ดูแบบคำตอบเดียว
  #18  
เก่า 20-03-2022, 00:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,510
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,981 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้ายังไม่มีคำถาม ก็จะขอเพิ่มเติมให้ว่า อานาปานสตินั้น ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายศึกษาจากพระไตรปิฎก จะมีอยู่ทั้งในทีฆนิกาย และมัชฌิมนิกาย เป็นหลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน เพียงแต่เพิ่มเติมรายละเอียดมากขึ้น และอีกส่วนหนึ่งจะมีปรากฏอยู่ในวิสุทธิมรรค

ในวิสุทธิมรรคนั้นจะให้รายละเอียดว่า การปฏิบัติในอานาปานสติของเรานั้นมีวิธีการแบบใดบ้าง อย่างเช่นว่า วิธีการแบบผุสนา คือจับลมกระทบ จะเอากี่ฐานก็แล้วแต่ความถนัดของเรา กำหนดลมกระทบฐานเดียวที่ปลายจมูกก็ได้ หรือว่าที่ศูนย์กลางกายก็ได้ หรือจะกำหนดลม ๓ ฐาน จมูก อก ท้อง...ท้อง อก จมูก ก็ได้ หรือจะกำหนด ๗ ฐานก็ได้

ส่วนอผุสนานั้นก็คือการไม่กำหนดลมกระทบฐาน แต่เป็นการกำหนดรู้ตลอดตั้งแต่เข้าจนออก แล้วก็ไล่ไปเรื่อย ๆ ในลักษณะของการทรงฌานในระหว่างภาวนาบ้าง การกำหนดภาวนาเป็นชุด ๆ นับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ บ้าง แล้วแต่วิธีการว่าเราจะถนัดแบบไหน

ดังนั้น...ถ้าหากว่าท่านไปอ่านเจอเนื้อหาที่มีความแตกต่าง ขอให้รู้ว่าหลักอานาปานสตินั้น พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ทั้งในทีฆนิกายคือพระสูตรที่มีเนื้อหายาว และมัชฌิมนิกายพระสูตรที่มีเนื้อหาปานกลาง แล้วพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นนักแต่งตำรา ก็ยังเขียนตำราปกรณ์วิเสสที่ชื่อว่าวิสุทธิมรรค กล่าวถึงอานาปานสติไว้ มีรายละเอียดอย่างมาก จัดอยู่ในส่วนของสมาธินิเทสในวิสุทธิมรรค ดังนั้น...ท่านทั้งหลายจะอ่านไปตรงจุดไหนก็ตาม ถ้าหากว่าเห็นความแตกต่าง ขอให้รู้ว่าหลักการเหล่านั้น สามารถที่จะปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลได้เหมือน ๆ กัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-03-2022 เมื่อ 02:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน