ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 18-11-2009, 10:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,488
ได้ให้อนุโมทนา: 151,147
ได้รับอนุโมทนา 4,405,355 ครั้ง ใน 34,077 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐานวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตนเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติทั้งหมดของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า ใช้คำภาวนาตามความเคยชินของตนเอง ถนัดแบบไหนให้ใช้แบบนั้น วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๒ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันแรกในเดือนนี้ของพวกเรา

จากที่ได้กล่าวเมื่อเช้านี้แล้วว่า การปฏิบัติกรรมฐานในปัจจุบันนี้ ที่ไม่ค่อยได้ผลเพราะว่าเราไม่ทนต่อความยากลำบาก ในเมื่อเราไม่อดทนต่อความยากลำบาก โอกาสที่จะประสบความสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันก็ไม่มี เนื่องจากว่าการปฏิบัติของเรานั้น เราต้องอดทนอดกลั้นทั้งกาย วาจา และใจ ที่จะไม่ให้ไปคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ดังนั้นในการปฏิบัติธรรม จะว่าไปแล้วก็เหมือนการก้าวสู่สงคราม สงครามครั้งนี้ไม่มีการเสมอ มีแต่แพ้กับชนะเท่านั้น ดังนั้น..ก็ขึ้นอยู่กับกำลังใจหรือว่าบารมีของเรา ว่ามีความเข้มแข็งอดทน เอาจริงเอาจังสักเท่าไหร่

พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย เกี่ยวกับช้างศึกที่ออกศึกสงคราม พระองค์ท่านเปรียบไว้ว่า ช้างศึกที่ไม่อดทนต่อรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั้น ไม่สามารถจะใช้รบในการศึกได้ ไม่สามารถที่จะใช้ในการรบได้ แปลว่าถ้าขืนใช้ออกรบ ก็แพ้เสียตั้งแต่ไม่ทันจะรบแล้ว

ท่านเปรียบเอาไว้ว่า ช้างศึกที่ไม่อดทนต่อรูป ก็คือ เมื่อเห็นพลช้าง พลม้า พลรถ พลราบของกองทัพข้าศึก ก็เกิดความหวาดกลัวท้อถอยเสียแล้ว ไม่อาจจะเข้าสู่สงครามได้ นี่คือช้างศึกที่ไม่อดทนต่อรูป

ประการที่สอง การไม่อดทนต่อเสียงนั้น ท่านเปรียบเอาไว้ว่าเมื่อได้ยินเสียงช้างศึก ม้าศึก กลองศึกของกองทัพฝ่ายตรงข้าม ก็เกิดความหวาดกลัวท้อถอย ไม่สามารถที่จะเข้าสู่สงครามได้ นี่คือช้างศึกที่ไม่อดทนต่อเสียง

ประการที่สาม ช้างศึกที่ไม่อดทนต่อกลิ่นนั้น ท่านเปรียบเทียบเอาไว้ว่า เมื่อได้กลิ่นอุจจาระ ปัสสาวะ ของช้างศึก ม้าศึก ที่เจนสงครามของฝ่ายตรงข้าม ก็เกิดความท้อถอย หวาดกลัวไม่คิดจะสู้ นี่คือลักษณะของช้างศึกที่ไม่อดทนต่อกลิ่น

ประการที่สี่ ช้างศึกที่ไม่อดทนต่อรสนั้น ท่านเปรียบไว้ว่า เมื่ออดหญ้า อดน้ำเข้าสักมื้อหนึ่ง สองมื้อ สามมื้อ สี่มื้อ หรือห้ามื้ออย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วไม่อดทนไม่ยอมเข้าสู่สงคราม จึงเป็นลักษณะของช้างศึกที่ไม่อดทนต่อรส คือ อาหาร

ประการที่ห้า ท่านเปรียบเอาไว้ว่า ช้างศึกที่ไม่อดทนต่อสัมผัส อย่างเช่นว่าต้องธนูหรืออาวุธของข้าศึก หนึ่งแผล สองแผล สามแผล สี่แผล หรือห้าแผล แล้วเกิดความหวาดกลัวท้อถอยไม่ยอมเข้าสู่สงครามต่อไป นี่เป็นลักษณะของช้างศึกที่ไม่อดทนต่อสัมผัส
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-11-2009 เมื่อ 12:45
สมาชิก 59 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา