ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 02-08-2023, 21:41
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 74,358 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า สมัยก่อนตลอดจนกระทั่งสมัยนี้ก็ตาม คนแขกขโมยเก่งมาก..! ท่านใดที่มีประสบการณ์ไปอินเดีย โดยเฉพาะนั่งรถไฟ ข้าวของอาจหายหมดตัว ไม่รู้ว่าหายตอนไหนด้วย ญาติโยมบางท่านไปถึงขนาดใช้โซ่ล่ามหมา ก็คือ โซ่เล็ก ๆ ที่บ้านเราปกติใช้จูงหมา ล่ามกระเป๋าเดินทางของตนเองติดข้อมือเอาไว้ ตื่นขึ้นมาเหลือโซ่แค่ครึ่งเส้นเท่านั้น กระเป๋าเดินทางหายไปแล้ว..!

องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็เกรงว่า พระสงฆ์สมัยนั้นหาผ้าได้ยาก ถ้าหากว่าโดนโจรขโมยผ้าไปก็ต้องลำบาก เพราะว่ามัวแต่เสาะหาอยู่ก็เสียเวลา จะไปขอจากญาติโยมตรง ๆ ก็เป็นการเบียดเบียนเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงกำหนดให้ พระภิกษุต้องอยู่โดยมีผ้าครองติดตัวเสมอ ก็คือ ห้ามอยู่โดยปราศจากไตรจีวร ยกเว้นว่าเจ็บไข้ได้ป่วย

ดังนั้น..สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครองจีวรติดตัวอยู่ โอกาสที่โจรจะมาขโมยไปซึ่งหน้าก็ไม่มี ยกเว้นว่าหลับขาดสติ ลอกจีวรจนหมดตัวก็ยังไม่รู้ตัว ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะช่วยได้อย่างไร

แล้วยังมีการกำหนดให้ 'พินทุ' คือ ทำเครื่องหมายในจีวร เพราะว่าเมื่อเวลาโดนขโมยไปแล้ว บางทีโจรขโมยทั้งวัดเลย เมื่อพระเจ้าแผ่นดินส่งพลตระเวนไปจับโจรได้ ยึดผ้าคืนมา ไม่ทราบว่าผ้าผืนไหนเป็นของใคร เพราะว่าสับสนปนเปกันไปหมด องค์สมเด็จพระบรมสุคตจึงกำหนดให้ พระเวลาจะใช้ผ้าใหม่ต้องทำการพินทุ คือ ทำเครื่องหมายเอาไว้ ถ้าเป็นวงกลม อย่างน้อยก็ต้องเท่าแววหางนกยูง เพื่อที่จะได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ตนเองทำเครื่องหมายไว้ตรงนี้ ผ้าผืนนี้นับว่าเป็นผ้าของเรา

กระผม/อาตมภาพเองไม่ค่อยได้ใช้วิธีนั้น เพราะส่วนใหญ่ก็เขียนชื่อหรือเขียนยันต์ติดลงไปเลย ถึงเวลาเขาเห็นก็จะได้รู้ว่าผ้าผืนนี้ไม่ใช่ของตนเอง เป็นต้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 03-08-2023 เมื่อ 05:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา