ดูแบบคำตอบเดียว
  #32  
เก่า 23-04-2009, 23:47
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,675 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Default

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ความดับกองทุกข์ได้ทั้งหมดคือพระนิพพาน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ถูกแล้ว

ม. ดับอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าพระนิพพาน
น. ดับจนหาเชื้อที่จะก่อให้ลุกลามอีกไม่ได้ จึงจะชื่อว่าพระนิพพาน
ขอถวายพระพร อันผู้ที่ปล่อยใจไปตามอารมณ์ที่ผ่านมาย่อมถูกความทุกข์เผาผลาญให้หม่นไหม้
ส่วนบุคคลที่มีใจหนักแน่น แม้จะมีอารมณ์ที่ร้อนรนมากระทบ ก็ไม่ปล่อยใจให้หมกไหม้อยู่ในกองทุกข์เช่นนั้น
ย่อมดับเสียได้ด้วยคิดเห็นว่า คติของธรรมดามีอยู่อย่างนั้น จนอารมณ์ร้อนมอดลงไปเอง (นิโรธนิพพานปัญหา)


ม. ถ้าเช่นนั้น บุคคลที่มีใจหนักแน่นย่อมได้พระนิพพานด้วยกันทุกคนหรือ
น.ได้เฉพาะผู้ที่เดินถูกทางเท่านั้น

ม. การเดินถูกทางนั้นกระทำอย่างไร
น. การเดินถูกทางนั้น เบื้องต้นต้องทำความเห็นให้ตรงเสียก่อน คือให้เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางเดินไปดับทุกข์ ว่า มีอยู่อย่างไร
จากนั้น จึงใช้ความเห็นชอบนี้นำความคิด คำพูดและการกระทำให้เดินตรงไป ขณะเดินก็ต้องพยายามนึกมุ่งต่อที่ ๆ หมายไว้ให้แน่วแน่อยู่ที่เดียว
ขอถวายพระพรผู้ที่เดินถูกทางเช่นนี้ ย่อมได้พระนิพพาน (นิพพานนลภนปัญหา)


ม. ฐานะที่บุคคลซึ่งประสงค์จะเดินถูกทางต้องตั้งอยู่นั้น มีหรือไม่ และถ้ามีเป็นอย่างไร
น. มี ฐานะนั้นได้แก่ ศีล เมื่อบุคคลตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว กระทำใจโดยอุบายอันแยบคาย แม้ว่าจะอยู่ในที่ใด ๆ
ก็ย่อมจะกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ (นิพพานปัฏฐานปัญหา)


ม.จะกระทำพระนิพพานให้แจ้งนั้น กระทำด้วยอาการอย่างไร
น. ขอถวายพระพร พระนิพพานเป็นธรรมสงบระงับ มีความสุขอย่างประณีต ผู้ปฏิบัติชอบพึงพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
โดยย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ด้วยปัญญา

การที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้งนั้น ต้องพิจารณาความเป็นไปของสังขารทั้งหลาย คือความเกิดและความดับ จนเห็นว่าไม่มีสิ่งใดจะยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้ในสังขารเหล่านั้น
ครั้นแล้วย่อมบังเกิดความหน่ายในภพทั้ง ๓ (คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ)
เมื่อบุคคลกระทำการพิจารณาเช่นนี้อยู่เนือง ๆ จิตย่อมหมดความยินดีที่จะเวียนว่ายตายเกิดต่อไป รวมทั้งย่อมเลื่อมใสในความระงับดับสังขารตลอดจนความระงับในเหตุคือ กิเลสตัณหาทั้งหลาย เมื่อประคองจิตเช่นนี้ให้มั่นด้วยสติและวิริยะจนพระอริยมรรคบังเกิด เมื่อนั้นย่อมเรียกได้ว่า บุคคลกรทำพระนิพพานให้แจ้ง (นิพพานสัจฉิกรณปัญหา)


ม.เข้าใจละ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 23-04-2009 เมื่อ 23:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน