ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 13-01-2022, 00:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,530
ได้ให้อนุโมทนา: 151,474
ได้รับอนุโมทนา 4,406,561 ครั้ง ใน 34,120 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้อยู่ที่พวกเราว่า อันดับแรกเลยก็คือ ถ้าไปหวังผลของประสบการณ์ต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้น..เราต้องตั้งเป้าเอาไว้ว่าการปฏิบัติธรรมของเราต้องทำให้เกิดผล ไม่เช่นนั้นแล้ว เราเองก็ได้แต่ "คิดว่า คาดว่า" ก็คือ คาดเดาเอาโดยตรรกะธรรมดา ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วใช้ไม่ได้กับหลักธรรม

เพราะว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เวลาเราปฏิบัติเข้าถึงแล้วเป็น "ปัจจัตตัง" เป็นเครื่องรู้เฉพาะตน ภาษาคนหรือภาษาหนังสือไม่สามารถที่จะสื่อถึงความละเอียดชัดเจนได้ เป็นการรู้อยู่แก่ใจ สิ่งที่เรารู้ แม้เพียงเล็กน้อย แต่บางทีถ้าอธิบายเป็นภาษามนุษย์ก็พูดจนคอแห้ง หรือว่าถ้าเขียนเป็นหนังสือ ก็อาจจะหลายหน้ากระดาษ แล้วก็ไม่ชัดเจนอีกด้วย

อย่างที่กระผม/อาตมภาพเคยเปรียบเทียบว่า แค่คำว่า "สุข" ในการปฏิบัติธรรม ที่ยังไม่ถึงปฐมฌานเลย กำลังของอุปจารสมาธิขั้นปลายสามารถกด รัก โลภ โกรธ หลง ให้ดับลงชั่วคราว ไฟรัก ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลง ที่เผาเราอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ก็ดับลงไป สบายอย่างไรบอกไม่ถูก มีความสุขอย่างไร พูดออกมาเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้

ดังนั้น...ศรัทธาจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง อย่างน้อยเราต้องปฏิบัติธรรมให้เกิดผล โดยเฉพาะถ้าเกิดปีติแล้ว ตรงนี้ต้องระวัง เหมือนอย่างกับกำลังใจท่วมท้น ไหลมาเทมา บางทีเราก็ทำหามรุ่งหามค่ำ ไม่พักไม่ผ่อน ไม่กินไม่นอนไปเลย แล้วร่างกายทนไม่ไหวก็เจ๊ง..! เกิดอาการจิตตก สมาธิตก กรรมฐานแตก ยุ่งไปหมด


ดังนั้น...ในส่วนที่ต้องระวังก็คือทางสายกลางที่เหมาะสมกับพวกเรา ซึ่งกระผม/อาตมภาพบอกไปหลายครั้งแล้วว่า ทางสายกลางไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ความพอดีขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่า กำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา กำลังบารมี ที่สั่งสมมามากน้อยต่างกัน ความพอดีของทางสายกลางจึงต่างกัน

เราต้องหาทางสายกลางเฉพาะตนของเราให้ได้ แต่ว่าอย่างต่ำที่สุดต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ถ้าหากว่าเป็นเพศภาวะของสามเณรก็คือศีล ๑๐ ถ้าเป็นพระภิกษุก็ยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่ ศีล ๒๒๗
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-01-2022 เมื่อ 02:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา