ดูแบบคำตอบเดียว
  #19  
เก่า 12-12-2021, 00:13
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,899 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้นก็เป็นปัญญาภูมินิเทส แสดงถึงปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ ส่วนนี้ถ้าท่านทั้งหลายไม่ได้ปฏิบัติเข้าถึงจริง ๆ ไปไม่รอดนะครับ

อวิชชาปัจจะยา สังขารา อวิชชาความไม่รู้หรือรู้ไม่หมด เป็นปัจจัยให้เกิดสังขารคือความปรุงแต่ง ไอ้รู้ไม่หมดนี่รู้อย่างไรครับ ? ก็อย่างเช่นว่าเห็นรูป เกิดยินดี เกิดพอใจ เมื่อเกิดยินดี เกิดพอใจก็อยากมีอยากได้สิครับ ตัวยินดีและพอใจนั่นแหละครับ ปรุงแต่งไปแล้วครับ ดังนั้น...ความไม่รู้เลยทำให้เกิดการปรุงแต่ง อวิชชาคือความไม่รู้ หรือรู้ไม่หมด ทำให้เกิดสังขาร การปรุงแต่งขึ้น

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง ในเมื่อคุณปรุงแต่งแล้ว จะรับรู้ได้อย่างไรละครับ ? ก็ต้องมีประสาทความรู้สึกคือวิญญาณ..ใช่ไหมครับ ? เมื่อสักครู่กล่าวแล้วว่าจักขุวิญญาณ ตาเห็นรูป โสตวิญญาณ หูได้ยินเสียง ฯลฯ

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ในเมื่อมีวิญญาณก็ต้องมีที่ให้อาศัย ก็เลยต้องมีนามรูป คือร่างกายนี้ให้วิญญาณอาศัยครับ

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ในเมื่อมีนามรูป อายตนะก็ย่อมเกิดขึ้นครับ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ในเมื่อมีอายตนะ ๖ ก็ย่อมมีสัมผัส อย่างเช่นว่าจักขุสัมผัสสชา การสัมผัสด้วยตา โสตสัมผัสสชา การสัมผัสด้วยหู

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา เมื่อมีการสัมผัส ก็ย่อมเกิดความรู้สึก อย่างที่เมื่อครู่บอกไปแล้วครับ จะเกิดความรู้สึก ๒ อย่างคือชอบหรือไม่ชอบ ชอบเป็นราคะ ไม่ชอบเป็นโทสะ เจ๊งทั้งคู่นะครับ..!

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นมา ก็เกิดความอยากครับ เลี่ยงในสิ่งที่ไม่ชอบ ต้องการในสิ่งที่ชอบ อยากทั้งคู่นะครับ แต่มีอันหนึ่งเขาเรียกว่าไม่อยาก ไม่อยากแต่จริง ๆ คืออยากครับ ไม่อยากแก่ คือ อยากไม่แก่ครับ ไม่อยากป่วย คือ อยากไม่ป่วย ในเมื่อตัณหาเกิดขึ้น คราวนี้ก็บรรลัยสิครับ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-12-2021 เมื่อ 02:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน