ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #18  
เก่า 24-03-2009, 08:33
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

การหล่อ

การหล่อโลหะ หรือภาษาช่างหล่อเรียกว่า "เททอง" หมายถึงการหลอมโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ทองสัมฤทธิ์ ให้ละลายเป็นของเหลวแล้วเทโหละหรือทองนั้นลงในแม่พิมพ์ทำเป็นรูปประติมากรรมตามแบบในแม่พิมพ์ นั้น เรียกกันมาแต่สมัยก่อนว่า "เททอง"
วัสดุสำหรับงานหล่อโลหะ มีอิฐมอญ เหล็กเส้น ดินเหนียว ทราย ขี้ผึ้ง ขี้เถ้าแกลบ
เครื่องมือสำหรับงานเททอง มีเตาสุมทอง เบ้าดิน คีมเหล็ก คีมเท กระจ่าเหล็ก สูบลมยืน
งานเททอง มีขั้นตอนที่จะต้องจัดทำ หรือเตรียมงานขึ้นก่อนการเททองอยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน คือ

การล้มหุ่น

การล้มหุ่น คือการเคลื่อนย้ายแม่พิมพืที่ได้จัดทำหุ้มหุ่นขี้ผึ้งขึ้นไว้ นำไปยังบริเวรที่จะทำการเททอง

การขึ้นทน

การขึ้นทน คือการยกแม่พิมพ์ที่ได้ย้ายมาขึ้นตั้งบนแท่นที่ซึ่งจะทำการเททอง โดยยกแม่พิมพ์กลับเอาด้านล่าง ตั้งขึ้น

การทำปากจอกและรูผุด

"ปากจอก" คือช่องกลวงๆ ทำขึ้นไว้สำหรับเททองหรือโลหะหลอมเหลวลงไปในแม่พิมพ์อยู่ตรงริมแม่พิมพ์
"รูผุด" คือช่องกลวงๆ สำหรับเป็นทางระบายอากาศ และความร้อนออกจากแม่พิมพ์ อยู่ริมขอบแม่พิมพ์ สลับกับปากจอก

การปิดกระบาน

"กระบาน" คือฝาปิดปากจอกและรูผุด ทำด้วยดินเหนียวผสมขึ้เถ้าแกลบ ปั้นเป็นแผ่นกลมๆ คล้ายงบน้ำอ้อย ตากแห้ง นำมาปิดบนปากจอก และรูผุดเพื่อกันความร้อนหนีออกจากแม่พิมพ์ขณะสุมไฟให้พิมพ์ร้อน

การติดรางถ่ายขี้ผื้ง


"ร่างถ่ายขี้ผึ้ง" ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ ตีให้โค้งคล้ายกาบกล้วยนำรางนี้วางรับปากกระบวน คือ ปลายสาย ชนวนที่อยู่ตอนล่างของแม่พิมพ์เพื่อถ่ายเทขี้ผึ้งในแม่พิมพ์ที่ละลายออกมาเมื่อแม่พิมพ์ได้รับการสุมไฟให้ร้อนขึ้นตาม ขนาด สุดปลายรางถ่ายขี้ผึ้งนี้ขุดพื้นดินให้เป็นหลุมลึกพอสมควร ใส่อ่างดินไว้ก้นหลุมสำหรับรับขี้ผึ้งที่ไหลออกมา ทางกระบวนผ่านรางลงมา

การสุมแม่พิมพ์

ก่อนการจะเททอง หรือเทโลหะหลอมเหลวลงในแม่พิมพ์จะต้องจัดการสุมไฟทำให้แม่พิมพ์ร้อนจัดเพื่อสำรอก ขี้ผึ้งที่ได้ปั้นทำเป็นหุ่นอยู่ภายในแม่พิมพ์ หลอมเหลวละลายแล้วไหลออกมาจากแม่พิมพ์ทางช่องชนวน และกระบวน ผ่านรางถ่ายขี้ผึ้งให้หมดไปจากข้างในแม่พิมพ์ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่า "สูญขี้ผึ้ง" คือ ขับขี้ผึ้งให้หายออกไปจากข้าง ในแม่พิมพ์ จึงจะจัดการเททองเข้าไปในช่องว่างในแม่พิมพ์แทนที่ขี้ผึ้งที่ถูกขับให้สูญไปนั้น
เมื่อสุมพิมพ์ไล่ขี้ผึ้งจนหมดแล้วและแม่พิมพ์สุกพอดี จึงเริ่มราไฟลงตามลำดับ ระหว่างที่ลดไฟลงนี้เรียกว่า "บ่มพิมพ์"
พอบ่มไปได้สักระยะหนึ่ง จึงจัดการรื้อเตาออก จัดการพรมน้ำดับความร้อนบริเวณพื้นดินใกล้เตา และนำม้า นั่งร้านมาเทียบแม่พิมพ์เตรียมไว้สำหรับช่างหล่อ จะยกเบ้าหลอมขึ้นไปเททองต่อไป

การหลอมทอง

การหลอมทอง คือการแปรสภาพโลหะด้วยความร้อนให้เป็นของเหลว เพื่อจะนำไปเทใส่ลงในแม่พิมพ์ การหลอมหรือภาษาช่างหล่อเรียกว่า "สุมทอง" นี้จะต้องทำไปพร้อมๆ กันกับการสุมแม่พิมพ์ จึงจะเททองได้พอดีกัน

การเททอง

การเททอง เป็นงานหล่อขั้นล่าสุด ช่างหล่อจะนำดินผสมทรายไปปิดอุดปากกระบวนเสียก่อน และใช้น้ำดินที่ เรียกว่า "ฉลาบ" พรมที่แม่พิมพ์ให้ทั่ว เพื่อประสานผิวแม่พิมพ์ให้สนิท จัดการเปิดกระบวนออกจากปากจอก และรูผุด ให้หมด จึงนำเบ้าใส่น้ำทองขึ้นมาเทกรอกลงในช่องปากจอกตามลำดับกันไป จนกระทั่งน้ำทองนั้นเอ่อขึ้นมาล้นรูผุด จึงหยุดการเททอง ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่า ทองขังเต็มช่องว่างในแม่พิมพ์นั้นแล้ว ก็เป็นเสร็จสิ้นธุระในการเททอง

การทุบพิมพ์

ภายหลังการเททองเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ต้องปล่อยแม่พิมพ์และทองหรือโลหะในแม่พิมพ์นั้นเย็นลงไปเองตาม ลำดับ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ ๒-๓ วัน จึงจัดการทุบแม่พิมพ์ รื้อแก้ลวดที่รัดแม่พิมพ์ออกให้หมด จนกระทั่งปรากฏ รูปประติมากรรมโลหะหล่อที่ได้เททองทำขึ้นนั้น

การตกแต่งความเรียบร้อย

เมื่อจัดการทุบทำลายแม่พิมพ์ออกหมดจนได้รูปประติมากรรมตามต้องการ แต่ยังเป็นรูปที่ไม่สู้เรียบร้อยดีจะ ต้องทำความสะอาดตกแต่งให้ดีงามต่อไป
อนึ่ง เนื่องด้วยคนไทยนิยมและยินดีกับรูปประติมากรรม โดยเฉพาะพระพุทธปฏิมากรที่มีผิวเกลี้ยงเรียบ อย่างที่ในหมู่ช่างหล่อ เรียกว่า "ผิวตึง" ดังนี้ งานประติมากรรม โลหะหล่อที่จัดเป็นศิลปแบบไทยประเพณี จึงต้องขัด แต่งทำให้ผิวเกลี้ยงและเรียบเสมอกันทั้งรูป หรือลงรักปิดทองให้สวยงาม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 8 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (29-04-2010)