ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #21  
เก่า 24-03-2009, 08:44
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

งานผูกหุ่นรูปภาพ

การงานของช่างผูกหุ่นและหุ่นรูปภาพนี้ คือ หุ่นที่ได้ทำขึ้นเป็นรูปมนุษย์ อมนุษย์ เทวดา และสัตว์หิมพานต์ เป็นงานประณีตศิลปที่สร้างขึ้นเนื่องด้วยคติความเชื่อตามประเพณีนิยม ในการพระราชพิธีสำคัญบางคราวบาง โอกาส เช่น คติความเชื่อเนื่องในพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพพระเจ้าแผ่นดินในอดีตสมัย ในการพระราชพิธีมี ธรรมเนียมว่าจะต้องผูกหุ่นทำเป็นรูปภาพ อมนุษย์ ครุฑ นาค และสัตว์หิมพานต์นานาชนิด ทำเป็นรูปภาพขนาดสูง ใหญ่เท่าคนเป็นๆ อาการยืนประจำแท่นติดลูกล้อให้คนชักลากไปได้ และบนหลังหุ่นรูปยังจัดตั้งมณฑปโถงขนาด เล็กสำหรับทอดผ้าไตรของหลวงไว้ในนั้น โดยเจ้าพนักงานจะนำไปเข้ากระบวนแห่ในการอัญเชิญพระบรมศพไปยัง พระเมรุมาศ ครั้นเมื่อเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธานในพระเมรุมาศแล้ว เจ้าพนักงานจะนำเอาหุ่น รูปภาพต่างๆ ตั้งแต่งเรียงรายรอบเชิงพระเมรุมาศ สมมุติเป็นอมนุษย์ สัตว์จัตุบาท สัตว์ทวิบาทที่มีในจังหวัด ณ เชิงเขาพระสุเมรุนั้น
หุ่นหรือหุ่นรูปภาพนี้ ทำขึ้นโดยอาศัย ไม้ไผ่บ้าง หวายบ้าง ทางมะพร้าว ทางหมากบ้าง นำมาผูกขึ้นเป็นโครง ร่างของรูปภาพที่จะทำขึ้นนั้นชั้นหนึ่งก่อน จึงบุผ้าหรือบุกระดาษหุ้มห่อโครงร่างนั้นขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง มีส่วนละเอียด พอสมควรแล้วจึงขึ้นด้วยรักสมุกทำรายละเอียด หรือช่างจะตกแต่งให้เป็นไปตามแต่จะเห็นงาม
หุ่นรูปภาพจำพวกนี้ นอกจากผูกทำขึ้นสำหรับนำเข้ากระบวนแห่อัญเชิญพระบรมศพและตั้งแต่งประดับราย รอบเชิงพระเมรุมาศ ยังได้ทำเป็นหุ่นรูปภาพต่างๆ สำหรับตั้งแต่งประดับซุ้มในงานที่เป็นพิธีการต่างๆ แต่งรถเข้า กระบวนแห่ในโอกาสต่างๆ เป็นต้น
งานช่างผูกหุ่นรูปภาพจัดว่าเป็นงานประณีตศิลปที่สำคัญประเภทหนึ่งต้องอาศัยฝีมือ และความสามารถของ ช่างหุ่น ที่อาจทำการได้ทั้งงานปั้น งานสลักกระดาษและการเขียนระบายสี พร้อมอยู่ในหุ่นรูปภาพที่ช่างหุ่นทำขึ้น อย่างวิจิตรและประณีตให้ดูประหนึ่งว่าเป็นของจริงแท้
อนึ่ง โดยที่งานผูกหุ่นรูปภาพเป็นงานที่จะต้องสร้างรูปภาพเป็นไปตามขนบนิยมและช่างผูกหุ่นรูปภาพจะยึด ถือแบบอย่างที่เป็นขนบนิยมอย่างเคร่งครัดในการผูกทำหุ่นสืบๆ กันมา ตังนี้เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาด คลาดเคลื่อน ไปจากแบบแผนของรูปภาพในการผูกหุ่นขึ้นในภายหลัง จึงได้มีการกำหนดรูปแบบของรูปภาพต่างๆ ที่จะผูกหุ่นขึ้น เป็นแบบแผน ใช้เป็นตำราสำหรับช่างผูกหุ่นรูปภาพได้ใช้ศึกษาและเป็นแบบแผนสำหรับผูกหุ่นขึ้นไว้เป็นแบบแผน โดยลำดับไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และแบบแผนรูปภาพสำหรับผูกหุ่นชุดนี้ได้รับความนับถือในหมู่ช่าง ศิลปกรรมแบบไทยประเพณีว่าเป็นตำราที่เป็นแบบฉบับอย่างสำคัญสำหรับงานผูกหุ่น ต่อมาจนกระทั่งถึงรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว งานผูกหุ่นรูปภาพโดยเฉพาะที่ใช้ในงานพระราชพิธีออกเมรุ ก็ได้หมดบท บาทตัวของมันเอง ยังคงมีการผูกหุ่นใช้ในงานอื่นๆ อยู่บ้างแต่ก็ห่างคราวกัน

งานผูกหุ่นเขาจำลอง
งานผูกหุ่นประเภทหลังนี้เป็นการผูกหุ่นทำเป็นภูเขาจำลองขนาดย่อมบ้าง ขนาดใหญ่และสูงบ้าง สำหรับใช้ ในการพระราชพิธีสำคัญๆ บางงาน อาทิ หุ่นเขาไกรลาสสำหรับพระราชพิธีโสกันต์ หุ่นเขาพระสุเมรุสำหรับพระราช พิธีออกเมรุ หุ่นเขาวงกตในพิธีเทศน์มหาชาติ
งานผูกหุ่นเขาจำลองนี้ ช่างหุ่นจะใช้ไม้จริงต่อกันขึ้นเป็นร่างร้านให้มีขนาดกว้าง ยาว และสูงตามประสงค์ จะทำหุ่นภูเขาขึ้น ณ ที่นั้นโดยเฉพาะหุ่นภูเขาที่สร้างขึ้นให้คนขึ้นไปได้บนภูเขาหุ่นนี้ เช่น ภูเขาไกรลาสในพระราช พิธีโสกันต์ จะต้องทำร่างร้านให้แข็งแรงมั่นคงพอจะรับน้ำหนักคนที่จะขึ้นไป และสิ่งปลูกสร้าง คือมณฑปและเครื่อง ตั้งแต่งขึ้นบนเขานั้นได้พอ
เมื่อทำร่างร้านขึ้นมั่นคงตามขนาดที่กำหนดได้แล้ว จึงใช้ไม้ไผ่ผ่าเป็นซีกๆ ยาวตามขนาด นำมาตั้งเป็นโครง รูปภูเขาหุ้มร่างร้านโดยขัดไม้และผูกด้วยเชือกปอ จัดและดัดให้เป็นรูปทรงก้อนหินใหญ่น้อยเรียงสลับทับเทินกันขึ้น ไปเป็นภูเขาตามขนาดและรูปทรงที่กำหนด
ครั้นผูกทำโครงร่างขึ้นได้ดังกำหนดแล้ว จึงใช้เสื่อลำแพนบุทับลงบนโครงร่างทำเป็นผิวของก้อนหินภูเขาให้ ทั่ว จัดแต่งเสื่อลำแพนให้เข้ารูป ได้ลักษณะจำลองหินผามาจากภูเขาจริง งานขั้นต่อไป คือการปิดกระดาษทับลงบน เสื่อลำแพนได้บุทับโครงร่างทำเป็นโครงกินหินภูเขานั้น โดยใช้กระดาษฟางทาแป้งเปียกปิดทับเสื่อลำแพนนั้น ประมาณ ๔-๖ ชั้น เพื่อทำเป็นผิวของก้อนหินและภูเขา ปิดกระดาษหุ่นภูเขาจำลองนี้ให้ทั่วหมด และพักไว้สักระยะ หนึ่งให้กระดาษที่ปิดแห้ง
พอกระดาษที่ปิดหุ่นภูเขาจำลองนี้แห้งแล้ว จึงระบายสีหุ่นภูเขาด้วยสีฝุ่น เขียนระบายสีให้ดูคล้ายภูเขาหินจริงๆ ทั้งหุ่นภูเขาจำลอง
อนึ่ง หุ่นภูเขาจำลองนี้ อาจตกแต่งด้วยต้นไม้ ชนิดไม้ใบ และไม้ดอก หรือตกแต่ง ด้วยรูปปั้นสัตว์ชนิดต่างๆ ให้ดูเป็นธรรมชาติและสมจริงย่อมทำได้ตามแต่จะเห็นงาม

งานช่างหุ่นเชิด

งานช่างหุ่นอีกประเภทหนึ่งคือ "งานช่างหุ่นเชิด" หุ่นเชิดเป็นเครื่องเล่นชนิดหนึ่งในงานมหรสพตามประ เพณีมาแต่โบราณ หุ่นเชิดนี้อาจทำขึ้นต่างกันเป็น ๓ แบบ คือ
หุ่นแบบที่มีแต่ศีรษะ ประกอบกับไม้กระบอกทำเป็นแกนตัวหุ่นและถุงผ้าคลุมต่างเสื้อ ติดมือเข้าที่มุมก้นถุงทั้ง สองข้างหุ่นแบบนี้เรียกว่า "หุ่นกระบอก"
หุ่นแบบที่มีส่วนศีรษะ ลำตัว แขน และขาครบเต็มตัว ห่อหุ้มด้วยเครื่องละครและมีเครื่องสวมที่ศีรษะแบบ ต่างๆ หุ่นแบบนี้ขนาดเล็ก สูงประมาณย่อมกว่า ๑ ศอกเล็กน้อยใช้เส้นด้ายร้อยไว้สำหรับชักให้หุ่นเคลื่อนไหวเลียนกิริยา คน หุ่นแบบนี้ เรียกว่า "หุ่นชัก"
หุ่นแบบหลัง ลักษณะคล้ายกันกับ "หุ่นชัก" แต่ทำขนาดตัวหุ่นใหญ่โตกว่า คือสูงประมาณศอกคืบหรือกว่านั้น เล็กน้อย หุ่นแบบนี้ใช้ไม้เรียวเสียบติดที่มือและเท้า เชิดทำกิริยาต่างๆ ตามบท โดยเหตุที่หุ่นแบบหลังนี้ตัวโตใหญ่ จึงต้องใช้คนเชิดมากกว่า ๑ คน และอาจทำกิริยาเลียนแบบละครรำได้แนบเนียนมาก หุ่นแบบนี้จึงเรียกกันว่า "หุ่นละครเล็ก"
หุ่นแต่ละแบบเกิดจากการใช้ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ทองหลาง ไม้สมพง ไม้อุโลก เป็นต้น ซึ่งเมื่อไม้จำพวกนี้แห้ง สนิทแล้วน้ำหนักเบา นำมาถากเหลาขึ้นเป็นหุ่นศีรษะ หุ่นลำตัว หุ่นแขนและมือ ขาและเท้าให้เป็นรูปโกลนขึ้นก่อน จึงใช้รักตีลายหรือรักสมุกปั้นทำส่วนละเอียดบนใบหน้า มือ เท้า และทำลวดลายเครื่องสวมศีรษะ เครื่องประดับร่าง กายเป็นลำดับต่อไป
กล่าวโดยเฉพาะส่วนใบหน้า มือและเท้า เมื่อปั้นส่วนละเอียดแล้วมักปิดทับด้วยกระดาษสาเนื้อละเอียดเสียชั้น หนึ่งก่อนจึงลงฝุ่นขาวแล้วเขียนสีลงตามที่เป็นคิ้ว ตา ปาก ไพรปาก ตามแบบที่เป็นขนบนิยมกันสืบมา
ส่วนเครื่องสามศีรษะและเครื่องประดับร่างกายนั้นก็จัดการเช็ดรักปิดทองคำเปลว แล้วติดกระจกทำเป็นแวว เทียบว่าประดับด้วยเพชรพลอยให้งามต่อไป
อนึ่ง ในส่วนเครื่องแต่งตัวหุ่นนั้น เป็นหน้าที่ของช่างเย็บ ช่างปักสะดึงกรึงไหม เป็นช่างต่างแผนกไปจากช่าง สิบหมู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (29-04-2010)