กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-10-2010, 11:00
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ตัณหา ๓ ต้นเหตุที่ทำให้ต้องเกิด

ตัณหา ๓ ต้นเหตุที่ทำให้ต้องเกิด

สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนมีความสำคัญ ดังนี้

๑. “ทำกรรมฐานได้เท่าใด ให้พอใจแค่นั้น จิตจักมีความสุข ที่ทุกข์เพราะจิตดิ้นรน มีความอยากได้มรรคได้ผลมากเกินไป จัดเป็นกามสุขคัลลิกานุโยคได้เหมือนกัน ต้องดูอารมณ์ของจิตให้ดี”

๒. “ต้องมีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้เอาไว้เสมอ การผิดพลาดก็เพราะนิวรณ์ ๕ รบกวนจิต ต้องรีบตัดให้เร็วที่สุดด้วยกรรมฐานแก้จริต จนจิตชินสามารถตัดนิวรณ์ได้เป็นอัตโนมัติ จุดนี้ต้องใช้ความเพียรหนัก จักพ้นเกิดพ้นตายได้ก็อยู่ที่ตรงนี้ว่า จิตมีกำลังเอาจริงหรือไม่”

๓. “การฝึกมโนมยิทธิจะได้หรือไม่ มิได้อยู่ที่ครูฝึก แต่อยู่ที่จิตผู้ฝึกจักระงับนิวรณ์ ๕ ได้ละเอียดแค่ไหน เมื่อเห็นพระนิพพานแล้ว ไม่ควรประมาทว่า เราจักเข้าพระนิพพานเมื่อใดก็ได้

๔. “การไปเห็นพระนิพพานก็ดี การไปได้มาได้ก็ดี หากเหลิงเกินไป ทะนงตนไม่สร้างความดี คือ ละจากรากเหง้าของตัณหา ๓ ประการ ก็จักไปพระนิพพานไม่ได้ในบั้นปลาย

๕. “ตัณหา ๓ คือ จิตตกอยู่ในห้วงกามตัณหา มีความทะยานอยากในความโกรธ โลภ หลง อะไรมากระทบร่างกาย อายตนะสัมผัสก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นกับอารมณ์ มีแต่ความทะยานอยาก คือ อยากโกรธ อยากอาฆาตพยาบาท อยากทำลาย”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 28-10-2010, 14:59
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๖. “เมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไป ได้ตอบโต้กับบุคคลเหล่านั้นจนสะใจ หรือพอใจแล้ว จุดนี้จิตตกอยู่ในห้วงภวตัณหา เป็นการสนองอารมณ์ของกามตัณหาให้สะใจ”

๗. “เมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไปเป็นอดีตธรรมแล้ว แต่จิตไม่ยอมวางอารมณ์ขุ่นมัว ยังครุ่นคิดปรุงแต่งอดีตธรรมนั้นให้เหมือนอยู่ในธรรมปัจจุบัน หากเจอคู่อริใหม่ก็จะด่าใหม่ ล้วนเป็นอารมณ์อนาคตที่ยังมาไม่ถึง บางครั้งเห็นหน้าเขามาแต่ไกล ก็บ่นหรือด่าในใจแล้ว ต้นเหตุจากพรหมวิหาร ๔ ไม่มีเลยในขณะนั้น นี่แหละคือวิภาวตัณหา

๘. “ตัวอยากโลภก็เช่นกัน โลภในคน สัตว์ วัตถุ ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เห็นว่ามันสวยสดงดงาม เป็นที่ถูกใจหรือพอใจ นี่คือกามตัณหา เมื่อได้มาแล้วก็หลง อยากให้มันมีความทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง นี่คือภวตัณหา แต่ในที่สุด คน สัตว์ วัตถุ ทรัพย์สินต่าง ๆ แม้กระทั่งร่างกายของตนเอง ซึ่งมาจากธาตุ ๔ ก็ต้องเสื่อม เศร้าหมอง หาความสดใสไม่ได้ ร่างกายก็ต้องป่วย ต้องแก่ วัตถุธาตุก็ต้องเก่าทรุดโทรมไปตามกาล ตามสมัย แต่จิตหลงหรือโง่ ไม่ยอมรับความเป็นจริง จิตมีอารมณ์เสียดาย จะให้อดีตกลับมาเป็นปัจจุบันใหม่ ไม่เข้าใจกฎของไตรลักษณ์ หรือกฎธรรมดาของโลก นี่คือวิภวตัณหา

๙. “เมื่อร่างกายนี้ตายแล้ว แต่อารมณ์จิตยังไม่รู้จักพอ มีแต่ความทะยานอยาก หลงอยู่ในสภาวะของตัณหา ๓ ประการ จึงเป็นเหตุให้เกิดต่อ ๆ ไปไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเป็นดวงจิตที่ไม่รู้จักยุติกรรม มีความหลงในร่างกาย หรือหลงในอายตนะสัมผัสที่เรียกว่า สักกายทิฏฐิ (ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย) ทำให้อยากโกรธ อยากโลภ อยากหลง ต่อกรรมไปในทางทะยานอยากตามสภาวะของตัณหา ๓ ประการ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:46



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว