#1
|
|||
|
|||
![]()
การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้ ๑. “จากการที่พวกเจ้าศึกษาศีลพระ จักเห็นได้ว่าแม้พระอรหันต์ที่จบกิจแล้ว แม้ท่านจักได้รับยกเว้นไม่ถูกปรับอาบัติอีก แต่ท่านก็ไม่ขัดต่อศีล อันเป็นพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ตัวอย่างเช่น
๒. “ในพุทธศาสนา พระตถาคตเจ้าสอนเหมือนกันหมด คือให้หมดไปจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ด้วยพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะตัวเมตตา-กรุณา ๒ ข้อแรกเป็นหลักสำคัญ เพราะคนเราในการเริ่มทำความดี มีการทำทานและรักษาศีลครั้งแรก ก็เริ่มไม่เบียดเบียนตนเอง แต่ในบางขณะก็ยังมีเผลอไปเบียดเบียนผู้อื่น กล่าวคือทั้งทางกาย-วาจา-ใจ เผลอกรณีใดกรณีหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นการเบียดเบียนบุคคลอื่น จัดว่าใช้หลัก สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง นั่นเอง (ให้เว้นจากการทำบาปกรรมหรือกรรมชั่วทั้งหมด คือ กาย-วาจา-ใจ) ๓. “ผู้มีจิตบริสุทธิ์ถึงที่สุดหมดจากการเบียดเบียนทั้ง ๓ ระดับคือ พระอรหันต์ เพราะฉะนั้นการเริ่มแรก คือ การพยายามไม่เบียดเบียนตนเองก่อน ไม่ทำกรรมทุจริตให้บังเกิดเป็นกฎของกรรม เป็นผลของกรรมเข้ามาตอบสนองตนเองในอนาคตกาล” ๔. “คำว่าอนาคตอย่าไปคิดว่าชาติหน้าหรือพรุ่งนี้ แค่ชั่วแห่งเสี้ยววินาทีข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต เพราะฉะนั้นพึงระมัดระวังกาย-วาจา-ใจของตนเอาไว้ให้ดี ๆ จักคิด-จักพูด-จักทำสิ่งใด ให้คิดเสียก่อน หรือนิสัมมะ กรณัง เสยโยเสียก่อนแล้วจึงทำ ความเบียดเบียนก็จักไม่เกิดขึ้นกับตนเอง เมื่อจิตละเอียดขึ้นไปนิดหนึ่ง ก็จักไม่เบียดเบียนบุคคลผู้อื่น” ๕. “อย่าทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เดือดร้อน แต่เรายังอยู่สุขสบาย ตัวอย่างง่าย ๆ เหมือนเราเดินทางไปไหนสักแห่ง (เขาใหญ่ ภูกระดึง หาดทรายชายทะเล) อาหารที่เหลือบริโภคก็ทิ้งเรี่ยราดไปตามใจชอบ ผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้นหรือมาทีหลังย่อมเดือดร้อน เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นไหม ทั้งนี้ไม่รวมคนรับใช้ที่ได้รับค่าจ้างเงินเดือน ตถาคตหมายถึงคนมีฐานะเสมอกันในบ้าน” ๖. “จุดนี้เพียงแต่อุปมาอุปไมยให้เห็นการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยปัญญา เหมือนคนจอดรถขวางปิดทางผู้อื่นสัญจร ตัวเองไม่เดือดร้อนแต่คนอื่นเดือดร้อน ถ้าจิตละเอียดขึ้น พรหมวิหาร ๔ ทรงตัวดีขึ้น ก็จักเลิกเบียดเบียนผู้อื่น พอปฏิบัติตามหลักนี้นาน ๆ เข้า คำว่า นาน หมายถึงการศึกษาเรียนรู้คำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง มิใช่สักเพียงแต่ว่าจำแล้วนำไปทำเล่น ๆ ไม่จริงจัง ก็เลยรู้ไม่จริง คนทำจริงเท่านั้นที่จักรู้จริงเห็นจริงในอริยสัจ คือเห็นทุกข์อันเกิดจากการเบียดเบียน” ๗. “พอจิตละเอียดถึงที่สุดแล้ว ธรรมเบื้องสูงก็จักเกิดขึ้นกับจิตของผู้ปฏิบัติเอง เล็งเห็นโทษของการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พยายามละ พยายามตัดความเบียดเบียนนั้นให้สิ้นซากไปด้วยปัญญา เมื่อนั้นแหละความสุขอย่างยิ่งก็จักเกิดแก่จิตของนักปฏิบัติเอง โดยไม่ต้องให้ใครมาบอก ไม่ต้องให้ใครชี้แนะนำ ธรรมของตถาคตถึงแล้วรู้เอง รู้อยู่ภายในจิตของตนนี้แหละ” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|