#1
|
|||
|
|||
![]()
ทำกรรมฐานอย่าทวนจริต จักไม่ได้ผล
เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ มิ.ย. ๒๕๓๖ เพื่อนผมท่านฝันว่ามีคนมาสั่งซื้อน้ำตาลทรายที่ร้านของท่าน ๖ กิโลกรัม เดี๋ยวจะมาเอา ท่านก็เอาน้ำตาล ๖ กิโลกรัมใส่ถุงไว้ให้เขา (แต่ ๖ กิโลกรัมใส่ถุงเดียว) พอเขากลับมาเอาน้ำตาล เขาก็บอกว่า ๖ กิโลกรัมนั้น ฉันต้องการแบ่งเป็น ๖ ถุง ๆ ละ ๑ กิโลกรัม ท่านก็รู้สึกไม่พอใจ จิตไปโทษลูกค้าว่าสั่งของไม่บอกให้ละเอียด แต่ก็นิ่งไว้ เพราะการค้าขายต้องเอาใจลูกค้าเป็นธรรมดา เมื่อตื่นขึ้นมาก็เอาความฝันมาพิจารณาเป็นธรรม แต่คิดเท่าไรก็คิดไม่ออก สมเด็จองค์ปัจจุบัน ก็ทรงพระเมตตาตามมาสอนให้ มีความสำคัญดังนี้ ๑. จักทำกรรมฐานให้ได้ผลนั้น ต้องทำตามอารมณ์ของจิต และต้องแยกดูกามฉันทะ และปฏิฆะ ว่าเกิดขึ้นด้วยสาเหตุอันใดให้ละเอียด อย่าทำกรรมฐานทวนจริตจักไม่ได้ผล ๒. ตามที่คุณหมอกล่าวถึงท่านสัมภะเกสีสอนว่า อย่าให้อารมณ์มันหลอกเรา เราต้องหลอกอารมณ์นั้น มันก็ถูก แต่จักให้ถูกจริง ๆ แล้ว ตัวเราต้องหมั่นรู้เท่าทันอารมณ์ในขณะจิตนั้นด้วย เหมือนอุปมาธรรมชาวโลก รู้ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าประเภทนั้นอยู่ แต่จักต้องรู้ความต้องการใช้สินค้า ครั้งละเท่าไหร่ของลูกค้าไปด้วยโดยละเอียด จึงจักขายสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้า ๓. ทางโลก การค้าขายต้องตามใจลูกค้าผู้ซื้อฉันใด ทางธรรมการปฏิบัติก็เช่นกัน กามฉันทะและปฏิฆะเข้ามาในจิต เจ้ารู้อยู่ว่ากามฉันทะและปฏิฆะ แต่จักต้องรู้ต่อไปว่า สาเหตุที่เกิดกามฉันทะและปฏิฆะนั้นเพราะเหตุใด เกิดขึ้นมากน้อยเท่าไหร่ก็ต้องรู้ ศึกษาแยกแยะอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ) กล่าวคือศึกษาจริต ๖ ที่เกิดขึ้นกับอารมณ์จิต โดยรู้เท่าทันในแรงหรือในกำลังจริต ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น (โกรธมากหรือน้อย พอใจมากหรือน้อย) แล้วใช้กำลังกรรมฐานเข้าแก้จริต ๖ ไปตามกำลังของจริตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นจึงจักได้ผล |
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
![]()
๔. “ดูความต้องการของลูกค้าฉันใด ก็ดูความต้องการของจิตฉันนั้น อย่าแก้อารมณ์พร่ำเพรื่อ จักมากไปหรือน้อยไปก็ไม่ได้ผล ต้องแก้ให้พอดีกับกำลังของอารมณ์ด้วย”
๕. “อุปมาเหมือนกำลังไฟมี ๑๐๐ แรงเทียน เจ้าจักใช้หลอด ๒๐๐ แรงเทียนมาใส่ มันก็ช็อตได้ฉันใด อารมณ์จิตที่ได้รับการป้อนพระกรรมฐานไม่ตรงกำลังของจริต ก็ไม่ได้ผลฉันนั้น อารมณ์บ่นคือไม่ตรงกับความพอใจคนขายก็เกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นความโง่ของคนขายเอง ที่ไม่ศึกษา ไม่ซักถามหรือใคร่ครวญถึงความต้องการของคนซื้อ รู้แต่ว่าต้องการน้ำตาล แต่ไม่ฉลาดที่จักรู้ความว่า ต้องการใช้น้ำตาลอย่างไร อารมณ์จิตก็ฉันนั้น ถ้าเรารู้ไม่เท่าทันตามจริตที่เกิดขึ้นมากเกิดขึ้นน้อยในแต่ละครั้ง แก้ไขอย่างไรก็ไม่พอดี มากไป น้อยไป ก็ไม่ได้ผลฉันนั้น” ๖. “ศึกษาความต้องการของจิตให้ดี ๆ อย่าตามใจคนขาย ต้องตามใจคนซื้อ ทำกรรมฐานอย่าทวนจริต จักไม่ได้ผล” ๗. “เหมือนกับหมอรักษาคนไข้ จักต้องรู้อาการของคนไข้ รู้ต้นเหตุของการเป็นไข้ รู้กำลังของการเป็นไข้นั้น จึงจักรักษาโรคตามที่คนไข้เป็นได้ การให้ยาก็ต้องตรงกับโรคที่คนไข้เป็นอยู่ ให้อย่างไรจึงจักพอดีกับกำลังโรคนั้น ให้มากเกินไป คนไข้ก็อาการหนักเพราะยาเกินกำลัง ให้น้อยเกินไป อาการก็ไม่หาย เพราะได้ยาไม่เท่าที่โรคต้องการ” |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
![]()
๘. “การปฏิบัติพระกรรมฐานให้ได้ผลก็เช่นกัน จักต้องรู้กำลังของจริตที่เกิดขึ้นกับจิต รู้โรคอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้กำลังของจริตที่เกิดขึ้นกับอารมณ์นั้น ๆ ด้วย ตถาคตอุปมาอุปมัยมาประการนี้ ขอให้พวกเจ้าสนใจนำไปปฏิบัติให้พ้นทุกข์ จากจริตที่ครอบงำอารมณ์อยู่ทั้ง ๖ ประการ ตามวาระ ตามสัมผัสที่เข้ามากระทบจิตอย่างรู้เท่าทัน พวกเจ้าก็จักเห็นผลได้ตรงนั้น”
ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม ๔) รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com ![]() |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|