ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #26  
เก่า 24-03-2009, 09:23
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ช่างบุ
Metal Beating



ช่างบุ เป็นช่างฝีมือประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ ได้ใช้ฝีมือทำการช่างในลักษณะตกแต่งผิวภายนอก ของงานประเภทศิลปภัณฑ์ ครุภัณฑ์ และสถาปัตยกรรมบางลักษณ์ด้วยงานบุ ให้มีคุณค่าสวยงามและมั่งคงถาวร
คำว่า "บุ" เป็นคำกริยาอย่างหนึ่ง หมายถึง การเอาของบางๆ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การตีให้เข้ารูป เช่น บุขันทองลงหิน เป็นต้น
ช่างบุ ที่เป็นช่างหลวงอยู่ในจำพวกช่างสิบหมู่มาแต่โบราณกาล คือ ช่างประเภทที่ทำการบุโลหะให้แผ่ออก เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปหุ้มคลุมปิดเข้ากับ "หุ่น" ชนิดต่างๆ เพื่อปิดประดับทำเป็นผิวภายนอกของ "หุ่น" ที่ทำขึ้นด้วย วัตถุต่างๆ เช่น ไม้ ปูน โลหะ หิน เป็นต้น ให้เกิดความงาม มีคุณค่า และความคงทนถาวรอยู่ได้นานปี
งานบุโลหะทำขึ้นสำหรับหุ้มห่อปิดคลุมหุ่นชนิดต่างๆ อาจทำแก่สิ่งที่เรียกว่าหุ่นขนาดย่อมๆ ไปจนกระทั่งทำ แก่หุ่นขนาดใหญ่มาก ดังตัวอย่างงานบุในแต่ละสมัยต่อไปนี้
เมื่อสมัยสุโขทัย มีความในจารึกบนหลักศิลาบางหลักระบุเรื่อง การตีโลหะแผ่เป็นแผ่นแล้วบุหุ้มพระพุทธปฏิมา กรอยู่หลายความ หลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า จารึกศิลาวัดช้างล้อม ระบุความว่า
"...จึงมาเอาสร้อยทองแถวหนึ่งตีโสมพอกพระเจ้า..."
สมัยล้านนา มีความว่าต้องการช่างบุนี้บันทึกเข้าไว้ในตำนานการสถาปนาศาสนสถานสำคัญมีความตอน หนึ่งใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าด้วยการบุโลหะหุ้มพระมหาเจดีย์ ณ วัดเจดีย์หลวง กลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อรัชกาล พระเจ้าติโลกราช
ต่อมาถึงสมัยอยุธยา พระพุทธปฏิมากรจำนวนไม่น้อยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงสมัยอันยาวนานถึง ๔๐๐ ปี ก็ได้รับความนิยมใช้โลหะมีค่าหุ้มห่อหุ้มองค์พระให้สวยงามและมีคุณค่าเพิ่มขึ้น พระพุทธปฏิมากรสำคัญองค์หนึ่ง ได้รับการบุด้วยทองคำ คือ พระพุทธปฏิมาพระศรีสรรเพชญ์
ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การช่างบุยังได้รับการผดุงรักษาให้มีอยู่ต่อมาในหมู่ช่างหลวงจำพวกช่างสิบหมู่ ได้ทำการบุโลหะเป็นเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ เช่น บุโลหะประดับฐานเบญจา บุทำพระลองประกอบพระโกศ บุธาร พระกร บุฝักพระแสง ฝักดอาบ และมีงานบุโลหะชิ้นสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่ง คือ บุษบกที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตน ศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง เป็นบุษบกที่ทำโครงสร้างด้วยไม้แล้วบุหุ้มด้วยทองคำทั้งองค์ ในจดหมายเหตุการ ปฏิสังขรณ์ วัดรพะศรีรัตนศาสดาราม เมื่อรัชกาลพระบาทสมเด็จพระรนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความบอกลักษณะบุษบก ไว้ว่า
"...และพระมหาบุษบกนั้น ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง สูงแปดศอกคืบแผ่สุวรรณธรรมชาติ หุ้มคงแต่เชิงฐานปัทมขึ้น ไปถึงสุดยอด"

งานบุ

งานบุ ซึ่งเป็นงานช่างที่ทำให้เป็นผลสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติงานตามขนบนิยมอย่างโบราณวิธีบุโลหะ อาจลำดับหลักการและวิธีการให้ทราบดังต่อไปนี้

วัสดุ

วัสดุที่เหมาะสมจะนำมาใช้สำหรับงานบุ ที่เป็นมาแต่กาลก่อน คือ
ทองคำ
ทองแดง
ดีบุก

เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานบุ

การปฏิบัติงานบุโลหะ ได้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตามความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน มีดังรายการต่อไปนี้
ค้อนเหล็ก สำหรับตีแผ่โลหะ
ค้อนไม้
ค้อนเขาควาย
ทั่งเหล็ก
กะหล่อน อุปกรณ์ชนิดหนึ่งลักษณะ คล้ายทั่ง แต่หน้าเล็กและมน
เติ่งไม้ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ท่อน หน้าเว้าตื้นๆ
กรรไกร
สว่านโยน
ไม้เนียน ทำด้วยเขาควาย
แม่พิมพ์ ชนิดทำด้วยหิน หรือทำด้วยไม้
ถุงทราย
ชันเคี่ยว
สิ่วสลักหน้าต่างๆ
หมุด ทำด้วยโลหะผสม

การปฏิบัติงานบุโลหะ

การปฏิบัติงานบุโลหะตามหลักการและวิธีการอย่างโบราณวิธีบุโลหะนี้ แบ่งออกเป็นงานบุโลหะ ๒ ลักษณะ ด้วยกันคือ
การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเรียบ
การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเป็นลวดลาย

การบุหุ้มอย่างผิวเรียบ

การบุโลหะในลักษณะนี้ หมายถึงการนำเอาโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งมาทำการตีแผ่ออกให้เป็นแผ่นแบนบางๆ ตามขนาดที่ต้องการ จึงนำเข้าปิดบุทับบนหุ่นที่ต้องการบุทำผิวให้เป็นโลหะชนิดนั้น มักบุลงบนสิ่งก่อสร้างประเภท ก่ออิฐถือปูนเป็นปูชนียสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์ หรือพระมหาธาตุเจดีย์ พระเจดีย์ทรงปราสาท เป็นต้น งานบุโลหะด้วยโลหะแผ่นเช่นนี้ส่วนมากยังนิยมลงรักและปิดทองคำเปลวทับลงบนแผ่นโลหะที่บุทับลงในที่ นั้น ดังความในโคลงที่ว่า
"เจดียลอออินทร ปราสาทในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม"
อนึ่ง งานบุโลหะแผ่นผิวเรียบแล้วลงรักปิดทองคำเปลวนี้สมัยโบราณเรียกว่า บุทองสุวรรณจังโก หรอบุทอง ปะทาสี
งานบุโลหะอย่างผิวเรียบนี้ ยังได้ทำขึ้นเป็นรูปปฏิมากรต่างๆ ด้วยหลักการบุ ตี ทุบ เคาะ แผ่นโลหะเรียบขึ้น เป็นรูปทรงในลักษณะประติมากรรม สำหรับบุหุ้ม "หุ่น" ที่ได้ทำขึ้นจัดทำเป็นรูปหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หรือไม้สลัก การบุโลหะลักษณะตามกล่าวมานี้ ภาษาช่างบุ เรียกว่า "หุ้มแผลง"

การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเป็นลวดลาย

มักใช้โลหะที่มีเนื้ออ่อนเช่นทองคำ โลหะที่มีเนื้อแข็งไม่เหมาะจะนำมาใช้งานบุลักษณะนี้
งานบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเป็นลวดลาย เป็นการทำแผ่นโลหะผิวเรียบๆ ให้เกิดเป็นลวดลายนูนขึ้นบนผิวหน้าแผ่น โลหะนั้น อ้วยการใช้แผ่นโลหะทำให้เป็นลวดลายด้วยแม่พิมพ์หินและตบด้วยถุงทรายก่อนจะนำไปบุทับลงบนหุ่น ชนิดต่างๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อรับการตกแต่งด้วยงานบุ งานบุลักษณะผิวเป็นลวดลายนี้ มักเป็นชิ้นงานในลักษณะราบ และการนำเข้าติดกับหุ่น ซึ่งมักทำด้วยไม้จึงมักใช้หมุดตะบู่เข็มทำด้วยทองเหลืองตรึงให้แผ่นหรือชิ้นงานติดกับหุ่น นั้น
งานของช่างบุที่เป็นมาแต่อดีตมีผลงานของช่างที่เป็นตัวอย่างต่อไปนี้
งานบุประดับสถาปัตยกรรม ได้แก่ บุพระสถูปเจดีย์ บุพระพุทธปรางค์ บุเครื่องลำยองประกอบหน้าบัน บุหัวเสา
งานบุประดับราชภัณฑ์ ได้แก่ ฐานพระเบญจา พระแท่นราชบัลลังก์ บุษบก พระลองประกอบพระโกศ ฝักพระแสง
งานบุประดับประติมากรรม ได้แก่ บุพระพุทธรูป บุพระพิมพ์ บุปลาตะเพียนทองเงิน เป็นต้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (29-04-2010)