#1
|
|||
|
|||
![]()
อย่าตำหนิกรรมของผู้บอกบุญ สร้างพระภายนอกและทานบารมี
ในคืนวันนั้น สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอน ดังนี้ ๑. “อย่าถือสาระ เคร่งเครียดเกินไปสำหรับทานภายนอก ถ้าหากมีโอกาสก็บอกต่อบุคคลทั่วไป อันเห็นสมควรจะบอกได้ แต่ให้เขาไปบริจาคกับหลวงพี่โอ เจ้าของเรื่องเอง ไม่จำเป็นที่จักต้องเป็นธุระเก็บเงินรวบรวม บอกแล้วผ่านเลย ใครจักทำหรือไม่ก็แล้วแต่ศรัทธาของบุคคลผู้นั้น” ๒. “แล้วอย่าเพิ่งไปตำหนิหลวงพี่โอ ที่ทำศรัทธาของเจ้าให้ตกไป จงมองเห็นปกติในบารมีธรรมของหลวงพี่โอ ที่หาได้รับการทำบุญทำทานตามกำลังศรัทธาของญาติโยม อย่างหลวงพ่อของเจ้าทำ” ๓. “ท่านฤๅษีนั้นตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้ขาดหมดแล้ว จึงมีจิตถึงพร้อมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา รู้รอบตามปฏิปทาที่ตถาคตหรือพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ได้ตรัสไว้ในบารมีของทาน ตัวอย่างเช่น ท่านอนาถบิณฑกเศรษฐีที่ตกอับ เพราะมีอุปฆาตทางด้านทรัพย์สินเกิดขึ้น มีเพียงปลายข้าวหัก ต้มถวายองค์สมเด็จปัจจุบัน กับน้ำผักดองเป็นกับ ก็ยังนับว่าเต็มด้วยทานบารมี หรือท่านเมณฑกเศรษฐีกับภรรยา ที่อดีตชาติถวายทองคำเปลวเท่าปีกริ้น เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เต็มความตั้งใจ” ๔. “ตถาคตและพระสาวกผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสเศร้าหมองของจิตแล้ว ย่อมรับทานนั้นด้วยความเต็มใจ เต็มความตั้งใจของผู้ให้โดยบริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล หรืออีกนัยหนึ่ง องค์สมเด็จปัจจุบัน ทรงรับแป้งจี่จากนางบุญทาสีเป็นต้น” ๕. “จริยาของผู้รับจะบริสุทธิ์ได้ ก็ต้องรักษาปฏิปทาตามนี้ไว้ คือ รับโดยเต็มจุดประสงค์ของผู้ให้ทาน เป็นการได้บุญเต็ม คือ บริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย พระสาวกผู้จะกระทำตามนี้ได้ อย่างน้อยก็ต้องตัดสังโยชน์ได้ ๕ ข้อเบื้องต่ำได้แล้ว อีกทั้งเป็นผู้ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของตถาคต และพระสาวกที่ได้กระทำมาเป็นตัวอย่างในพระไตรปิฏกแล้ว คือ มีความเข้าใจปฏิปทาของตถาคต และพระสาวกได้ดีพอด้วยปัญญา มิใช่สักแต่ว่าอ่าน แล้วใช้สัญญาจำได้ว่า พระไตรปิฏกจารึกไว้ว่าอย่างไร จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาด้วยว่า ตถาคตและพระสาวกนั้นกระทำอย่างนั้นเพื่อจุดประสงค์อันใด และผู้ทำบุญด้วยจิตบริสุทธิ์เต็มกำลังทานนั้น ได้รับผลประการใด หวังว่าเจ้าคงจักเข้าใจในบารมีธรรมที่กล่าวมานี้” ๖. “ไม่ว่าบารมีธรรมของผู้ให้ทาน บารมีธรรมของผู้รับทาน ย่อมมีเป็นประการใด และแตกต่างกันไปเป็นธรรมดาของระดับจิต อย่าไปตำหนิกรรมของหลวงพี่โออีก” (เพื่อนผมท่านจะฟุ้งต่อไปว่า สมัยหลวงพ่อหนึ่งสลึงท่านก็รับ ไม่เคยทำให้ผู้ให้ทานเสียศรัทธา ทรงตรัสว่า ฟุ้งพอหรือยัง ก็ตอบว่าพอแล้ว) ๗. ทรงตรัสว่า “ยังไม่พอ เอาไว้เวลาต่อไปจะนำเรื่องทานบารมีนี้ไปเป็นแนวทางพิจารณาพระสูตรตามที่ท่านฤๅษีได้สอนมาตามพระไตรปิฏก จักได้เกิดปัญญาเข้าใจในปฏิปทาของพระพุทธเจ้าและพระสาวกว่า ทำไปในแต่ละเรื่องนั้นเพราะอะไร ทุกอย่างในพระไตรปิฏกเป็นคำสอนที่มุ่งเกี่ยวกับบารมี ๑๐ เต็ม ศีล สมาธิ ปัญญาก็ย่อมเต็ม การถือบวชทางใจ เนกขัมมบารมีตามโอวาทปาฏิโมกข์ ก็เต็มได้ตามปัญญาที่พิจารณาธรรมนั้น ๆ” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 25-05-2010 เมื่อ 14:57 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
![]()
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|