ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 11-05-2022, 20:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,526
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,320 ครั้ง ใน 34,116 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ จากที่สังเกตการเรียนบาลีของพวกเรามีคำถามน้อย จะถือว่าดีก็ใช่ จะถือว่าไม่ดีก็ใช่ การเรียนบาลีในเบื้องต้นนั้น เขาให้เชื่อไปก่อน เหตุที่ให้เชื่อไปก่อน เพื่อที่ไม่ให้เราฟุ้งซ่านไปคิดมาก จนเสียสมาธิในการจดจำเนื้อหาที่มากมายมหาศาล โดยเฉพาะในส่วนของไวยากรณ์

แต่คราวนี้ที่ท่านเรียนอยู่วันนี้ก็คือ การแจกอิการันต์ในปุงลิงค์ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ตรงจตุตถีวิภัตติกับฉัฏฐีวิภัตติ หน้าตาจะเหมือนกันทุกประการ ถ้าตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายควรที่จะมีคำถามว่า แล้วเราจะแยกแยะออกได้อย่างไร ว่าคำไหนเป็นจตุตถีวิภัตติ (แก่ เพื่อ ต่อ แด่) หรือว่าเป็นฉัฏฐีวิภัตติ (แห่ง ของ เมื่อ)

ก็คงต้องรอจนพวกเราเรียนไปอีกระยะหนึ่ง จนกระทั่งเริ่มหัดแปลแล้ว คำแปลมคธเป็นไทยแต่ละอย่าง เราต้องดูบริบทของประโยคนั้น ๆ แล้วถึงจะคาดเดาได้ว่า ควรที่จะเป็นจตุตถีวิภัตติหรือว่าเป็นฉัฏฐีวิภัตติกันแน่ ?

ดังนั้น...ในเรื่องของการเรียนบาลี จึงเป็นเรื่องที่..อันดับแรกเลยคือ เชื่อตามไปก่อน อันดับที่สองก็คือ ต้องมีความรอบคอบอย่างยิ่ง ในการที่จะต้องดูรูปประโยคให้ออก เพราะว่าบาลีนั้นสามารถตั้งวิเคราะห์ได้ทุกตัว ไม่ใช่คำเดียวโดด ๆ แล้วไม่สามารถที่จะตั้งวิเคราะห์ หรือว่าแปลออกมาเป็นความหมายได้ ก็แปลว่าเราทั้งหลายต้องมีความเพียรในการซักซ้อมทำข้อสอบให้มากเข้าไว้

อย่าลืมว่า การเรียนบาลีก็คือการทำสมาธิอย่างหนึ่ง สมาธิคือการทำซ้ำ ก็คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก จนกระทั่งอารมณ์ใจของเราปักมั่นอยู่เฉพาะหน้า ทำแล้วทำเล่า ซ้อมแล้วซ้อมอีก เบื่อไม่ได้ หน่ายไม่ได้ จนกว่าที่จะเกิดความเชี่ยวชาญ ซึ่งตรงนี้ท่านใช้คำว่า ทักษะ

แต่จะว่าไปแล้วทักษะเป็นภาษาสันสกฤต ก็คือเกิดความชำนาญขึ้น ถ้าหากว่าเป็นภาษาอังกฤษก็คือ Skill ถ้าเป็นบุคคลที่ฝึกฝนในเรื่องของการต่อสู้ หรือว่าเกี่ยวกับนาฏศิลป์ดนตรีต่าง ๆ ก็คือฝึก "แม่ไม้" จนสามารถแปรสภาพเป็น "ลูกไม้" ได้

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นเรื่องที่สืบเนื่องเกี่ยวโยงกันทั้งหมด การเรียนบาลีก็เท่ากับเป็นการทำสมาธิไปในตัว เพียงแต่ว่าเพิ่มการกำหนดจดจำขึ้นมาเท่านั้นเอง หรือถ้าหากว่าไปเปรียบกับกรรมฐานหมวดกสิณ ก็ลักษณะเดียวกับการจดจำภาพกสิณ แต่นี่เรามาจดจำเนื้อหาบทเรียน โดยมีหลักเกณฑ์ว่า ตอนแรกให้เชื่อไปก่อนว่าแปลแบบนี้ หลังจากนั้นเมื่อมีความชำนาญก็จะแปลได้ลึกยิ่งขึ้น แล้วถ้าเป็นนักปฏิบัติธรรม เมื่อเข้าถึงธรรมแล้ว จะแปลได้ตรงตามความเป็นจริงที่สุด
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-05-2022 เมื่อ 01:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา