุกท่านเอาใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า อย่าให้จิตคลาดไปสู่อารมณ์อื่น ให้อยู่กับปัจจุบันธรรม คือตอนนี้ เดี๋ยวนี้ คือลมหายใจเข้าออกพร้อมกับคำภาวนาของเรา ใครสามารถส่งจิตไปกราบพระบนพระนิพพานได้ให้ส่งจิตไปกราบพระบนพระนิพพาน

ท่านใดที่ส่งจิตไปกราบพระไม่ได้ ให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เรารักเราชอบมากที่สุด จะเป็นพระบูชาหรือพระเครื่องก็ได้ ตั้งใจว่านั่นเป็นองค์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าหากว่าเราสิ้นชีวิตลงไป ขอไปอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพานเท่านั้น

ถ้ายังมีลมหายใจ มีคำภาวนาอยู่ ก็ให้กำหนดดูลมหายใจ และกำหนดคำภาวนาไป ถ้าไม่มีลมหายใจ ไม่มีคำภาวนา ก็ให้เอาสติจดจ่อตั้งมั่นอยู่กับพระนิพพานหรือว่าภาพพระที่เราจับเอาไว้ จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 04-10-2011 เมื่อ 16:08
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 18-03-2012, 18:42
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,428 ครั้ง ใน 1,284 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2554-09-04

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:55



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว