กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 19-04-2010, 23:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,723 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓

ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า..กำหนดความรู้สึกไหลตามลมเข้าไป..พร้อมกับคำภาวนา หายใจออก..กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา..พร้อมกับคำภาวนา ถ้าหากไปนึกคิดถึงเรื่องอื่น รู้ตัวเมื่อไรให้ดึงกลับเข้ามาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของเราทันที

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงการปฏิบัติธรรมของเราทางเว็บไซต์วัดท่าขนุน เพื่อเป็นโอกาสแก่ญาติโยมทั้งหลายที่อยู่ทางบ้าน จะได้ปฏิบัติพร้อมกันไปด้วย

เมื่อครู่นี้ได้กล่าวแล้วว่า ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่สงบเรียบร้อยนี้ สถานการณ์ยิ่งย่ำแย่เท่าไร เรายิ่งจำเป็นต้องมีสติสัมปชัญญะมากเท่านั้น ยิ่งจำเป็นต้องมีกำลังใจที่เข้มเข็งมากเท่านั้น การที่เราจะสร้างสติสัมปชัญญะและสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งนั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือการระลึกถึงลมหายใจเข้าออก หรือว่าอานาปานสติ การตามรู้ลมหายใจเข้าออกนั่นเอง

การที่เรากำหนดความรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกนั้น เป็นการผูกจิตของเราเอาไว้ ไม่ให้ส่งส่ายไปในเรื่องอื่น ท่านเปรียบไว้ว่า จิตของเรานั้นซนมากเหมือนกับลิงตัวหนึ่ง ถ้าเราปล่อยโดยปราศจากการผูกมัด ลิงตัวนี้ก็จะกระโดดโลดเต้นไปในสถานที่ที่มันชอบใจ ไม่ยอมอยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ยอมรับการฝึกหัดต่าง ๆ จึงจำเป็นที่เราจะต้องผูกมัดเอาไว้กับหลัก หลักและเส้นเชือกนั้นก็คือลมหายใจเข้าออก คืออานาปานสตินี่เอง

อานาปานสติ หรือว่าลมหายใจเข้าออกนี้เป็นกรรมฐานใหญ่ เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทั้งปวง บุคคลที่จะฝึกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นสมถกรรมฐานหรือว่าวิปัสสนากรรมฐานก็ตาม ถ้าหากว่าขาดอานาปานสติ จะไม่มีทางประสบความสำเร็จในการปฏิบัติได้เลย อารมณ์ปฏิบัติของเขา อย่างเก่งก็จะสุดอยู่แค่อุปจารสมาธิ อุปจารฌาน หรือว่าปฐมฌานอย่างหยาบเท่านั้น แล้วก็จะสลายคลายตัวไปโดยง่าย

ดังนั้น..จึงจำเป็นที่ทุกท่านจะต้องสละเวลาในแต่ละวัน จะเป็นเวลาเช้าหลังจากตื่นนอนแล้วก็ดี หรือว่าเวลาค่ำหลังจากเสร็จธุระกิจการงานต่าง ๆ แล้วก็ดี มาประพฤติปฏิบัติโดยการนั่งสมาธิภาวนา กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเอง เพื่อสร้างสติสมาธิของเราให้มั่นคงให้แนบแน่นยิ่งขึ้น จนกระทั่งสามารถทรงเป็นอัปปนาสมาธิ คือตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป แล้วพยายามรักษาอารมณ์ฌานนั้นไว้ ซักซ้อมการเข้าออกให้คล่องตัว เพื่อที่เราจะได้อาศัยกำลังของฌานสมาบัตินั้น ส่งผลให้เราเป็นผู้ที่มีสติสมาธิที่ทรงตัว มีกำลังใจที่เข้มแข็ง สามารถใช้งานได้ทั้งในทางโลกและทางธรรม
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-04-2010 เมื่อ 03:36
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 19-04-2010, 23:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,723 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การทรงสมาธินั้น ถ้าหากเป็นท่านที่ฝึกใหม่ แรก ๆ ก็จะยากในการตามรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเอง หรือว่าแม้จะเป็นท่านที่ฝึกเก่าก็ตาม แต่หากขาดการประพฤติปฏิบัติให้ต่อเนื่อง ยังมีการละทิ้งให้จิตของเราไปเสวยอารมณ์อื่น ๆ ในแต่ละวันแต่ละเวลา มากกว่าการอยู่กับลมหายใจเข้าออก ถ้าอย่างนั้นถึงท่านจะเป็นผู้เก่าก็จะปฏิบัติได้ยากเช่นกัน

การปฏิบัติในอานาปานสติ นอกจากจะทำให้กำลังใจของเราทรงตัว ทำให้กำลังใจของเราแนบแน่นเข้าสู่ระดับของอัปปนาสมาธิแล้ว ถ้าทำได้คล่องตัวจริง ๆ อานาปานสติจะมีผลพิเศษ คือช่วยให้เราสามารถที่จะละกิเลสต่าง ๆ ได้เช่นกัน

อย่างเช่นว่า เมื่อท่านทั้งหลายทรงอยู่ในปฐมฌานละเอียด รัก โลภ โกรธ หลงต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดขึ้นในจิตในใจของเราได้ สติ สมาธิ ปัญญา จะทรงตัวตั้งมั่นและผ่องใส เราก็จะเห็นว่า การที่เราสามารถรักษาสมาธิของเราให้ทรงตัวได้นั้น กิเลสต่าง ๆ ไม่สามารถจะกินใจได้ ก็จะใช้ปัญญาในการพินิจพิจารณา ระมัดระวังรักษาไม่ให้หลุดไปจากอานาปานสตินั้น

ถ้าเราสามารถรักษาอานาปานสติได้ต่อเนื่องและยาวนาน กิเลสที่ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ นานไป ๆ ก็หมดกำลัง ท้ายสุดก็สลายตัวไปเอง เปรียบเหมือนกับการที่เราใช้ไม้ท่อนใหญ่หรือหินก้อนใหญ่ทับหญ้าเอาไว้ ถ้าหากว่าทับได้ยาวนานพอ หญ้านั้นก็จะตายไปเอง ในขณะเดียวกันถ้าหากว่าจิตทรงตัวตั้งมั่น มีความผ่องใสอย่างแท้จริง เราก็จะเกิดปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงต่าง ๆ ในเมื่อเห็นทุกข์เห็นโทษ จิตก็จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด คลายความปรารถนาจากอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อจิตถอนออกมาจากความปรารถนาทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว อารมณ์ทั้งหลายที่ไม่มีจิตไปปรุงแต่ง ก็ไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้ ถึงเวลาก็เสื่อมสลายคลายตัวไปเอง เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-04-2010 เมื่อ 03:38
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 20-04-2010, 08:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,723 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า จริง ๆ แล้วในการปฏิบัติกรรมฐานนั้น จะเป็นสมถกรรมฐานก็ตาม หรือวิปัสสนากรรมฐานก็ตาม ในส่วนของลมหายใจเข้าออกหรืออานาปานสตินั้น สามารถที่จะสร้างความสุขให้เราทั้งในปัจจุบัน คือ ถ้าอารมณ์ใจทรงตัวตั้งมั่น จิตไม่ส่งส่ายวุ่นวาย เราก็จะมีความสงบ ความสุข ความเยือกเย็นทั้งกาย วาจา และใจ

ความสุขในอนาคต คือถ้าอารมณ์ใจทรงตัวตั้งมั่นตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป เราก็ไปเกิดเป็นพรหมชั้นต่าง ๆ ตามกำลังของเราได้ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็คือว่า สามารถที่จะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเข้าพระนิพพานได้

โดยเฉพาะความพิเศษอีกส่วนหนึ่งก็คือว่า บุคคลที่มีความชำนาญในอานาปานสติจริง ๆ นั้น สามารถรู้วันตายของตนเองได้ แม้ว่าการรู้วันตายนั้นจะไม่ใช่สาระแก่นสารในการปฏิบัติ แต่บุคคลที่มั่นใจ รู้ และเชื่อแน่ว่าตนเองจะต้องตายนั้น ย่อมเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต มีแต่จะเร่งปฏิบัติภาวนา เร่งการพิจารณาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกระทั่งท้ายสุดก็ไปสู่จุดหมายของตนคือพระนิพพานได้

ดังนั้น..ในวันนี้ให้ท่านทั้งหลายกำหนดความรู้สึกของตนอยู่ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หายใจเข้าผ่านจมูก..ผ่านกึ่งกลางอก..ไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้อง..ผ่านกึ่งกลางอก..มาสุดที่ปลายจมูก จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ที่เราถนัดและชอบใจ หายใจเข้ากำหนดรู้ลมพร้อมกับคำภาวนา หายใจออกกำหนดรู้ลมพร้อมกับคำภาวนา ให้ทุกท่านกำหนดความรู้สึกเอาไว้อยู่แค่ลมหายใจเข้าออก อย่าให้เคลื่อนในสู่อารมณ์อื่น ให้กำหนดรู้อย่างนี้ กำหนดภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อย จนกว่าจะได้สัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันเสาร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-04-2010 เมื่อ 09:20
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:43



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว