ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 28-05-2021, 23:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,501 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

กระผม/อาตมภาพได้กราบเรียนถามพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ซึ่งตอนนั้นท่านเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลางว่า ทำไมหนกลางถึงได้กำหนดกฎเกณฑ์เรื่องพรรษาที่มากกว่าหนอื่น ๆ ? ก็คือผู้ที่จะสอบพระอุปัชฌาย์ต้องมีพรรษาพ้น ๒๐ ท่านให้คำตอบว่า ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์คือพ่อ พระกรรมวาจานุสาวนาจารย์หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า พระคู่สวดคือพี่เลี้ยง คนเป็นพ่อควรจะมีอายุที่ห่างจากลูกในระดับที่ยอมรับกันได้ ก็คืออย่างน้อย ๒๐ ปี

ฟังดูก็มีเหตุมีผลดี แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าหากว่าบวชตั้งแต่อายุครบ ๒๐ ปี พระอุปัชฌาย์ที่มีอายุ ๔๐ ปี บางทีวุฒิภาวะก็ยังไม่เพียงพอ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าคณะใหญ่หนกลางแต่เดิมถึงได้กำหนดเอาไว้ที่พ้น ๒๐ พรรษาไปแล้ว

ส่วนพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์ หรือที่เราเรียกง่าย ๆ ว่าพระคู่สวดนั้น ถ้าว่ากันตามพระวินัยก็คือพรรษาพ้น ๕ เรียกว่าพ้นจากนวกภูมิ คือพ้นความเป็นพระใหม่ มีนิสัยมุตตกะ คือศึกษาเรียนรู้จนมีความเข้าใจแล้ว พ้นจากการสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ แต่คณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีกำหนดไว้ที่พรรษา ๗ พูดง่าย ๆ ก็คือ ให้มีความมั่นคงมากขึ้น ให้มีการเตรียมตัวที่มากขึ้น จะได้มีความคล่องตัวในการทำหน้าที่ของตน

ในเรื่องของพระคู่สวดนั้น ของบ้านเรามาเพิ่มเติมขึ้นทีหลัง ปกติแล้วมีแต่พระกรรมวาจารย์รูปเดียว เป็นผู้สวดประกาศถามในท่ามกลางสงฆ์ คือตั้งญัตติ ๑ ครั้ง สวดอนุสาวนา ๓ ครั้ง ถ้าคณะสงฆ์ไม่คัดค้าน ถึงได้ประกาศว่าบุคคลนั้นได้รับการยกขึ้นเป็นอุปสัมบัน คือผู้ที่มีศีลเสมอกับพระภิกษุทั่วไปแล้ว แต่คณะสงฆ์ไทยของเราเพิ่มอนุสาวนาจารย์เข้ามา เพื่อให้ช่วยทวนว่าการสวดนั้นมีการผิดพลาดเป็นอักขระวิบัติหรือไม่ เพราะถ้าหากว่ามีวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ถือว่าการบวชนั้นไม่สมบูรณ์ บุคคลที่เข้าบวชไม่ได้เป็นพระภิกษุอย่างที่ตั้งใจเอาไว้

ผมเองไปพม่าอยู่หลายปี ยังมีโอกาสได้เห็นการสวดกรรมวาจารย์โดยอาจารย์รูปเดียว ทั้งในวัดที่ไปพักและทั้งที่ตัวกระผม/อาตมาภาพเองเป็นเจ้าภาพบวชให้ เพียงแต่ว่าพระกรรมวาจารย์ของทางพม่านั้น ไม่ว่าจะกี่สิบพรรษาแล้วก็ตาม เมื่อเข้าสวดกรรมวาจาจะถือคัมภีร์เข้าไปด้วยเสมอ เพื่อป้องกันการผิดพลาดอย่างแน่นอน ก็คือเปิดตำราสวด..! ไม่เหมือนกับทางบ้านเราที่ไม่ให้ใช้ตำรา แต่ว่าให้สองท่านสวดทวนพร้อมกัน ถ้ามีท่านใดท่านหนึ่งผิด ก็จะได้รู้ว่าผิดพลาดตรงไหน โดยมีพระอุปัชฌาย์คอยดูแลอยู่ ถ้าผิดพร้อมกันทั้งคู่ พระอุปัชฌาย์ก็ต้องตักเตือนเพื่อให้แก้ไขใหม่ จะได้ไม่เป็นอักขระวิบัติหรือกรรมวาจาวิบัติ

ในเมื่อค่านิยมเป็นแบบนี้ บ้านเราก็เลยมีพระกรรมวาจาสวด ๑ รูป พระอนุสาวนาคอยทวน ๑ รูป จึงกลายเป็นคู่สวด ก็คือสวดคู่กันไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-05-2021 เมื่อ 01:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา