ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #14  
เก่า 24-03-2009, 08:17
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,910 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ช่างสลัก
Engraving



ช่างสลัก เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ เป็นผู้มีความสามารถและฝีมือในการช่างทำลวดลาย หรือรูปภาพต่างๆ ขึ้นด้วยวิธีการที่เรียกว่า "สลัก" คำว่า "สลัก" อาจเรียกว่าจำหลักหรือฉลักก็มี เป็นวิธีการของช่าง ทำให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพ โดยวิธีใช้ "สิ่ว" เจาะเป็นต้น



งานของช่างสลัก เป็นไปในลักษณะศิลปภัณฑ์ที่ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุเหล่านี้ คือ ไม้ หิน หนัง กระดาษ เป็นสื่อสำหรับถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ ความงาม และความสามารถของฝีมือให้ปรากฏอาจแสดงออกเป็น รูปลักษณ์ด้วยลักษณะเป็นงานสลักรูปลอยตัว งานสลักรูปกึ่งลอยตัว งานสลักรูปกึ่งพื้นราบ และงานสลักรูปบนพื้น ราบ เป็นมาเช่นนี้โดยลำดับแต่โบราณกาล
งานของช่างสลักและวิธีการของช่างสลักที่เป็นมาตามแบบแผนซึ่งเป็นขนบนิยมและอย่างโบราณวิธี การสลัก นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และต่างวิธีในการปฏิบัติงานซึ่งแตกต่างออกไปบ้างเล็กน้อย เป็นความรู้ที่จัดเป็นภูมิ ปัญญาในด้านการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมแบบไทยประเพณีอย่างสำคัญสาขาหนึ่ง งานสลักต่างๆ มีดังต่อไปนี้

งานสลักไม้

งานสลักไม้ คืองานที่ใช้ไม้เนื้อดีมีคุณภาพคงทนถาวรเหมาะสมที่จะนำมาสลักทำขึ้นเป็นรูปทรงสิ่งต่างๆ ลวดลายหรือรูปภาพให้คงรูปอยู่เช่นนั้นได้นานๆ งานสลักไม้ในทางปฏิบัติโดยขนบนิยมอย่างโบราณวิธีสลักไม้ มีขั้นตอนที่เป็นความรู้พึงเข้าใจ ในลำดับต่อไปนี้
ไม้ เป็นวัตถุดิบพึงหามาได้จากธรรมชาติ ไม้แต่ละชนิดที่จะนำมาใช้ทำการสลักขึ้นเป็นลวดลายก็ดี รูปภาพก็ดี ต้องได้รับการคัดเลือกเอาแต่เนื้อไม้ที่คุณภาพดี ไม่ให้มีตาไม้ ไม่ย้อนเสี้ยน หรือมียางตกค้างอยู่มากใน เนื้อไม้นั้น จากนี้จึงนำไม้มาผึ่งในที่ร่มให้เนื้อไม้แห้งสนิท ถ้าได้เนื้อไม้ผึ่งค้างปีก็จะเป็นเนื้อไม้ที่คุณภาพดี จึงนำไม้นั้น มาตัดแบ่งเป็นท่อนหรือเป็นแผ่นตามขนาดที่ประสงค์จะนำมาใช้งานสลักไม้ต่อไป

เครื่องมืองานสลักไม้

การปฏิบัติงานสลักไม้ มีเครื่องมือสำหรับ ถาก ฟัน เจาะ ควักคว้าน และแต่งเกลาไม้สลักจนสำเร็จเป็นรูปไม้ สลักจนสำเร็จเป็นรูปไม้สลักดังประสงค์ตามรายการต่อไปนี้
ขวานหมู
ผึ่ง เครื่องมือถากไม้ รูปคล้ายจอบหน้าแคบ
สิ่ว หน้าต่างๆ คือ
สิ่วฉากหรือสิ่วหน้าตัดตรง
สิ่วหน้าเพล่ หรือสิ่วหน้าตัดเฉียง
สิ่วเล็บมือ หรือสิ่วหน้าโค้งรูป ๑/๔ วงกลม
สิ่วร่อง หรือ สิ่วหน้ารูปตัววี (V)
สว่านโยน เครื่องมือสำหรับเจาะไม้
ค้อนไม้
ไม้ตอกสิ่ว เครื่องมือสำหรับใช้แทนค้อนไม้ในบางที

การปฏิบัติงานสลักไม้

การปฏิบัติงานสลักไม้ ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนเป็นไปดังต่อไปนี้

การขึ้นรูปสลักไม้

การขึ้นรูปสลักไม้ คือขั้นตอนแรกเริ่มงานปฏิบัติงานส่วนสลักไม้ชั้นต้นจะต้องจัดการร่างแบบขึ้นบนท่อนไม้ หรือแผ่นไม้นั้นให้เป็นรูปร่างหรือลวดลาย พอเป็นเค้ารอยหยาบๆ ขึ้นเสียก่อนด้วยดินสอขาว จึงใช้หมึกตัดเส้นทับเส้น ร่างเดินสอขาวนั้นให้ชัดเจน จากนั้นจึงเริ่มงานขั้น "ขึ้นรูปสลักไม้" ด้วยการใช้ "ขวานหมู" หรือ "ผึ่ง" ฟัน ถาก ตัดเอาเนื้อไม้ส่วนที่ไม่พึ่งประสงค์ออกไปจากท่อนไม้จนกระทั่งเป็นรูปทรงเลาๆ ของรูปภาพเรียกว่า "หุ่นโกลน"

การจัดรูปไม้สลัก

การวัดรูป เป็นขั้นตอนสลักไม้ทำเป็นรูปภาพหรือลวดลายต่อเนื่องจากการที่ได้ขึ้น "หุ่นโกลน" การปฏิบัติงาน ขั้นนี้มักใช้สิ่วหน้าต่างๆ และขนาดต่างกัน สลักปรับเปลี่ยน "หุ่นโกลน" ให้ปรากฏทรวดทรงขนาด และส่วนสัดให้ ชัดเจนจนดูคล้ายจะเป็นรูปไม้สลักกึ่งสำเร็จงานสลักไม้ขั้นนี้เรียกว่า "รัดรูป" และชิ้นไม้สลักที่ผ่านขั้นตอนการรัดรูป แล้วนี้เรียกว่า "หุ่น"

การสลักส่วนละเอียด

การสลักไม้ขั้นนี้จัดเป็นขั้นตอนงานฝีมือที่ต้องใช้ความสามารถมากกว่าการปฏิบัติงานสลักไม้ขั้นต้นๆ เพราะ ต้องสลักทำส่วนละเอียดต่างๆ ของรูปภาพหรือลวดลายให้ปรากฏเห็นได้ชัดตามกระบวนแบบอันเป็นขนบนิยม ทั้งยัง เป็นช่องทางและโอกาสให้ช่างสลักได้แสดงออกความสามารถของฝีมือ ประสบการณ์ความชำนิชำนาญ และภูมิรู้ โดยเต็มกำลังของช่าง

การเก็บงานไม้สลัก

การเก็บงาน คือการตรวจดูความเรียบร้อยของงานไม้สลัก โดยตรวจเก็บส่วนที่ควรปรับควรแก้แต่งให้ดีให้ งามสมบูรณ์ และยังกินความถึง การสลักทิ้งฝีสิ่วไว้บนชิ้นงานให้เห็นความสดในการตัดสินใจอย่างแม่นยำฉับพลัน ในชิ้นงานนั้นหรือการแสดงออกวุฒิภาวะในทางสุนทรียภาพของช่างสลักฝากขึ้นไว้ในชิ้นงาน เช่น การสะบัดปลาย กระหนกอย่างพิสดารในขั้นสุดท้ายเป็นการเน้นการทำให้สมบูรณ์แก่ชิ้นงานเป็นขั้นท้ายที่สุด

การตกแต่งงานไม้สลัก

การตกแต่งงานไม้สลักปรกติมักทาน้ำมันเพื่อรักษาเนื้อไม้หรืออาจตกแต่งในลักษณะและวิธีการอื่นได้อีก คือ
การตกแต่งด้วยการลงรักปิดทองคำเปลว
การตกแต่งด้วยการเขียนระบายสี
การตกแต่งด้วยการประดับมุก
การตกแต่งด้วยการประดับกระจกสี
งานไม้สลัก ที่เป็นงานในหน้าที่ของช่างสลักไม้ มีงานไม้สลักแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้
งานสลักไม้ประเภทรูปปฏิมากรรม ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป รูปฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์
งานสลักไม้ประเภทรูปประติมากรรม ได้แก่ รูปนางกวัก รูปเจว็ด รูปอมนุษย์ รูปสัตว์หิมพานต์
งานสลักไม้ประเภทเครื่องอุปโภค ได้แก่ ม้าหมู่ ดั่ง เตียง ตู้ ม้าเครื่องแป้ง อัฒจันทร์ที่ตั้งพระกรอบสำหรับเข้า กระจก
งานสลักไม้ประเภทเครื่องยานพาหนะ ได้แก่ พระราชยาน เรือ พระที่นั่ง ราชรถ สีวิกา
งานสลักไม้ประเภทองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องยอดพระมหาปราสาท เครื่องประ กอบหน้าบัน ลายหน้าบัน คันทวย บุษบก บานประตู บานหน้าต่าง หย่อง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (29-04-2010)