ดูแบบคำตอบเดียว
  #23  
เก่า 11-04-2009, 20:39
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,675 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Default

ม. วิญญาณมีลักษณะอย่างไร
น. วิญญาณมีลักษณะรู้แจ้ง เหมือนคนยืนอยู่ที่สี่แยกย่อมรู้ย่อมเห็นคนที่เดินผ่านไปมา
ฉะนั้น เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงเป็นต้น ก็ย่อมเกิดอาการรู้ทันทีว่านั่นรูป นั่นเสียง (วิญญาณลักขณปัญหา)


ม. ผัสสะมีลักษณะอย่างไร
น. ผัสสะมีลักษณะประจวบ เช่นตาเห็นรูปเกิดความรู้สึกทางตา ขณะที่ทั้ง ๓ ประจวบกันเข้า ขณะนั้นเป็นผัสสะ

ม. พระคุณเจ้าจงเปรียบเทียบให้ฟัง
น. เหมือนแกะสองตัวชนกัน ตัวหนึ่งเหมือนตา อีกตัวหนึ่งเหมือนรูป อาการชนเทียบได้กับผัสสะ หรือเหมือนมือ ๒ ข้างประกบกัน
มือข้างหนึ่งเหมือนตา มืออีกข้างเหมือนรูป อาการประกบเทียบได้กับผัสสะ (ผัสสลักขณปัญหา)


ม. เวทนาเล่ามีลักษณะอย่างไร
น. เวทนามีลักษณะรู้สึกและเสพเสวย เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง

ม. พระคุณเจ้าจงยกตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. เหมือนข้าราชการทำความดีจนได้รับบำเหน็จต่าง ๆ เมื่อข้าราชการผู้นั้นรำพึงถึงการกระทำดีและบำเหน็จที่ตนได้รับจนรู้สึกอิ่มใจ
ความรู้สึกนั้นเป็นสุขเวทนา (เวทนาลักขณปัญหา)


ม. สัญญาเล่า ลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะกำหนดรู้และจำได้

ม. กำหนดรู้และจดจำอะไรได้
น. กำหนดจำลักษณะรูปพรรณสัณฐานและบัญญัติของสิ่งต่าง ๆ ได้ อุปมาดังเจ้าพนักงานเข้าไปในพระคลังหลวง เห็นเครื่องราชูปโภค
ก็หมายจำไว้เป็นอย่าง ๆ แม้ภายหลังจะไม่ได้เข้าไปดู ก็จำได้ นึกได้ถึงรูปร่างสีสันของเครื่องราชูปโภคเหล่านั้น (สัญญาลักขณปัญหา)


ม. เจตนาเล่า มีลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะจงใจและปรุงแต่งขึ้น

ม. พระคุณเจ้าจงเปรียบให้ฟัง
น. เหมือนบุคคลปรุงยาพิษแล้วดื่มเองด้วย ให้คนอื่นดื่มด้วย ตัวเขาเองจึงเป็นทุกข์ ผู้อื่นก็เป็นทุกข์ หรือเหมือนบุคคลปรุงอาหารด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อยและนมเนย
ให้ตนเองบริโภค แล้วให้คนอื่นบริโภคด้วย ตัวเขาเองก็เป็นสุข ผู้อื่นก็เป็นสุข
หรือเหมือนแพทย์ตรวจอาการของโรคทราบตลอดแล้ว จึงหยิบเอาตัวยาต่าง ๆ มาปรุงขึ้นรักษาโรคฉันใด
เจตนาย่อมคิดอารมณ์ที่ข้องอยู่ในใจ แล้วปรุงขึ้นเป็นโครงการฉันนั้น (เจตนาลักขณปัญหา)


(หมายเหตุ ความย่อหน้านี้ ปรากฏเฉพาะใน “ปัญหาพระยามิลินท์” น.๕๑ เท่านั้น แต่ไม่ปรากฏใน “มิลินท์ปัญหา” สำนวนแปลอื่น ๆ )

ม. วิตกมีลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะติดไปกับจิต คือนึกจับหรือตริในสิ่งที่เจตนาปรุงขึ้น อุปมาดังช่างไม้ที่เข้าหน้าไม้ได้สนิท (วิตักกลักขณปัญหา)

ม. วิจารเล่า มีลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ คือตรองเรื่องที่วิตกยกขึ้นหรือจับอยู่ อุปมาวิตกดังอาการเคาะระฆัง
อุปมาวิจารดังเสียงครางของระฆังภายหลังที่ถูกเคาะแล้ว (วิจารลักขณปัญหา)
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 11-04-2009 เมื่อ 20:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา