#1
|
|||
|
|||
![]()
อารมณ์หนักใจ กับอานาปานุสติ
ในวันต่อมาสมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาช่วยตรัสสอนต่อ เรื่องอารมณ์หนักใจ คือ ความเครียดจากลืมอานาปาว่า ๑. “จักอยู่ที่ใดก็ตาม จักทำงานประเภทใดก็ตาม ต้องกำหนดจิตจับเป็นกรรมฐาน รู้ลมอยู่ตลอดเวลา” ๒. “พยายามทำให้จิตเกิดความเคยชินในอารมณ์สมถะและวิปัสนานั้น ๆ” ๓. “รู้ด้วยอารมณ์เบา ๆ ทำจิตให้สบาย ๆ เวลานี้อารมณ์จิตของเจ้ายังค่อนข้างหนักอยู่ แต่รู้แล้ว จงหมั่นวางจิตให้สบาย อย่าไปยึดเกาะเวทนานั้น ๆ” ๔. “และจงอย่าลืมรู้ลมให้มาก ๆ เพราะอานาปานุสติกรรมฐานนี้ สามารถระงับเวทนาของร่างกายได้อยู่แล้ว อย่าปล่อยจิตให้เกาะเวทนามากเกินไป เพราะอาการเวทนาจักดึงจิตให้ฟุ้งซ่าน ก็พึงยิ่งต้องรู้ลม เพราะอานาปานุสติระงับความฟุ้งซ่านได้อย่างดี” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 23-03-2010 เมื่อ 15:42 |
สมาชิก 78 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
![]()
๕. “อนึ่ง เป็นปกติของคนเรา เมื่อร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย อารมณ์วิตกจริตมันเกิดขึ้น ก็ต้องหมั่นรู้ลมให้มากขึ้น เพราะอานาปานสติแก้วิตกจริตได้เป็นอย่างดีเช่นกัน”
๖. “อนึ่ง ควรคิดพิจารณาให้จิตยอมรับกฎของธรรมดา ว่าสภาพที่แท้จริงของร่างกาย ย่อมเป็นไปเพื่ออาพาธ (ป่วย) เป็นธรรมดา” ๗. “ไม่มีร่างกายของผู้ใดที่เกิดมาแล้ว จักไม่มีโรคภัยเข้าเบียดเบียน ชิคัจฉา ปรมา โรคา แม้ความหิวก็ได้ชื่อว่าเป็นโรค ที่เบียดเบียนอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่ามีร่างกาย ย่อมหนีอาพาธไปไม่พ้น หนีความเบียดเบียนไปไม่พ้น” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 25-03-2010 เมื่อ 10:51 |
สมาชิก 70 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
![]()
๘. “เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จงอย่าหนี ทำจิตให้ยอมรับความเป็นจริงของร่างกาย เบื่อหน่ายร่างกายด้วยเห็นทุกข์ เห็นโทษของร่างกาย ทำจิตให้คลายกำหนัดในการอยากมีร่างกายนี้เสีย ด้วยเห็นสภาพธาตุ ๔ มาประชุมกันเป็นอาการ ๓๒ เป็นของสกปรก และไม่เที่ยง มีความเสื่อม และสลายตัวไปในที่สุด”
๙. “เมื่อไม่อยากมีร่างกายเกิดขึ้นในอารมณ์จิตแล้ว ก็จงอย่าทำอารมณ์จิตให้เครียด จงปล่อยวางอารมณ์ที่หนักใจนั้นเสีย ทำอารมณ์จิต ให้ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงของร่างกายนั้นเสีย จิตก็จักเป็นสุข มีอารมณ์เบาได้” (ก็รับคำสั่งสอนนั้น แต่ก็ยังมีความหนักใจ เพราะวางอารมณ์เบื่อไม่ได้) ๑๐. ทรงตรัสว่า “ที่ยังวางไม่ลง เพราะจิตไร้กำลังตัดสักกายทิฏฐิ การพิจารณายังไม่ถึงที่สุด คือ จิตยังยึดเกาะร่างกายอยู่ เจ้าก็ต้องอาศัยรู้ลม ทำอานาปานุสติให้จิตมีกำลัง” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 23-03-2010 เมื่อ 15:44 |
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
![]()
๑๑. “การเข้าถึงฌาน จิตจักสงบได้เป็นระยะ ๆ ตามที่ต้องการ ตราบนั้นจิตจักมีกำลังพิจารณาร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราได้จนถึงที่สุด เมื่อนั้นจิตจักยอมรับกฎของธรรมดา และวางอารมณ์หนักใจลงได้”
๑๒. “เจ้าเห็นความสำคัญของอานาปานสติหรือยัง เห็นแล้วก็จงหมั่นเพียรให้มาก ๆ กรรมฐานทุกกอง จักเป็นผลขึ้นมาได้ ก็ด้วยอิงอานาปานสตินี้ พยายามรู้ลมให้มากในระยะนี้ จักอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม จักทำงานอะไรอยู่ก็ตาม ให้จิตกำหนดรู้ลมให้มาก ๆ” ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม ๔) รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-03-2010 เมื่อ 11:20 |
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|