ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #19  
เก่า 24-03-2009, 08:39
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ช่างกลึง
Turning


ช่างกลึง เป็นช่างฝีมือประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ งานช่างของช่างประเภทนี้ คือการสร้างทำสิ่งของ บางสิ่งขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ โดยวิธีการกลึงเป็นรูปทรงต่างๆ มีรูปลักษณ์ที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เป็นงานสร้าง ทำเครื่องอุปโภคและเครื่องสำหรับประดับตกแต่งซึ่งโดยมากเป็น ลักษณะทรงกลม ทรงกระบอก หรือรูปทรงกรวย กลม จัดเป็นงานประณีตศิลปอีกประเภทหนึ่ง



งานกลึงและวิธีการกลึงของช่างกลึง ที่เป็นศิลปกรรมแบบไทยประเพณี มีขั้นตอนและวิธีการเป็นลำดับไป ดังนี้

วัสดุสำหรับงานกลึง
วัสดุที่ช่างกลึงในอดีตได้นำมาใช้ทำการกลึงด้วยโบราณวิธีกลึงที่ยังคงอยู่ให้เห็นได้ ได้แก่
ไม้
งาช้าง
เขาสัตว์บางชนิด เช่น เขาวัว เขาควาย เป็นต้น

เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานกลึง
มีดังรายการต่อไปนี้
สิ่วกลึง สิ่วหน้าต่างๆ
ไม้กางเวียนแบบเขาควาย สำหรับสอบขนาด
เลื่อย
บิหล่า เครื่องเจาะชนิดหนึ่ง
เครื่องกลึง

การปฏิบัติงานกลึง
การปฏิบัติงานกลึงนี้ สิ่งสำคัญที่เป็นพื้นฐานของงานกลึงคือ "เครื่องกลึง" ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักอันสำคัญใน การทำงานกลึง เครื่องกลึงมีอยู่มากแบบ ดังนี้
เครื่องกลึงแบบแรก เป็นแบบที่ใช้กำลังแรงคนทำการฉุดชักโดยตรง ส่วนสำคัญของเครื่องกลึงแบบนี้อยู่ที่ตัว ไม้ที่เรียกว่า "ภมร" คือแกนสำหรับชักให้หมุน งานกลึงซึ่งทำขึ้นจากเครื่องกลึงแบบแรกนี้มักเป็นสิ่งของที่เป็น ลักษณะรูปทรงกลม เช่น ตลับ ตัวหมากรุก ตราประทับ เป็นต้น
เครื่องกลึงแบบที่สอง หรือ เรียกว่า เครื่องกลึงแบบกงชัก เป็นเครื่องกลึงแบบที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ช่วยผ่อน แรงในการฉุดชัก "ภมร" โดยไม่ต้องออกแรงชักเชือกฉุด "ภมร" ตรงๆ
เครื่องกลึงแบบกงชักนี้ ในส่วนตัว "ภมร" มีลักษณะคล้ายกับ "ภมร" ในแบบแรก แต่จะมีที่ต่างกันตรงส่วนแคร่ รองรับส่วนหัวและท้ายหัว "ภมร" ได้รับการสร้างให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้น ส่วนประกอบสำหรับ "ภมร" นี้เรียกว่า "เรือนภมร"
เครื่องกลึงแบบที่สาม เรียกว่า เครื่องกลึงแบบกงดีด เครื่องกลึงแบบนี้ ลักษณะโดยรวมของเรือนภมรคล้ายกัน กับเครื่องกลึงแบบที่สองแต่แทนที่จะใช้กำลังฉุดชักภมรด้วยมือ หากได้ใช้เท้าถีบชักเชือกฉุดภมร เครื่องกลึงแบบนี้ ดูออกจะใช้งานได้สะดวกและคล่องตัวกว่าเครื่องกลึงสองแบบแรก เพราะช่างกลึงสามารถเหยียบคานกระเดื่องชัก ภมรให้หมุนไปได้ในขณะเดียวที่ช่างทำการกลึงไปได้พร้อมกัน และที่สำคัญคือช่างกลึงอาจควบคุมความเร็วในการ หมุนของภมรได้ตามประสงค์ของตัวเอง
อนึ่ง เครื่องกลึงแบบนี้อาจใช้กลึงทำสิ่งในลักษณะทรงกระบอกหรือทรงกรวยกลมได้มากอย่าง เช่น กลึงลูก กรง กลึงด้ามมีดด ด้ามดาบ กลึงหัวเม็ดทรงมัณฑ์ กลึงโกศไม้ เป็นต้น

การปฏิบัติงานกลึง
งานกลึงขั้นต้น จะต้องตัดแบ่งวัสดุชนิดหนึ่งนั้นออกเป็นชิ้นเป็นท่อนให้ได้ขนาดโตกว่าสิ่งที่จะกลึงเล็กน้อย
งานขั้นที่สอง นำเอาชิ้นวัสดุนั้นติดเข้าที่หน้าภมร หรือที่เรือนภมรให้มั่นคง แล้วทำให้ภมรหมุนพร้อมพาวัตถุ นั้นหมุนตามไป ในตอนนี้ช่างกลึงจะใช้ "สิ่วกลึง" ลงคมสิ่วที่ผิววัตถุ ค่อยสกัด ขูด ผิวที่ไม่ต้องการออก ทำให้เป็นรูป ทรงเลาๆ ของสิ่งที่จะทำ งานขั้นนี้เรียกว่า "กลึงโกลน"
งานขั้นที่สาม ช่างกลึงจะใช้สิ่วกลึง ลงคมสกัด ถาก กลึงลึกเข้าไปในเนื้อวัสดุนั้นหนักมือขึ้น ในกรณีกลึงไม้ ช่างกลึงจะกลึงขึ้นเป็นรูปทรงค่อนข้างจะเห็นชัดว่าเป็นรูปอะไร เรียกว่า "ตั้งรูป" หรือ "ตั้งทรง"
งานขั้นที่สี่ ช่างกลึงจะลงฝีสิ่วหรือคมสิ่วค่อนข้างผ่อนกำลังมือ เนื่องด้วยงานขั้นนี้เป็นการ "วัดรูป" คือกลึงให้ เข้ารูป เข้าส่วน เป็นรูปที่ชัดเจนใกล้สมบูรณ์
งานขั้นที่ห้า เป็นการแทงสิ่วค่อนข้างเบาเพื่อเก็บเหลี่ยม เก็บคม เก็บผิวงานกลึงให้ชัดเจน เรียบร้อย งานขั้นนี้ เรียกว่า "กลึงเก็บ"
งานขั้นสุดท้าย คืองานขัดผิวหรือขัดมันชิ้นงานกลึงนั้นให้ผิวเป็นมัน "ขั้นตอนนี้ช่างกลึงจะใช้ขี้ไม้หรือขี้งา ที่ตกเรี่ยรายอยู่ใต้ภมรนั้น ควักใส่มือโปะลงบนชิ้นงานซึ่งทำให้หมุนไปรอบๆ ขี้ไม้หรือขี้งานั้นจะช่วยขัดผิวของวัตถุ ที่กลึงเสร็จให้ผิวเรียบเป็นมัน จึงปลดชิ้นงานออกจากภมรหรือเรือนภมรก็เป็นอันเสร็จการปฏิบัติงานกลึงโดยโบราณ วิธีกลึงของช่างกลึง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 8 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (29-04-2010)