ดูแบบคำตอบเดียว
  #17  
เก่า 10-12-2021, 01:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,911 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้นก็ปริจเฉทที่ ๑๖ อินทริยกับสัจจนิเทส กล่าวถึงอินทรีย์ ๒๒ กับอริยสัจ ๔ ถ้าท่านที่ศึกษาแยกส่วนมาในวิปัสสนาภูมิ จะเห็นชัด ๆ เลยครับ ที่ท่านกล่าวถึง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ แล้วก็ไปอินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔

ตรงจุดนี้ก็ต้องบอกว่า มาถึงในส่วนของปัญญาล้วน ๆ พอมาถึงระดับนี้แล้ว ถ้าไม่ใช่นักปฏิบัติที่แท้จริง จะเข้าถึงยากมากครับ เพราะว่าอินทรีย์คือความเป็นใหญ่ ก็จะแยกออกมาว่าตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูป จมูกเป็นใหญ่ในการได้กลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการชิมรส เป็นต้น

พอมาถึงอริยสัจ ๔ นี่ ยิ่งหนักเข้าไปอีกครับ อย่าเป็นคนขี้สงสัยเป็นอันขาด เพราะว่าอริยสัจ ๔ เราท่องได้ทุกคนครับ ทุ สะ นิ มะ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ คือ อาการไม่สบายกาย ไม่สบายใจทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับเรา

สมุทัย คือ สาเหตุแห่งการเกิดทุกข์

นิโรธ คือ การดับทุกข์

มรรค คือ ปฏิปทาเพื่อการเข้าถึงความดับทุกข์

คนขี้สงสัยเขาก็จะสงสัยว่า ทำไมทุกข์มาก่อนสาเหตุได้ด้วยหรือ ? ต้องเกิดเหตุก่อนถึงจะทุกข์...ใช่ไหม ? แล้วนิโรธความดับ ทำไมมาถึงก่อน ? ทำไมหนทางแห่งความดับไม่มาก่อน ? เราเดินไปถึงหนทางนั้นจนสุดทางก็จะเข้าถึงความดับเอง คิดไปก็ประสาทกินนะครับ..!

ตรงจุดนี้อธิบายง่าย ๆ ครับ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา เพราะถึงเวลาความทุกข์เกิดขึ้น เราก็ "ทุกข์ฉิบหา..เลยโว้ย..!" มีใครไปหาเหตุไหมครับ ? ว่าทุกข์จากอะไร ก็แปลว่าทุกข์ต้องขึ้นมาก่อนครับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-12-2021 เมื่อ 03:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา